โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ดวงตา เส้นประสาท หัวใจ และไต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย  ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะสามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย รวมถึงในผู้ชายที่อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่า จากวารสารวิชาการของ The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ระุบุว่า ผู้ชายมีไขมันในช่องท้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งการมีไขมันหน้าท้องอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเมตาบอลิกได้ นอกจากการสะสมของไขมันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกได้ ดังนี้ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ  แต่สำหรับผู้หญิงอาจมีเพียงการสะสมไขมันใต้ผิวหนังตามจุดเล็ก ๆ เช่น […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ความเสี่ยงเบาหวาน วิธีการตรวจเพื่อประเมินเบื้องต้น

ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานปีละประมาณ 20,000 คน ทั้งยังมีแนวโน้มจะมีผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีอีกด้วย พบว่า กว่า 50% ของผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ จึงไม่ได้เข้ารับรักษา หรือควบคุมโรคอย่างถูกวิธี ดังนั้น การประเมิน ความเสี่ยงเบาหวาน เบื้องต้นให้ทราบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือไม่นั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจาก หากรู้ตัวเร็วก็อาจเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] การตรวจเพื่อประเมิน ความเสี่ยงเบาหวาน การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c หรือ Hemoglobin A1c) เรียกสั้น ๆ ว่า การตรวจเอวันซี (A1c) เป็นการตรวจค่าน้ำตาลสะสม ซึ่งบ่งบอกถึงการควบคุมน้ำตาลในเลือดโดยเฉลี่ยนในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา สามารถใช้ในการประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และยังเป็นการตรวจที่คุณหมอใช้เพื่อประเมินการรักษาและการควบคุมโรคเบาหวานของผู้ป่วยอีกด้วย การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี เป็นการตรวจน้ำตาลที่มาจับกับ ฮีโมโกลบิน ของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งฮีโมโกลบินนี้ เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จากการที่รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ น้ำตาลในเลือดก็จะไปจับกับฮีโมโกลบินสะสมเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ฮีโมโกลบินเอวันซีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามมา การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

พฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ที่ควรระวัง

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่พบมากที่สุด โดยจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ป่วย โรคเบาหวานกว่า 90-95% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เพียง ประมาณ 5% ซึ่งสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และ มีพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้แล้ว หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคเบาหวาน ก็มีแนวโน้มว่าที่จะพบมีโรคร่วมอื่น ๆ หรือ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนร่วมพร้อมกันอีกด้วยเช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต [embed-health-tool-bmi] พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน มีอะไรบ้าง รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การรับระทานอาหารขยะ (Junk food) บ่อย ๆ เช่น น้ำอัดลม ของทอด เฟรนช์ฟรายส์ มันฝรั่งทอดกรอบ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากถึง 70% ดังนั้น พฤติกรรมการบริโภคและชนิดของอาหารที่รับประทาน เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น หากไม่อยากเป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ อาหารที่มีน้ำตาลสูง […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล กับข้อควรรู้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม คือ สารที่ใช้เติมในอาหารและเครื่องดื่ม สามารถให้รสชาติหวานได้เหมือนน้ำตาล แต่อาจไม่มีแคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตเหมือนน้ำตาล จึงอาจเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด เช่น โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาจช่วยให้บริโภคสารชนิดนี้ได้เหมาะสมและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพได้ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล คืออะไร สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม คือ สารที่ใช้เติมในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มรสหวานได้เหมือนน้ำตาล แต่อาจไม่มีแคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตเหมือนน้ำตาล นิยมใช้ในอาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการ เช่น น้ำอัดลม ขนมอบ ขนมหวานแช่แข็ง ลูกอม โยเกิร์ตแคลอรี่ต่ำ หมากฝรั่ง หรือบางคนอาจเติมสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในกาแฟ ชา และซีเรียลได้ด้วย ในปัจจุบัน มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) และกระทรวงสาธารณสุขไทยรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย ดังนี้ แอสปาร์แตม (Aspartame) ให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า อย่างไรก็ตาม ระดับความหวานที่ได้อาจลดลงหากเติมในอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนจัด ผู้ที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria หรือ PKU) ซึ่งเป็นภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ควรหลีกเลี่ยงสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดนี้ เอซีซัลเฟม โพแทสเซียม (Acesulfame Potassium) หรือที่เรียกว่า […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การรักษาโรคเบาหวาน โดยการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน

การรักษาโรคเบาหวาน คือการรักษาภาวะที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายสูงกว่าให้อยู่ในภาวะปกติ โดยอาจมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่ทั้งนี้ จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษาอาการ ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้​ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวานมี 2 ประเภท ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งอินซูลิน (Insulin) ทำให้การผลิตอินซูลินในร่างกายลดลง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้ดีเท่าที่ควร ทำให้ร่างกายเกิดภาวะที่เรียกว่า การต่อต้านอินซูลิน ยาที่ใช้สำหรับ การรักษาโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานทั้งสองชนิด จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยใช้ยา เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวานที่เป็น ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มจากการใช้ ยาเมดฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รับประทาน เพื่อลดปริมาณกลูโคสที่ตับผลิตออกมามากเกินไป การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันในการรักษาโรคเบาหวาน เมื่อการผลิตอินซูลินตามธรรมชาติลดลงเรื่อย ๆ แพทย์มักเพิ่มยารับประทาน หรืออินซูลินสำหรับฉีด หากยาเมดฟอร์มิน ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ แพทย์อาจเพิ่ม ยาซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ซึ่งกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น หรือแพทย์อาจเพิ่ม ยาไธอะโซลิดินีไดโอน (Thiazolidinedione) ที่ช่วยเพิ่มความสามารถของเซลล์ในการดูดซึมอินซูลิน ปัจจุบัน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ความไวต่ออินซูลิน หรือ insulin sensitivity คือ อะไร

ความไวต่ออินซูลิน หรือ insulin sensitivity คือ การตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน ซึ่งหากจะให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นนั่นก็คือ ถ้าร่างกายมีความไวต่ออินซูลินต่ำ ก็อาจสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้นั่นเอง ดังนั้นการปรับปรุงความไวต่ออินซูลินให้ดีขึ้นด้วยวิธีธรรมชาติ ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนวันนี้ จึงอาจช่วยลดภาวะดื้ออินซูลินลงได้ รวมถึงลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ได้อีกด้วย ความไวต่ออินซูลิน หรือ Insulin sensitivity คือ อะไร อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่ง ความไวต่ออินซูลิน (Insulin sensitivity) หมายถึง การตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน ถ้าร่างกายมีความไวต่ออินซูลินต่ำ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังประสบกับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistant) อยู่ก็เป็นได้ เพราะเซลล์ที่เกิดภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้ไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเมื่อตับอ่อนรับรู้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งนับว่าการเกิดภาวะดื้ออินซูลินที่ปล่อยไว้เป็นเวลานานจึงอาจนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในที่สุด วิธี เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นที่ทราบกันดีว่าการมีความไวต่ออินซูลินต่ำ สามารถส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง แต่ก็ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อีกมากมายไม่แพ้กัน เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งเบื้องต้นนั้นคุณควรหมั่นดูแลตนเองเพื่อ เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ในร่างกายได้ด้วยวิธีธรรมชาติ ดังต่อไปนี้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากคุณนอนน้อย หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ดื้ออินซูลิน ควรเลือกรับประทานอาหารอย่างไร

ดื้ออินซูลิน เป็นภาวะที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เนื่องจากเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินที่มีส่วนช่วยในการนำกลูโคสจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง และปัญหาทางสายตา ดื้ออินซูลิน คืออะไร ดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในกล้ามเนื้อไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินที่เป็นฮอร์โมนสร้างจากตับอ่อน ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำน้ำตาลในเลือดจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้สึกอ่อนแรง ฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพื่อควบคุมให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง พัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคหัวใจ ส่วนใหญ่ภาวะดื้ออินซูลินพบได้บ่อยในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ รวมถึงการได้รับพันธุกรรมมาจากครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน สัญญาณเตือนของภาวะดื้ออินซูลิน สัญญาณเตือนของภาวะดื้ออินซูลิน อาจสังเกตได้ ดังนี้ ระดับความดันโลหิตสูงเกิน 130/80 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ชายมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และผู้หญิงมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงมีรอบเอวเกิน 35 นิ้ว ส่วนผู้ชายมีรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ระดับไตรกลีเซอรไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ติ่งเนื้อบนผิวหนัง อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นภาวะดื้ออินซูลิน อาจมีดังนี้ ผัก ควรเลือกรับประทานผักสดที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และแคลอรี่ต่ำ เช่น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

prediabetes คือ อะไร มีวิธีสังเกต และรับมืออย่างไรบ้าง

prediabetes คือ ภาวะก่อนเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน แต่มีแนวโน้มและเพิ่มความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวบคุมอาหาร รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อาจลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้ คำจำกัดความprediabetes คือ อะไร ภาวะก่อนเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยปกติค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่ามีความเสี่ยงภาวะก่อนเบาหวาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ    อาการอาการของภาวะก่อนเบาหวาน อาการของภาวะก่อนเบาหวาน ที่พบได้บ่อย คือ สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ ข้อศอก เข่า ข้อนิ้วมือ รวมถึงอาการอื่น ๆ  มีดังนี้ กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยล้า มองเห็นไม่ชัด สาเหตุสาเหตุของ ภาวะก่อนเบาหวาน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะก่อนเบาหวาน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าพันธุกรรมอาจมีส่วนสำคัญในการเพิ่มปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากความผิดปกติในยีนที่ควบคุมกระบวนการผลิตอินซูลิน อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเหมาะสม และเมื่อระดับอินซูลินลดลง อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงการขาดออกกำลังหาย ไขมันสะสม ภาวะน้ำหนักเกิน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 อาการ สาเหตุ และการรักษา

เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ อีกทั้งภาวะที่ร่างกายสังเคราะห์อินซูลิน (Insulin) ได้ไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ เบาหวานชนิดที่ 2 คืออะไร เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติในการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด มักมีสาเหตุเบื้องต้นมากจากร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอินซูลินนี้เป็นฮอร์โมนหลักที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม เเม้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมโรคได้ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนัก แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแล้ว ระดับน้ำตาลยังสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็อาจจำเป็นต้องใช้ยารักษาเบาหวานร่วมด้วย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยได้แค่ไหน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แต่ในปัจจุบันนี้ พบว่าเด็กมีภาวะโรคอ้วนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 จึงทำให้พบว่ามีจำนวนเด็กที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี การดูแลสุขภาพให้ดี มีการปรับพฤตกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ อาการ อาการของเบาหวานชนิดที่ 2 อาการของเบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดขึ้นอย่างช้า […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน กับเทคนิคง่าย ๆ ที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้น

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับมือกับโรคได้ดีขึ้น โดยเฉพาะหากผู้ป่วยเป็นคนในครอบครัว การสอบถามถึงอาการ การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค รวมทั้งการดูแลเรื่องโภชนาการ และการให้กำลังใจ นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น และมีกำลังใจในการรักษาอาการต่อไป การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง นอกจากนั้น ยังมีเทคนิคง่าย ๆ ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่อาจช่วยให้อาการและความรู้สึกของผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน มีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โรคเบาหวาน มากมาย เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานไม่ควรออกกำลังกายซึ่งไม่เป็นความจริง ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ว่าโรคเบาหวานคืออะไร สามารถป้องกันในกรณีฉุกเฉินได้อย่างไร หรือสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างไร รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อจะได้ดูแลคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น 2.ช่วยบรรเทาความเครียด ความเครียดอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะทำให้ควบคุมโรคเบาหวานได้ยากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการจัดการกับโรคเบาหวานอาจทำให้เกิดความเครียด ดังนั้นจึงควรช่วยกันหาวิธีบรรเทาความเครียด เช่น ชวนไปออกกำลังกาย ไปเที่ยวพักผ่อน หรือชมภาพยนต์ตลกที่บ้านร่วมกัน 3.เป็นฝ่ายสนับสนุน ควรจำไว้ว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องรับผิดชอบและจัดการกับ โรคเบาหวาน ด้วยตนเอง ส่วนคนในครอบครัวควรเป็นฝ่ายสนับสนุน ไม่ใช่ผู้คุมที่คอยบงการผู้ป่วยโรคเบาหวาน  นอกจากนี้คนในครอบครัวเองควรให้กำลังใจและสนับสนุนผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วย 4.ทำความเข้าใจอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ของคนเป็นเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะช่วยให้อาการอารมณ์แปรปรวนดีขึ้น เนื่องจากการขึ้นลงของระดับน้ำตาลในเลือด สามารถทำให้ผู้ป่วยสับสน กระวนกระวายใจ วิตกกังวล  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ อาจช่วยให้อารมณ์แปรปรวนของผู้ป่วยเบาหวานลดลงได้ 5.กรณีที่เป็นคู่สมรส ควรพูดคุยกันเรื่องปัญหาทางเพศ โรคเบาหวาน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะก่อนเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน

ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ภาวะก่อนเบาหวานยังเพิ่ม ปัจจัยเสี่ยง ที่จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งโดยทั่วไปภาวะก่อนเบาหวานจะไม่ปรากฏอาการออกมาให้เห็นแน่ชัด การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น ควบคุมอาหาร รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อาจลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้ ภาวะก่อนเบาหวาน คืออะไร ภาวะก่อนเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ข้อมูลจากสมาคมเบาหวานนานาชาติ ชี้ว่า 1 ใน 3 คนเป็นภาวะก่อนเบาหวาน และ 9 ใน 10 คน มักไม่รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงประสบกับภาวะก่อนเบาหวาน  โดยทั่วไปภาวะก่อนเบาหวานอาจไม่ปรากฏอาการออกมาให้เห็นแน่ชัด แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสดงออกมา ดังนี้ สีผิวเปลี่ยนเข้มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ข้อศอก เข่า ปัสสาวะบ่อย  อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย  ปัสสาวะบ่อย มองเห็นไม่ชัด  ปัจจัยเสี่ยง ภาวะก่อนเบาหวาน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะก่อนเบาหวาน แต่อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้ น้ำหนักเกินมาตรฐาน น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือภาวะอ้วน คือ ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน