โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

คอแห้งตลอดเวลา เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

อาการ คอแห้งตลอดเวลา เป็นอาการหนึ่งที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำให้ไตขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย จนอาจเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ ทำให้รู้สึกคอแห้งตลอดเวลา หรือกระหายน้ำอยู่เสมอ ดังนั้นหากผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ การประบพฤติกรรมสุขภาพ การฉีดอินซูลิน การรับประทานยาลดระดับน้ำตาล อาการคอแห้งตลอดเวลาก็จะบรรเทาลงและหายไปในที่สุด [embed-health-tool-bmi] ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึง คอแห้งตลอดเวลา ในสภาวะปกติ ไตจะกรองและดูดกลับน้ำตาลเก็บเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อเก็บไว้ใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้ไม่มีน้ำตาลหลุดหรือรั่วออกมาในปัสสาวะ  หากเป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เป็นการเสียน้ำออกจากร่างกายมากกว่าปกติ ร่างกายจึงกระตุ้นให้รู้สึกคอแห้ง กระหายน้ำ เพื่อให้ดื่มน้ำทดแทนให้เพียงพอกับที่เสียไป แต่หากดื่มน้ำทดแทนได้ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคอแห้งหรือปากแห้งตลอดเวลา อาการอื่น ๆ ของโรคเบาหวาน ที่อาจเกิดขึ้นได้พร้อมกับอาการคอแห้งตลอดเวลา ประกอบด้วย รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง ตา ปาก และผิวแห้ง ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน ปัสสาวะบ่อย ตอนกลางคืนต้องตื่นมาปัสสาวะหลังจากนอนหลับไปแล้ว รู้สึกชาที่มือหรือเท้า รู้สึกหิวบ่อย น้ำหนักลดลงแบบไม่ทราบสาเหตุ แผลหายช้า คอแห้งตลอดเวลา มีข้อเสียอย่างไรบ้าง เมื่อผู้ป่วยเบาหวานคอแห้งตลอดเวลา อาจบ่งบอกถึงร่างกายกำลังมีภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจทำให้ มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน ปวดหัว อ่อนเพลีย […]


โรคเบาหวาน

อินซูลิน คืออะไร เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอย่างไร

อินซูลิน คือ ฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อน มีหน้าที่นำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลินที่ส่งผลให้ไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเต็มที่ อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] อินซูลิน คืออะไร อินซูลิน คือ ฮอร์โมนที่ตับอ่อนผลิตขึ้น มีหน้าที่นำน้ำตาลกลูโคสในเลือด ที่ได้จากการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและแป้ง ส่งไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์และลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพียงพอแต่เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน อาจจำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนอินซูลินหรือรับประทานยา เพื่อช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินและกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตอินซูลิน ความสำคัญของอินซูลิน คืออะไรบ้าง ร่างกายต้องการอินซูลิน เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  เพราะหากร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอหรือไม่สามารถใช้อินซูลินเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้เพียงพอ อาจทำให้น้ำตาลสะสมในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากโรคเบาหวาน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท มือชาเท้าชา ไตวาย ตาพร่ามัว รวมไปถึงภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis) ที่เกิดจากร่างกายขาดอินซูลินที่ช่วยนำน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงานจึงทำให้เผาผลาญไขมันเป็นพลังงานทดแทน ส่งผลให้ร่างกายสร้างคีโตน (Ketones) ปริมาณมากขึ้น ที่ทำให้เลือดเป็นกรดส่วนใหญ่ภาวะนี้มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นเดียวกัน  วิธีเพิ่มอินซูลินในร่างกาย วิธีเพิ่มอินซูลินในร่างกายอาจทำได้ด้วยวิธีธรรมชาติและวิธีทางการแพทย์ ดังนี้ การเพิ่มอินซูลินด้วยวิธีธรรมชาติ ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตอินซูลิน และช่วยเพิ่มความไวอินซูลิน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ทำไม มือ บวม เมื่อเป็นเบาหวาน

เบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยอาจมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน ที่ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาใช้เป็นพลังงานได้เต็มที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมือและเท้าบวม และส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการรักษาและการป้องกันอาการมือบวมเนื่องจากโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] ทำไมมือ บวม เมื่อเป็นเบาหวาน สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการมือบวม เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ซึ่งอาจมาจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ใช้ยารักษาเบาหวานไม่ถูกต้อง ไม่ควบคุมอาหาร ไม่เข้ารับการรักษาเบาหวาน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป จนทำลายเส้นประสาทในบริเวณมือและแขน โดยอาจสังเกตได้จากอาการเหน็บชา มือบวม และปวดบริเวณมือและแขน นอกจากนี้ อาการมือบวมในผู้ป่วยเบาหวานอาจเกิดจากการที่เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงที่บริเวณมือไม่เพียงพอ จนส่งผลให้หลอดเลือดเสียหาย และมีอาการมือบวม มือชา หากมีแผลบริเวณแขนหรือมือ ก็อาจส่งผลให้แผลหายช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่อาจทำให้แผลเน่าและเนื้อเยื่อตายได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เท้าบวม การมองเห็นเปลี่ยนแปลง อัมพาตครึ่งซีก ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน จึงควรดูแลสุขภาพตนเองให้ดี เข้ารับการตรวจสุขภาพ ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ การรักษาอาการมือบวมจากเบาหวาน การรักษาอาการมือบวมจากเบาหวาน อาจทำได้ดังนี้ ยาแก้ปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือ พาราเซตามอล ที่รู้จักกันดี เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดจากมือบวม […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูง อาการ และวิธีลดระดับน้ำตาลในเลือด

น้ำตาลในเลือดสูง คือ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน เช่น ตาพร่ามัว ต้อกระจก เส้นประสาทเสียหาย ไตวาย และภาวะเลือดเป็นกรด ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการโคม่าและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดสูง เกิดจากอะไร น้ำตาลในเลือดสูง อาจเกิดจากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและแป้งในปริมาณมาก เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะถูกร่างกายย่อยเปลี่ยนเป็นกลูโคสที่เข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่หากรับประทานมากเกินไปและมีพฤติกรรมที่ขาดการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายร่วมด้วยก็อาจทำให้น้ำตาลไม่ถูกเผาผลาญ จนสะสมในกระแสเลือดมากนำไปสู่น้ำตาลในเลือดสูงได้  นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังอาจเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลจากอาหารให้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเพียงพอ จึงทำให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดในปริมาณมาก ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีดังนี้ อาการทั่วไป ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก มองเห็นเป็นภาพซ้อน ปวดศีรษะ เหนื่อยล้าง่าย น้ำหนักลดลงกะทันหัน ไม่มีสมาธิ อาการรุนแรง ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ปากแห้ง ผิวแห้ง หายใจถี่ หายใจเร็ว เท้าชา มือชา ผมร่วง ปวดท้อง ท้องผูกหรือท้องร่วง แผลหายช้า ติดเชื้อทางช่องคลอดและผิวหนัง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาการที่ควรพบคุณหมอ มีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง ท้องร่วงและอาเจียนรุนแรง ปัสสาวะบ่อย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 240 […]


โรคเบาหวาน

ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน สาเหตุ อาการ การป้องกัน

ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่เป็นเบาหวาน โดยผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานหากตรวจระดับน้ำตาลหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จะมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือเมื่อตรวจโดยการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (75 gm OGTT) ค่าระดับน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ภาวะก่อนเบาหวานมักไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือนใด ๆ เมื่อปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงอาจมีอาการแสดงของโรคเบาหวาน เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย มองเห็นภาพไม่ชัดดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำและศึกษาวิธีป้องกันเบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน คือภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ แต่ยังไม่สูงถึงเกณฑ์ของโรคเบาหวาน เป็นผลมาจากการที่ร่างกายจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันโจมตีตับอ่อนทำให้ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ซึ่งนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรืออาจเกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินเพียงพอแตเซลล์ในร่างกายดื้ออินซูลินทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสมทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งต่อมาจะนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2  ใครที่เสี่ยงเกิด ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ผู้ที่อาจมีความเสี่ยงภาวะก่อนเบาหวาน มีดังนี้ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 ขึ้นไป หรือมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตรในผู้หญิง หรือ 90 เซนติเมตรในผู้ชาย ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอล หรือไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

น้ำตาลในเลือดสูง เป็นสาเหตุที่อาจนำไปสู่โรคเบาหวาน หรือทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการแย่ลง และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ เส้นประสาทเสียหาย ไตวาย ดังนั้น จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ออกกำลังกายสม่ำอย่างเสมอ และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดสูง คืออะไร น้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จากค่าปกติที่ควรอยู่ประมาณ 99-140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่กระทบต่อสุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น น้ำตาลในเลือดสูง มีสาเหตุจากอะไร สาเหตุที่ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง อาจเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เช่น ข้าวขาว พาสต้า ขนมหวาน ของทอด โดยปกติอาหารจำพวกแป้งและคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสสะสมอยู่ในกระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แต่หากรับประทานมากเกินไป อาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่เข้าทำลายเซลล์ในตับอ่อน ส่งผลให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อการจัดการกับน้ำตาลในเลือด มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรืออาจเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะอินซูลินมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ DM type 2 คือ อะไร

DM type 2 คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม จึงควรหมั่นสังเกตอาการและดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน DM type 2 คือ อะไร DM type 2 หรือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน โดยปกติแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายนำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ผิดปกติ จึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับอ่อนจึงต้องพยายามสร้างอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาชดเชย เมื่อเวลาผ่านไป […]


โรคเบาหวาน

เครื่องตรวจเบาหวาน ใช้เพื่ออะไร และใช้งานอย่างไร

เครื่องตรวจเบาหวาน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดรายวันได้ด้วยตัวเอง เครื่องมือนี้เป็นประโยชน์ต่อการติดตามอาการของผู้ป่วย ช่วยในการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในแต่ละวัน และอาจช่วยให้คุณหมอกำหนดแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม ผู้ใช้งานเครื่องตรวจเบาหวานควรศึกษาข้อมูลและปฏิบัติตามคำแนะนำในเอกสารกำกับของเครื่องอย่างเคร่งครัด หากพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมาย ควรไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] เครื่องตรวจเบาหวาน คืออะไร เครื่องตรวจเบาหวาน เป็นอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดที่ใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยในการประเมินค่าระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวันของผู้ป่วยว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ผู้ป่วยสามารถใช้เครื่องนี้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองได้ที่บ้าน วิธีการใช้งานทั่วไป คือ หยดเลือดจากปลายนิ้วลงบนแถบทดสอบ เพื่อให้เครื่องตรวจวิเคราะห์ค่าน้ำตาลในเลือด จากนั้นเครื่องจะแสดงผลตรวจบนหน้าจอดิจิตอล ค่าที่ได้สามารถบอกถึงระดับน้ำตาลในแต่ละช่วงเวลาของวัน ซึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษาโรคของผู้ป่วย ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีดังนี้ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 70-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนรับประทานอาหาร น้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือน้อยกว่า ก่อนรับประทานอาหาร 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือน้อยกว่า หลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือน้อยกว่า หลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง บุคคลที่ควรใช้ เครื่องตรวจเบาหวาน ผู้ที่ควรใช้เครื่องตรวจเบาหวาน มีดังนี้ ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาจตรวจประมาณ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

GDM คือ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สาเหตุและแนวทางการรักษา

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือ GDM คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะหายหลังจากคลอดบุตร โดยเกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ การมีน้ำหนักเยอะหรือเป็นโรคอ้วน การมีญาติใกล้ชิดเป็นเบาหวาน อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นรักษาได้และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-due-date] GDM คือ อะไร Gestational diabetes หรือ GDM คือ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคที่พบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว แต่เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยลง จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดและใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่ออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้มีน้ำตาลปริมาณมากตกค้างและสะสมอยู่ในกระแสเลือด จนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และนำไปสู่โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ GDM มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ได้ 24-28 สัปดาห์ คุณแม่จึงต้องเข้ารับการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล หากพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และอาจต้องทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลแบบแบบ 3 ชั่วโมง (Oral glucose tolerance test หรือ OGTT) เพื่อยืนยันผลว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ […]


โรคเบาหวาน

ฉีดอินซูลิน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง และอันตรายไหม

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป ด้วยการลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานต่อไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าปกติหรือไม่ผลิตอินซูลิน จำเป็นต้องได้รับอินซูลินทดแทน ด้วยการรับประทานหรือฉีดอินซูลินเข้าสู่ผิวหนังเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง มักเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น เบาหวานขึ้นตา ความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาว่า ฉีดอินซูลิน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง ควรฉีดอินซูลินด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด [embed-health-tool-bmi] อินซูลินสำคัญอย่างไร อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการลำเลียงน้ำตาลไปยังเซลล์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพลังงาน และช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงเกินความต้องการของร่างกาย อินซูลินจะลำเลียงน้ำตาลส่วนเกินไปไว้ยังตับ เพื่อสะสมเป็นพลังงานสำรองหรือที่เรียกว่าไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งสามารถแปลงกลับเป็นน้ำตาลได้เมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงาน ทำไมผู้ป่วยเบาหวานต้อง ฉีดอินซูลิน ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานมักผลิตอินซูลินไม่ได้หรือได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีระดับน้ำในเลือดที่สูงกว่าปกติ และเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องฉีดอินซูลินทดแทน เพื่อทำหน้าที่เสมือนฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อนในการลำเลียงน้ำตาลไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ฉีดอินซูลิน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง เมื่อฉีดอินซูลิน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น มีดังต่อไปนี้ เกิดอาการคัน บวม หรือมีรอยแดง บริเวณผิวหนังที่ฉีดอินซูลิน น้ำหนักเพิ่มขึ้น เนื่องจากอินซูลินช่วยให้ร่างกายผู้ป่วยเบาหวานดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานได้มากขึ้น โดยพลังงานส่วนเกินจะถูกเก็บในรูปของไขมัน และไขมันสะสมที่เพิ่มขึ้นทำให้น้ำหนักตัวโดยรวมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน