โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งเต้านมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื้อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายแกนอกท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งต่อมน้ำนม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมกับทางเลือกรักษาที่ไม่ต้องตัดเต้า

การมีเต้านมถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง สร้างความมั่นใจและความสวยงามให้กับสรีระของผู้หญิง แต่เต้านมก็สร้างปัญหาให้กับผู้หญิงได้เช่นกัน นั่นคือการเกิดโรคมะเร็งเต้านมนั่นเอง ซึ่งความเสี่ยงในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย ถึง 100 เท่า มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของการแบ่งตัวของเซลล์ภายในเต้านม โดยเซลล์ที่ผิดปกตินั้นจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นก้อนขึ้นมาบริเวณเต้านม หากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งนี้อาจแพร่กระจายไปยังบริเวณข้างเคียงอย่างต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรืออวัยวะอื่นได้ทั่วร่างกาย เช่น ปอด กระดูก หรือตับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกเจ็บ หรือไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ ทำให้กว่าจะมาพบแพทย์ อาจเป็นระยะที่ก้อนใหญ่จนสามารถคลำเจอได้ง่าย หรือเต้านมมีลักษณะที่ผิดปกติไปแล้ว มะเร็งเต้านม หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหายขาดจากโรค คือ ไม่มีก้อนหรือเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ในร่างกาย และป้องกันไม่ให้ก้อนมะเร็งนั้นลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการกำจัดก้อนหรือเซลล์มะเร็งให้หมดไป จำเป็นจะต้องผ่าตัดเต้านมออกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษามะเร็งเต้านมอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ขนาดของก้อนมะเร็ง ชนิดของมะเร็ง อาการของผู้ป่วย ปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา ข้อมูลที่มีการตีพิมพ์แสดงให้เห็นว่า การวางแผนการรักษาด้วยยาควบคู่กับการผ่าตัด โดยอาจให้ยาก่อน และ/หรือ หลังการผ่าตัดนั้น จะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการเก็บเต้านมได้ถึงประมาณ 60% ดังนั้นการรักษามะเร็งเต้านมจึงไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกเสมอไป การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast conservation […]


มะเร็งศีรษะและคอ

รู้ทันโรคร้าย มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer)

โรคมะเร็งนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่น ๆ  อีกมากมาย ซึ่ง มะเร็งศีรษะและลำคอ เป็นมะเร็งอีกหนึ่งชนิดที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้จัก ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มาฝากทุก ๆ คน เพื่อให้ได้รู้จักกับมะเร็งชนิดนี้มากขึ้น คำจำกัดความมะเร็งศีรษะและลำคอ คืออะไร มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer) มักเริ่มต้นในเซลล์สความัส (Squamous) เป็นมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นบริเวณทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจส่วนบนและบริเวณคอ เช่น มะเร็งของหู คอ จมูก รวมไปถึงบางตำแหน่งที่เห็นได้ยาก เช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งช่องหู ต่อมไทรอยด์ หรือต่อมน้ำลายที่โตผิดปกติ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ สามารถเกิดขึ้นได้ในที่ไหนบ้าง ช่องปาก รวมถึงริมฝีปาก ด้านหน้าสองในสามของลิ้น เหงือก แก้ม พื้นปาก(ด้านล่างของปาก) เพดานปาก บริเวณเหงือกหลังฟันคุด คอหอย เป็นท่อยาวประมาณ 5 นิ้วที่ยาวจากด้านหลังจมูกจนถึงด้านบนของหลอดอาหาร คอหอยนั้นรวมถึงทอนซิลด้านหลังของลิ้น และเพดาน กล่องเสียง […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

ทำความรู้จักกับ การตรวจหาค่า PSA การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากที่ควรรู้

การตรวจคัดกรองเป็นการตรวจเพื่อหามะเร็งก่อนที่มีอาการแสดงออกมา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่ชัดว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ซึ่งหนึ่งในวิธีการตรวจโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก คือ การตรวจหาค่า PSA ดังนั้น เราไปทำความรู้จักกับการตรวจวิธีนี้กันเลย การตรวจหาค่า PSA คืออะไร การตรวจหาค่าPSA คือ การตรวจแอนติเจนต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen หรือ PSA) เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในต่อมลูกหมาก (ทั้งเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็ง) หากมีปัญหากับต่อมลูกหมาก มันจะปล่อย PSA ออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นการทดสอบวัดปริมาณของแอนติเจนที่จำเพาะต่อมลูกหมาก ในเลือด ซึ่งเป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะของผู้ชาย โดย PSA ส่วนใหญ่พบอยู่ในน้ำอสุจิ แต่สามารถพบ PSA จำนวนเล็กน้อยไหลเวียนอยู่ภายในกระแสเลือด อย่างไรก็ตามภาวะอื่น ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต หรืออักเสบก็สามารถเพิ่มระดับ PSAได้เช่นกัน ระดับค่า PSA เนื่องจากยังไม่มีค่ากำหนดที่แน่ชัด เจาะจงว่าเป็นค่ามาตรฐานปกติของค่า PSA แต่โดยทั่วไปที่นิยมใช้กันก็คือ หากค่า PSA ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 4 ng/mL จะถือว่าเป็นค่าปกติ ที่อาจจะไม่เสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หากผู้ชายมีระดับ PSA สูงกว่า 4.0 ng/mL จนถึง […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มารู้วิธี การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ที่อาจมีการรักษามากกว่า 1 วิธี

มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีทางเลือกในการรักษาโรคนี้ โดยปัจจัยในการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แล้ว การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีไหนบ้าง มาดูกันเลย ต่อมลูกหมากสำคัญอย่างไร ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมที่อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้น บริเวณปากทางออกของกระเพาะปัสสาวะ มีรูปร่างลักษณะคล้ายวอลนัท ทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีการอย่างไร โดย การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก นั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งมีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การสังเกต หรือการเฝ้าระวัง การเฝ้าระวัง คือ การติดตามมะเร็งอย่างใกล้ชิด เป็นช่วงที่จะต้องไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรง ต่อมลูกหมาก หรือเรียกว่า “การตรวจ PSA” ที่ควรทำทุก ๆ 6 เดือน และการตรวจแบบทางทวารหนักแบบดิจิทัล (DRE) อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อเฝ้าสังเกตอาการและโรคมะเร็ง การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก การผ่าตัดเป็นทางเลือกทั่วไปในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งยังไม่ลุกลามออกนอก ต่อมลูกหมาก การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง คือ การผ่าตัดเอา ต่อมลูกหมาก ท่อน้ำเชื้อ และถุงน้ำเชื้อออกทั้งหมด การผ่าตัดนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศได้ การผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง (Laparoscopic Radical Prostatectomy หรือ LRP) เป็นการผ่าตัดที่มีการพัฒนามาจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ซึ่งการผ่าตัด ต่อมลูกหมาก ผ่านกล้องมีข้อดีมากกว่าการผ่าตัด […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

ความลับที่ไม่ลับ เกี่ยวกับ สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมที่อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้นบริเวณปากทางออกของกระเพาะปัสสาวะ มีรูปร่างลักษณะคล้ายเม็ดเกาลัด ทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิที่มีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย แต่ถ้าหากมีความผิดปกติบางอย่าง อาจเป็น สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็เป็นได้ ซึ่งสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนั้น เหล่าคุณผู้ชายควรรู้สัญญาณเตือนเอาไว้ เพื่อจะได้ระมัดระวังและสังเกตตัวเองให้มากขึ้น มะเร็งต่อมลูกหมาก คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ชาย  โดยเกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากเจริญเติบโตผิดปกติ และรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนมะเร็งอุดตันทางเดินปัสสาวะ โดยเซลล์มะเร็งเหล่านี้สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ไต ตับ และปอด ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหายได้ สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก มีอะไรบ้าง เหล่าคุณผู้ชายสามารถสังเกตสัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมากเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง โดยสัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมากมีดังนี้ เวลาปัสสาวะรู้สึกลำบาก รู้สึกเหมือนปัสสาวะยังไม่สุด ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน หรือตอนดึก ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะแล้วเลอะเท้า ปวดและรู้สึกแสบร้อนเวลาปัสสาวะ มีเลือดผสมปนมากับปัสสาวะ หรือในน้ำอสุจิ รู้สึกไม่สบายหรือปวด เวลานั่งเนื่องจากต่อมลูกหมากโต เริ่มมีอาการของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมากอื่น ๆ ที่สามารถพบเจอ ปวดหลัง สะโพก ต้นขา ไหล่ หรือกระดูก น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ อาการบวมที่ขา หรือเท้า (บวมน้ำ) รู้สึกเหนื่อยง่าย เมื่อยล้า อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมากก็ได้ แต่อาการที่กล่าวมาข้างต้นนั้นอาจเป็นเพียง อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก เบื้องต้น ดังนั้น หากคุณรู้สึกมีอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือไม่แน่ใจในอาการที่เกิดขึ้น การไปพบคุณหมอเพื่อขอรับการวินิจแันและรับคำแนะนำเพิ่มเติม จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ว่าผู้ชายบางคนอาจจะไม่มี สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ก็ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ ผู้ชายที่มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีอาการดังกล่าวเบื้องต้น คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็ง ผู้ที่เป็นโรคอ้วนอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์ […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

วิธี การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายที่เหล่าผู้ชายควรรู้

มะเร็งเป็นโรคที่เซลล์บางส่วนของร่างกายเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยมะเร็งสามารถเริ่มต้นได้เกือบทุกที่ในร่างกายมนุษย์ เช่นเดียวกับมะเร็งต่อมลูกหมากที่สามารถพบเจอได้ในผู้ชาย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นที่จะเป็น ดังนั้น เหล่าผู้ชายควรรู้เกี่ยวกับ การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ว่ามีวิธีการแบบใดบ้าง มะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดขึ้นได้อย่างไร มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการเจริญเติบโตและแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ต่อมลูกหมากจนกลายเป็นก้อนมะเร็ง  โดยเซลล์มะเร็งเหล่านั้นสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด หรือต่อมน้ำเหลืองไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหาย และถูกทำลาย ต่อมลูกหมากเป็นต่อมเล็ก ๆ ขนาดเท่าวอลนัท ซึ่งอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ และบริเวณด้านหน้าของทวารหนัก การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีไหนบ้าง การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก นั้นมีหลายวิธี สามารถดำเนินการตรวจเพิ่มเติมและทำการวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ได้แก่ การซักประวัติ และตรวจร่างกาย หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์อาจถามเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่ประสบพบเจอ เช่น ปัญหาทางเดินปัสสาวะหรือทางเพศ และระยะเวลาที่เป็น รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นไปได้เกี่ยวกับครอบครัว หรือทางพันธุกรรม ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจร่างกายด้วยการตรวจทางทวารหนักเพื่อคลำหาก้อนมะเร็ง (Digital Rectal Examination หรือ DRE) โดยแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่าง และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับ PSA การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับ PSA ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายที่ไม่มีอาการ ระดับ PSA ในเลือดวัดเป็นหน่วยที่เรียกว่า “นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร (ng/mL)” โดยแอนติเจนต่อมลูกหมาก (Prostate […]


มะเร็งแบบอื่น

ทำความรู้จักกับ มะเร็งท่อน้ำดี โรคที่หลายคนอาจไม่ค่อยได้ยิน

มะเร็งถือเป็นโรคเรื้อรังก็ว่าได้ เพราะบางครั้งมักจะไม่ค่อยมีอาการใด ๆ แสดงออกมา หรือแสดงอาการออกมาก็มักจะอยู่ในระยะที่การรักษาค่อนข้างจะลำบากแล้ว สำหรับ มะเร็งท่อน้ำดี ก็เป็นโรคมะเร็งอีกชนิดที่สามารถพบเจอได้ แต่โดยส่วนมากมักจะไม่ค่อยได้ยินมะเร็งชื่อนี้สักเท่าไร งั้นไปทำความรู้จักกันเถอะ คำจำกัดความมะเร็งท่อน้ำดี คืออะไร ท่อน้ำดี คือ ท่อขนาดเล็กที่เชื่อมระหว่างตับกับถุงน้ำดีไปยังลำไส้เล็ก โดยมีหน้าที่หลัก คือ ปล่อยของเหลวที่เรียกว่า “น้ำดี” โดยน้ำดีนั้นจะถูกสร้างจากตับ แล้วถูกนำมาเก็บไว้ในถุงน้ำดี และส่งเข้าไปในลำไส้เล็ก ซึ่งช่วยในเรื่องของการย่อยไขมันในอาหาร สำหรับ โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) เป็นก้อนเนื้อร้ายที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังของท่อทางเดินน้ำดี ซึ่งรวมถึงท่อน้ำดีภายในตับ และท่อน้ำดีภายนอกตับ ซึ่งอาจไปกดทับหรือเบียดจนลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ซึ่งประกอบด้วยตับ ตับอ่อน หรือลําไส้เล็กส่วนต้น ชนิดของ โรคมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี สามารถแบ่งชนิดได้จากตำแหน่ง เนื่องจาก ท่อน้ำดีมีส่วนที่อยู่ภายในตับและข้างนอกตับ จึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ เกิดจากเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีในตับ ขยายออกมาสู่เนื้อตับข้าง ๆ ทำให้มีลักษณะเหมือนโรคมะเร็งตับ ดังนั้น บางครั้งก็อาจมีการวินิจฉัยที่ผิดว่าเป็น “มะเร็งตับ” ได้ มะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ เกิดจากท่อน้ำดีใหญ่ตั้งแต่ขั้วของตับไปจนถึงท่อน้ำดีส่วนปลาย มะเร็งชนิดนี้ ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี พบได้บ่อยแค่ไหน โรคมะเร็งท่อน้ำดี ส่งผลกระทบต่อผู้คนในสหรัฐอเมริกาประมาณ 8,000 คนในแต่ละปี มะเร็งชนิดนี้เกิดขึ้นบ่อยในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น […]


มะเร็งเต้านม

ไขข้อข้องใจทำไมต้องรีบ ตรวจเต้านม

มะเร็งเต้านม ภัยเงียบของผู้หญิงที่มักมาเยือนอย่างไม่ทันตั้งตัว หลายคนเข้าใจว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยผู้ใหญ่ หรือ 40 ปีขึ้นไปเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ภัยเงียบนี้เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกวัย เพราะอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม แต่จะมาแสดงออกเมื่ออายุมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการแนะนำให้ผู้หญิงเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเมื่ออายุเริ่มเข้า 30 ปี และทำเป็นประจำทุกปี หากเราคิดว่าการ ตรวจเต้านม เป็นเรื่องไกลตัว ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นคือ มาตรวจพบโรคมะเร็งเต้านมเมื่อโรคอยู่ในระยะลุกลามแล้ว ทำให้ต้องใช้การรักษาหลายขั้นตอนและอาจไม่สามารถหายกลับมาเป็นปกติได้หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ระยะของมะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมระยะที่ 0 ระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ที่ยังไม่ลุกลามออกมาจากเซลล์เต้านมและเมื่อตรวจพบไว จะทำให้รักษาได้หายขาด มะเร็งเต้านมระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรกที่มะเร็งยังคงอยู่เฉพาะในเต้านม ซึ่งในระยะนี้อาจจะยังคลำหาก้อนผิดปกติในเต้านมไม่เจอและไม่มีอาการบ่งชี้ รวมทั้งยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและส่วนอื่นของร่างกาย หากรีบรักษา ยังคงหายขาดได้ มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 2-5 ซ.ม. และอาจเริ่มลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ถือเป็นระยะลุกลาม เซลล์มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่า 5 ซ.ม. เมื่อคลำตามเต้านมจะรู้สึกถึงความผิดปกติ รวมถึงมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โต เพราะมีการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้น มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 สำหรับระยะสุดท้ายนั้น เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ปอด สมอง กระดูก เป็นต้น ดังนั้น การตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรก จึงเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคซ้ำได้เช่นกัน ในทางกลับกัน เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลาม การรักษาจะยากขึ้นและโอกาสการหายขาดจะลดลง มะเร็งเต้านมไม่แสดงอาการ การตรวจอย่างสม่ำเสมอ คือ หัวใจสำคัญ […]


โรคมะเร็ง

รู้หรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง มีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง เป็นเรื่องร้ายแรงที่ไม่อาจมองข้าม โรคมะเร็ง ไม่เพียงแต่เป็นโรคร้ายที่ทำลายร่างกายของคุณเพียงอย่างเดียว ยังมีภัยแฝงเป็นภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง ที่อาจเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่รู้ตัว เพื่อให้คุณเข้าใจ โรคมะเร็ง มากขึ้น และรู้ถึงภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง Hello คุณหมอ จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคมะเร็ง ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กัน โรคมะเร็งคืออะไร? โรคมะเร็ง เป็นเซลล์บางส่วนของร่างกายเกิดการกลายพันธุ์และเติบโตขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ อีกทั้งยังแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกที่ของร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้ว เซลล์ในร่างกายจะแบ่งเซลล์ เพื่อสร้างเซลล์ใหม่มาแทนที่เซลล์ที่เสื่อมสภาพและตายลง แต่เมื่อกระบวนการเหล่านี้ผิดปกติ จึงทำให้เกิดการเจริญเติบโตและเพิ่มมากขึ้นของเซลล์ที่ผิดปกติ จนก่อตัวจนกลายเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกจะแพร่กระจายไปสู่เซลล์ใกล้เคียง หรืออาจแพร่กระจายผ่านต่อมน้ำเหลือง กระแสเลือดไปสู่อวัยวะส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างเนื้องอกใหม่ ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง โรคมะเร็ง เมื่ออยู่ในระยะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ปอด สมอง และหยุดการทำงานของอวัยวะเหล่านี้อย่างไม่ถูกต้อง จนอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น โดยภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจเกิดจากมะเร็งระยะแรก ซึ่งเริ่มที่อวัยวะสำคัญ เช่น มะเร็งสมอง หรืออาจจะเป็น โรคมะเร็ง ที่แพร่กระจายจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น มะเร็งเต้านม ที่ลามไปถึงปอด โรคมะเร็ง สามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย การควบคุมจึงทำได้ยากขึ้น […]


มะเร็งกระดูก

ทำความเข้าใจ การรักษามะเร็งกระดูก ช่วยตัดสินใจในการรักษา

การรักษามะเร็งกระดูก เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งกระดูก ดังนั้น ก่อนเข้ารับการรักษา คุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาแต่ละประเภท เพื่อเตรียมพร้อมในการรับการรักษามะเร็งกระดูกต่อไป วันนี้เราจึงมีความรู้ดี ๆ มาแชร์ เพื่อให้คุณเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งกระดูกของคุณ ระยะมะเร็งกระดูก การกำหนดระยะของมะเร็ง เป็นวิธีที่จะช่วยการกำหนดแนวทางการรักษาในการรักษาได้ดีที่สุด เมื่อกำหนดระยะของมะเร็งแล้ว จะทำให้แพทย์สามารถประเมินและกำหนดแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกแต่ละบุคคล สำหรับปัจจัยที่แพทย์ใช้ในการกำหนดระยะของมะเร็งกระดูก มีดังนี้ ขนาดของเนื้องอก มะเร็งเจริญเติบโตเร็วแค่ไหน จำนวนกระดูกที่ได้รับผลกระทบ การแพร่กระจายของมะเร็ง การรักษามะเร็งกระดูก มีอะไรบ้าง เมื่อแพทย์ทำการกำหนดระยะมะเร็งกระดูกของผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะเริ่มทำการรักษาแพทย์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ร่วมด้วย ชนิดของมะเร็งกระดูก ตำแหน่งและขนาดของมะเร็งกระดูก อายุและสุขภาพของผู้ป่วย การรักษามะเร็งกระดูกจะทำการรักษาเพื่อควบคุมอาการและเนื้องอกไม่ให้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ และทำให้อาการของผู้ป่วยทุเลาลงไปด้วย ในขั้นต้น การรักษามะเร็งกระดูกเป็นอะไรที่ซับซ้อนและต้องใช้การพิจารณาจากแพทย์ในหลายส่วน การให้ยารักษาหรือวิธีการรักษาต่าง ๆ ย่อมต้องคำนึงถึงสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย เนื่องจาก การให้เคมีบำบัดและรังสีอาจส่งผลต่อหัวใจและไตของผู้ป่วย การรักษาอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต จึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับการรักษา หากกระดูกอ่อนแอ กระดูกอาจแตกหักได้ระหว่างการรักษา แพทย์จะทำการใส่เฝือกหรือใช้ไม้ค้ำยัน เพื่อรองรับกระดูกก่อน เมื่อพิจารณาในส่วนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว วิธีการรักษามะเร็งกระดูกก็มีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้ การผ่าตัด การผ่าตัดมะเร็งกระดูกมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง การผ่าตัดรักษาแขนขา แพทย์จะทำการกำจัดส่วนที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็งกระดูกออก และอาจเอาส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบออกด้วยเล็กน้อย เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของการกลับมาเป็นซ้ำ กระดูกที่ถูกกำจัดออกจะมีการแทนที่ด้วยการปลูกถ่ายโลหะหรือการปลูกถ่ายกระดูก นั่นคือ การนำกระดูกที่แข็งแรงจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายมาแทนที่ในส่วนที่หายไป เมื่อผ่าตัดเรียบร้อยแพทย์จะสั่งจ่ายยา เพื่อระงับความเจ็บปวดและลดการติดเชื้อในกระดูกกับอวัยวะเทียม การผ่าตัดโดยการตัดแขนขาออก ในบางกรณี มะเร็งมีประมาณมากเกินไปจนทำให้การผ่าตัดเอามะเร็งทั้งหมดออกเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อแขนขา จึงจำเป็นต้องตัดออก หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะสั่งจ่ายยา เพื่อลดความเจ็บปวดและแนะนำวิธีดูแลบริเวณผ่าตัด หลังจากแผลผ่าตัดหายดีแล้วคุณอาจจะได้รับการใส่ขาหรือแขนเทียม เพื่อทดแทนและช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น การผ่าตัดส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย กระดูกเชิงกราน จะได้รับการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งและบริเวณโดยรอบออก เพื่อลดโอกาสกลับมาเป็นอีกและอาจมีการปลูกถ่ายกระดูกใหม่ด้วย กรามหรือกระดูกโหนกแก้ม แพทย์จะทำการเอากระดูกที่เป็นมะเร็งออกและนำกระดูกจากส่วนอื่น ๆ ในร่างกายมาทดแทน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน