โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

ชาสำหรับคนเป็นเบาหวาน กินแล้วดีอย่างไร แล้วชาชนิดไหนถึงจะเหมาะ

ชาถูกจัดเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพที่สุด เพราะมีประโยชน์สุขภาพมากมาย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยแต่ละโรคก็อาจเหมาะกับชาต่างชนิดกันไป แล้วหากคุณเป็นโรคยอดฮิตอย่างโรคเบาหวาน หรืออยากลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ล่ะ คุณควรดื่มชาชนิดไหนบ้าง บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาคุณไปหาคำตอบว่า ชาสำหรับคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง ดื่มชาแล้วดียังไง และต้องดื่มชาแบบไหนถึงจะปลอดภัยที่สุด ชาดีต่อคนเป็นเบาหวานอย่างไร ผลการศึกษาวิจัยมากมายชี้ว่า ชาที่ได้จากใบของต้นชา (Camellia sinensis) เช่น ชาดำ ชาเขียว ชาอู่หลง รวมถึงชาสมุนไพร เช่น ชาเปปเปอร์มินต์ ชาคาโมมายล์ มีโพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งเป็นสารประกอบจากพืชที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลัง ช่วยป้องกันการอักเสบและสารก่อมะเร็ง ซึ่งดีต่อสุขภาพ ดังนี้ ช่วยให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน (Insulin sensitivity) จึงส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ประโยชน์สุขภาพที่ได้จากการดื่มชา ล้วนดีต่อคนเป็นเบาหวานทั้งสิ้น โดยงานศึกษาชิ้นหนึ่งจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปีค.ศ. 2009 ชี้ว่า การดื่มชาหรือกาแฟดำวันละ 3 แก้ว ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 40% เลยทีเดียว ชาที่เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน ชาสำหรับคนเป็นเบาหวาน ที่คุณไม่ควรพลาด เช่น ชาดำ ชาดำมีสารประกอบตามธรรมชาติที่ชื่อว่า ทีฟลาวิน (Theaflavin) […]


โภชนาการพิเศษ

คนเป็น ความดันต่ำ ดื่มเบียร์ แล้วจะช่วยได้จริง ๆ เหรอ

หนึ่งในความเชื่อเรื่องการรักษาอาการของความดันโลหิตต่ำที่ได้ยินบ่อยที่สุด คงจะหนีไม่พ้นการ ดื่มเบียร์ บ่อยครั้งที่ผู้ที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เนื่องจากมีความดันโลหิตต่ำนั้น มักจะได้รับคำแนะนำว่า ให้ดื่มเบียร์เย็น ๆ สักแก้ว แล้วอาการของ ความดันต่ำ จะดีขึ้น แต่การดื่มเบียร์นั้น สามารถช่วยรักษาอาการของภาวะความดันโลหิตต่ำได้จริงหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลอย่างไรกับความดันโลหิต เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะได้รับคำแนะนำไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น สามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ โดยการกระตุ้นให้หัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีแรงดันในระบบไหลเวียนโลหิตเพิ่มมากขึ้น เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นใกว่าเดิม และหากผู้ที่มีความดันโลหิตเพิ่มขึ้นระยะยาวนั้นกลับมาเลิกดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะสามารถลดระดับของความดันโลหิตลงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิต หรือมีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง หรือสูงมากกว่า 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหากเป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำอยู่แล้ว ก็ควรค่อย ๆ ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลงมา เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้นสูงอย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายวัน สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตในเกณฑ์ปานกลางหรือปกติ ควรดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่ไม่เกินดังต่อไปนี้ ผู้ชายอายุต่ำกว่า 65 ปี ไม่ควรดื่มเกิน 2 ดริงก์ ผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ไม่ควรดื่มเกิน 1 ดริงก์ ผู้หญิง […]


โภชนาการพิเศษ

อาหาร สำหรับไฟโบรมัยอัลเจีย โรคเรื้อรัง ที่ทำให้คุณปวดเมื่อย อ่อนเพลีย

ไฟโบรมันอัลเจียนั้นเป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการปวด อ่อนเพลีย บางครั้งเกิดจากปฏิกิริยาภายในร่างกาย ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ช่วยให้อาการปวดนั้นดีขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูล อาหาร สำหรับไฟโบรมัยอัลเจีย มาฝากทุกคนค่ะ ไฟโบรมัยอัลจัย (Fibromyalgia) คืออะไร ไฟโบรมัยอัลจัย (Fibromyalgia) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย และปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากที่จะวินิจฉัยว่าอาการของภาวะไฟโบรมัยอัลจัยนั้นมีความคล้ายกับอาการของโรคอื่นๆ มากมาย นอกจากนี้ยังยากที่จะรักษาอีกด้วย จึงต้องพบหมอที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาโรคอย่างละเอียด ตามรายงานของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Institutes of Health; NIH) พบว่าชาวอเมริกันในวัยผู้ใหญ่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง อาหารส่งผลต่อภาวะไฟโบรมัยอัลเจีย อย่างไร การเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งวิธีการรักษาภาวะไฟโบรมัยอัลเจีย แต่อย่างไรก็ตามอาหารบางชนิดนั้นมีความสามารถในการจัดการกับอาการของภาวะนี้ได้ มีหลักฐานยืนยันว่ามีการรับประทานอาหารเพื่อต้านการอักเสบ ช่วยผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง การรับประทานอาหารต้านการอักเสบไม่ได้เป็นแผนการรับประทานอาหารที่มีความเจาะจง อาหารที่มาจากพืชนั้น เป็นอาหารที่อาจจะมีประโยชน์ในการลดอาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย เพราะอาหารจากพืชมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยกำจัด อนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นของเสียที่ร่างกายผลิตขึ้นมาตามธรรมชาติ ซึ่งเมื่อร่างกายมีสารอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากอาจนำไปสู่ภาวะเครียดออกซิเดชั่นและการอักเสบได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะไฟโบรมัยอัลเจียยังมีโรคอ้วน ซึ่งน้ำหนักที่มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการอักเสบและความเครียดจากออกซิเดชั่นได้ด้วย หากภาวะไฟโบรมัยอัลเจียนั้นเกี่ยวข้องกับการอักเสบ การใช้อาหารเพื่อไปกระตุ้นหรือรักษาน้ำหนักอาจช่วยได้ อาหาร สำหรับไฟโบรมัยอัลเจีย การรับประทานอาหารที่มีความสมดุลนั้น เป็นแนวทางที่ดีกับทุก ๆ คนไม่เพียงแต่ดีกับภาวะไฟโบรอัลเจียเท่านั้น ซึ่ง ไฟโบรอัลเจียเป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้า อ่อนเพลีย ซึ่งการรับประทานอาหารบางประเภทจะช่วยให้ร่างกายมีพลังงานมากขึ้น แแนวทางในการรับประทานอาหารต่าง […]


โภชนาการพิเศษ

เป็นโรคลำไส้แปรปรวน กิน อาหารแบบ Low-FODMAP Diet ดูสิ

ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร อย่างโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome หรือ IBS) จนมีอาการท้องอืด ท้องร่วง ท้องผูก ปวดท้อง เป็นประจำ ก็น่าจะพอเข้าใจความลำบากในการใช้ชีวิตที่เกิดจากโรคนี้ดี เพราะเมื่อคุณเป็นโรคนี้ แค่การเดินทาง หรือใช้ชีวิตนอกบ้านก็กลายเป็นเรื่องยาก เพราะไม่รู้อาการจะกำเริบขึ้นมาเมื่อไหร่ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคนที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมาลองกิน อาหารแบบ Low-FODMAP Diet ดู แม้ชื่ออาจจะไม่คุ้นหู แต่ผู้เชี่ยวชาญก็เผยว่า 3 ใน 4 ของผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน พอได้กินอาหารรูปแบบนี้แล้ว อาการดีขึ้นทันตาเห็นเชียวล่ะ ทำความรู้จักกับ อาหารแบบ Low-FODMAP Diet FODMAP คืออะไร คำว่า “FODMAP” ย่อมาจาก “Fermentable Oligosaccharides, Disaccharides, Monosaccharides And Polyols” ซึ่งหมายถึงอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิดสายสั้นที่สามารถเกิดการหมักได้ หรือมีการดูดซึมในลำไส้ได้น้อย และมักมีน้ำตาลจากธรรมชาติสูง โดยคำแต่ละคำที่มาประกอบกันเป็นคำว่า FODMAP นั้น สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้ Oligosaccharides (โอลิโกแซ็กคาไรด์) ได้แก่ ฟรุกแทน (Fructans) […]


โภชนาการพิเศษ

เป็นอีสุกอีใส ควรกินและควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง

เป็นอีสุกอีใส มักมีอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้ต่ำ ไม่สบายตัว คัดจมูก มีผื่นคันที่พัฒนาเป็นตุ่มพองและตกสะเก็ด เจ็บในปาก ในจมูก บางคนอาจมีอาการไอด้วย โดยปกติแล้ว โรค อีสุกอีใส จะหายในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ รูปแบบการกินอาหารก็สามารถช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อ หรืออาจทำให้โรค อีสุกอีใส หายเร็วขึ้นได้  เช่น การดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น รวมถึงการเลือกอาหารที่ถูกต้อง เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] อาหารเมื่อป่วย เป็นอีสุกอีใส อาหารสำหรับผู้ที่ เป็นอีสุกอีใส ควรกินมีอะไรบ้าง ผักและผลไม้ ผักผลไม้นั้นดีต่อคนเป็น อีสุกอีใส อย่างมาก โดยเฉพาะหากเป็นผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น พุทรา ฝรั่ง กีวี ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (เช่น สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่) ลูกพืช มะละกอสุก บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี พริกหวาน เนื่องจาก วิตามินซีช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนเป็น อีสุกอีใส ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งวิตามินซียังมีส่วนช่วยในการรักษาบาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น จึงอาจช่วยป้องกัน […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารแดช หรือแดชไดเอท (DASH Diet) ช่วยลดความดัน และลดน้ำหนักได้ด้วย

คนในยุคปัจจุบันเป็นความดันโลหิตสูงกันมากขึ้น และภาวะนี้ก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพี่ร้ายแรงขึ้นได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ภาวะไตวาย ผู้เชี่ยวชาญจึงได้พัฒนารูปแบบการกินอาหารขึ้นมาเพื่อช่วยรับมือกับภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า อาหารแดช หรือแดช ไดเอท (Dash Diet) ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความดันโลหิตได้แล้ว ยังส่งผลดีต่อการลดน้ำหนักด้วย อาหารแดช คืออะไร อาหารแดช หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า DASH Diet หรือ DASH นั้นมาจากคำว่า Dietary Approaches to Stop Hypertension ซึ่งหมายถึง การเลือกบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีหลักการคือ ต้องกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้หลากหลาย ในปริมาณตามที่ร่างกายแต่ละคนต้องการ โดยเน้นหลักการดังต่อไปนี้ เน้นกินผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนมชนิดไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ไร้ไขมันหรือไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ลดอาหารที่มีไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว หรือคอเลสเตอรอลในปริมาณสูง ลดการบริโภคเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ลดอาหารรสจัด และอาหารหรือเครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมสูง น้ำตาลสูง โดยโซเดียมต้องไม่เกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม (เกลือ ไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา […]


โภชนาการพิเศษ

รู้จักกับ มังสวิรัติปลา (Pescatarian Diet) มังสวิรัติที่ไม่กินเนื้อ แต่ยังกินปลา

หลายคนคงคุ้นเคึยกับการเป็นมังสวิรัติ หรือการรับประทานอาหารมังสวิรัติที่มีการละเว้นเนื้อสัตว์ กินแต่ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนม และธัญพืชต่างๆ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับอีกหนึ่งการกินมังสวิรัติที่กินทั้งผัก กินทั้งปลาและกินอาหารทะเลด้วย นั่นคือ มังสวิรัติปลา แต่การ กินมังสวิรัติปลา จะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ มังสวิรัติปลา คืออะไร โดยปกติแล้วอาหารมังสวิรัติจะปราศจากเนื้อสัตว์ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสม แต่ผู้บริโภคยังคงได้รับความอร่อยและสารอาหารที่ครบถ้วนเช่นเดียวกับการกินเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตาม ยังมีการรับประทานมังสวิรัติอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า มังสวิรัติปลา (Pescatarian Diet) ซึ่งการ กินมังสวิรัติปลา ก็คือการรับประทานอาหารมังสวิริติที่เน้นผัก ผลไม้ ไม่กินเนื้อสัตว์ตามปกติ แต่จะต่างจากมังสวิรัติทั่วไปตรงที่ มังสวิรัติปลาจะมีการกินปลาและอาหารทะเลร่วมด้วย โดยคำว่า ผู้ที่กินมังสวิรัติปลา หรือ Pescatarian มาจากคำในภาษาอิตาเลียน คือ Pesce ที่แปลว่าปลา กับคำว่า Vegetarian รวมกันเป็น Pescetarian หมายถึงผู้ที่กินมังสวิรัติ แต่ยังกินปลาและอาหารทะเลด้วย หรือก็คือ การ กินมังสวิรัติปลา นั่นเอง ประโยชน์ของการเป็น มังสวิรัติปลา ได้โปรตีนจากเนื้อสัตว์ การรับประทานอาหารมังสวิรัติยังสามารถได้โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง แต่ปริมาณที่ได้รับอาจไม่ได้มากเท่ากับการกินเนื้อสัตว์ […]


โภชนาการพิเศษ

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบ Raw Food Diet ที่ได้ประโยชน์แบบเต็ม ๆ

ในปัจจุบัน หลายๆ คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เทรนด์อาหารสุขภาพ จึงถือว่าเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด อาหาร Raw Food ที่อ่านว่า “รอว์ ฟู้ด” นับเป็นอาหารสุขภาพ อีกรูปแบบหนึ่งที่มีความน่าสนใจทีเดียว ด้วยรูปแบบของการทำอาหาร ที่ทำจากผักสด ผลไม้สด และธัญพืช ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำทั้งหมด จะต้องไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งทางเคมีใด ๆ และไม่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาล ที่สำคัญจะใช้ความร้อนไม่เกิน 42 องศาเซลเซียส เพื่อให้คงคุณค่าของสารอาหารในผัก ผลไม้ได้อย่างเต็ม ๆ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาไปรู้จักกับ รัสยานา รอว์ ฟู้ด คาเฟ่ (Rasayana Raw Food Café) ร้านอาหารกลางใจเมือง ที่เสิร์ฟอาหารประเภท รอว์ ลีฟวิ่ง ฟู้ด (Raw Living Food)  ซึ่งเปิดมายาวนานกว่า 17 ปี โดยทำเลของร้านจะตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 39 เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส และแม้ว่าร้านจะอยู่ใจกลางเมือง แต่บรรยากาศภายในร้านเต็มไปด้วยความร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ตามสไตล์การตกแต่งร้านอาหารแบบเปิดหรือเอาท์ดอร์นั่นเอง ความน่าสนใจของอาหารแบบ […]


โภชนาการพิเศษ

วิธีเลือกขนมปังสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

คนที่เป็น โรคเบาหวาน นั้น ก่อนที่จะรับประทานอะไร อาจจำเป็นจะต้องอ่านฉลาก เพื่อสร้างความมั่นใจว่า อาหารเหล่านั้นจะไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้อาการเบาหวานของคุณแย่ลงกว่าเดิม เพราะเนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องมีการควบคุมปริมาณของน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในความสมดุลอยู่เสมอ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้มีคำแนะนำในการ วิธีเลือกขนมปังสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน สำหรับคนที่กำลังประสบกับ โรคเบาหวาน หรือบุคคลที่มีคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้ และมักชื่นชอบกินขนมปังมาฝากทุกท่านกันค่ะ ขนมปังกับคนเป็นโรคเบาหวาน สัมพันธ์กันอย่างไร ขนมปังมีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่ป่วยเป็น โรคเบาหวาน เนื่องจากขนมปังนั้นเป็นแหล่งของสารอาหารที่ชื่อว่า คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) โดยปกติแล้ว คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ในแต่ละวัน เราจึงจำเป็นต้องรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่จะดูดซึมเอาสารอาหารไปใช้ ในขณะที่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น เมื่อรับประทานอาหารประเภทแป้ง ข้าว หรือขนมปัง ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตเข้าไป กลับทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายของเราจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาลกลูโคส ดังนั้น หากไม่ควบคุมการรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้เหมาะสม หรือกินคาร์โบไฮเดรตมากจนเกินไป ก็เสี่ยงที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการที่ทรุดลงได้ ขนมปังแบบไหนดีต่อสุขภาพผู้ป่วย โรคเบาหวาน ใคร ๆ ก็ชอบกินขนมปัง แต่กับคนเป็นโรคเบาหวานนั้น จะรับประทานขนมปังแบบสุ่มสี่สุ่มห้าคงจะไม่ได้ เพราะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของระดับคาร์โบไฮเดรต มาดูกันว่าขนมปังแบบไหนถึงจะเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ขนมปังที่มีส่วนผสมของแป้งสเปลท์ (Spelt) เมล็ดเจีย และแป้งอัลมอนด์ ขนมปังชนิดนี้จะให้โปรตีน ไฟเบอร์ และไขมันที่มีประโยชน์ แต่ควรระวังเรื่องของแคลอรี่ เพราะขนมปังชนิดนี้เพียง 1 ชิ้น อาจให้พลังงานชิ้นละ 100 […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารสำหรับ นักปั่นจักรยาน กินอะไร เมื่อต้องปั่นจักรยาน

การปั่นจักรยานเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานอย่างพอสมควร เนื่องจากพวกเขานั้นต้องการทั้งความแข็งแรง และความทนทานของร่างกาย การรับประทานอาหาร หรือเการเลือกอาหารจึงถือเป็นเรื่องสำคัญของนักปั่นอีกปัจจัยเช่นเดียวกัน เพราะอาหารจะนำไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไว้ใช้ในการออกแรงปั่นตลอดวันได้อย่างไม่แผ่วแรง บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงมี อาหารสำหรับ นักปั่นจักรยาน ที่ช่วยเพิ่มพลังงานแก่นักปั่นจักรยานได้ มาฝากทุกคนกันค่ะ ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการออกกำลังกาย อาหารถือเป็นแหล่งเชื้อเพลิง แหล่งพลังงานที่สำคัญของการออกกำลังกายเลยทีเดียว แต่แหล่งพลังงานก็มีมากมาย และมีความแตกต่างกันในแง่ของคุณภาพ บางรูปแบบเป็นพลังงานดี บางรูปแบบเป็นพลังงานที่เป็นโทษ ซึ่งอาหารก็เช่นเดียวกัน ที่ย่อมมีทั้งแหล่งที่ดีและไม่ดี การออกกำลังกาย และอาหาร เป็นเรื่องที่อาจเชื่อมโยงต่อการส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะการที่ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม จะแปรเปลี่ยนอาหารเหล่านั้นมาเป็นพลังงานเพื่อใช้ในการออกกำลังกายได้ แต่อย่างแรกเราต้องตอบคำถามกับตัวเองก่อนว่าเรามีการออกกำลังรูปแบบใด คาร์ดิโอหรือแบบเวทเทรนนิ่ง เพื่อที่จะได้เลือกอาหารที่รับประทานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยทั่วไปแล้วผู้เชี่ยวชาญมักจะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนก่อนการออกกำลังกาย เพราะสารอาหารทั้งสองให้พลังงานมากสามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อได้อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมันและไฟเบอร์เพราะจะทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน เมื่อออกกำลังกายเสร็จ ร่างกายของเราก็จะยังคงมีการเผาผลาญพลังงานแคลอรี่อยู่ ดังนั้นหลังจากออกกำลังกายเสร็จเราจึงควรรับประทานอาหารเข้าไปเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้เรานั้นไม่เกิดการอ่อนเพลีย และสดชื่นอยู่เสมอ อาหารสำหรับ นักปั่นจักรยาน สำหรับนักปั่นที่ต้องมีการใช้พลังงานเป็นระยะเวลานาน จึงควรเลือกแหล่งพลังงานที่จะมีส่วนช่วยก่อนการเริ่มปั่นจักรยาน ดังนี้ ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ต ถือเป็นธัญพืชที่เป็นแหล่งพลังงานที่ดี และเป็นแหล่งของไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ข้าวโอ๊ตอัดแน่นไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมาย เช่น โฟเลต โพแทสเซียม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสีและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ข้าวโอ๊ตเป็นอาหารที่สามารถปรุงได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้การรับประทานข้าวโอ๊ตยังช่วยให้รู้สึกอิ่มได้เร็ว กรีกโยเกิร์ต กรีกโยเกิร์ต เป็นแหล่งอาหารที่ดีของ แคลเซียม โพแทสเซีม และวิตามินบี 12 กรีกโยเกิร์ตเป็นอาหารไขมันต่ำ และเป็นส่วนผสมที่ลงตัวของคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน