โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ดวงตา เส้นประสาท หัวใจ และไต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย  ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะสามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย รวมถึงในผู้ชายที่อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่า จากวารสารวิชาการของ The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ระุบุว่า ผู้ชายมีไขมันในช่องท้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งการมีไขมันหน้าท้องอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเมตาบอลิกได้ นอกจากการสะสมของไขมันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกได้ ดังนี้ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ  แต่สำหรับผู้หญิงอาจมีเพียงการสะสมไขมันใต้ผิวหนังตามจุดเล็ก ๆ เช่น […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานแฝง (Prediabetes) อาการ สาเหตุและการป้องกัน

เบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเบาหวาน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นต่อเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่อาจไม่สูงพอจะที่จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ถึงอย่างไรหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ก็อาจส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ เบาหวานแฝง (Prediabetes) คืออะไร เบาหวานแฝง คือ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งหมายความว่าหากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์คือระดับน้ำตาล100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร คุณหมออาจวินิจฉัยให้เบื้องต้นว่าระยะนี้คือเบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน และอาจพัฒนานำไปสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 อย่างเลี่ยงไม่ได้หากไม่รักษาค่าระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคหลอดเลือด อาการเบาหวานแฝง อาการเบาหวานแฝง มีดังต่อไปนี้ ร่างกายขาดน้ำ รู้สึกกระหายน้ำ รู้สึกอยากอาหาร หรือหิวบ่อย เหนื่อยล้า มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน พร่ามัว น้ำหนักเพิ่มหรือลดโดยไม่มีสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย สาเหตุของเบาหวานแฝง ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเบาหวานแฝง แต่คาดการณ์ว่าอาจเกี่ยวข้องกับอินซูลิน เนื่องจากอินซูลินเป็นฮอร์โมนตับอ่อนผลิตขึ้น เพื่อนำกลูโคสจากอาหารที่อยู่ในกระแสเลือดมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากร่างกายผลิตอินซูลินน้อยลง หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินก็อาจเป็นไปได้ว่ากลูโคสนั้นจะสะสมอยู่ในกระแสเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวานที่จะพัฒนาสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานแฝง ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดเบาหวานแฝง ได้แก่ อายุ ส่วนใหญ่โรคเบาหวานอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวาน หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะก่อนเบาหวานหรือโรคเบาหวานมาก่อนก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะนี้ได้เช่นกัน เชื้อชาติพันธุ์ ผู้ที่มีเชื้อสายเอเชีย อเมริกันมักมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวาน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โฮลเกรน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้หรือไม่

โฮลเกรน หมายถึง ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้างกล้องงอก ข้าวฟ่าง ซึ่งผ่านกระบวนการขัดสีน้อยมากหรือไม่ผ่านการขัดสีเลย ทำให้ยังคงคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ ไว้ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งโปรตีน ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ นิยมรับประทานกันในหมู่คนรักสุขภาพและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน เพราะรับประทานง่าย นำมาทำอาหารได้หลากหลาย และที่สำคัญ คุณประโยชน์จากสารอาหารต่าง ๆ ของ โฮลเกรน อาจมีส่วนช่วย ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ [embed-health-tool-bmi] โฮลเกรน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างไร โฮลเกรน ได้แก่ ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งไม่ผ่านการขัดสีหรือฟอกขาว ทำให้ยังคงคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ ค่อนข้างครบถ้วน การรับประทานโฮลเกรนจึงเป็นการเพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังมีใยอาหารมีส่วนในการช่วยควบคุมหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ดังนั้นโฮลเกรนจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้ การรับประทานโฮลเกรนเพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โฮลเกรนสามารถนำไปประกอบอาหารควบคู่กับเมนูอื่น ๆ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จริงหรือไม่?

แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ตามการเพาะปลูก สภาพแวดล้อมและการดูแล แอปเปิ้ล 1 ผล มีใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตต่ำ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยให้ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล แต่สำหรับข้อสงสัยว่า แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่ อาจจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือไม่ แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลในรูปแบบฟรุกโตส  (Fructose) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ และแตกต่างจากน้ำตาลทั่วไปที่นำมาใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร หรือขนมต่าง ๆ จากข้อมูลของ American Journal of Clinical Nutrition ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า การรับประทานฟรุกโตสแทนการได้รับกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ดี ที่สำคัญแอปเปิ้ลยังมีเส้นใยอาหารถึง 4 กรัม ที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลป้องกันการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และอินซูลินได้ การรับประทานแอปเปิ้ล ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถรับประทานได้แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม 182 กรัม หรือแอปเปิ้ล 1 ลูกขนาดกลาง อีกทั้งควรรับประทานควบคู่กับผลไม้ และผักชนิดอื่น ๆ ตามความชอบ จากดัชนีการวัดระดับของน้ำตาล ตั้งแต่ 0-100 คะแนน ซึ่งแอปเปิ้ลถูกจัดอยู่ใน 36 คะแนน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รู้ก่อน รับมือทัน

การได้เข้าใจถึงการดำเนินโรคเเละ ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น หากยังอยู่ในระยะแรกควรรีบประบพฤติกรรมสุขภาพและรับคำแนะนำในการรักษาจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อควบคุมเเละลดความเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่ระยะถัด ๆ ไป [embed-health-tool-bmi] ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะเรื้องรัง เกิดจากความบกพร่องของร่างกายที่เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนอาจนำไปสู่ภาวะเเทรกซ้อนที่ร้ายเเรงตามมา เช่น โรคหัวใจเเละหลอดเลือด โรคไต เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เบาหวานขึ้นตา โดยระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เซลล์ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาเปลี่ยนชใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ่นเพื่อผลิตอินซูลินเพิ่มเพื่อมาพยามรักษาสมดุลระดับน้ำตาลให้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ ดังนั้นหากทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) คือ ภาวะที่ร่างกายเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจขณะงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่งโมง) หากไม่มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้ดี เพื่อควบคุมน้ำตาลให้ลดลงสู่เกณฑ์ปกติ ก็อาจพัฒนาสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้  ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของเเป้งเเละน้ำตาลสูง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเเนะนำไปพบคุณหมอเพื่อตรวจติดตามระดับน้ำตาลเป็นระยะ  ระยะที่ 3 เข้าสู่โรคเบาหวานชนิดที่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับการลดความเสี่ยงในช่วงโควิด-19

หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรให้ความสำคัญในการดูแลตนเองมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 (COVID-19) อีกทั้งคุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ยังนับว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อไวรัสโวิด-19 ดังนั้นในช่วงนี้ คุณเเม่จึงควรดูแลตนเองและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 [embed-health-tool-bmi] หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสถานการณ์โควิด-19 คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นับเป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากสามารถเกิดอาการรุนเเรงได้มากกว่าคนปกติ ดังนั้น คุณเเม่อาจของคำเเนะนำจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางถึงเเนวทางการดูเเลตนเอง รวมถึงการปรับพฤติกรรมสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 เช่น ดูแลสุขอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์อยู่เสมอ หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงโควิด-19 อย่างไร ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนเเรงได้มากกว่าคนทั่วไป หากติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้น คุณเเม่จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ ดูแลรักษาสุขอนามัยของตนอยู่เสมอ โดยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือด้วยสบู่ได้ เเนะนำให้ทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์แทน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับพื้นผิวหรือสิ่งเเวดล้อมต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงในการการสัมผัสเชื้อโรค เว้นระยะห่างทางสังคม โดยรักษาระยะห่างจากผู้อื่นในที่สาธารณะประมาณ 2 เมตร เเละสวมหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในที่ชุมชน หรือในห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท เมื่อมีอาการไอ หรือจาม ให้ใช้บริเวณข้อศอกมาปิดแทนการใช้มือ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง หมั่นรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เวย์โปรตีนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวาน

เวย์โปรตีนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนสงสัย เวย์โปรตีนเป็นอาหารเสริมโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มีคุณสมบัติแตกต่างจากโปรตีนชนิดอื่น เนื่องจากมีไขมันต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับประทานเวย์โปรตีนก่อนมื้ออาหาร ช่วยกระตุ้นอินซูลิน ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น  เวย์โปรตีนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้จริงหรือไม่ เวย์โปรตีนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยผลการวิจัยที่บรรยายในที่ประชุมวิชาชีพเบาหวานแห่งสหราชอาณาจักร พบว่า การรับประทานเวย์โปรตีนก่อนมื้ออาหาร จะช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน และช่วยควบคุมให้ระดับน้ำตาลลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ผลการวิจัยในที่ประชุมทางการแพทย์ โดย ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ Daniela Jakubowicz มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv) ในประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี พ.ศ. 2559 พบว่า จากผลการวิจัยในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอยู่ในภาวะอ้วน จำนวน 48 คน ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉลี่ยมีอายุ 59 ปี พบว่า หลังจากรับประทานเวย์โปรตีนติดต่อกัน 3 เดือน จะรู้สึกอิ่มนานขึ้นและหิวน้อยลงตลอดทั้งวัน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังรับประทานอาหารและยังส่งผลให้น้ำหนักลดลงอีกด้วย  คุณประโยชน์จากเวย์โปรตีนต่อผู้ป่วยเบาหวาน  เวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนี้ กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เวย์โปรตีน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ป่วยเบาหวาน มีข้อควรระวังอย่างไร

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ป่วยเบาหวาน มีเป้าหมายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสชนิดนี้ เป็นการป้องกันและลดความความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งลดความรุนเเรงหรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ผู้ที่เป็นเบาหวานนับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เปราะบางที่จำเป็นต้องสังเกตอาการทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิด [embed-health-tool-heart-rate] ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ป่วยเบาหวาน มีข้อควรรู้อะไรบ้าง สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย (Diabetes Assocition of Thailand) ได้ให้คำแนะนำสำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยเบาหวาน ดังต่อไปนี้ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเฝ้าระวังด้วยการหมั่นเจาะตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองในช่วง 48 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน เเละควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ สำหรับคุณเเม่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หากติดเชื้อโควิด-19 ควรปรึกษารีบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที เพราะนับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการของโควิด-19 ได้รุนเเรงกว่าคนทั่วไป อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่ข้อมูลในเเง่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในกลุ่มคุณเเม่ที่ตั้งครรภ์ ถึงแม้ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ควรละเลยการป้องกันและดูแลตนเอง เพราะเเม้จะฉีดวัคซีนเเล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรรักษาสุขอนามัยอยู่เสมอ เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีอาการเจ็บป่วย หรือกำลังอยู่ในช่วงรักษาอาการป่วย หรือเคยมีประวัติการแพ้วัคซีน หรือ ควรปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีน ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือยาโรคประจำตัวก่อนมาฉีดวัคซีน วัคซีนป้องกันโควิด-19 ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือไม่? วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการอนุญาตจากองค์การอาหารเเละยาทั้งของประเทศไทยเเละต่างประเทศ ในปัจจุบัน ได้เเก่ วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer BioNTech) วัคซีนโมเดอร์นา […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานในวัยเด็ก ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

เบาหวานในวัยเด็ก เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จึงทำให้ร่างกายมีการจัดการกับน้ำตาลบกพร่อง และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น การได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและวิธีการดูเเลเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน จะช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเเทรกซ้อนต่อสุขภาพในระยะยาวได้ [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จัก โรคเบาหวานในวัยเด็ก ในปัจจุบันได้มีเด็กและวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะความอ้วน ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม หรือ ปล่อยให้มีระดับนำ้ตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากโรคเบาหวานได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เบาหวานขึ้นตา เเละ เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ทั้งนี้หากลูก/หลานของท่านเป็นเบาหวาน ควรรีบไปพบเเพทย์เพื่อรับกรรักษาเเละควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีในระยะยาว  ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เด็กเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เบาหวานในวัยเด็ก มีดังต่อไปนี้ น้ำหนักเกิน เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือ เป็นโรคอ้วน นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จนนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในที่สุด ปัจจัยทางพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ น้ำหนักแรกคลอด เด็กที่มีนำ้หนักเเรกคลอดมากกว่า 4 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วอาจได้รับยาหรือมีพฤติกรรมที่ทำให้ยาลดระดับน้ำตาลหรืออินซูลินที่ใช้ ปริมาณอาหารที่รับประทาน รวมถึงกิจกรรมที่ใช้พลังงานในแต่ละวันไม่สมดุลกัน จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อาจทำให้อาการรุนเเรงขึ้นจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สิ่งสำคัญคือจะต้องได้รับการประเมินอาการอย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงทราบวิธีการรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสม เพื่อมิให้อาการทรุดลงจนถึงขั้นอันตราย ดังนั้น หากทราบถึงวิธี การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ดูแลทำความเข้าใจและมีความรู้ในการดูแลตนเอง ป้องกัน รวมถึงแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อย่างมั่นใจ [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คืออะไร ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ในผู้ที่เป็นเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยสาเหตุมักเกิดจากได้รับยาเบาหวาน หรืออินซูลินมากจนเกินไป นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ม รวมถึงการออกกำลังกายมากกว่าปกติด้วย หากผู้ป่วยเบาหวานมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และหากไม่รีบแก้ไขอย่างทันท่วงที อาการอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มไหนบ้าง ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อปริมาณยาลดระดับน้ำตาลหรืออินซูลินที่ได้รับ ปริมาณอาหารที่รับประทาน รวมถึงกิจกรรมที่ใช้พลังงานในแต่ละวันไม่สมดุลกันจะก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้   ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีดังนี้ ใช้อินซูลินหรือยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ในปริมาณที่สูง รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรืออดอาหารบางมื้อ ออกกำลังกายมากหักโหม หรือ มีกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากกว่าปกติ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ๆ  เด็กเล็กและผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นระยะเวลานาน ๆ (มากกว่า 5-10 ปี) มีโรคร่วม […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ยาเบาหวาน คานากลิโฟซิน ยาตัวใหม่ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ยาเบาหวาน คือยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีทั้งยาฉีดอินซูลิน และยารับประทาน โดยยาคานากลิโฟลซิน จัดเป็นยารับประทานเพื่อรักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีคุณสมบัติต่างจากยารักษาโรคเบาหวานทั่วไป โดยยาตัวนี้มีคุณสมบัติลดระดับน้ำตาลในเลือดบริเวณท่อไต จึงทำให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น แต่มีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรทำความรู้จักไว้   ยาเบาหวาน คานากลิโฟลซิน ยารักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ร่วมกับการรับประทานยาเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งโดยปกติมียาเบาหวานหลายชนิดที่แพทย์สั่งขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ยาเบาหวาน ตัวใหม่มีชื่อว่า คานากลิโฟลซิน Canagliflozin หรือยาอินโวคานา (Invokana) เป็นยาชนิดรับประทานสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จัดอยู่ในกลุ่ม ยารักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ ซึ่งออกฤทธิ์ควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำตาลกลูโคสบริเวณท่อไต โดยการกระตุ้นให้ร่างกายกรองน้ำตาลกลูโคสออกจากเลือดมากขึ้น และขับออกทางปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยน้ำหนักไม่เพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องควบคุมการรับประทานอาหารให้สมดุลกับน้ำหนัก และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานตามแพทย์สั่งเท่านั้น ยาเบาหวาน คานากลิโฟลซิน ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้อย่างไร  ยาคานากลิโฟลซิน จัดอยู่ในกลุ่ม Sodium glucose co-transporter type 2 (SGLT2) เป็นโปรตีนขนส่งกลูโคส ซึ่งทำหน้าที่ในการเพิ่มปริมาณกลูโคสที่ส่งออกทางปัสสาวะ  โดยปกติเมื่อเลือดไหลผ่านไต ไตจะกรองกลูโคสออกจากเลือด แต่ยาในกลุ่มโปรตีนขนส่งกลูโคส  (SGLT2) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน