โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ดวงตา เส้นประสาท หัวใจ และไต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย  ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะสามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย รวมถึงในผู้ชายที่อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่า จากวารสารวิชาการของ The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ระุบุว่า ผู้ชายมีไขมันในช่องท้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งการมีไขมันหน้าท้องอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเมตาบอลิกได้ นอกจากการสะสมของไขมันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกได้ ดังนี้ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ  แต่สำหรับผู้หญิงอาจมีเพียงการสะสมไขมันใต้ผิวหนังตามจุดเล็ก ๆ เช่น […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การใช้ยาสแตติน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

การใช้ยาสแตติน อาจมีความสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องควบคุมปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น คอเลสเตอรอลสูง ดังนั้น การใช้ยาสแตตินซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดไขมัน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดไขมัน โดยเฉพาะไขมันคอเลสเตอรอลความหนาแน่นต่ำหรือไขมันเลว (LDL) และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาสแตติน สแตติน (Statin) เป็นยาในกลุ่มที่มีคุณสมบัตติช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่า เส้นเลือดในสมองแตก ผลการศึกษา พบว่า การใช้ยาสแตตินสามารถลดความเสี่ยงอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 25-35 นอกจากนี้ ยังช่วยลดโอกาสการเกิดหัวใจวายซ้ำ ได้ถึงร้อยละ 40 ยาสแตติน ส่งผลต่อการผลิตไขมันคอเลสเตอรอลของตับ ซึ่งช่วยลดระดับไขมันความหนาแน่นต่ำหรือไขมันเลว (LDL) และเพิ่มระดับไขมันความหนาแน่นสูงหรือไขมันดี (HDL)  การที่ใช้คำว่าไขมันดีและไขมันเลว นื่องจากไขมัน LDL ในระดับสูง เชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจที่สูงขึ้น ขณะที่ระดับไขมัน HDL ในระดับสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ การใช้ยาสแตติน กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยาสแตติน เป็นยาที่ช่วยลดไขมันเลวที่นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูง แต่ผลงานวิจัยล่าสุดจากประเทศฟินแลนด์ พบว่า ยาสแตตินที่ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

วิตามินดี ช่วยป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้จริงหรือ

วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ด้วยการรับวิตามินดีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่ควรรู้ และต้องไม่ลืมป้องกันโรคเบาหวานด้วยวิธีอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับ อินซูลิน ในร่างกาย อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนภายในร่างกายที่สร้างจากตับอ่อน ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้สำคัญต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะอินซูลินมีคุณสมบัติช่วยในการดูดซึมกลูโคสที่เข้าสู่กระแสเลือด ไปสู่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ กล่าวคือ อินซูลินมีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการนำกลูโคสไปใช้ และการเก็บสำรองกลูโคสไว้เป็นพลังงาน ความเชื่อมโยงของอินซูลินกับ โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีร่างกายที่ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ เพื่อจัดการกับปริมาณกลูโคสที่ร่างกายได้รับเข้าไป หรือร่างกายเกิดความผิดปกติในการใช้อินซูลิน ผลก็คือ เมื่อไม่สามารถควบคุมกลูโคสได้ ปริมาณกลูโคสจะสะสมเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคเบาหวาน จึงส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีอาการต่าง ๆ เช่น สายตาไม่ดี มีปัญหาผิว และความดันโลหิตสูง ร่วม อีกทั้งยังอาจก่อให้อาการต่าง ๆ และความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา นอกจากนี้ผู้ที่จะตกอยู่ในความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้นั้นมักจะเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือผู้ที่ประสบกับโรคอ้วนเป็นส่วนใหญ่ วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ที่บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หากเป็นโรคเบาหวาน การ ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของแผนการรักษาเบาหวาน โดยสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพา ซึ่งสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยเลือดเพียงเล็กน้อย การตรวจระดับน้ำตาลหรือตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง อาจช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนระยะยาวของโรคเบาหวาน และช่วยให้คุณหมอมีข้อมูลเพียงพอในการเลือกวิธีรักษาเบาหวานที่เหมาะสมที่สุด ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง คืออะไร การไปโรงพยาบาลเพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือดอาจใช้เวลานาน เริ่มจากการนัดหมอ การเดินทางไปโรงพยาบาล รอเข้าพบคุณหมอ ในทางกลับกัน การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน ซึ่งช่วยให้คุณสังเกตอาการและควบคุมโรคเบาหวานของคุณได้มีหลายประเภท เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ย (A1C) การตรวจเลือด เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในบ้าน พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องควบคุมเบาหวาน โดยค่าของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานควรอยู่ระหว่าง 70 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง เรียกว่า Fasting blood glucose (FBG) ควรมีค่าต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้ำตาลในเลือดต่ำเป็นอาการที่ระดับกลูโคสมีค่าต่ำกว่า 70 สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลเกินกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดังนั้น หากการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารและมีระดับของน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100 ถึง 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คุณอาจมีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน หรือเรียกอีกอย่างว่า “Prediabetes” การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้ช่วยในการควบคุมเบาหวานอย่างเดียว แต่ยังช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน