โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งเต้านมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื้อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายแกนอกท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งต่อมน้ำนม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งตับ

มะเร็งตับระยะสุดท้าย อาการ และการรักษา

มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับ 1 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในคนไทย มะเร็งตับแบ่งได้ทั้งหมด 4 ระยะ โดยระยะที่ 4 คือ มะเร็งตับระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่เซลส์มะเร็งลุกลามอย่างรวดเร็ว และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น หากมีสัญญาณเตือน ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองแต่เนิ่น ๆ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและชีวิตที่ยืนยาว [embed-health-tool-heart-rate] มะเร็งตับระยะสุดท้าย คืออะไร มะเร็งตับระยะสุดท้ายเป็นมะเร็งระยะลุกลาม โดยเนื้องอกได้เกิดขึ้นที่ตับและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง หรืออวัยวะที่อยู่ห่างไกล มะเร็งระยะสุดท้ายยังสามารถแบ่งย่อยเป็นอีก 2 ระยะ ได้แก่  ระยะ 4A อาจมีเนื้องอกมากกว่าหนึ่งก้อน และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย  ระยะ 4B อาจมีเนื้องอกมากกว่าหนึ่งก้อน ซึ่งอาจจะแพร่กระจายหรือยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แต่อาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ปอด กระดูก อาการ มะเร็งตับระยะสุดท้าย มะเร็งตับมักไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก และส่วนมากมักแสดงอาการออกมาในระยะสุดท้าย ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้  ปวดท้อง เจ็บท้อง อาการคันตามตัว  อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน  น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ  เบื่ออาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็ว ตัวเหลือง […]


มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง เกิดจากความผิดปกติในการเจริญเติบโต และแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของผิวหนังบนร่างกาย และยังอาจสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายได้ โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  คำจำกัดความ มะเร็งผิวหนัง คืออะไร มะเร็งผิวหนัง คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง โดยเกิดจากการเจริญเติบโต การแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุที่ผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสที่จะแพร่กระจายไปยังกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่มักจะพบมะเร็งผิวหนังบริเวณที่โดนแสงแดดบ่อย เช่น ศีรษะ ลำคอ แต่อาจสามารถพบได้ในบริเวณใต้ร่มผ้าเช่นกัน ประเภทของมะเร็งผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง อาจสามารถแบ่งประเภทได้ ดังต่อไปนี้  มะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (Non Melanoma Skin Cancer) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่ มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell  Carcinoma หรือ BCC) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า มักไม่ค่อยแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น แต่อาจจะลามและขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ  มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma หรือ SCC) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงมากกว่าชนิดเบซัลเซลล์ เนื่องจากสามารถลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด หากตรวจไม่พบและไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้  มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่เรียกว่า “เมลาโนไซต์ (Melanocyte)” ซึ่งเป็นเซลล์ผิวหนังที่ผลิตเม็ดสีเมลานิน เซลล์มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปเนื้อเยื่อข้างเคียงและที่อื่น […]


มะเร็งผิวหนัง

ทำความรู้จัก ชนิดมะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง เกิดจากการเจริญเติบโต การแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุภายในผิวหนังมีความผิดปกติ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการสัมผัสกับแสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) มากเกินไปและติดต่อเป็นเวลานาน โดย ชนิดมะเร็งผิวหนัง มีหลากหลาย แต่อาจรักษาให้หายได้ หากตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ  ชนิดมะเร็งผิวหนัง มีอะไรบ้าง มะเร็งผิวหนังจำแนกออกเป็นหลายชนิด ส่วนใหญ่มักเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ และลุกลามเฉพาะที่ แต่บางชนิดอาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองได้ อาจสามารถแบ่งชนิดมะเร็งผิวหนัง ได้ดังต่อไปนี้ มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell Carcinoma หรือ BCC) เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่พบได้บ่อยมากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น โดยมะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังของร่างกายที่โดนแสงแดดเป็นประจำ เช่น ศีรษะ ลำคอ มีลักษณะเป็นตุ่มใสบนผิวหนัง หรือมีก้อนเนื้อเป็นสีคล้ำคล้ายกระ มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงต่ำ และมักไม่ค่อยแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด  มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma หรือ SCC) พบรองลงมาจากมะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ เป็นมะเร็งผิวหนังที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง มีลักษณะเป็นตุ่มแดง หรือแผลเรียบแบนที่เป็นขุยสะเก็ดร่วมด้วย มักพบในบริเวณขอบหู หน้า ริมฝีปาก คอ แขน หน้าอก และหลังโดยผู้ที่มีผิวขาวอาจมีโอกาสในการเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ได้มากกว่าผู้มีสีผิวคล้ำ   มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่มีระดับความรุนแรงมาก แต่เป็นชนิดที่พบได้น้อยหรือไม่ค่อยพบ มะเร็งผิวหนังชนิดนี้เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่เรียกว่า “เมลาโนไซต์ (Melanocyte)” […]


มะเร็งปอด

การรักษามะเร็งปอด มีกี่วิธี แล้วมีผลข้างเคียงหรือไม่อย่างไร

ในปัจจุบัน โรคมะเร็งถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนที่เรารัก รวมไปถึงโรคมะเร็งปอดด้วย เนื่องจากการกว่าจะเจออาการ มะเร็งก็อาจลุกลามไปส่วนอื่น ๆ แต่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีการรักษา ดังนั้นมาดู การรักษามะเร็งปอด และผลข้างเคียงของการรักษา ประเภทของมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 ประเภท คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (small cell lung cancer) และชนิดเซลล์ไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) ซึ่งในกลุ่มหลังนี้พบได้ 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด และในกลุ่มนี้ยังมีแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น เซลล์สความัส มะเร็งเซลล์ขนาดใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนชนิดเซลล์ขนาดเล็กแบ่งออกเป็น มะเร็งเซลล์ขนาดเล็ก และมะเร็งเซลล์ขนาดเล็กร่วม การรักษามะเร็งปอด มีวิธีใดบ้าง การรักษามะเร็งปอดนั้น แพทย์จะพิจารณาการรักษาเฉพาะสำหรับมะเร็งปอด โดยอาจพิจารณาจาก อายุ สุขภาพของผู้ป่วย ประวัติการรักษาต่าง ๆ ชนิดของมะเร็งปอด ระยะของโรค โดยแผนการรักษาที่แพทย์อาจจะแนะนำขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก หรือมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ซึ่งการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ดีอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นมาดูวิธีการรักษาว่ามีวิธีใดบ้าง การรักษามะเร็งปอด :การผ่าตัด การผ่าตัดมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ Pneumonectomy คือ […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก อีกทางเลือกในการรักษา

มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งโรคร้ายที่เหล่าผู้ชายทุกคนควรพึงระวัง เพราะเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากสามารถทำได้หลายวิธี แต่วันนี้ Hello คุณหมอ ขอเสนอแนะ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก อีกวิธีการรักษา ไปดูกันเลย เคมีบำบัด คืออะไร เคมีบำบัด (chemotherapy) คือ การใช้ยาเพื่อทำการรักษาโรคมะเร็ง โดยยาเคมีบำบัดนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดขนาดและชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย โดยมีตัวยาหลากหลายชนิด แพทย์จะทำการวินิจฉัยดูอาการ และระยะ เพื่อรักษา อาจใช้ยาเพียงชนิดเดียว หรือมากกว่านั้น ประเภทของ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก งานวิจัยเผยว่า docetaxel เป็นยาเคมีบำบัดแรกที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก และในปัจจุบันยาเคมีบำบัดสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากที่ใช้บ่อย คือ docetaxel (Taxotere) ซึ่งมักให้ร่วมกับ prednisone ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ หากการรักษา docetaxel ไม่ได้ผล แพทย์อาจใช้ cabazitaxel ที่เป็นกลุ่มตัวยาเดียวกันกับ docetaxel โดยยาเคมีบำบัดอื่น ๆ ที่อาจใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ mitoxantrone doxorubicin vinblastine paclitaxel วิธีการให้ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยส่วนใหญ่แล้วการให้เคมีบำบัดนั้นจะใช้วิธีการ “ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ” เป็นการให้ยาทีละรอบเพื่อช่วยให้ร่างกายมีเวลาฟื้นตัว แต่ละรอบใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง หรือบางครั้งอาจจะเป็น “ยารับประทาน” เคมีบำบัดอาจทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวลดลง […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะที่คุณผู้ชายควรระวัง

มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งที่เหล่าคุณผู้ชายควรพึงระวังเป็นพิเศษ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในต่อมลูกหมากไม่สามารถควบคุมได้ และยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก ว่ามีกี่ระยะ ไปดูกันเลย ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะ ถ้าหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอาจจำเป็นที่จะต้องตรวจหาระยะของโรคเพื่อช่วยเลือกแนวทางในการรักษา โดยระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้ ระยะที่ 1 หมายถึง มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของต่อมลูกหมาก โดยมะเร็งระยะที่ 1 นั้นมักจะมีการเติบโตช้า โดยคะแนน Gleason อาจจะได้ 6 หรือน้อยกว่า และค่า PSA น้อยกว่า 10 ที่อยู่ในระดับต่ำ ระยะที่ 2 หมายถึง มะเร็งที่ยังคงอยู่ที่ต่อมลูกหมาก และยังไม่แพร่กระจาย โดยสามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 คือ ระยะที่ 2A มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก ค่า PSA อยู่ระหว่าง 10 ถึง 19 และคะแนน Gleason เท่ากับ 6 หรือน้อยกว่า ระยะที่ 2B มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก ค่า […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย พร้อมวิธีการดูแลผู้ป่วย

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 ซึ่งอาจสามารถส่งผลกระทบต่าง ๆ ของคุณผู้ชายได้ โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง แล้วสามารถสังเกตอาการได้จากอะไรบ้าง ไปดูกันเลย มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้ายคือ มะเร็งได้พัฒนาตัวออกจากต่อมลูกหมากไปสู่อวัยวะอื่น ซึ่งมะเร็งต่อมลูกหมากนั่นมีโอกาสที่จะลุกลามไปเป็นมะเร็งกระดูกและต่อมน้ำเหลืองได้ รวมไปถึงยังสามารถแพร่กระจายไปในบริเวณใกล้เคียง โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระยะที่ 4A และ 4B ซึ่งสามารถวัดได้จากค่า PSA และ Gleason score อาการมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย โดยผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบากมากยิ่งขึ้น เวลาปัสสาวะมีอาการเจ็บ มีเลือดในน้ำอสุจิ แขน ขาไม่มีแรง อ่อนเพลียง่ายผิดปกติ ขาบวม เท้าบวม ในบางรายอาจถึงขั้นเดินไม่ได้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป แต่อาการเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณที่ให้เหล่าคุณผู้ชายลองสังเกตตนเองได้ การรักษา มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หากตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย แสดงว่ามะเร็งได้แพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมากแล้ว ซึ่งมีการรักษา แต่ก็ไม่อาจสามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ช่วยบรรเทาอาการและให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ได้แก่ การรักษาด้วยรังสี โดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถช่วยลดเนื้องอกและบรรเทาอาการ การฉายรังสีอาจใช้ร่วมกับการรักษาด้วยฮอร์โมน หรืออาจใช้หลังการผ่าตัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือ การผ่าตัด มักไม่ค่อยใช้เพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย แต่อาจแนะนำผู้ป่วยในบางสถานการณ์ เคมีบำบัด ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง บรรเทาอาการของโรคมะเร็ง และยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย ฮอร์โมนบำบัด เพื่อหยุดให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชาย หรือเพื่อป้องกันผลกระทบของฮอร์โมนเพศชายในมะเร็ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากพึ่งพาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพื่อช่วยให้พวกมันเติบโต การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่เน้นการบรรเทาความเจ็บปวดและอาการอื่น ๆ […]


มะเร็งปอด

มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ที่ควรรู้และใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น

มะเร็งปอดมีหลากหลายประเภท แต่วันนี้ทาง Hello คุณหมอ ขอนำเสนอข้อมูล มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) คืออะไร แล้วมีวิธีสังเกตอาการอย่างไร ไปดูกันเลย คำจำกัดความมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก คืออะไร มะเร็งปอดชนิดหลัก ๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer: NSCLC) และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer: SCLC) โดยมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก เป็นเซลล์มะเร็งที่ก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อของปอด และยังสามารถแบ่งยิบย่อยลงไปอีก มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กพบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กพบได้ประมาณ 85-87 % ของผู้ป่วย เป็นมะเร็งปอดชนิดที่พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับการรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก อาการของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก อาจเติบโตช้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเริ่มมีอาการเกิดขึ้น โดยอาการที่แสดงให้เห็นทั่วไป อาจมีดังนี้ อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะออกมาเป็นเลือด เสียงแหบแห้ง เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ หายใจลำบาก หรือหายใจถี่ขึ้นผิดปกติ เวลาหายใจมีเสียงดังฮืด ๆ อ่อนเพลียง่าย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ความอยากอาหารลดลง แต่ถ้าหากมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ แล้วอาจมีอาการ ปวดกระดูก ปวดศีรษะ เวียนหัว และปัญหาด้านการทรงตัว โดยผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น […]


มะเร็งต่อมไทรอยด์

ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ กับสัญญาณเตือนเบื้องต้น

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือก โดยต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่มีส่วนในการควบคุมน้ำหนักตัว อุณหภูมิ ความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น หากต่อมไทรอยด์ผิดปกติ อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ การเรียนรู้ ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ ถือเป็นอีกเรื่องที่ควรทราบ ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ จะจัดตามชนิดของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในเนื้องอก การวินิจฉัยและการรักษาโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ โดยประเภทของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ แบ่งได้ดังนี้ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดพาพิลลารี่ (Papillary Thyroid Cancer) เป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ซึ่งมีหน้าที่ผลิตและเก็บฮอร์โมนไทรอยด์ พบมากในผู้ที่มีอายุ 30-50 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ (Follicular Thyroid Cancer) โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ประเภทนี้เกิดที่เซลล์ฟอลลิคูลาร์ พบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ที่พบได้ยากและมีความรุนแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง คือ มะเร็งเซลล์เฮิร์ทเทิล (Hurthle Cell Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดอะนาพลาสติก (Anaplastic Thyroid Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดนี้เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดหายาก ร้ายแรงและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มักพบในผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดเมดัลลารี (Medullary Thyroid Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดเมดัลลารีเกี่ยวกับไขกระดูกที่เกิดขึ้นในเซลล์ซี (C-Cell) หรือเซลล์พาราฟอลลิคูลาร์ (Parafollicular Cell) […]


มะเร็งศีรษะและคอ

สัญญาณเตือนมะเร็งศีรษะและลำคอ ที่ไม่ควรมองข้าม

มะเร็งศีรษะและลำคอ เป็นมะเร็งที่พบมากในเพศชาย เกิดขึ้นบริเวณทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจส่วนบนและบริเวณคอ รวมไปถึงต่อมไทรอยด์ หรือต่อมน้ำลาย ดังนั้น เรามาดู สัญญาณเตือนมะเร็งศีรษะและลำคอ กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง [embed-health-tool-heart-rate] มะเร็งศีรษะและลำคอ มีกี่ระยะ ระยะของ มะเร็งศีรษะและลำคอ สามารถบอกได้ว่า มะเร็งนั้นแพร่กระจายหรือลุกลามไปมากเพียงใด โดยระยะของ มะเร็งศีรษะและคอ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทางเลือกสำหรับการรักษา โดยทาง American Joint Committee on Cancer ได้พัฒนาระบบ TNM ซึ่งเป็นระบบในการพิจารณาว่า มะเร็งอยู่ในขั้นไหน โดยจะพิจารณาร่วมกันใน 3 ปัจจัย ได้แก่ T (Tumor) หมายถึง ขนาดของก้อนเนื้องอก N (Node Involvement) หมายถึง การแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง M (Metastasis) หมายถึง ดัวบ่งชี้ว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายหรือไม่ ระยะของมะเร็งศีรษะและคอ สำหรับระยะของ มะเร็งศีรษะและคอนั้น มีอยู่ด้วยกัน 4 ระยะ โดยแต่ละระยะมีรายละเอียด ดังนี้ ระยะ 0 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน