โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

HHS คือ ภาวะโคม่าจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ภาวะโคม่าจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือ HHS คือ ภาวะที่เลือดข้นมากจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่อันตรายของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุมาจากการควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี มี การใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่ออกฤทธิ์ต้านอินซูลิน หรือมีการเจ็บป่วยรุนแรง ที่ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงกว่า 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยมักมีไข้สูง ปัสสาวะบ่อย สับสน เซื่องซึม หมดสติ และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยโรคเบาหวานสังเกตเห็นว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ หรือมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะ HHS ควรไปพบคุณหมอทันที เพื่อรับการรักษาให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] HHS คือ อะไร Hyperosmolar Hyperglycemic Syndrome หรือ HHS เป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่รุนเเรงมักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ดูเเลตนเองได้ไม่ดี ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนจากน้ำตาลสูงชนิดเฉียบพลันเช่นเดียวกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (Diabetic Ketoacidosis หรือ DKA) แต่ภาวะ HHS จะมักจะมีความรุนแรงมากกว่า เเละไม่เลือดเป็นกรด เนื่องจากตับอ่อนบางส่วนยังสร้างสามารถอินซูลินได้บ้าง จึงไม่เกิดกระบวนการสลายไขมัน เเละไม่เกิดคีโตนสะสมในเลือด หาก ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จะนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เเละไม่ได้รับการเเก้ไขที่ถูกวิธี ร่างกายจะยิ่งขาดน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำไปทางปัสสาวะมากขึ้น หากผู้ป่วยดื่มน้ำทดเเทนได้ไม่เพียงพอ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตามัว สัญญาณของเบาหวานขึ้นตา สาเหตุและวิธีป้องกัน

อาการ ตามัว ในผู้ป่วยเบาหวาน อาจเป็นสัญญาณของอาการเบาหวานขึ้นตา มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนของดวงตา หรือเบาหวานขึ้นตาได้ เช่น จอตาเสื่อม จุดรับภาพชัดบวม ต้อหิน รวมไปถึงอาจรุนเเรงจนทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย และหมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ หากมีอาการตาพร่ามัวร่วมกับมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อาการ ตามัว เกิดจากอะไร อาการตามัวอาจเกิดจากแมคูลาหรือจุดภาพชัด (Macula) ที่อยู่ตรงกลางของเรตินาหรือจอประสาทตา (Retina) บวม เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตาอุดตัน จนทำให้เลือดและสารต่าง ๆ รั่วซึมออกมาสู่จอตา รวมไปถึงที่จุดรับภาพชัด ซึ่งอาจส่งผลให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจนหรือบิดเบี้ยวได้ หากเป็นช่วงระยะเริ่มเเรกซึ่งผู้ป่วยจะยังมีการมองเห็นยังค่อนข้างชัดเจนอาการจะดีขึ้นจนกลับมามองเห็นเป็นปกติได้เองเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลงลง ปัญหาตามัวที่เกิดจากจุดรับภาพบวมจากเบาหวาน (Diabetic Macular Edema) ทำให้การมองเห็นแย่ลง ตามัวมองภาพไม่คมชัดเหมือนปกติ โดยส่วนมากเเล้วมักพบในระยะที่โรครุนเเรงไประยะหนึ่งเเล้ว ซึ่งจำเป็นต้องทำการรักษาโดยวิธีการฉีดยาเข้าในลูกตา หรือเลเซอร์จอตา เเต่หากตรวจพบภาวะนี้ในระยะแรก ๆ ก็อาจค่อย ๆ ดีขึ้นฃได้หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม  ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ใกล้เคียงเป้าหมายให้มากที่สุด กล่าวคือ ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร ควรอยู่ระหว่าง 70-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง หากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

คันตามผิวหนัง ในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

อาการ คันตามผิวหนัง เป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น สภาพผิวแห้ง การติดเชื้อรา ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ไม่ดีมักประสบกับปัญหานี้เนื่องจากระบบเลือดไหลเวียนไปที่ผิวหนังส่วนปลาบได้ไม่ดีนัก ส่งผลให้มีสภาพผิวแห้ง ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองผิวได้ง่าย ทั้งนี้ อาการคันตามผิวหนังอาจบรรเทาได้ด้วยการทาโลชั่นเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น รวมทั้งการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการคันตามผิวหนัง อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับผิวหนังอื่น ๆ ได้ด้วย อาการ คันตามผิวหนัง เกิดจากอะไร อาการคันตามผิวหนัง (Pruritus) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผิวแห้ง ผื่นเเพ้ผู้ป่วยเบาหวานอาจพบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพผิวหนังได้บ่อยเนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตเเละเส้นประสาทส่วนปลายอาจมีปัญหา ผลให้เกิดอาการคันระคายเคืองผิว ที่บริเวณขา เเละเท้า รวมถึงอาจเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าคนอื่นทั่วไป  วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการ คันตามผิวหนัง วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการคันตามผิวหนัง อาจทำได้ดังนี้ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณ์ที่มีสารเคมีหรือมีน้ำหอมเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจระคายเคืองผิวได้ หลีกเลี่ยงการอาบหรือน้ำอุ่นนานเกินไป เพราะทำให้ผิวเสียความชุ่มชื้น ทำให้ผิวแห้งและเกิดอาการคันได้ ทามอยส์เจอร์ไรเจอร์หรือโลชั่นเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น เพราะเมื่อผิวแห้ง หรือแตก ลอก จะทำให้เกิดอาการคันได้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะหากร่างกายมีภาวะขาดน้ำ หรือ ได้รับน้ำไม่เพียงพอกับความต้องกาย จะส่งผลให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น ทำให้ผิวเเห้งและเกิดปัญหาผิวหนังอื่น ๆแทรกซ้อนได้ หากเป็นอาการคันซึ่งเกิดจากอาการแพ้ สามารถบรรเทาอาการคันได้ด้วยยา เช่น ครีมสเตียรอยด์อ่อน […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 อันตรายหรือไม่

หากมีค่า น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานได้และอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั้นอาจเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ และ ภาวะดื้ออินซูลิน ซี่งปัจจัยส่งเสริมอาจมาจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย การรับประทานยารักษาโรคเบาหวานตามที่คุณหมอแนะนำ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและปลอดภัยได้  น้ำตาลในเลือดปกติอยู่ที่เท่าไหร่ น้ำตาลในเลือดตามเกณฑ์ปกติหากทำการตรวจหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จะมีค่าต่ำกว่า 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ หากตรวจหลังจากกลืนน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จะต้องมีค่าไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร การควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ สามารถทำได้โดยการเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูง ธัญพืชไม่ขัดสี ไขมันดี และโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง อัลมอนด์ ปลาแซลมอน คะน้า น้ำมันมะกอก มะเขือเทศ แอปเปิ้ล และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลส่วนเกินได้ดีขึ้น น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 อันตรายหรือไม่ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแรกซ้อนจากน้ำตาลในเลือดสูง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวาน เท้าดำ รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

เบาหวาน เท้าดำ เป็นภาวะเเทรกซ้อนหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานที่ปล่อยให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนทำให้หลอดเลือดตีบหรือเกิดการอุดตันเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปทีเท้าได้น้อยกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อบางส่วนขาดเลือดเเละตาย เท้าจึงมีอาการดำและคล้ำลงในที่สุด ล อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานอาจป้องกันเท้าดำได้ ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดตีบเเคบเเละเสื่อมได้มากขึ้นกว่าเดิม [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน ทำให้เท้าดำได้อย่างไร ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เส้นประสาทบริเวณเท้าเสียหาย จึงทำให้มีอการเท้าชา ไม่สามารถรับความรู้สึกได้เป็นปกติ จึงอาจทำให้เกิดเเผลที่เท้าได้โดยไม่ทันรู้ตัว ซึ่งนับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายเเละเกิดภาวะเเทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเมื่อเกิดบาดแผลหรือมีรอยขีดข่วน ผู้ป่วยมักไม่รู้สึกเจ็บจึงทำให้รู้ตัวช้า กว่าจะทราบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น แผลอาจมีการติดเชื้อลุกลามและตายเน่ากลายเป็นอาการเท้าดำมากเเล้ว นอกจากนี้ หากควบคุมเบาหวานไม่ดี การปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงยังเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นและตีบแคบลง หรือเกิดการอุดตัน จนทำให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายเช่นที่เท้าลดลง ทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดเเละออกซิเจนเป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อบางส่วนตาย นำไปสู่อาการเท้าดำได้ในที่สุด เบาหวาน เท้าดำมีอาการอย่างไร ผู้ป่วยเบาหวานที่หลอดเลือดถูกทำลายจากน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานจนเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดเเละเนื้อตายเน่า อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้ ผิวหนังที่เท้าเปลี่ยนสี เป็นสีเทาซีด น้ำเงิน ม่วง หรือ แดงคล้ำ ผิวหนังบริเวณเท้าบางลง ขนบริเวณนิ้วเท้าอาจหลุดร่วง เท้า หรือบางส่วนของเท้า เย็นซีดหรือมีอุณหภูมิต่ำกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แผลหายช้า เพราะออกซิเจนกับสารอาหารต่าง ๆ ไปหล่อเลี้ยงเท้าได้ไม่เพียงพอ มีแผลเกิดขึ้นที่เดิมซ้ำ ๆ แผลบริเวณเท้ามักมีกลิ่นเหม็นเน่า หรือมีน้ำเหลือง/หนองไหล ทั้งนี้ หากเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังเกิดการตาย […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ โดยมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนฮิวแมน พลาเซนต้า แลกโตรเจน (Human Placental Lactogen หรือ HPL) ซึ่งผลิตมาจากรก ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน นำไปสู่ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ โดยส่วนมากแล้ว คุณแม่มักไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แสดงให้ทราบ จนหากเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ๆ อาจทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ปากแห้ง และอยากอาหารมากเป็นพิเศษ หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพราะนอกจากจะส่งผลต่อตัวคุณแม่แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ โดยเพิ่มความเสี่ยงให้ทารกคลอดยากกว่าปกติ คลอดก่อนกำหนด หรือเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออะไร ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หมายถึง การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติในช่วงระหว่างที่ตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนจากรกและฮอร์โมนอื่น ๆ อีกหลายชนิดมีระดับเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต้านฤทธิ์กับฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้คนท้องบางรายมีระดับในเลือดสูงขึ้น และทำให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตามมา ทั้งนี้ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักหายได้เองหลังคลอด เนื่องจากระดับฮอร์โมนกลับสู่ปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลลดลงกลับสู่ภาวะปกติตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลต่อสุขภาพทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมทั้งหลังคลอดแล้ว คุณแม่อาจเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่าผู้หญิงที่อายุเท่า ๆ กัน จึงแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำอย่างน้อยทุก ๆ ปี เพื่อเป็นการคัดกรองเบาหวานอยู่เสมอ ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้ […]


โรคเบาหวาน

การฉีดอินซูลิน ฉีดอย่างไร มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

การฉีดอินซูลิน เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน โดยการฉีดของเหลวที่เป็นอินซูลินทดแทนเข้าสู่ร่างกาย เพื่อทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนอินซูลินซึ่งร่างกายผู้ป่วยเบาหวานผลิตได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต [embed-health-tool-bmr] อินซูลิน คืออะไร อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ตับอ่อนสร้างขึ้น มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยการลำเลียงน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย รวมถึงนำน้ำตาลส่วนเกินไปไว้ยังตับ โดยสะสมไว้ในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen) หรือพลังงานสำรอง เมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย น้ำตาลในเลือดจะเกิดการสะสมจนกระทั่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึงระดับที่เรียกว่าโรคเบาหวาน วิธีฉีดอินซูลิน บริเวณที่นิยมฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย คือ ต้นแขน หน้าท้อง สะโพก และบั้นท้าย โดยมีวิธีการฉีด ดังนี้ ฉีดด้วยไซริงค์ (Syringe) ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ อาทิ อินซูลินที่บรรจุในภาชนะ ไซริงค์ เข็มฉีดยา แอลกอฮอล์ สำลี จุ่มเข็มลงไปในภาชนะบรรจุอินซูลิน เพื่อดูดอินซูลินเข้าไปในไซริงค์ให้อยู่ในปริมาณที่ต้องการใช้ ทั้งนี้ ก่อนดูดอินซูลินเข้าในไซริงค์ควรไล่อากาศออกก่อน ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดอินซูลินด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ รอให้แห้ง ดึงผิวหนังส่วนที่จะฉีดให้ยืดขึ้นประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อป้องกันการฉีดอินซูลินเข้าสู่กล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้หากเข็มที่ใช้ฉีดมีขนาดสั้น แทงเข็มเข้าไปยังผิวหนังเป็นแนวตั้งฉาก 90 องศา […]


โรคเบาหวาน

เมตาบอลิซึม เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

เมตาบอลิซึม (Metabolism) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต หากร่างกายป่วยเป็นโรคเบาหวานมักทำให้การทำงานของเมตาบอลิซึมเกิดการเสียสมดุล การเผาผลาญไขมันและโปรตีนในร่างกายผิดปกติตามไปด้วย  โดยเฉพาะเมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงานจากน้ำตาล ทำให้ร่างกายเลือกเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานทดแทนจนอาจนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรดและอาจทำให้เสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] เมตาบอลิซึมคืออะไร เมตาบอลิซึมเป็นกระบวนการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ จากอาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ เมื่อบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าสู่ร่างกาย เอนไซม์ในระบบย่อยอาหารจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาล ไขมันเป็นกรดไขมัน และย่อยโปรตีนเป็นกรดอะมิโน โดยสารอาหารต่าง ๆ ที่ผ่านการย่อยแล้วจะถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ อัตราการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้เป็นพลังงาน (Basal Metabolic Rate หรือ BMR) ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดตัว เพศ อายุ การออกกำลังกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เมตาบอลิซึม และบทบาทของอินซูลิน อินซูลินถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเผาผลาญพลังงานและการจัดการพลังงานทั้งในรูปแบบของการกักเก็บและการออกซิเดชัน (Oxidation) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนอาหารที่ร่างกายได้รับให้กลายเป็นโมเลกุลย่อยที่มีขนาดเล็กลง รวมทั้งเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน  ทั้งนี้หากร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญและการออกซิเดชั่นในปริมาณที่เหมาะสม จะเกิดผลดีต่อร่างกาย แต่หากขาดความสมดุลจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การฉีดหรือบริโภคอินซูลินทดแทน เป็นวิธีการควบคุมลดระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปในผู้ป่วยเบาหวานให้ลดลง โดยอินซูลินทดแทนจะทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนอินซูลินที่ร่างกายผลิตได้ โดยการลำเลียงน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ และนำน้ำตาลส่วนเกินไปกักเก็บไว้ในตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมัน ในรูปแบบของพลังงานทดแทนหรือไกลโคเจน (Glycogen) […]


โรคเบาหวาน

รองเท้า เบาหวาน เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

รองเท้า เบาหวาน คือรองเท้าที่ได้รับการออกเเบบเเละผลิตมาให้เหมาะสมสำหรับเท้าผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อดูแลและปกป้องสุขภาพเท้าของผู้ป่วยที่อาจมีปัญหาระบบปลายประสาทเสื่อม และหลอดเลือดส่วนปลายตีบซึ่งเป็นภาวะเเทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน ทำให้มีอาการเท้าชา เป็นแผลได้โดยที่มักจะไม่ทันรู้ตัว จึงอาจปล่อยทิ้งไว้จนแผลติดเชื้อลุกลามและรักษาหายยาก ทั้งนี้การเลือกใช้รองเท้าที่เหมาะสม อาจช่วยป้องกันผู้ป่วยเบาหวาน มิให้เกิดปัญหาเท้าเบาหวานได้  โดยในขั้นต้นควรเลือกรองเท้าที่มีขนาดเหมาะสมกับเท้า หัวไม่แหลม น้ำหนักเบา เเละ ระบายอากาศได้ดี [embed-health-tool-bmi] รองเท้า สำคัญอย่างไรกับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ผนังของหลอดเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทต่าง ๆ ได้รับความเสียหายจนเกิดปัญหาระบบเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ทำให้มีอาการชา เสี่ยงเป็นแผลโดยไม่รู้ตัว จึงมักไม่ได้รับการรักษา จนกระทั่งแผลติดเชื้อและลุกลาม กลายเเป็นเเผลเรื้อรัง นอกจากนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ยังทำให้เสี่ยงต่อการมีไขมันมาสะสมในหลอดเลือดมากขึ้น จนทำให้หลอดเลือดตีบเเคบลง ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดซึ่งคอยขนส่งออกซิเจน สารอาหาร และแร่ธาตุต่าง ๆ เพื่อไปรักษาบาดแผลบริเวณเท้า ทำให้บาดแผลของผู้ป่วยเบาหวานหายช้ากว่าปกติ จึงเเนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเท้าชา หรือ เท้าเบาหวาน  ควรสวมรองเท้าหรือถุงเท้าตลอดเวลา เเม้จะอยู่ภายในบ้านเพื่อป้องกันมิให้เท้าเป็นแผลหรือเกิดรอยขีดข่วน รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดแผลติดเชื้อซึ่งอาจลุกลามแผลเบาหวานจนเกิดเนื้อตาย หรือทำให้ เกิดปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพตามมาได้ รองเท้า เบาหวาน ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม วิธีเลือกรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานให้เหมาะสม มีเเนวทางดังนี้ เลือกรองเท้าที่หัวไม่แหลมเกินไป ให้นิ้วเท้าสามารถขยับได้ ไม่เบียดกันหรือเสียดสีจนอาจเกิดแผลพุพอง เลือกรองเท้าที่มีน้ำหนักเบา และระบายอากาศได้ดี เพื่อลดการอับชื้นและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อราบริเวณเท้า อีกทั้งส้นรองเท้าควรได้รับการออกแบบเพื่อช่วยรองรับแรงกดหรือแรงกระแทกได้ดี หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูง เนื่องจากทรงของรองเท้าจะเพิ่มแรงกดไปยังบริเวณฝ่าเท้าส่วนบน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เท้า กับโรคเบาหวาน ดูแลรักษาอย่างไร

เท้า เป็นอวัยวะที่มักได้รับผลกระทบโดยตรงจากโรคเบาหวานเนื่องจาก หากผู้ป่วยเบาหวานปล่อยให้มีระดับน้ำตาลสูงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เส้นประสาทและเส้นเลือดของเท้าเสียหาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลและติดเชื้อได้ง่ายว่าคนทั่วไป รวมทั้งแผลหายช้า ป หรืออาจรุนแรงจนเนื้อเน่าและอาจถึงขั้นต้องตัดเท้าได้  อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลและรักษาสุขภาพเท้าของตนอยู่เสมอด้วยการทำความสะอาดเท้า และดูแลมิให้อับชื้น รวมทั้งสวมใส่รองเท้าตลอดเวลาเพื่อป้องกันมิให้เกิดแผล [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่มีภาวะนี้จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ คือ สูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป เมื่อตรวจหลังจากอดอาหารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 8ชั่วโมง เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือ ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้การสมดุลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง และมีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่โรคเบาหวานตามมา  หากผู้ที่เป็นเบาหวานปล่อยให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยไม่รักษาอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รับประทานยาหรือฉีดอินซูลิน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงเท้า ในอนาคตได้  เท้า ได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวานอย่างไรบ้าง การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท้า หรือเกิดอาการเบาหวานลงเท้า ดังนี้ เส้นประสาทเสียหายหรือผิดปกติ เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง สามารถทำให้เส้นเลือดฝอยที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย จึงทำให้เส้นประสาทนั้น ๆ ทำงานผิดปกติไป เมื่อเกิดกับเส้นประสาทส่วนที่ควบคุมบริเวณเท้า จึงทำให้เท้าชา และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกเจ็บเมื่อเกิดแผล […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน