โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

OGTT คือ อะไร สำคัญต่อการคัดกรองโรคเบาหวานอย่างไร

OGTT คือ การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลของร่างกาย เพื่อตรวจคัดกรองภาวะก่อนเบาหวาน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) วิธีนี้เป็นการทดสอบความสามารถในการเผาผลาญน้ำตาลของร่างกาย หากมีระดับน้ำตาล OGTT สูงกว่าเกณฑ์ แสดงถึงร่างกายไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการเกิดภาวะก่อนเบาหวาน และโรคเบาหวาน ซึ่งการตรวจ OGTT ช่วยให้คุณหมอสามารถวางแผนการรักษาและให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] OGTT คือ อะไร OGTT หรือ Oral glucose tolerance test คือ การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลของร่างกาย ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องงดรับประทานอาหารเเละเครื่องดื่มที่ให้พลังงานก่อนการตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จากนั้นจะเจาะเลือดตรวจค่าระดับน้ำตาลหลังอดอาหารก่อน แล้วจะให้ดื่มสารละลายกลูโคสเพื่อทดสอบการทนทานต่อน้ำตาลของร่างกาย จากนั้นจึงเจาะเลือดตรวจค่าระดับน้ำตาลซ้ำอีกครั้ง หากค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นสัญญาณบอกว่าผู้รับการทดสอบนั้นมีภาวะก่อนเบาหวานหรือเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควรทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลเมื่อใด แนะนำ การตรวจ OGTT ในผู้ที่มีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ (ค่าดัชนีมวลกาย  ≥ 25 กก./ม2 ) หรือเป็นโรคอ้วน มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง มีภาวะกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome) ผู้ที่เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดเกิน […]


โรคเบาหวาน

อินซูลิน มากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

อินซูลิน ในร่างกาย มากเกินไป (Hyperinsulinemia) หรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถใช้อินซุูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายอาจมีระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นและอาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งการรักษาอาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ปรับการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเพื่อช่วยในการเผาผลาญและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ [embed-health-tool-bmi] อินซูลิน คืออะไร อินซูลิน คือ  ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนมีความผิดปกติในการผลิตอินซูลิน จึงมีน้ำตาลในเลือดสูงและพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้ อินซูลิน มากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร ภาวะอินซูลินในร่างกายมากเกินไป หรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือ ภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมามากขึ้นเพื่อพยามช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งปกติเเล้ว ตับอ่อนจะเพิ่มการผลิตและหลังฮอร์โมนอินซูลินสูงขึ้นหลังจากรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล แต่ในผู้ที่มี ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เซลล์ในร่างกายจะไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เเม้จะมี อินซูลินในปริมาณสูงแล้วก็ตาม เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยที่กลไกนี้เป็นสาเหตหลักของการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ การที่ตับอ่อนพยามผลิดอินซูลินมากขึ้นเรื่อยๆนี้ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน หรือเรื้อรัง ในที่สุดตับอ่อนจะล้า จนทำให้สุดท้ายเเล้วตับอ่อนจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจพบมีปื้นสีน้ำตาล/คล้ำตามข้อพับ รักเเร้ หรือคอด้านหลัง อย่างไรก็ตาม มักไม่มีอาการแสดงมากนัก ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัวจนระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ที่มีอาการดังนี้ กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีเเรง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการน็อคเบาหวาน คืออะไร อันตรายหรือไม่

อาการน็อคเบาหวาน หรือ น้ำตาลต่ำ หมายถึง ภาะวะที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเกิดจากจากการใช้ยาฉีดอินซูลินเกินขนาด การรับประทานยาลดระดับน้ำตาลมากเกินไป การออกกำลังกายหักโหมมากกว่าปกติ หรือการรับประทานอาหารผิดเวลา หรือ งดอาหารบางมื้อ ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง เซลล์ต่างๆในร่างกายขาดน้ำตาล จึงอาจทำให้เกิดอาการ มือสั่น/ตัวสั่น ใจสั่น อ่อนเพลียไม่มีเเรง ปวดศีรษะ/เวียนศีรษะ ตัวเย็น เหงื่อเเตก บางครั้งอาจมีอาการรุนเเรงจนทำให้ ชัก หมดสติ เเละอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นเเละเสียชีวิตได้  ทั้งนี้ เมื่อเกิดอาการน้ำตาลต่ำ ควรรีบรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ลูกอม น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและหากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการซ้ำ ๆ ควรรีบไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] อาการน็อคเบาหวาน คืออะไร อาการน็อคเบาหวานเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของอาการช็อคน้ำตาล (Insulin Shock) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งมักเกิดจากการได้รับยาฉีดอินซูลินหรือยาลดระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป หรือเกิดจากการรับประทานอาหารผิดเวลา/งดอาหารบางมื้อ จึงทำให้ร่างกายขาดน้ำตาล ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ น๊อคเบาหวาน จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายดังนั้นจึงเฝ้าระวังเเละป้องกันมิให้เกิดอาการดังกล่าว เเละ หากมีอาการควรแจ้งคุณหมอให้ทราบ เพื่อให้คำเเนะนำรวมถึงปรับการรักษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาการน็อคเบาหวาน เป็นอย่างไร ผู้ที่มีอาการน๊อคเบาหวานหรือน้ำตาลต่ำ จะมีภาวะที่ร่างกายขาดน้ำตาล […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดปกติ อยู่ในระดับเท่าไหร่ ถึงดีต่อสุขภาพ

น้ำตาล เป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญของร่างกาย แต่หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน สำหรับคำถามที่ว่าระดับ น้ำตาลในเลือดปกติควรอยู่ที่เท่าไร ? อาจขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการตรวจและแปลผลเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลให้ทราบว่าตนเองกำลังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานอยู่หรือไม่ [embed-health-tool-bmi] ทำไมจึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะหากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น มือสั่น ตาลาย หากมีรุนเเรงอาจมีอาการชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ แต่หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ภาวะเลือดเป็นกรด (Ketoacidosis) รวมถึงเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม และตามัวจากเบาหวานขึ้นตาได้ นอกจากนี้ การตรวจน้ำตาลระดับในเลือดยังเป็นการติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยเบาหวาน ว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำตาลได้ดีหรือไม่เพียงใด ระดับน้ำตาลในเลือดปกติอยู่ที่เท่าไร การแปลผลค่าน้ำตาลในเลือดจะต่างกันตามวิธีการตรวจ ดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่ทำการตรวจหลังงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงแล้ว ไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตรถือว่า อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจความทนทานต่อน้ำตาล OGTT โดยเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกวิธีหนึ่งซึ่งจะต้องงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงเช่นกัน เเล้วทำเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลหลังดื่มสารละลายกลูโคส 75 กรัมหากระดับน้ำตาลหลังดื่มสารละลายกลูโคสไปเเล้วเป็นเวลา 2 ชั่วโมงมีค่าน้อยกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงถึงร่างกายมีว่ามีความทนทานต่อน้ำตาลปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติอยู่ที่เท่าไร ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ค่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ในบุคคลทั่วไป หากมีค่าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานเริ่มต้น มีอะไรบ้าง

อาการเบาหวานเริ่มต้น คืออาการแรก ๆ ที่พบได้เมื่อเป็นโรคเบาหวาน โดยอาจสังเกตได้จากอาการกระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยล้าง่าย บางคนอาจมีอาการตาพร่ามัว อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการดังกล่าว อาจแสดงถึงร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างสูง เเละ เป็นมานานซักระยะหนึ่งเเล้ว เพราะจริง ๆ เเล้ว หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มาก และเป็นช่วงเริ่มต้นนั้น มักจะยังไม่ทำให้ปัญหากับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย จึงยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ ให้เห็น ดังนั้นหากพบว่ามีอาการข้างต้นควรเข้ารับการตรวจหาโรคเบาหวานและรับการรักษาจากคุณหมอ รวมถึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม ก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmr] เบาหวานเกิดจากอะไร โรคเบาหวาน มีสาเหตุหลัก ๆ สองประการ คือ สาเหตุเเรก คือตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลายไป จึงทำให้ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ซีึ่งฮอร์โมนอินซูลินนั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เซลล์ของร่างกาย นำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อเผาผลาญให้เกินเป็นพลังงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ เซลล์จึงไม่สามารถดึงน้ำตาลจากในกระเเสเลือดได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ และกลไกนี้เป็นกลไกที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สาเหตุประการที่สอง คือเบาหวานที่อาจเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน คือการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมี อินซูลินเพียงพอในร่างกาย เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยที่กลไกนี้ เป็นกลไกหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีสังเกต […]


โรคเบาหวาน

7อาการเบาหวาน การรักษา และวิธีควบคุมอาการ

โรคเบาหวาน คือโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน โดยมี 7อาการเบาหวาน หลัก ๆ ได้แก่ ผิวแห้ง ตาพร่ามัว เหนื่อยล้า ปัสสาวะบ่อย ขาชา คลื่นไส้อาเจียน และน้ำหนักลดลงกะทันหัน หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรเข้ารับการตรวจโรคเบาหวานและทำการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมอาการและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย [embed-health-tool-bmi] 7อาการเบาหวาน มีอะไรบ้าง 7อาการเบาหวาน มีดังต่อไปนี้ ตาพร่ามัว เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ทำลายหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงจอตา ส่งผลให้เลนส์ในดวงตาบวม ตาพร่ามัว และอาจเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก ต้อหิน และตาบอดได้ ปัสสาวะบ่อย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินทิ้งทางปัสสาวะ จึงถูกขับออกมาในรูปแบบปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะตอนกลางคืน เเละกระหายน้ำบ่อยขึ้น นอกจากนี้ อาจทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ผิวแห้ง เกิดจากการที่ร่างกายขาดน้ำเนื่องจากปัสสาวะบ่อยเกินไป ส่งผลให้ผิวแห้ง มีอาการคัน รวมถึงริมฝีปากแห้งร่วมด้วย เหนื่อยล้าง่าย โรคเบาหวานหากควบคุมได้ไม่ดี นอกจากจะทำให้ร่างกายขาดน้ำแล้ว การที่ร่างกายไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน จึงเกิดอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจทำให้รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ เท้าชา เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำให้หลอดเลือดและเส้นประสาทบริเวณเท้าเสียหาย ส่งผลให้เกิดอาการชา หรือในบางรายมีอาการปวดแสบที่บริเวณปลายเท้า และหากมีแผลยังทำให้แผลหายช้าอีกด้วย […]


โรคเบาหวาน

ตับอ่อนอักเสบ อาการ และผลกระทบต่อโรคเบาหวาน

ตับอ่อนอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับอ่อน ทำให้เกิด อาการ ต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้และอาเจียน ปวดท้องส่วนบน บางรายอาการปวดท้องเป็นรุนเเรงเเละปวดร้าวทะลุไปกลางหลัง มีไข้ โดยที่ภาวะตับอ่อนอักเสบนั้นหากเป็นรุนเเรง หรือ เรื้อรังทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เนื่องจากเซลล์ตับอ่อนนั้นนอกจากมีหน้าที่ผลิตน้ำย่อยต่าง ๆ เเล้ว ยังทำหน้าที่ผลิดฮอร์โมนอินซูลินที่จำเป็นในการเผาผลาญน้ำตาล เมือเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ เซลล์ตับอ่อนอาจผลิตและหลั่งอินซูลินลดลง จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและพัฒนาไปสุ่โรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] ตับอ่อนอักเสบ อาการ มีอะไรบ้าง ตับอ่อนอักเสบ อาการ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ ภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน อาการปวดท้อง ภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมักทำให้มีอาการปวดท้องส่วนบน ตรงกลาง บางครั้งอาจปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดมักจะทวีความรุนเเรงมากขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับอาจลาม ร้าวไปถึงด้านหลัง ซึ่งอาการปวดท้องเหล่านี้เกิดจาก การอักเสบของเซลล์ตับอ่อน ทำให้น้ำย่อยรั่วไหลมาระคายเคืองตัวตับอ่อนเอง นอกจากนี้ มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ไข้สูง เนื่องจากเกิดการอักเสบที่ตับอ่อน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงถูกกระตุ้นจึงเป็นสาเหตให้เกิดอาการไข้ตามมา ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากเซลล์ตับอ่อนทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยในการย่อยอาหาร เมื่อเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบจึงส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานบกพร่องไป เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร มีอาการท้องอืด คลื่นไส้และอาเจียนได้ หัวใจเต้นเร็ว เป็นผลสืบเนื่องจากกระบวกการอับเสบภายในร่างกาย ทำให้เกิดสารอักเสบไซโตคายน์ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานขึ้นเท่าไหร่อันตราย และควรไปพบคุณหมอเมื่อไหร่

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและใกล้เคียงปกติเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจช่วยชะลอและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้ หลายคนอาจมีคำถามว่า ระดับน้ำตาลในเลือด หรือ เบาหวานขึ้นเท่าไหร่อันตราย โดยทั่วไป ระดับเบาหวานหรือน้ำตาลในเลือดที่อาจส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายอยู่ที่ 180มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวาน หรือ บุคคลทั่วไปที่ตรวจแล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอ เนื่องจากการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวานขึ้นเท่าไหร่อันตราย โรคเบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอหรือมีภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่เทำหน้าที่ให้เซลล์สามารถเอาน้ำตาลในเลือดเข้าไปเผาผลาญเป็นพลังงาน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหากับอินซูลิน ไม่ว่าจะเป็นที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลง หรือ เซลล์ในร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เเม้จะมีอินซูลินเพียงพอ แต่ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยทั่วไป ในคนปกติจะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารนาน 8-12 ชั่วโมง ไม่เกิน100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เนื่องจากอินซูลินช่วยให้เซลล์ใช้น้ำตาลไปเผาผลาญได้เป็นปกติ น้ำตาลจึงไม่สะสมอยู่ในกระแสเลือด และไม่ส่งผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ต่างจากผู้ป่วยเบาหวานที่อินซูลินทำงานบกพร่องไป จึงส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง สูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป และหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างอันตรายและส่งผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น อาการช็อกเบาหวาน ภาวะเลือดเป็นกรด […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานสูง เป็นอย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

อาการเบาหวานสูง คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมาย ซึ่งอาการที่เป็นสัญญาณของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจยกตัวอย่าง เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการดังกล่าว อาจแสดงถึงร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างสูง เเละ เป็นมานานซักระยะหนึ่งเเล้ว หากโรคเบาหวานควบคุมได้อย่างไม่ดีต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นภาวะทางสุขภาพเรื้อรังที่เกิดจากการมีระดับน้ำตาลเลือดสูงกว่าปกติ อาจเกิดจากร่างกายผลิตอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตได้ลดลง หรือเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่องเรียกว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จะส่งผลให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในกระเเสเลือดมากเกินไป ซึ่งหากทิ้งไว้หรือไม่รับการรักษาให้ดี อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ภาวะเบาหวานขึ้นตาได้ อาการเบาหวานสูง เป็นอย่างไร สัญญาณของอาการเบาหวานสูงหรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) หรือเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี อาจมีดังนี้ รู้สึกกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย ตาพร่ามัว น้ำหนักลด ปัสสาวะขุ่น ติดเชื่อระบบทางเดินปัสสาวะ แผลหายช้า สาเหตุที่ทำให้มี อาการเบาหวานสูง สาเหตุที่ทำให้มีอาการเบาหวานสูงในผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีดังนี้ ผู้ป่วยมีความเครียดทางอารมณ์ เช่น ความเครียดเรื่องครอบครัว การงาน ความรัก […]


โรคเบาหวาน

อินซูลินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

อินซูลินคืออะไร อินซูลิน คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ดังนั้น หากร่างกายผลิตอินซูลินลดลงไม่เพียงพอระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นและทำให้เป็นโรคเบาหวานตามมา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร ซึ่งในบางกรณีอาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากยิ่งค่าน้ำตาลในเลือดสูงมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคไตเสื่อมจากเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] อินซูลินคืออะไร อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเบต้าเซลล์ (Beta Cell) ในตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินช่วยดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) ทั้งนี้ เพื่อรักษาสมดุลน้ำตาลให้เหมาะสม อินซูลิน กับโรคเบาหวาน เมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อย ๆ สูงขึ้น กระทั่งหากตรวจวัดรดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงเเล้ว ค่ามากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจถือได้ว่าอยู่ในระดับที่เรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ชนิด คือ เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ เนื่องจาก เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายสร้างภูมิไปทำลายเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อน […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน