โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งในท่อน้ำนมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื่่อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายออกนอกผนังท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งในต่อมน้ำนมชนิดไม่ลุกลาม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง แต่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคต มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งท่อน้ำนมแบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม ได้แพร่กระจายและลุกลามไปยังบริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียง […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

เนื้องอกในสมอง

ใครอยากรู้บ้างว่า วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง มีกี่วิธี

“เนื้องอก” ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความวิตกกังวลต่าง ๆ นานา เนื้องอก (Tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ สามารถจำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เนื้องอกไม่ร้าย เนื้องอกเฉพาะที่ เนื้องอกร้ายหรือที่เรียกว่า “มะเร็ง” และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน โดยวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ โรคเนื้องอกในสมอง และ วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง ทำความรู้จักกับสมอง สมอง (Brain) คือ ส่วนที่มีความซับซ้อนที่สุดของร่างกาย โดยสมองมีความสำคัญที่ทำให้มนุษย์เราสามารถดำรงชีวิตเพื่อการอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสมองนั้นประกอบด้วยเซลล์จำนวนนับแสนล้านขนาด น้ำหนักของสมองเทียบเท่า 3 ปอนด์ หรืออยู่ที่ประมาณ 1,300-1,400 กรัม สมองของคนเรานั้นมีขนาดไม่เท่ากัน แตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล โดยสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะสามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก สมองถือเป็นอัญมณีที่มีค่าในร่างกายของเรา เพราะมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ด้านพฤติกรรม และอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็น อารมณ์ ความทรงจำ ฯลฯ โรคเนื้องอกในสมอง คืออะไร เนื้องอกในสมอง คือ การเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ในสมอง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสมองและประสาท […]


เนื้องอกในสมอง

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง อันตรายหรือไม่

สมอง เป็นส่วนสำคัญและอาจเบาะบางเกินกว่าที่เราจะเข้าใจได้ ทั้งยังเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนอย่างมาก โดยปกติแล้ว เรามักใช้สมองในการทำหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การสั่งให้เคลื่อนไหว อารมณ์ ความรู้สึกเจ็บ เศร้า น้อยใจ แต่ถ้าหากเกิดเนื้องอกในสมองจำก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองได้ แล้เมื่อเกิดเนื้องอกในสมองต้องทำอย่างไร เมื่อรักษาแล้วจะมี ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง เกิดขึ้นหรือหรือไม่ ติดตามได้ในบทความนี้ [embed-health-tool-bmi] เนื้องอกในสมอง เกิดจากภาวะใด เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เกิดจากภาวะเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติจนส่งผลต่อระบบสมอง และระบบประสาท โดยเนื้องอกในสมองมี 4 ระยะ ซึ่งวัดระยะได้ 1-4 ตามลำดับการเจริญเติบโตของเนื้องอก และโอกาสที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำ การรักษาเนื้องอกในสมอง มีแบบไหนบ้าง การรักษาแพทย์จะดูหลายปัจจัย ไม่ว่าขนาด ชนิด หรือระดับของเนื้องอก รวมไปถึงเนื้องอกไปกดทับส่วนสำคัญของสมองหรือไม่ โดยการรักษาเนื้องอก มีดังต่อไปนี้ ศัลยกรรม คือ การผ่าตัด โดยการกำจัดเนื้องอกและเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีโดยรอบ เป็นเพียงการรักษาสำหรับเนื้องอกในสมองระดับแรก การรักษาด้วยรังสี คือการใช้รังสีเอกซ์ เพื่อทำลายเซลล์เนื้องอก การรักษาด้วยรังสีแบบธรรมดา เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการกำหนดเป้าหมายที่มีความแม่นยำยิ่งขึ้น การฉายรังสีแบบสามมิติ (3D-CRT) เป็นการฉายรังสีจากภายนอก สามารถให้ปริมาณรังสีสูงเฉพาะในรอยโรค และลดรังสีที่จะถูกกระทบในเนื้อเยื่อที่ดี […]


เนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองที่พบบ่อย แต่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้

มนุษย์เราถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์หลายชนิด โดยปกติเซลล์จะเจริญเติบโต และแบ่งตัวในการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ขึ้นมาตามขั้นตอน หรือระบบภายในร่างกาย แต่บางครั้งเซลล์ใหม่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไม่จำเป็นทำให้เกิดก้อนเนื้อขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า “เนื้องอก” ซึ่งเนื้องอกนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในสมอง แล้วสงสัยกันไหมว่า เนื้องอกในสมองที่พบบ่อย คืออะไรกันนะ อยากรู้กันไหม มาอ่านเลย!! เนื้องอกในสมองมีกี่ชนิด แล้ว เนื้องอกในสมองที่พบบ่อย คือ เนื้องอกในสมอง มีหลายชนิด แบ่งออกมาคร่าว ๆ ประมาณ 120 ชนิด แต่แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ชนิดเนื้องอกของตัวสมองเอง ชนิดของเนื้องอกของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ และลุกลามมาที่สมอง เช่น เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง และอีกกลุ่มก็คือ เนื้องอกของเส้นประสาทต่าง ๆ เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) คืออะไร  เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) เป็นเนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง เกิดขึ้นในชั้นเยื้อหุ้มสมอง และเยื้อหุ้มไขสันหลัง ซึ่งสามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนมากมักจะพบในผู้สูงอายุโดยเฉพาะเพศหญิง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 เซลล์เนื้องอกเติบโตช้า ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นระดับที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด ระดับที่ 2 สามารถมีโอกาสกับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้ง แม้จะกำจัดออกไปแล้วก็ตาม […]


เนื้องอกในสมอง

ปวดหัวแบบนี้ ใช่ สัญญาณโรคเนื้องอกในสมอง รึเปล่า!!

อาการปวดหัว เป็นเรื่องปกติ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิง เพศชาย อายุมาก หรืออายุน้อยก็ตาม ซึ่งสาเหตการปวดหัวอาจเกิดจากความเครียด นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถทำให้ปวดหัวได้ แล้วแก้ปัญหาด้วยการกินยาแก้ปวด แต่รู้หรือไม่ว่า บางครั้ง อาการปวดหัวบ่อย ๆ อาจจะเป็น สัญญาณโรคเนื้องอกในสมอง รึเปล่า แล้ว อาการปวดหัว แบบไหนที่คุณจำเป็นต้องระวัง และควรรีบไปปรึกษาแพทย์ ลองมาติดตามกัน [embed-health-tool-bmr] โรคเนื้องอกในสมอง คืออะไร โรคเนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนส่งผลต่อระบบสมอง และระบบประสาท ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ กับร่างกาย เช่น อาการปวดหัว คลื่นไส้ ซึ่งสาเหตุของอาการต่าง ๆ นั้น เกิดจากก้อนเนื้องอกมีการเบียด หรือกดทับหลอดเลือด และเส้นประสาทที่ละเอียดอ่อนของสมอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อสมองที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่าง ๆ โรคเนื้องอกในสมอง มีกี่ประเภท และกี่ระยะ เนื้องอกในสมองที่ไม่กลายเป็นมะเร็ง มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ […]


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

ประเภทของลูคีเมีย อยากทราบมั้ยว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่ใคร ๆ หลายคนทราบกันดีในชื่อ ลูคีเมีย เป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูก และเม็ดเลือดขาว เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวมีการแบ่งตัวเร็วผิดปกติ โดยมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถแบ่ง ประเภทของลูคีเมีย ในแต่ละชนิดคร่าว ๆ ได้ว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ซึ่งมะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ก่อนอื่นเลยมารู้กับปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวกันเลย ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม โครโมโซมที่มีความผิดปกติ การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด การสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอิลอยด์ ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ประเภทของลูคีเมีย มีอะไรบ้าง  การจำแนก ประเภทของลูคีเมีย เกิดจากระยะเวลาการแพร่กระจายของเซลล์ในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟไซติก (Acute Lymphocytic Leukemia หรือ ALL) เป็นมะเร็งของไขกระดูก และเลือดที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เซลล์ที่เสียหายนี้จะกลายเป็นเซลล์ลูคีเมีย และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้เป็นพันล้านเซลล์ ไม่มีสาเหตุในการเกิดที่ชัดเจน แม้ว่า ALL จะเริ่มจากสเต็มเซลล์ในไขกระดูก แต่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง ต่อมน้ำเหลือง และอัณฑะได้ แต่โอกาสที่เกิดขึ้นนั้นมีน้อย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เฉียบพลันชนิดลิมโฟไซติก เป็นชนิดที่พบบ่อยในเด็ก มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (Acute Myelogenous Leukemia หรือ AML) สาเหตุหลักเกิดจากความผิดปกติของ โครโมโซม สารพันธุกรรม ของสเต็มเซลล์ที่กำลังพัฒนาในไขกระดูกได้รับความเสียหาย […]


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน มีกี่ชนิดกันนะ แล้วชนิดไหนรุนแรงกว่ากัน

มะเร็ง คือ โรคร้ายที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเป็น แต่เซลล์ผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ทำให้เซลล์ต่าง ๆ มีการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะลุกลาม และแพร่กระจายทั่วร่างกาย โดยวันนี้เราจะกล่าวถึง มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ที่เกิดจากการผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว อยากทราบกันไหมว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถแบ่งออกมาใหญ่ ๆ ได้กี่ชนิด ต้องมาติดตามกัน มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีกี่ชนิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว มี 2 ชนิด แต่ยังสามารถแบ่งประเภทของชนิดลงไปตามแขนงได้อีก แต่วันนี้เราจะพามารู้จักกับ 2 ชนิดหลัก ๆ ก็คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกผลิตออกมามากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ ผู้ที่ป่วยเป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะไม่ค่อยปรากฏอาการออกมาเท่าไร ผู้ป่วยจะอยู่ในระยะนี้นานประมาณ 3-5 ปีขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจเลือด มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของ เม็ดเลือดขาว เพิ่มขึ้นอย่างมาก และรวดเร็ว ซึ่งการแบ่งตัวดังกล่าวจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติของไขกระดูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน สามารถแบ่งได้กี่ชนิด มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟไซติก (Acute Lymphocytic Leukemia หรือ ALL) เป็นชนิดของโรคมะเร็งในเลือดที่จะเริ่มต้นในเซลล์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้พบยากในผู้ใหญ่ แต่สามารถพบได้บ่อยในเด็ก มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (Acute Myelogenous Leukemia หรือ […]


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มาทำความรู้จักกับ อาการลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็ง เพียงแค่ได้ยินชื่อนี้หลายคนคงรู้สึกกลัว และเป็นกังวล เพราะโรคมะเร็งนั้นมีหลากหลายชนิด ทั้งมีระยะที่แตกต่างกันไปใน ซึ่งขึ้นอยู่กับบริเวณที่เซลล์มะเร็งเกิดขึ้น โดยส่วนมากโรคมะเร็งนั้น มักจะไม่ค่อยแสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็นในระยะเริ่มแรก หรือบางครั้งอาการที่แสดงออกมา อาจทำให้คุณคิดว่า อาจไม่ใช่อาการของโรคมะเร็ง และรักษาอาการที่เกิดขึ้นเพียงให้ทุเลาลง แต่วันนี้ Hello คุณหมอจะพาไปรู้กับ อาการลูคีเมีย หรืออาการของโรค มะเร็งเม็ดเลือดขาว ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้สังเกตตัวเองกัน มะเร็งเม็ดเลือดขาว คืออะไร มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย (Leukemia) เป็นโรคมะเร็งที่ภาวะของไขกระดูก หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem Cell) ทำงานผิดปกติ มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์เหล่านี้แบบไม่มีหยุด ซึ่งสิ่งนี้เป็นการรบกวนการทำงานในการสร้างเม็ดเลือดปกติของร่างกายภายในไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ และเกล็ดเลือดลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง มีเลือดออกผิดปกติ ติดเชื้อง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้ เซลล์มะเร็งยังสามารถลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะได้อีกด้วย อาการลูคีเมีย มีอะไรบ้างให้คุณได้สังเกตเห็น อาการของ มะเร็งเม็ดเลือดขาว นั้น มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ซึ่งอาการส่วนใหญ่ที่พบ ก็คือ มีไข้ และหนาวสั่น มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมน้ำเหลือง […]


โรคมะเร็ง

การให้ยาเคมีบำบัด หนึ่งทางเลือกรักษาโรคมะเร็ง

การให้ยาเคมีบำบัด เป็นหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยมะเร็งที่จะช่วยเยียวยา รักษามะเร็งไม่ให้ลุกลามไปไกล แล้วยาเคมีบำบัดมีอะไรบ้าง ออกฤทธิ์อย่างไรกับมะเร็ง วันนี้ Hello คุณหมอ มีความรู้ดี ๆ มาแบ่งปันไว้ที่นี่แล้วค่ะ ประเภทของยาเคมีบำบัดมีอะไรบ้าง การให้ยาเคมีบำบัดเป็นยาที่มักใช้เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย หรืออาจใช้เพื่อเตรียมความพร้อมในการักษาอื่น ๆ เช่น การฉายรังสีหรือการผ่าตัด ซึ่งยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามีหลายประเภทขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยหรือระยะของมะเร็ง  โดยยาเคมีบำบัดจะแบ่งตามการออกฤทธิ์ ได้แก่ สารทำให้เป็นด่าง สารทำให้เป็นด่างจะเข้าทำลาย DNA ของเซลล์มะเร็งและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจาย สามารถใช้รักษามะเร็งที่เติบโตช้า ได้แก่ chlorambucil cyclophosphamide thiotepa busulfan อัลคาลอยด์จากพืช (plant alkaloids) เป็นยาที่ได้จากพืชมีคุณสมบัติในการต่อต้านเนื้องอกที่ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง แบ่งเป็นหมวดหมู่ ดังนี้ สารยับยั้ง Topoisomerase      เป็นสารที่เข้าไปรบกวนเอนไซม์ Topoisomerase เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเกิดการแบ่งตัวและแพร่กระจาย ได้แก่ irinotecan topotecan teniposide สารยับยั้ง Mitotic เป็นสารที่เข้าไปยับยั้งเอนไซม์ที่เซลล์ต้องการใช้ในการสร้างโปรตีนบางชนิด ได้แก่ cabazitaxel docetaxel vinorelbine ต่อต้านการเผาผลาญ เป็นการเข้าไปแทนที่โครงสร้าง DNA ของเซลล์มะเร็งและเปลี่ยนแปลงการทำงานของเอนไซม์ ได้แก่ azacitidine clofarabine floxuridine ยาปฏิชีวนะต่อต้านเนื้องอก เป็นสารเคมีที่เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยการคลายสาย DNA และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ได้แก่ doxorubicin bleomycin mitoxantrone Corticosteroids เป็นยาที่ใช้ในระหว่างการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อรักษามะเร็งหรือป้องกันผลข้างเคียงต่าง ๆ ซึ่งยา Corticosteroids ก็อาจมาพร้อมกับผมข้างเคียงได้เช่นกัน ดังนี้ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร อารมณ์แปรปรวน ปัญหาการนอนหลับ ท้องเสีย ความดันโลหิตสูง ยาอื่น ๆ ยังมียาชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเคมีบำบัดอีกมากมาย ได้แก่ hydroxyurea mitotane pegaspargase estramustine bexarotene ผลข้างเคียงระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด ได้แก่ คลื่นไส้/อาเจียน,ท้องผูก/ท้องร่วง เป็นอาการที่น่าเป็นห่วงแต่ปัจจุบันมียาที่ป้องกันอาการเหล่านี้ที่มักให้พร้อมกับเคมีบำบัด ความไวต่อแสง ยาเคมีบำบัดบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการไวต่อแสงแดดจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง ผมร่วง อาการผมร่วงอาจเกิดขึ้นในช่วงแรกของการให้เคมีบำบัด โดยจะงอกขึ้นใหม่เมื่อเสร็จสิ้นการรักษา เกิดความเหนื่อยล้า เป็นผลข้างเคียงจากการได้รับเคมีบำบัดที่ให้ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้า เกิดแผลในปาก ในผู้ป่วยส่วนน้อยอาจเกิดแผลในปากซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการให้ยา ปลายประสาทอักเสบ […]


โรคมะเร็ง

วิกผมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ควรเลือกอย่างไรดี

วิกผมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาด้วยเคมีบำบัด จึงอาจทำให้เกิดอาการผมร่วง ผมบาง ขาดความมั่นใจ วิกผมจึงตอบโจทย์กับผู้ป่วยมะเร็ง แต่จะเลือกวิผมอย่างไรดีให้เหมาะสมและได้คุณภาพ  วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการเลือกและวิธีรักษาวิกผมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งมาฝากกันค่ะ การเลือกวิกผมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง วิกผมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย ทั้งรูปทรง สี คุณภาพ ขึ้นอยู่กับความชอบและกำลังทรัพย์ของแต่ละคน ชนิดของเส้นผมในการทำวิกก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรใช้ในการพิจารณาเลือก ได้แก่ เส้นผมสังเคราะห์ เป็นเส้นผมที่สร้างจาก Polymers ซึ่งสามารถจัดทรงได้ แต่เส้นผมบางชนิดอาจละลายได้ด้วยความร้อน ส่วนบางชนิด เช่น Kanekalon สามารถใช้ความร้อนจัดแต่งทรงผมได้ เส้นผมจริง เป็นเส้นผมของมนุษย์ สามารถทำสี หรือจัดแต่งทรงผมด้วยความร้อนได้เหมือนกับเส้นผมธรรมชาติของคุณ วิกผมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีกี่ประเภท ก่อนเลือกวิกผมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเราควรรู้ก่อนว่าวิกผมมีกี่ประเภท แล้ววิกผมแบบไหนที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด ซึ่งการเลือกวิกผมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งขึ้น อยู่กับปริมาณผมของคุณด้วย วิกผมเต็มรูปแบบ  เป็นวิกผมที่สามารถใส่ทดแทนผมธรรมชาติได้เลย หากผู้ป่วยมีอาการผมร่วงปริมาณมากก็สามารถเลือก   วิกผมประเภทนี้มาใส่เพื่อเพิ่มความมั่นใจได้ วิกผมบางส่วน สำหรับหลังการให้ยาเคมีบำบัดผู้ป่วยบางคนอาจมีผมร่วง ผมบางเป็นบางส่วนจึงต้องการเพิ่มความหนาของผมเพื่อเพิ่มความมั่นใจยิ่งขึ้น วิกผมประเภทนี้จึงเหมาะสมอย่างยิ่ง วิกผมเฉพาะจุด ในบางคนอาจมีผมร่วงเฉพาะจุด โดยวิกผมประเภทนี้มีลักษณะเป็นเส้นผมที่ติดกับหวี หรือกิ๊บติดผม อาจมีความสั้นความยาวของผมที่แตกต่างกัน Hairpiece เป็นวิกผมที่เพิ่มลูกเล่นอาจมีลักษณะเป็นหางม้า ผมเปีย หน้าม้า แบบมีที่คาดผมหรือหมวกติดมาด้วย การดูแลวิกผม วิกผมถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถเพิ่มความมั่นใจได้ จึงต้องมีการดูแลรักษาวิกผมที่ดี เพื่อให้มีระยะเวลาการใช้ที่ยาวนาน จึงควรดูแลวิกผมอยู่สม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ดูแลวิกผม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพเส้นผม และควรเป่าผมให้แห้งตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้น หรือเชื้อรา เครื่องมือตกแต่งเส้นผม เส้นผมสังเคราะห์บางชนิดอาจละลายได้เมื่อโดนความร้อน การจัดเก็บวิกผม เมื่อเสร็จสิ้นจากการใช้งานควรใช้หวีสางเส้นผมเพื่อไม่ให้เส้นผมพันกัน และไม่ควรพับเส้นผมเพราะอาจทำให้เส้นผมโค้งงอผิดรูปได้ หลีกเลี่ยงการย้อมสี การย้อมสีเป็นการใช้สารเคมีในการเปลี่ยนสีเส้นผมจึงอาจทำให้เส้นผมเสีย […]


มะเร็งแบบอื่น

เนื้องอกในตา ลุกลามเป็นมะเร็งได้หรือไม่

เนื้องอกในตา ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นในตาหรือบริเวณตาสามารถลุกลามไปเป็นมะเร็งได้หรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีความรู้ดี ๆ มาบอกต่อเพื่อให้คุณได้รู้ทันโรคและพร้อมรับมือโรคได้อย่าถูกต้อง เนื้องอกในตา (Eye Tumors) คืออะไร เนื้องอกในตา (Eye Tumors) เป็นกลุ่มเซลล์ที่เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติจนอาจกลายเป็นมะเร็ง เนื้องอกที่พบบ่อยที่สุดคือเนื้องอกที่มีการแพร่กระจายมาจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เนื้องอกในตา หรือเรียกอีกอย่างว่า Melanoma เป็นมะเร็งที่พัฒนาจากเซลล์สร้างสร้างเม็ดสี และแน่นอนดวงตาก็มีเซลล์สร้างเม็ดสีและสามารถพัฒนาเกลายเป็นเนื้องอกในตาได้ อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีเนื้องอกในตา อาจไม่แสดงอาการกับร่างกายให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่สามารถสังเกตุได้จากการมองเห็นของดวงตา  ได้แก่ ความรู้สึกมองเห็นแสงวาบหรือมองเห็นเป็นจุดฝุ่น มองเห็นเป็นจุดมืดเพิ่มขึ้นบนม่านตา การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของรูม่านตา ดวงตาพร่ามัว สูญเสียการมองเห็น สาเหตุที่ไม่ควรมองข้าม เนื้องอกอาจกลายเป็นมะเร็งได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ DNA มีการเติบโตอย่างผิดปกติและอาจกลายไปเป็นมะเร็งได้ หรืออาจมีปัจจัยมาจากการกลายพันธุ์ของยีนที่สืบทอดมาทางพันธุกรรมอีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงที่คุณควรรู้ สีของตา ผู้ที่มีสีของตาอ่อน เช่น สีฟ้า สีเขียว อาจมีแนวโน้มในการเกิดเนื้องอกในตามากกว่าผู้มีตาสีเข้ม สีผิว คนที่มีผิวขาวมีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกมากขึ้น อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ความผิดปกติของผิวหนังที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม การสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) การวินิจฉัยโดยแพทย์ เมื่อเข้ารับการรักษาแพทย์ของคุณอาจใช้การวินิจฉัย ดังนี้ การตรวจตา แพทย์อาจตรวจดูภายในและภายนอกดวงตาเพื่อตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติ อัลตราซาวด์ตา เป็นการสร้างภาพดวงตาโดยใช้เครื่องแปลงสัญญาณวางบนเปลือกตาที่ปิดหรือใกล้พื้นผิวด้านหน้าของดวงตา การถ่ายภาพหลอดเลือดด้านในและรอบๆ เนื้องอกในตา (Angiogram) เป็นการฉีดสีย้อมเรืองแสง (Fluorescein) เข้าสู่เส้นเลือดทำให้แพทย์สามารถถ่ายภาพได้ การตรวจชิ้นเนื้อที่น่าสงสัย เป็นการนำเข็มบาง ๆ สอดเข้าไปในดวงตาเพื่อนำชิ้นเนื้อที่ผิดปกติออกมาตรวจสอบ วิธีรักษาที่นิยมใช้ วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก รวมไปถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ดังนี้ ขนาดของเนื้องอก หากเนื้องอกในตาหรือบริเวณดวงตายังมีขนาดเล็ก  แพทย์อาจยังไม่ทำการรักษาทันทีแต่เฝ้าดูอาการเป็นระยะ การรักษาด้วยรังสี ใช้รังสีที่มีพลังงานสูง เช่น โปรตอนหรือแกรมมาเพื่อฆ่าเชื้อมะเร็งโดยทั่วไปใช้สำหรับเนื้องอกที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง การรักษาด้วยเลเซอร์ ใช้เลเซอร์เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งผิวหนังด้วยความร้อน การบำบัดด้วยแสง เป็นการฉายแสงไปที่เซลล์เนื้องอก ใช้สำหรับเนื้องอกขนาดเล็ก ศัลยกรรม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน