โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ผักสำหรับคนเป็นเบาหวาน

การเลือกผักสำหรับคนเป็นเบาหวานนั้นสำคัญอย่างมาก เนื่องจากผักมีหลากหลายชนิด ผักส่วนใหญ่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันการอักเสบของเซลล์ อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่มีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งช่วยป้องกันน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทั้งยังป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อีกด้วย แต่ผักบางชนิดอาจมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน การเลือกผักที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นเบาหวาน อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] ผักสำหรับคนเป็นเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ชื่นชอบ เพียงแค่จัดเตรียมอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการต่อวัน และเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพ โดยเฉพาะการเลือกผักที่มีเส้นใยสูงซึ่งมีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและคอเลสเตอรอลเข้าสู่เลือดได้ดี โดยปริมาณที่แนะนำต่อวันในการรับประทานผักอย่างเหมาะสม คือ 2.5 ถ้วย/วัน งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Chiropractic Medicine ปี พ.ศ. 2561 ทำการวิจัยถึงการบริโภคใยอาหารต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง โดยเฉพาะเส้นใยจากธัญพืช อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีไฟเบอร์เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของเส้นใยต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับวิธีรับประทานผักสำหรับคนเป็นเบาหวานอาจเลือกจากปัจจัยเหล่านี้ ผักที่มีค่า GI ต่ำ ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index หรือ GI) เป็นค่าตัวเลขที่พิจารณาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้น โดยจัดระดับ 0-100 หลังจากการรับประทานอาหารชนิดแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีสัญญาณเตือนอย่างไร

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะหากระดับน้ำตาลสูงเกินกว่า 180-200 มิลลกรัม/เดซิลิตร อาจทำให้เกิด อาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น อาการโคม่าจากเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ไตวาย เส้นประสาทถูกทำลาย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรสังเกตสัญญาณเตือนของอาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หากสังเกตเห็นว่าตนเองมีอาการ ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีบรรเทาอาการ วิธีสังเกต อาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  อาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้ ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำมากขึ้น โดยปกติผู้คนทั่วไปอาจปัสสาวะประมาณ 4-7 ครั้ง/วัน แต่ผู้ที่มีปัสสาวะบ่อยครั้งมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายเริ่มมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือมีอาการเบาหวานขึ้นแล้ว เนื่องจากร่างกายจะทำการขับน้ำตาลส่วนเกินออกทำให้ปัสสาวะบ่อยและอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ทำให้รู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ คันผิวหนัง ปากแห้ง เพราะร่างกายที่ขาดน้ำจากการปัสสาวะบ่อยอาจทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ส่งผลให้ผิวแห้ง ปากแห้ง มีอาการคันบริเวณผิวหนัง หิวมากกว่าปกติและรู้สึกเหนื่อยล้า เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่อาจเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำตาลเพื่อให้ดึงไปใช้เป็นพลังงานได้ จึงส่งผลให้รู้สึกหิวมากกว่าปกติและร่างกายอ่อนแรง เหนื่อยล้า  ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากตรวจพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงหลังอาหารสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ตามหลักเกณฑ์วินิจฉัยเบาหวาน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้  คลื่นไส้ อาเจียน ร่างกายอาจหลั่งกรดที่เรียกว่า คีโตน (Ketone) […]


โรคเบาหวาน

อาหารลดเบาหวาน มีอะไรบ้าง

การรับประทาน อาหารลดเบาหวาน เป็นวิธีช่วยจัดการกับโรคเบาหวานที่ดี เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และช่วยควบคุมแคลอรี่และไขมันส่วนเกินที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ความเสียหายของเส้นประสาท ความสำคัญของอาหารกับผู้ป่วยเบาหวาน การควบคุมอาหารและวางแผนการรับประทานอาหารมีความสำคัญต่อผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานและผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากอาหารที่เหมาะสมอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมน้ำหนัก และควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง อาหารลดเบาหวาน มีอะไรบ้าง อาหารลดเบาหวานที่อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้ ผักสด หรือผักนึ่ง ปิ้งหรือย่าง ควรเลือกรับประทานผักใบเขียวหรือผักสีแดง สีส้ม สีเหลืองที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น มะเขือเทศ แครอท คะน้า ผักปวยเล้ง เห็ด หัวหอม มะเขือม่วง กะหล่ำดาว บวบ โดยสามารถรับประทานแบบสดหรือนำไปปรุงสุกด้วยการนึ่ง ปิ้ง ย่าง และ อาจเพิ่มรสชาติด้วยสมุนไพรหรือเครื่องเทศ เช่น โรสแมรี่ พริกป่น กระเทียม หรือรับประทานคู่กับน้ำจิ้มหรือน้ำสลัดไขมันต่ำ เพื่อให้รับประทานง่ายและได้รสชาติที่ดีขึ้น อาหารที่มีเส้นใยสูงและธัญพืชเต็มเมล็ด การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงและธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโอ๊ต ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เมล็ดดอกทานตะวัน ข้าวโพด เมล็ดฟักทอง สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากมีน้ำตาลน้อยกว่าธัญพืชขัดสี ทั้งยังช่วยให้อิ่มนานขึ้น และไฟเบอร์สูง ส่งผลดีต่อระบบทางเดินอาหาร […]


โรคเบาหวาน

10 วิธีป้องกันโรคเบาหวาน ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

10 วิธีป้องกันโรคเบาหวาน ที่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ อาจเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย เนื่องจากโรคเบาหวานมักเกิดจากความผิดปกติในการผลิตและการทำงานของอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเผาผลาญและเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสจากอาหารเป็นพลังงานให้กับร่างกาย เมื่ออินซูลินผิดปกติจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง และเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน และตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ อาจช่วยลดและป้องกันโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmr] 10 วิธีป้องกันโรคเบาหวาน วิธีป้องกันโรคเบาหวานที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้ 1. รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ประกอบด้วยไฟเบอร์จากผักผลไม้ อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก ชะลอการดูดซึมน้ำตาล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยไฟเบอร์ได้ ไฟเบอร์จึงผ่านเข้าสู่ทางเดินอาหารและช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องนานขึ้น จึงอาจช่วยลดความอยากรับประทานอาหารและขนมขบเคี้ยวระหว่างวัน ที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น มะเขือเทศ พริก ผักใบเขียว เช่น คะน้า บร็อคโคลี กะหล่ำดอก ถั่วลูกไก่ ถั่วลิสง ข้าวโอ๊ต ธัญพืชเต็มเมล็ด (โฮลเกรน) เช่น ลูกเดือย ข้าวกล้อง ข้าวโพด ขนมปังโฮลวีต ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงไฟเบอร์น้อย เช่น ขนมปังขาว พาสต้าจากแป้งขาว อาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ 2. เลือกรับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานและโรคหัวใจได้ อาหารที่มีไขมันดี เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง ปลาแซลมอน […]


โรคเบาหวาน

อาการโรคเบาหวานระยะแรก สังเกตจากอะไร

โรคเบาหวาน หมายถึงภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดเป็นพลังงานได้เพียงพอซึ่งอาจสังเกตได้จาก อาการโรคเบาหวานระยะแรก ไม่ว่าจะเป็นกระหายน้ำบ่อย หิวบ่อย การมองเห็นเปลี่ยนแปลง แขนขาอ่อนแรงกว่าปกติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาการของโรคเบาหวานอาจยากต่อการสังเกต ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ และรับการรักษาโรคเบาหวานอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน เบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ เบาหวานประเภทที่ 1 เบาหวานประเภทที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยมีสาเหตุแตกต่างกัน ดังนี้ โรคเบาหวานประเภทที่ 1 ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจมาจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีหน้าที่ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าจู่โจมและทำลายเซลล์ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ส่งผลให้มีระดับอินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานให้ร่างกายนำไปใช้ น้ำตาลจึงสะสมในกระแสเลือดและก่อให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 1 โรคเบาหวานประเภทที่ 2 มีสาเหตุมาจากร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเรียกอีกอย่างได้ว่าภาวะดื้ออินซูลิน ที่ตับอ่อนอาจสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ แต่เซลล์ไม่มีการตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้เพียงพอ และทำให้น้ำตาลสะสมในกระแสเลือด นำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงการตั้งครรภ์ ที่ส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ นำไปสู่เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการโรคเบาหวานระยะแรก อาการโรคเบาหวานระยะแรก อาจสังเกตได้จากสัญญาณเตือนต่าง ๆ ดังนี้ ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำ ปกติคนทั่วไปมักปัสสาวะประมาณ 4-7 ครั้ง/วัน แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานอาจปัสสาวะมากกว่านั้น เพราะระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น […]


โรคเบาหวาน

การป้องกันโรคเบาหวาน ทำได้อย่างไรบ้าง

โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเรื้อรัง ทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงวิธี การป้องกันโรคเบาหวาน ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีและอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปจนนำไปสู่โรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน โดยอินซูลินเป็นฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับอินซูลิน ร่างกายอาจดึงอินซูลินไปใช้ได้ไม่ดีนัก และไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานเพื่อเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง นำไปสู่โรคเบาหวานและอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น เช่น ภาวะซึมเศร้า ปลายประสาทอักเสบ โรคไตเรื้อรัง โดยปกติระดับน้ำตาลในเลือดมักจะอยู่ที่ 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือต่ำกว่า หากพบว่าค่าน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเป็น 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจอยู่ในช่วงภาวะก่อนเบาหวานหรือเสี่ยงเกิดเบาหวาน และหากมีค่าระดับน้ำตาลสูงกว่า 126-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป อาจหมายความว่าเป็นโรคเบาหวาน นอกจากระดับน้ำตาลในเลือด อาการเหล่านี้ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานได้เช่นกัน ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกกระหายหรือหิวมากกว่าปกติ เหนื่อยล้าง่าย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย แผลหายช้า การมองเห็นเปลี่ยนแปลง ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน การติดเชื้อ เช่น […]


โรคเบาหวาน

เครื่องวัดน้ำตาล คืออะไร ใช้งานอย่างไร

เครื่องวัดน้ำตาล คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยการวิเคราะห์เลือดที่เจาะจากปลายนิ้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 สามารถทำเองได้ที่บ้าน และควรหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินสุขภาพของตนเอง ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หากพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ ควรรีบปรึกษาคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] เครื่องวัดน้ำตาล คืออะไร  เครื่องวัดน้ำตาล คือ อุปกรณ์ทดสอบระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานรักษาและหมั่นดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น โดยในปัจจุบันการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทำได้เองที่บ้าน สามารถซื้อเครื่องวัดน้ำตาลได้ตามร้านขายยา ทั้งนี้ คุณสมบัติของเครื่องวัดน้ำตาลอาจขึ้นอยู่กับยี่ห้อและราคา ค่าระดับน้ำตาลในเลือด  ระดับน้ำตาลในเลือดที่ปกติ คือประมาณ 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากค่าที่ตรวจได้สูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 โดยระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารควรอยู่ที่ประมาณ 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และระดับน้ำตาลหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมงควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  นอกจากนี้ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคส (Fasting Plasma Glucose หรือ FPG) เป็นการทดสอบน้ำตาลในเลือดหลังจากงดอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ยกเว้นการดื่มน้ำเปล่าเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการทดสอบ […]


โรคเบาหวาน

ฮอร์โมนอินซูลิน กับโรคเบาหวาน

ฮอร์โมนอินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเผาผลาญสารอาหารและการควบคุมน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นน้ำตาล และนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ให้ใช้เป็นพลังงาน หากร่างกายมีปริมาณอินซูลินน้อยเกินไปอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้ และอาจทำร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอจนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง แต่หากร่างกายมีปริมาณอินซูลินมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้มีอาการเวียนศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออก เป็นลม หรืออาจรุนแรงถึงขั้นโคม่าได้เช่นกัน ฮอร์โมนอินซูลิน คืออะไร ฮอร์โมนอินซูลิน คือ ฮอร์โมนที่มีความจำเป็นต่อการควบคุมการเผาผลาญ โดยเฉพาะสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่เซลล์ในร่างกาย ตับอ่อนมีหน้าที่ควบคุมการผลิตฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด โดยปริมาณการผลิตอินซูลินจะพิจารณาจากระดับน้ำตาลในเลือดและฮอร์โมนอื่น ๆ ในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลการทำงานของเมตาบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งเป็นกระบวนการทางเคมีที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ หรือรักษาสภาวะภายในร่างกายให้สมดุล ด้วยการเผาผลาญสารอาหารเป็นพลังงานเพื่อใช้หล่อเลี้ยงเซลล์และซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากร่างกายไม่มีฮอร์โมนอินซูลินหรือมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ น้ำตาลกลูโคสจะไม่สามารถถูกดูดซึมใช้เป็นพลังงานได้ น้ำตาลส่วนเกินจึงจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเป็นสะสมไว้ในร่างกาย โรคเบาหวานและฮอร์โมนอินซูลินเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? ฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานในร่างกาย ซึ่งปริมาณฮอร์โมนอินซูลินที่น้อยหรือมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานได้ การผลิตหรือการใช้ฮอร์โมนอินซูลินน้อยเกินไป โรคเบาหวานเกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการ หรือร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรคเบาหวานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 พบบ่อยในเด็ก เกิดจากการที่เบต้าเซลล์ซึ่งผลิตอินซูลินที่ตับอ่อนถูกทำลายโดยแอนติบอดีในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ ทำให้ไม่สามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน จนอาจส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย และมีปัญหาในการมองเห็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2  อาจเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการหรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานรักษาหายไหม ควรรักษาและป้องกันอย่างไร

เบาหวานรักษาหายไหม ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาหรือยาที่ช่วยให้โรคเบาหวานหายขาดได้ เป้าหมายในการรักษาเบาหวาน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อให้ร่างกายอยู่ในภาวะปกติ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน จากเบาหวาน ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้ยาควบคู่ไปกับการดูแลตัวเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ชะลอการลุกลามของโรค และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmr] เบาหวานรักษาหายไหม ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้หายขาดได้ มีเพียงแต่การรักษาเพื่อประคองอาการ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ ไขมันต่ำ มีกากใยสูง การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนัก เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ชะลอการลุกลามของโรค ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ปัญหาสุขภาพเท้า ปัญหาผิว  ระบบประสาทเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโรคเบาหวาน การรักษาโรคเบาหวานอาจทำได้ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้ การรักษาด้วยอินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ การรักษาด้วยอินซูลิน เป็นการช่วยเพิ่มการเผาผลาญสารอาหารและการควบคุมน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นน้ำตาลเพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ โดยการรักษาด้วยอินซูลินอาจมีหลายประเภท เช่น อินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้น อินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว อินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลาง อินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน การให้ยาอาจขึ้นอยู่กับอาการและการพิจารณาของคุณหมอด้วย การรับประทานยา มีการเลือกใช้ยาสำหรับการรักษาเบาหวานชนิดรับประททน หลากหลายกลุ่ม แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นกับสภาวะร่างกายในแต่ละระยะเวลา เช่น เมตฟอร์มิน (Metformin) ยายับยั้งตัวขนส่งกลูโคส (SGLT2 inhibitors) เพื่อช่วยเข้าไปกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินได้มากขึ้น หรืออาจยับยั้งการผลิตและปล่อยกลูโคสออกจากตับ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับอินซูลินอาจจำเป็นต้องตรวจเป็นประจำเพื่อช่วยควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไป การปลูกถ่ายตับอ่อน […]


โรคเบาหวาน

วิธีใช้ ที่ตรวจเลือด เช็กระดับน้ำตาลของผู้ป่วย เบาหวาน

โรคเบาหวานเกิดจากร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลให้น้ำตาลจากอาหารสะสมในกระแสเลือดสูง และไม่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไปใช้ในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ นำไปสู่ปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ จอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวาน จึงควรเช็กระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เครื่องตรวจเลือดปลายนิ้ว และจดบันทึกทุกครั้งเพื่อแจ้งให้คุณหมอทราบเมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อรับการรักษาและควบคุมโรคเบาหวานได้อย่างเหมาะสม เหตุผลที่ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด อาจช่วยให้ผู้ป่วยและคุณหมอร่วมกันบรรเทาอาการเบาหวาน และควบคุมอาการเบาหวานเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะค่าระดับน้ำตาลในเลือดสามารถบ่งบอกได้ว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ปฏิบัติอยู่ เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยารักษา แผนการรักษาในปัจจุบันได้ผลมากน้อยเพียงใด เพราะหากยังมีอาการเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง คุณหมออาจปรับรูปแบบการรักษาใหม่ เพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อการรักษาเบาหวานมากยิ่งขึ้น ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อไหร่ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรคเบาหวานที่เป็น ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจน้ำตาลในเลือด 4-10 ครั้ง/วัน ในช่วงเวลาหรือตามสถานการณ์ ดังต่อไปนี้ ก่อนรับประทานอาหาร ของว่าง  ก่อนและหลังออกกำลังกาย ก่อนนอน ช่วงเวลากลางคืนเป็นบางครั้ง เริ่มใช้ยาใหม่ เจ็บป่วยบ่อย เปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดวันละหลายครั้ง ในกรณีที่มีการใช้อินซูลินรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของอินซูลินที่ใช้ โดยปกติอาจให้ตรวจก่อนรับประทานอาหารและก่อนนอน  กรณีที่ใช้อินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลางหรือออกฤทธิ์ยาว […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน