โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

อินซูลิน มีหน้าที่ในการจัดการกับโรคเบาหวานได้อย่างไร

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นโดยตับอ่อน มีหน้าที่ในการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดให้กลายเป็นพลังงานและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและการลุกลามของโรค รวมถึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น น้ำหนักเกิน โรคอ้วน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ความเสียหายของเส้นประสาท อินซูลิน คืออะไร อินซูลิน คือ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง โดยตับอ่อนมีหน้าที่ควบคุมการผลิตอินซูลินเพื่อใช้ในการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน และเพื่อรักษาความสมดุลของน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป สำหรับในผู้ป่วยเบาหวานที่ร่างกายมีความผิดปกติเกี่ยวกับการผลิตฮอร์โมนอินซูลินหรือร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น คุณหมออาจให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการใช้อินซูลิน ซึ่งอาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย เพื่อใช้ในการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ประเภทของอินซูลิน อินซูลินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยอาจแบ่งตามระยะเวลาในการออกฤทธิ์ ดังนี้ อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-Acting Insulin) เป็นอินซูลินชนิดใส โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 15-30 นาที ออกฤทธิ์สูงสุดระหว่าง 30-90 นาที และออกฤทธิ์ได้นาน 3-5 ชั่วโมง มักใช้ฉีดก่อนรับประทานอาหาร 15 นาที หรือหลังรับประทานอาหาร 15 นาที อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น (Regular or Short-Acting Insulin) เป็นอินซูลินชนิดใส โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30-60 นาที […]


โรคเบาหวาน

เช็คเบาหวานด้วยตัวเอง ทำอย่างไร

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่เกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น การ เช็คเบาหวานด้วยตัวเอง จึงอาจช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เลือกรับประทานอาหาร รวมถึงปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจช่วยควบคุมอาการ รวมถึงป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] เช็คเบาหวานด้วยตัวเอง มีประโยชน์อย่างไร การเช็คเบาหวานด้วยตัวเองทำให้ทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานตั้งเเต่ระยะเเรกเริ่ม เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาโรครวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานรุนแรงที่อาจตามมา ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่่ทำให้หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจและหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บเเน่นหน้าอก  หัวใจวาย และ อัมพฤกษ์ อัมพาต   เบาหวานขึ้นตา เมื่อร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังจะทำให้เส้นเลือดที่บริเวณจอประสาทตาเสือม รวมถึงทำให้เลนส์ตาบวม ส่งผลให้เกิดอาการ ตาพร่ามัว และอาจเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก ต้อหิน และ ตาบอดได้ เส้นประสาทเสื่อม ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำให้หลอดเลือดและเส้นประสาทบริเวณปลายมือเเละเท้าเสียหาย ส่งผลให้เกิดอาการชา หรือในบางรายมีอาการปวดแสบร้อน และหากมีแผลยังทำให้แผลหายช้าอีกด้วย วิธีเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง วิธีตรวจเบาหวานง่าย ๆ เบื้องต้น สามารถทำได้โดยหมั่นสังเกตสุขภาพของตนเอง โดยผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจมีอาการดังต่อไปนี้ กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อย […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน เหงื่อออกมาก สาเหตุ การรักษาและการดูแลตัวเอง

เบาหวาน เหงื่อออกมาก เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานชนิดหนึ่ง ที่พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารรสเผ็ด อยู่ในพื้นที่ร้อน หรือเป็นอาการเเสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน เหงื่อออกมาก เกิดจากอะไร เบาหวานและอาการเหงื่อออกมาก เป็นภาวะที่ต่อมเหงื่อของร่างกายผลิตเเละขับเหงื่อออกมาปริมาณมากกว่างปกติ อาจพบในช่วงระหว่างที่กำลังรับประทานอาหารหรือหลังจากรับประทานอาหารทันที รวมถึงอาจสัมพันธ์กับอากาศที่ร้อน รสเผ็ดหรือกลิ่นของอาหาร รวมถึงเกิดจากความผิดปกติของระบบการขับเหงื่อ ที่ขับเหงื่อออกมามากเกินไปโดยเฉพาะบริเวณลำคอและใบหน้า ซึ่งอาการดังเกล่าอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานได้ แม้อาการเหงื่อออกมากอาจไม่ได้ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่อาจก่อให้เกิดปัญหาเเละความทุกข์ทางจิตใจ ทำให้ผู้ที่มีอาการอาจเสียความมั่นใจและรู้สึกอับอาย จนส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร อาจทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร ความอยากอาหารลดลง รับประทานอาหารน้อยลงหรือไม่รับประทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหานที่ใช้ยาลดระดับนำ้ตาลในเลือดกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) เเละ ผู้ที่ใช้ยาฉีดอินซูลินได้ โดยอาการเหงื่อออกมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ เหงื่อออกมากจากอุณหภูมิภายนอกและภายในร่างกาย เหงื่อออกมากจากการรับประทานอาหาร เหงื่อออกมาก ซึ่งอาจเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเกิดได้ตลอดเวลา รวมถึงในตอนกลางคืนขณะที่นอนหลับ การรักษาอาจต้องพิจารณาถึงสาเหตุของอาการเหงื่ออกมากในข้างต้น เพื่อรักษาที่สาเหตุร่วมกับการรักษาเฉพาะจุดที่มีเหงื่อออกมาก การรักษาอาการเหงื่อออกมาก การรักษาอาการเหงื่อออกมาก โดยทั่วไป อาจทำได้ดังนี้ การรักษาด้วยยา ยากลุ่มที่ลดการทำงานของเส้นประสาท เป็นยาชนิดรับประทานโดยจะออกฤทธิ์ลดการส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาท ซึ่งจะสามารถช่วยลดอาการเหงื่อออกมากได้ แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ตาพร่ามัว ปัสสาวะลำบากปัสสาวะ ยาทาหรือครีมระงับเหงื่อ เป็นยาที่ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากคุณหมอ ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิวและดวงตาได้ การฉีดโบท็อกซ์ เพื่อลดการทำงานของเส้นประสาทที่กระตุ้นทำต่อมเหงื่อทำงานมากจนเกินไป […]


โรคเบาหวาน

ปัสสาวะขุ่น สัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน

ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะโดยมีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้น ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินทิ้งทางปัสสาวะ เรียกว่า ภาวะไกลโคซูเรีย (Glycosuria) ซึ่งเชื้อโรคแบคทีเรียสามารถใช้น้ำตาลเป็นอาหาร ส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีและเกิดการติดเชื้อขึ้น จนทำให้มีปัสสาวะขุ่น [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน คือ ภาวะสุขภาพที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างเรื้อรัง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีอาการอาการหิวบ่อย ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย เเละ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากปล่อยให้ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น ชาตามปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าจากเส้นประสาทเสื่อม เบาหวานลงไต ตามัว ไตวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุของปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะขุ่นอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นผู้สูงอายุอาจมีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถขับปัสสาวะทิ้งออกจากร่างกายได้หมด รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จึงอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเสื่อม โรคอ้วน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิ ก็อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอาจมีอาการ ดังนี้ ปวดท้องน้อย รู้สึกแสบหรือขัดเมื่อปัสสาวะ ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ หนัก เป็นอย่างไร รวมถึงการป้องกันและการดูแลตัวเอง

เบาหวาน อาการ หนัก คือโรคเบาหวานที่มีอาการรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ มักพบในผู้ที่ไม่เคยทราบว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อน (อาจมีอาการนำมาก่อนแล้ว) หรือผู้ที่เป็นเบาหวานเเต่ควบคุมได้ไม่ดีจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากและร่างกายมีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ทำให้มีอาการต่าง ๆ เช่น อ่อนเพลียไม่มีเเรง ง่วงซึม สับสน มึนงง ปวดท้อง หายใจเร็วถี่ เห็นภาพหลอน ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อนรุนแรง [embed-health-tool-bmr] อาการของโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานในระยะแรกมักไม่มีอาการแสดงใด ๆ ดังนั้น จะทราบว่าเป็นเบาหวานหรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือไม่ ต้องอาศัยจากการตรวจเลือด อย่างไรก็ตาม อาการของโรคเบาหวานที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้ กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยโดยมักต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ หิวบ่อย ตาพร่ามัว ปลายมือ/เท้ามีอาการชาหรือปวดแสบร้อน เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย อ่อนล้า ไม่สดชื่น ปากแห้ง ผิวแห้ง คันตามผิวหนังเนื่องจากผิวแห้ง ติดเชื้อได้ง่าย แผลหายช้า หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ รวมถึงตนเองหรือคนในครอบครัวมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการเริ่มการรักษาตั้งแต่เนิ่น ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน หรือ อาการรุนเเรงอื่น ๆ อาจตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะเลือดเป็นกรด เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นประสาทเสื่อม เบาหวาน […]


โรคเบาหวาน

ตรวจเบาหวาน เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด ทำอย่างไร

ตรวจเบาหวาน เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและป้องกันการลุกลามของโรค ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่รับประทานอาหารน้ำตาลสูง ไม่ออกกำลังกาย ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน หรือปัจจัยอื่น ๆ ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานและการลุกลามของโรคที่อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานลงไต แผลที่เท้าจากเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจเบาหวาน ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจเบาหวานเพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคเบาหวานและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อาจมีดังนี้ ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ โดยการคำนวณค่าดัชนีมวลกายที่มีหน่วยเป็น กิโลกรัม/เมตร2 ทำได้โดยการนำ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ ผู้ที่รับประทานอาหารน้ำตาลสูง ไขมันสูงและไม่ออกกำลังกาย มีประวัติเป็นกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคหัวใจและหลอดเลือด คนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี อาจมีความผิดปกติของระบบเผาผลาญเกิดขึ้น จึงควรเข้ารับการตรวจน้ำตาลในเลือด และควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวานซ้ำทุก 3 ปี ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานทุก […]


โรคเบาหวาน

ตรวจเลือด ในผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด ทำอย่างไร

ตรวจเลือด เบาหวาน เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการตรวจเลือดสามารถช่วยวัดและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในทุกช่วงเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในค่าปกติและสามารถป้องกันการลุกลามของโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] ตรวจเลือด เบาหวาน มีประโยชน์อย่างไร การตรวจเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน อาจช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงยังอาจมีประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสม ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถติดตามผลของยาในการรักษาโรคเบาหวาน ช่วยให้ผู้ป่วยทราบถึงการบรรลุเป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวาน ช่วยให้ผู้ป่วยทราบถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม ช่วงเวลาที่ควรตรวจเลือดเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจเลือดเพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกวัน ซึ่งสามารถตรวจเลือดได้หลายครั้งใน 1 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเลือด อาจมีดังนี้ ควรตรวจครั้งแรกในตอนเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากอดอาหารข้ามคืน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดควรน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรตรวจทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ เพื่อให้รู้ความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างก่อนรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร รวมถึงอาจช่วยให้รู้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารเพิ่มสูงขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรตรวจทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือมีอาการโคม่าได้ ควรตรวจครั้งสุดท้ายในช่วงก่อนนอน เพื่อให้ทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือดปัจจุบันก่อนอดอาหารข้ามคืน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานแต่ละคนอาจมีช่วงเวลาและความถี่ในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอาการของโรค จึงควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับช่วงเวลาในการตรวจอย่างเหมาะสม ตรวจเลือด เบาหวาน ทำอย่างไร เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดมีหลายประเภทซึ่งส่วนใหญ่มีการทำงานในลักษณะเดียวกัน ผู้ป่วยอาจขอคำแนะนำจากคุณหมอในการใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดเพื่อเรียนรู้วิธีใช้งานอย่างถูกต้อง วิธีการใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด มีขั้นตอนดังนี้ […]


โรคเบาหวาน

อาการน้ำตาลสูง ในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอย่างไร รักษาและดูแลตัวเองอย่างไร

อาการน้ำตาลสูง ในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมากขึ้น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดศีรษะขาดสมาธิ และหากปล่อยไว้เรื้องรังอาจมีอาการเเทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเส้นประสาท ดวงตาและไตเสื่อมรวมไปถึงอาจอันตรายถึงขั้นโคม่าได้ [embed-health-tool-bmi] อาการน้ำตาลสูง ในผู้ป่วยเบาหวาน คืออะไร ผู้ที่เป็นเบาหวาน จะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขณะอดอาหารมาเป็นเวลานานอย่างน้อย 8 ชั่วโมง มีสาเหตุมาจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ในการเผาผลาญน้ำตาลไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถใช้ฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างเหมาะสม หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เส้นประสาท หลอดเลือด เสื่อมลงและอวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติไป เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานขึ้นตา บาดแผลที่เกิดขึ้นหายช้า  เเละ ไตวายเรื้อรังได้ อาการน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอย่างไร อาการน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานอาจสังเกตได้ ดังนี้ กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะตอนกลางคืน ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า อ่อนแรง มองเห็นภาพไม่ชัดเจน น้ำหนักลดลงผิดปกติ อย่างไรก็ตาม หากมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติไม่มาก มักยังไม่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เเต่หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจนมีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการ ดังนี้ อ่อนเพลีย สับสน มึนงง เป็นแผลง่ายและแผลหายช้า การติดเชื้อระบบต่าง ๆ ง่ายขึ้น เช่น […]


โรคเบาหวาน

โภชนาการอาหารป้องกันเบาหวาน มีความสำคัญอย่างไร

โภชนาการ อาหาร เพื่อป้องกันเบาหวาน เป็นการวางแผนในการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน/ก่อนเบาหวาน และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว หรือ สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงของโรคเบาหวาน เเละโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] โภชนาการ อาหาร เกี่ยวข้องกับ เบาหวาน อย่างไร อาหารที่รับประทานนั้นมีความเกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรง เนื่องจากเมื่ออาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ได้เเก่ เเป้งเเละน้ำตาล ร่างกายจะย่อยเเละเปลี่ยนสารอาหารกลุ่มนี้เป็นน้ำตาลกลูโคสเพื่อดูดซึมมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นหากรับประทานอาหารดังกล่าวมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและอาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้ ดังนั้น การเลือกโภชนาการอาหารให้เหมาะสมจึงสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นับเป็นการดูแลร่างกายช่วยป้องกันการเกิดภาวะก่อนเบาหวาน รวมถึงในผู้ที่เป็นเบาหวานเเล้ว ก็จะช่วยมิให้โรคเบาหวานที่เป็นอยู๋รุนเเรงขึ้น อีกทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย การวางแผน โภชนาการ อาหาร เพื่อป้องกันเบาหวาน การวางแผนโภชนาการอาหารเพื่อป้องกันเบาหวาน อาจทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ การเลือกรับประทานอาหาร อาหาร นับเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ โดยเเนะนำเน้นอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและมีเส้นใยสูง ยกตัวอย่างเช่น ผักและผลไม้สดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี เมล็ดพืชและพืชตระกูลถั่ว เช่น อัลมอนด์ เมล็ดเจีย วอลนัท ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ […]


โรคเบาหวาน

ผลไม้สําหรับคนเป็นเบาหวาน กินอะไรดีต่อสุขภาพ

โรคเบาหวาน จัดเป็นภาวะเรื้อรัง ที่เกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จนส่งผลเสียต่อร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ รวมถึงเลือกรับประทานผลไม้ที่อาจมีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลได้ เช่น เชอรี่ แอปเปิ้ล เเละ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน เป็นอย่างไร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลดลง หรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้มีระดับในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ และหากไม่รีบควบคุมอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อันตรายเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเสื่อม ภาวะเบาหวานขึ้นตา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดภาะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานเเล้ว หรือผู้ทีมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน/ภาวะก่อนเบาหวาน เควรปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมปริมาณอาหารจำพวกคาร์โปไฮเดนตที่บริโภคในแต่ละวัน เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดี และรับประทานผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ค่าดัชนีน้ำตาลคืออะไร ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index หรือ GI) เป็นค่าที่ระบุว่า อาหารแต่ละชนิด เมือรับประทานเเล้วจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็วหรือช้า โดยจะเทียบกับน้ำตาลกลูโคสที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงสุด หรือเท่ากับ 100 ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน/ก่อนเบาหวาน หรือ ผู้ที่ต้องการดูเเลสุขภาพ  ผลไม้ที่เหมาะสม คือผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ คือมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่เกิน 55 […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน