โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ดวงตา เส้นประสาท หัวใจ และไต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย  ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะสามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย รวมถึงในผู้ชายที่อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่า จากวารสารวิชาการของ The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ระุบุว่า ผู้ชายมีไขมันในช่องท้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งการมีไขมันหน้าท้องอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเมตาบอลิกได้ นอกจากการสะสมของไขมันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกได้ ดังนี้ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ  แต่สำหรับผู้หญิงอาจมีเพียงการสะสมไขมันใต้ผิวหนังตามจุดเล็ก ๆ เช่น […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีปริมาณอัลบูมินในในปัสสาวะสูงประมาณ 30-300 มิลลิกรัม/วัน หรือ 20-200 ไมโครกรัม/นาที โดยอัลบูมินเป็นโปรตีนขนาดเล็กที่ปกติพบได้ในเลือด ซึ่งหากปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตได้ ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย (Microalbuminuria) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะสูงประมาณ 30-300 มิลลิกรัม/วัน หรือ 20-200 ไมโครกรัม/นาที โดยอัลบูมินเป็นโปรตีนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีส่วนช่วยสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ปกติจะอยู่ในเลือด หากปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตได้  โดยปกติ ไตที่มีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด และควบคุมระดับของเหลวภายในร่างกาย หากไตถูกทำลาย อาจทำให้ไม่สามารถกรองของเสียออกหรือกักเก็บสารอาหารอย่างโปรตีนที่จำเป็นในเลือด เช่น อัลบูมิน  ส่งผลให้อัลบูมินเริ่มรั่วไหลลงมาในปัสสาวะ เมื่อปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินในปริมาณสูง อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคไตจากเบาหวาน รวมถึงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเมตาบอลิกซินโดรม การทดสอบ ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย การทดสอบภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย เป็นการทดสอบเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่ไตในผู้ป่วยเบาหวาน โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ การสุ่มตรวจปัสสาวะ (Random Urine […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

วิธีรับมือโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน ทำได้อย่างไร

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ไม่ดี อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้น จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการและวิธีรับมือโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เพื่อให้สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายนี้ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน คืออะไร? โรคไตเรื้อรังจากเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของไต การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ จะเข้าไปทำลายเซลล์ไตให้เกิดความเสียหาย การทำงานของไตจะลดลงเรื่อย ๆ  ซึ่งอาจนำไปสู่การมีโปรตีนในปัสสาวะและเกิดภาวะไตวายในที่สุด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคไตเรื้อรัง จากเบาหวานก็ตาม แต่ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือภาวะอ้วน สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคไตและโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง  อาการของโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน อาการของโรคไตจากผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะแรก จะไม่มีอาการแสดงออกให้เห็นชัดเจน จนกว่าจะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของ โรคไตเรื้อรัง โดยมีอาการที่พบบ่อย ดังต่อไปนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ผิวแห้ง และมีอาการคันอย่างต่อเนื่อง คลื่นไส้และอาเจียน อาการบวมที่แขนและขา หายใจถี่ อาการมึนงง สับสน วิธีการรักษาโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไมโครอัลบูมิน (Microalbuminuria) หรือมีโปรตีนในปัสสาวะ แพทย์มักรักษาด้วยการให้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์   (Angiotensin-Converting Enzyme inhibitors หรือ ACE […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวาน ความดัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เบาหวาน ความดัน นับเป็นภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ป่วยเบาหวานนับว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนทั่วไป เเละในทางกลับกันผู้ที่มีความดันโลหิตสูงก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ง่ายเช่นเดียวกัน ในเรื่องของ เบาหวานและความดัน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร ผู้ที่เป็นเบาหวานและคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจ เพื่อที่จะเลือกเเละปรับการดูเเละสุขภาพให้เหมาะสมและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ในอนาคตได้ [embed-health-tool-bmi] ความสัมพันธ์ระหว่าง เบาหวานกับความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เเละ ความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน โดยภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบร่วมได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (​Insulin Resistance) หรือ ทั้งจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้เพียงพอ ส่งผลโดยรวมต่อหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกายให้เสี่ยงต่อการที่มีผนังหลอดเลือดที่หนาขึ้นเเละยืดหยุ่นลดลง ทำให้รูของหลอดเลือดตีบเเคบลง จึงส่งผลให้เกิดภาวะดันโลหิตสูงนั่นเอง นอกจากนี้เเล้ว โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มักเกิดขึ้นร่วมกัน เพราะมีปัจจัยเสี่ยงเหมือนที่เหมือน ๆ กัน เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดีต่อสุขภาพ  เป็นต้น ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความเสี่ยงในการมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย มากกว่าบุคลทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงของ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงของ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้ ชอบรับประทานอาหารที่มี น้ำตาล ไขมัน เเละโซเดียมสูง อายุที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือโรคอ้วน สูบบุหรี่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งต้องใช้ยารับประทานหรือฉีดยาอินซูลินเพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือด จึงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการใจสั่น อ่อนเพลีย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ชักและหมดสติได้ ผู้ป่วยเบาหวานรวมทั้งคนใกล้ชิดควรศึกษาและทำความรู้จักกับ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยเบาหวานให้มากขึ้น เพื่อหาวิธีการป้องกันและรับมือได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นได้อย่างไร  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิกรัม/ลิตร โดยสาเหตุส่วนใหญ่ มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น ออกกำลังกายมากเกินไป รับประทานอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยเบาหวานทุกคน สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  สาเหตุที่อาจพบได้บ่อยของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ออกกำลังกายมากเกินไป โดยไม่ได้ปรับภาวะโภชนาการให้เหมาะสม รับประทานอาหารไม่เพียงพอ งดอาหารบางมื้อ รับประทานอาหารและยาไม่ตรงเวลา ใช้ยาอินซูลินหรือรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป อาการที่พบได้บ่อยของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน ลักษณะอาการที่อาจพบได้บ่อยของภาวะน้ำตาในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้ หัวใจเต้นเร็ว ฉุนเฉียวง่าย รู้สึกสับสน มึนงง รู้สึกหิวบ่อย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อาการอ่อนเพลีย  กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด เหงื่ออกง่าย มีอาการตัวสั่น หน้าซีด อย่างไรก็ตาม อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ดังนั้น ผู้ป่วยต้องคอยตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด และสังเกตร่างกายของตนเองเป็นประจำ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

รักษา เบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่อาจจะเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตน จึงพยามหาวิธีการดูแลตนเองและวิธีรักษาต่าง ๆ เพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้นต และอาจสงสัยว่าโรค เบาหวาน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาลดระดับน้ำตาลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสามารถ สามารถช่วยควบคุมอาการเบาหวานได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] รักษา โรคเบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่ ในปัจจุบันนั้น หากพูดถึงโรคเบาหวาน จะนับเป็นโรคเรื้อรังที่ส่วนมากแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยบางส่วนที่อาจเพิ่งเริ่มเป็นและเมื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพได้เหมาะสม โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วนร่วมด้วย เมื่อลดน้ำหนักลงได้มากพอ ไม่ว่าจะด้วยการควบคุมอาหาร/ออกกำลังกาย หรือเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะ อาจทำให้หายจากโรคเบาหวานได้ แม้ว่าผู้ที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แต่เราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เพื่อให้ยังมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานทุกคนควรปรับวิถีการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ยาสำหรับ รักษา เบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นับเป็นเบาหวานชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด นอกจากการปรับพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันแล้ว คุณหมออาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยรายละเอียดเบื้องต้นของยาแต่ละประเภท มีดังต่อไปนี้ กลุ่มยาที่กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้แก่ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides) ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ ยาในกลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน  […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

insulin resistance คือ ภาวะดื้ออินซูลิน โอกาสเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2

insulin resistance คือ ภาวะดื้ออินซูลิน เกิดจากเซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิด เบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น ผู้ป่วยควรทำความรู้จักกับภาวะดื้ออินซูลินให้มากขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ ทำความรู้จักภาวะดื้ออินซูลิน กับ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะดื้ออินซูลิน หรือ Insulin Resistance คือ ภาวะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ภาวะดื้ออินซูลินอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวานและเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยชะลอการเกิดโรคและช่วยให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น  ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของ ภาวะดื้ออินซูลิน insulin resistance หรือภาวะดื้ออินซูลินซึ่งเกิดจากปัจจัยและสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงหรือน้ำตาลสูง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะสุขภาพ เช่น โรคตับ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภาวะความเครียด การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน พันธุกรรม สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ มีอายุมากกว่า 45 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

แผลเบาหวาน รักษาและป้องกันได้อย่างไรบ้าง

แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เมื่อผู้ที่เป็นเบาหวานไม่ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี ทั้งนี้ แผลเบาหวานมักหายช้า จึงมักเกิดเป็นแผลเรื้อรังและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดอวัยวะได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากรักษาแผลเบาหวานอย่างถูกวิธี รวมทั้งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน คืออะไร แผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี โดยมีสาเหตุมาจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้เส้นประสาทและหลอดเลือดเกิดความเสียหาย ส่งผลให้แผลหายช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน และหากไม่ได้รับการรักษาทเหมาะสม อาจนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงหรือถึงขั้นถูกตัดอวัยวะได้ ปัญหาสุขภาพที่ผลร่วมกับแผลเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน อาจมีปัญหาแทรกซ้อนทางสุขภาพที่พบร่วมกันได้ดังนี้ เท้าผิดรูป  ทำให้โครงสร้างเท้าผิดปกติ บิดเบี้ยว จากแผลเป็นดึงรั้ง หรือ อาจมาจากการจำเป็นต้องตัดนิ้ว/เท้าบางส่วนออกเพื่อมิให้แผลลุกลาม เส้นประสาทเสื่อม ส่งผลให้เกิดอาการชา และไม่รับรู้ความรู้สึก โดยมักเกิดกับเส้นประสาทส่วนปลายก่อน เช่น ปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ จึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลโดยไม่รู้สึกตัวได้ง่าย ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ และส่งผลให้ผิวแห้งแตกจึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดแผลได้ง่าย สูญเสียอวัยวะ โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดแผลหายช้าและกลายเป็นแผลเรื้อรัง รวมทั้งเกิดแผลเนื้อตายได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ  หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีพอ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต วิธีรักษาแผลเบาหวาน หากผู้ป่วยเบาหวานมีแผลที่ในดูแลเองเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 - […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ DTX คือ อะไร

DTX (Dextrostix)  คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะเส้นเลือดฝอยที่ปลายนิ้ว หากค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และอาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมโรคเบาหวานได้ยากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนจากเบาหวานด้วย [embed-health-tool-bmr] DTX คือ อะไร DTX คือ วิธีการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยการเจาะเส้นเลือดฝอยที่ปลายนิ้ว เพื่อใช้เลือด 1 หยด ในการทดสอบจากเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยก่อนทดสอบผู้ป่วยจะต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง  เกณฑ์การวัดค่าน้ำตาลในเลือด มีดังนี้ ค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น อ่อนเพลีย หากมีอาการรุนแรงควรพบคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน ค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ  ค่าน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน อาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ซึ่งอาจรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนี้ โรคเส้นประสาทอักเสบหรือเส้นประสาทถูกทำลาย หากมีน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินไป อาจทำให้ผนังหลอดเลือดที่ส่งออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเส้นประสาทเสียหายได้ โดยเฉพาะที่บริเวณขา ส่งผลให้เริ่มรู้สึกชา เจ็บแปลบ แสบร้อน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เนื่องจากน้ำหนักตัวที่ลดลงอาจทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ขาดน้ำ อ่อนเพลีย รวมถึงอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น พันธุกรรม การรับประทานอาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อาจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้คนผอมเสี่ยงเป็นเบาหวานได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำหนักเท่าไหร่ที่หมายถึงคนผอม การคำนวณหาค่าเฉลี่ยในเรื่องของน้ำหนักที่ถูกต้องควรจะเป็นไปตามหลักการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI โดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงในการคำนวณเพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย ตามสูตรดังนี้ BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น น้ำหนัก 56 กิโลกรัม ส่วนสูง 175 เซนติเมตร แปลงหน่วยเป็นเมตรจะได้ 1.75 เมตร และจะได้สูตรออกมาดังนี้ 56 ÷ (1.75 x 1.75) = 18.30 ค่า BMI จึงเท่ากับ 18.30  ผลของค่า BMI  ค่า BMI 18.5 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาหารเสริม เบาหวาน ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

การดูแลรักษาร่างกายของตัวเองขณะเป็นเบาหวาน อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะการที่จะต้องควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในการควบคุม หลายคนที่เป็นเบาหวาน อาจจะรู้สึกกังวลว่าตัวเองจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีพอ อย่างไรก็ตาม การรับประทาน วิตามิน อาหารเสริม เบาหวาน อาจช่วยให้ควบคุม เบาหวาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาหารเสริม คืออะไร อาหารเสริม (Food Supplements) หมายถึงสารประกอบที่มีวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น สมุนไพร หรือวิตามินและอาหารเสริมในรูปแบบเม็ด เรามักจะรับประทานอาหารเสริมเพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารบางชนิด ที่ร่างกายของเราอาจจะต้องการเป็นพิเศษ รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการรับประทานอาหารเสริมแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานก็ควรที่จะใช้ยารักษาโรคเบาหวานตามปกติเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติอยู่เสมอ วิตามินและ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน วิตามินและอาหารเสริม ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น อาจมีดังนี้ โครเมียม (Chromium) โครเมียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้น้อย แต่จำเป็นสำหรับร่างกาย โครเมียมจะใช้ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลกลูโคสมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้วิตามิน สำหรับการรักษาโรคเบาหวานนั้นยังไม่มีผลที่ชัดเจนนัก การรับประทานอาหารเสริมนี้ในขนาดต่ำอาจจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ยังต้องการงานวิจัยเพิ่มขึ้นที่จะชี้ชัดว่า การรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะขาดโครเมียมอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ การเสริมโครเมียมโดยไม่จำเป็นอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้ แมกนีเซียม (Magnesium) ผู้ที่มีปัญหากับเกี่ยวกับการหลั่งอินซูลิน และผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นั้น มักจะมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดนักว่า การบริโภคอาหารเสริมแมกนีเซียมนั้นจะช่วยบรรเทาหรือลดปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ วิตามินบี 1 หรือไทอะมีน (Thiamine) คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นมักจะมีภาวะขาดไทอะมีนด้วยเช่นกัน สารไทอะมีนนั้นเป็นวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน