โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งเต้านมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื้อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายแกนอกท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งต่อมน้ำนม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งผิวหนัง

ไฝ แบบใดเป็น สัญญาณของมะเร็งผิวหนัง

ไฝ ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นบนผิวหนัง แต่หากไฝมีลักษณะ รูปร่าง ขนาด และสีที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ปกติเหมือนไฝทั่ว ๆ ไป ไฝนั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ไฝ เป็น สัญญาณของมะเร็งผิวหนัง หรือไม่ มาให้อ่านกัน [embed-health-tool-bmi] ไฝ เกิดขึ้นได้อย่างไร ไฝ ก็คือ เนื้อที่งอกออกมาจากผิวหนัง โดยปกติแล้วมักจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ไฝสามารถเกิดขึ้นบนผิวหนังได้ทุก ๆ ส่วนของร่างกาย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเดี่ยว ๆ และแบบเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่แล้วไฝมักจะพบได้ตั้งแต่เด็ก ๆ จนพ้นช่วงวัยรุ่น หรือในช่วง 25 ปีแรกของชีวิต และร่างกายของคนเราสามารถมีไฝได้มากถึง 10-40 จุดเลยทีเดียว เมื่อเวลาผ่านไป ไฝอาจจะมีการเปลี่ยนขนาด สี ได้ ในบางคนเมื่อเวลาผ่านไปไฝก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่บางครั้งไฝก็อาจจะหายไปได้เอง ไฝเกิดจากการที่เซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) เกิดการเติบโตเป็นก้อน กระจุกกันอยู่ ซึ่งไฝก็จะมีสีที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเม็ดสีของแต่ละคน แต่หากไฝนั้นโดนแสงแดด มีขนาดโตขึ้น หรือว่าตั้งครรภ์ก็จะมีความเข้มขึ้นได้เช่นกัน ไฝ ลักษณะใดที่มีโอกาสเป็น มะเร็งผิวหนัง Congenital Nevi ไฝประเภทนี้เป็นไฝที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด […]


มะเร็งผิวหนัง

กระเนื้อ สัญญาณมะเร็งผิวหนังจริงหรือ

กระเนื้อ เป็นการเติบโตที่มีความผิดปกติของผิวหนังประเภทหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะเป็นจุดกลมๆ รีๆ สีน้ำตาลบนผิวหนัง ซึ่งเป็นความผิดปกติของผิวหนัง ที่อาจสร้างความกังวลใจให้กับผู้ที่มีอาการ จนหลายๆ คนกังวลว่านั้นจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระเนื้อ ว่าจริงๆ แล้วนั้น กระเนื้อเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ไปอ่านกันเลยค่ะ กระเนื้อ คืออะไร อันตรายหรือไม่  กระเนื้อเป็นการเติบโตของผิวหนังประเภทหนึ่ง กระเนื้ออาจจะมีลักษณะที่ไม่น่ามอง แต่จริง ๆ แล้วกระเนื้อที่ขึ้นมาตามร่างกายของเรานั้น ไม่มีอันตรายใด ๆ และไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง แต่ว่ากระเนื้ออาจจะทำให้เรา แยกไม่ออก ระหว่างกระเนื้อกับมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา แต่หากคุณไม่มั่นใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนร่างกายของคุณนั้นเป็นกระเนื้อหรือว่าผิวหนังมีความผิดปกติชนิดใด ควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ลักษณะของกระเนื้อ ลักษณะของกระเนื้อ เป็นสิ่งที่สามารถจำแนกได้ง่าย คือ มองแล้วสามารถรู้ได้ในทันทีว่านี่คือกระเนื้อ กระเนื้อจะมีการการเจริญเติบโตในรูปแบบ วงกลมหรือวงรี โดยปกติแล้ว มักจะมีสีน้ำตาล แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นสีขาว เหลือง หรือสีดำได้ ซึ่งกระเนื้อนั้นจะเริ่มจากขนาดเล็ก ๆ และมีลักษณะเหมือนผิวหนังที่หยาบ เมื่อเวลาผ่านไป จะเริ่มใหญ่และหนาขึ้นคล้ายหูด สำหรับบางคน กระเนื้ออาจจะมีพื้นผิวที่มันวาว เหมือนขี้ผึ้ง และนูนสูงขึ้นจากผิวหนังเล็กน้อย กระเนื้อสามารถพบได้ในทุก ๆ ส่วนของร่างกาย เช่น หน้าอก หนังศีรษะ ไหล่ หลัง หน้าท้อง ใบหน้า แต่โดยปกติแล้วกระเนื้อนั้น จะไม่ขึ้นที่บริเวณฝ่าเท้าและฝ่ามือ ใครเสี่ยงเป็น […]


มะเร็งแบบอื่น

โรคมะเร็งจิสต์ โรคร้ายที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร

แนวโน้มผู้ที่เสียชีวิตจาก โรคมะเร็ง ทั่วโลกนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย ขาดการออกกำลังกายรวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆได้  วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักกับ โรคมะเร็งจิสต์ (GIST : Gastrointestinal Stromal Tumor) มะเร็งชนิดหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร โดยสามารถพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้เพียง 10-15 ราย ต่อประชากรหนึ่งล้านคนเท่านั้น และยังพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในประเทศไทยอีกด้วย เราไปทำความรู้จักโรคมะเร็งจิสต์กันค่ะ ทำความรู้จักโรคมะเร็งจิสต์ (GIST) โรคมะเร็งจิสต์  (GIST : Gastrointestinal Stromal Tumor) หรือ มะเร็งทางเดินอาหารชนิดจิสต์ เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร โดยมีความแตกต่างจากมะเร็งทางเดินอาหาร คือมะเร็งจิสต์เกิดจากเซลล์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ จึงเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินอาหาร ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โรคนี้มักพบในผู้ป่วยสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โรคมะเร็งจิสต์สาเหตุเกิดจากอะไรกันนะ สาเหตุของการเกิดมะเร็งจิสต์เกิดจากความผิดปกติของโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่าคิท (Kit) ที่อยู่บนผิวหนังของเซลล์ ซึ่งโปรตีน ที่ผิดปกตินี้จะส่งสัญญาณเตือนจำทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมะเร็งจิสต์ โดยมะเร็งจิสต์นั้นจะอยู่ได้นานกว่าเซลล์ปกติและเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ซึ่งหากเซลล์มะเร็งนี้ยิ่งอยู่นานเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากขึ้น โดยผู้ป่วยบางรายที่ป่วยเป็นมะเร็งจิสต์จะมีอาการที่พบบ่อย 3 ประการ คือ […]


มะเร็งเต้านม

หน้าอกไม่เท่ากัน ทำให้สาว ๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

หน้าอกไม่เท่ากัน ของบรรดาสาว ๆ ที่บางคนมีลักษณะเต้านมข้างซ้ายเล็กกว่าข้างขวาบ้าง หรือบางคนก็มีขนาดเต้านมข้างขวาที่เล็กกว่าข้างซ้ายบ้าง ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายกับการเข้าสู่ โรคมะเร็งเต้านม ทำให้กลาย ๆ คนเกิดความกังวล กลัวว่าปัญหาเต้านมสองข้างไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งเต้านม แต่อย่าเพิ่งตกใจไป วันนี้ Hello คุณหมอ นำความรู้ และวิธีการสังเกตอย่างง่ายมาฝากผู้หญิงกันค่ะ [embed-health-tool-ovulation] หน้าอกไม่เท่ากัน เกิดจากอะไรได้บ้างนะ ภาวะหน้าอกไม่เท่ากัน (Breast Asymmetry) หรือความไม่สมดุลกันของเต้านม ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับผู้หญิง ผู้หญิงส่วนใหญ่ มีโอกาสที่จะมีเต้านมไม่เท่ากันแทบจะทุกคน โดยเริ่มต้น เมื่อถึงวัยเจริญพันธ์ุ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้สูญเสียก้อนไขมัน และเนื้อเยื่อบริเวณข้างใดข้างหนึ่งได้รับความเสียหายจนทำให้ขนาดหน้าอกเปลี่ยนไป พร้อมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เต้านมมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ดังนี้ สตรีที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์หรือระหว่างให้นมบุตร ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคโปแลนด์ซินโดรม (Poland Syndrome) สังเกตอย่างไรว่าคุณ กำลังเป็น หรือ ไม่เป็น โรคมะเร็งเต้านม อาการเบื้องต้นเมื่อพบสัญญาณเกี่ยวกับ โรคมะเร็งเต้านม มีดังนี้ มีของเหลวไหลออกจากเต้านม ผิวบริเวณรอบๆ หน้าอกเป็นสะเก็ด หรือผื่นแดง ๆ อาการคันเต้านม ขนาดเต้านมเปลี่ยนแปลง มีก้อนแข็งๆ เป็นไต และหนา […]


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค (Acute Lymphocytic Leukemia)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค เป็นมะเร็งเม็ดเลือดและกระดูกชนิดหนึ่ง โรคนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติคชนิดเฉียบพลัน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติคชนิดเรื้อรัง คำจำกัดความมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค คืออะไร โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบหรือแอแอลแอล (Acute Lymphocytic Leukemia) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดและกระดูกประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติคชนิดเฉียบพลัน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติคชนิดเรื้อรัง มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเอแอลแอลนี้เติบโตเร็วและเกิดขึ้นทันที ส่งผลต่อการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งเซลล์เหล่านี้ที่เกิดจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและเม็ดเลือดขาวคือเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์บี โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค พบได้บ่อยแค่ไหน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้มากในเด็ก โรคนี้เกิดขึ้นบ่อยในเด็กผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 15 ปี แต่ในบางกรณีก็สามารถเกิดกับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค อาการทั่วไป ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดท้อง เหนื่อยล้า หน้าซีด หรือมีแผลฟกช้ำตามผิวหนัง ตับบวม ต่อมน้ำเหลืองโต สูญเสียความทรงจำ และมีอาจจะมีอาการอื่น ๆ เหล่านี้ด้วย เลือดออกตามไรฟัน ปวดกระดูก มีไข้ ติดเชื้อได้ง่าย เลือดกำเดาไหลบ่อยหรือรุนแรง มีก้อนที่เกิดจากต่อมน้ำเหลืองบวม ที่บริเวณในลำคอ รอบคอ ใต้วงแขน หน้าท้องหรือขาหนีบ ผิวสีซีด หายใจถี่ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีอาหารอย่างที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีความกังวลว่าอาจจะเป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟซิติค ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการที่คุณกำลังพบเจอ อาการของ […]


มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นอวัยวะรูปทรงคล้ายบอลลูนที่อยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน และเป็นที่กักเก็บน้ำปัสสาวะของคุณเอาไว้ คำจำกัดความมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คืออะไร โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คือ มะเร็งชนิดหนึ่ง ที่เกิดในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นอวัยวะรูปทรงคล้ายบอลลูนที่อยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน และเป็นที่กักเก็บน้ำปัสสาวะของคุณเอาไว้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมักเริ่มเกิดที่เซลล์ภายในกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะส่วนใหญ่จะได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งยังเป็นระยะที่รักษาได้อยู่ แต่มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะเริ่มแรกก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่รับการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะแล้วจึงต้องเข้ารับการตรวจและติดตามผลการรักษาเป็นระยะต่อเนื่องอีกหลายปีหลังการรักษา เพื่อตรวจสอบว่ากลับมาเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะซ้ำหรือไม่ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ พบบ่อยแค่ไหน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะพบได้บ่อยในผู้สูงวัย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยงในการเกิดโรค โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ผู้ที่เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะมีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ โดยมีอาการปวดแสบขณะปัสสาวะ มีหลายอาการที่บ่งบอกถึงโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ เช่น อาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด และการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก แต่อาการเหล่านี้ก็บ่งบอกถึงโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้น คุณจึงควรใส่ใจกับอาการจำเพาะต่าง ๆ ของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งได้แก่ ปัสสาวะมีเลือดปน ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะเฉียบพลัน กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปวดบริเวณช่องท้อง ปวดบริเวณหลังส่วนล่าง ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด การได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถยับยั้งไม่ให้อาการแย่ลงและสามารถป้องกันการเกิดอาการฉุกเฉินได้ คุณจึงควรแจ้งแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการที่ร้ายแรงขึ้น หากคุณมีสัญญาณหรืออาการตามที่ระบุไว้ข้างต้น หรือมีคำถามใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แต่โรคมะเร็งปัสสาวะจะเกิดขึ้นเมื่อมีเซลล์ที่ผิดปกติเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ และรุกรานไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ นอกจากนี้ แพทย์จะแบ่งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็น 3 ชนิดหลัก […]


มะเร็งปากมดลูก

สัญญาณมะเร็งปากมดลูก สาว ๆ อย่าลืมสังเกตตัวเองก่อนสาย

ผู้หญิงโดย 80% สามารถรับเชื้อ HPV ได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งเชื้อ HPV หลายชนิดนั้น สามารถก่อให้เกิดการเป็นมะเร็งปากมดลูกที่เป็นหนึ่งในโรคร้ายแรง ดังนั้นผู้หญิงไม่ควรมองข้าม และควรตรวจสุขภาพกับแพทย์ พร้อมรับคำปรึกษา หากสังเกตเห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างเป็นประจำ นั้นอาจเป็นเพราะร่างกายเริ่มส่งสัญญาณต่าง ๆ เป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าคุณอาจเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยวันนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อมกับบทความดี ๆ เกี่ยวกับ สัญญาณมะเร็งปากมดลูก มาให้ศึกษากันค่ะ สัญญาณมะเร็งปากมดลูก มีอะไรบ้าง กรดไหลย้อนหรืออาหารไม่ย่อย เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย หลังจากรับประทานอาหารมื้อหลักหรืออาหารที่มีไขมันสูง แต่ถ้าคุณกำลังมีอาการกรดไหลย้อนหรืออาหารไม่ย่อยมากจนเกินไป ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเลือดออกในก่อนมีประจำเดือนเป็นอาการปกติจากผลข้างเคียงของการใช้ยาคุมกำเนิด แต่อาการเลือดออกจากช่องคลอดก่อนมีประจำเดือน ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์หรือในวัยหมดประจำเดือนเป็นหนึ่งในสัญญาณมะเร็งปากมดลูก หากเริ่มมีอาการควรเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ ท้องอืดตลอดเวลา เรื่องปกติของผู้หญิงที่มักมีอาการท้องอืดที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่ถ้าคุณมีอาการท้องอืดมากกว่าสองอาทิตย์ ควรรีบเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน อาการเหงื่อออกมากในเวลากลางคืนอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อ หรืออาการไม่พึงประสงค์ เนื่องจากการใช้ยาในปัจจุบัน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักมีอาการเหงื่อออกมาก แต่อาการเหงื่อออกมาในเวลากลางคืน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกมะเร็งปากมดลูก เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ การตรวจพบก้อนเนื้ออาจไม่ใช่เป็นสาเหตุเดียวที่คุณควรไปหาหมอ หากพบความผิดปกติของเต้านม เช่น ขนาด รูปร่าง การเปลี่ยนแปลงสีผิว ผื่นแดง อาการเจ็บปวดเต้านม การเปลี่ยนแปลงหัวนม หัวนมมีของเหลวไหลออกมาทั้งที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ คุณควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีเลือดในปัสสาวะ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อพบเลือดออกในปัสสาวะ โดยปกติแล้วนี่อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากการเกิดโรคมะเร็งและสามารถรักษาให้หายได้อย่างง่ายได้ แต่ในบางครั้งนี่อาจเป็นสัญญาณการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะสามารถให้คำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติมให้กับคุณได้ มีเลือดในอุจจาระ สาเหตุหลักของอาการเลือดออกในอุจจาระคือการเกิดโรคริดสีดวงทวาร แต่อาการเลือดออกในอุจจาระอาจมีสาเหตุมาจากมะเร็ง […]


มะเร็งปากมดลูก

ข้อเท็จจริง ที่ควรรู้ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก

ในปัจจุบันผู้หญิงจำนวนมากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อม โดยหาข้อมูลความรู้ เกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก ให้กับตัวเอง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลาย ๆ ครั้งที่คุณอาจจะไปเจอข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก ที่มีอยู่อย่างมากมาย จนทำให้สับสนว่าข้อมูลเหล่านั้นน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูล ข้อเท็จจริงเรื่อง โรคมะเร็งปากมดลูก ที่คุณไม่ควรพลาด ลองมาดูกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง ข้อเท็จจริงเรื่อง โรคมะเร็งปากมดลูก อ้างอิงจากรายงานของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี 2016 มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรค มะเร็งปากมดลูก จำนวน 12,990 ราย ผู้หญิงในจำนวนนั้น มีจำนวน 4,120 ราย เสียชีวิตจาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับสองในโลก มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในสหรัฐอเมริกา มีรายงานการลดลงของโรค มะเร็งปากมดลูก เนื่องจากมีการจัดทำกลยุทธ์ในการป้องกัน มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ โดยสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของเชื้อมะเร็งและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการตรวจเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus การติดเชื้อ Human Papilloma […]


มะเร็งปากมดลูก

การรักษา มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

มะเร็งปากมดลูกและวิธีการรักษาอาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ในบางกรณี แต่ก็ไม่เสมอไป โดยบทความนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการและการรักษาว่าโรค มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรบ้าง การรักษา มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไร เมื่อคุณต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก บางวิธีการรักษาอาจสร้างความเสียหายต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ เช่น ท่อนำไข่ มดลูก และปากมดลูก นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฮอร์โมน ซึ่งนั้นรวมถึงรังไข่ด้วย เนื่องจากรังไข่เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นพื้นที่เก็บรวบรวมไข่ และผลิตไข่ อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งปากมดลูกนั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับรังไข่ ซึ่งนำไปสู่การลดจำนวนไข่ที่เก็บสะสม รวมไปถึงไข่ที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรือประจำเดือนหมดก่อนวัยอันสมควร โดยหลักความเป็นจริงแล้วหากร่างกายของคุณไม่สามารถผลิตไข่ได้อีก นั้นหมายความว่าร่างกายของคุณไม่สามารถซ่อมแซมความเสียหายนี่ได้ และนี่คือสาเหตุที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายหลังเข้ารับการรักษามะเร็งปากมดลูก วิธีการรักษา มะเร็งปากมดลูก แบบไหนที่ทำให้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เคมีบำบัด มีรายงานว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษามีความเสี่ยงที่ไข่จะถูกทำลาย และไม่สามารถมีบุตรได้ อย่างไรก็ตามการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ของคุณ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับอายุ ชนิดของยา และปริมาณยาที่ได้รับ จากปัจจัยเหล่านี้ แพทย์จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าคุณจะสามารถมีบุตรได้หรือไม่ หากได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด สิ่งที่ควรทำคือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับตัวยาทีคุณได้รับและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการตั้งครรภ์ภายหลังการรักษา คุณอาจหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองถึงผลกระทบของยาบางตัวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการทำลายไข่ของคุณ โดยยาเหล่านั้น ได้แก่ busulfan carboplatin carmustine cisplatin และอื่น ๆ ในขณะที่ยาชนิดอื่น ๆ อาจมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ของคุณน้อยลง ได่แก่ 5-fluorouracil (5-FU) bleomycin cytarabine dactinomycin รังสีรักษา เป็นความจริงที่ว่าการบำบัดด้วยรังสีรักษาโดยใช้รังสีที่มีพลังงานสูงมีผลในการฆ่าเซลล์มะเร็งและมีผลต่อการทำลายรังไข่ของคุณ […]


มะเร็งปากมดลูก

ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก ที่สาว ๆ ควรรู้

จากการรายงานของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี 2016 มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกจำนวน 12,990 ราย และผู้หญิงในจำนวน 4,120 ราย เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากสงสัย และอยากรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูกมาฝากกันค่ะ แนวทางการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้หญิงปฎิบัติตามแนวทางต่อไปนี้ เพื่อช่วยในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม ข้อปฏิบัติต่อไปนี้สามารถใช้ในการตรววจหาชิ้นเนื้อที่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ซึ่งช่วยไม่ให้เกิดการก่อตัวของมะเร็ง ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่อายุ 21 ปี ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 21 – 29 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี โดยอาจมีการตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมด้วย หากผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีความผิดปกติ ผู้หญิงที่ผ่านการผ่าตัดมดลูกอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจ เว้นแต่ว่าการผ่าตัดนั้นเป็นการผ่าเอาชิ้นเนื้อร้ายที่อาจก่อมะเร็งออกไป รวมถึงผู้ที่รับการผ่าตัดมดลูก โดยไม่ได้นำปากมดลูกออกไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง เมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไปควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV เป็นประจำทุก ๆ 5 ปี เรียกการตรวจนี้ว่าการตรวจร่วม ซึ่งควรรับการตรวจไปจนถึงอายุ 65 ปี ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งเข้ารับการตรวจเป็นประจำในช่วง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน