โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

เบาหวานมีกี่ชนิด มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

เบาหวานมีกี่ชนิด เบาหวานสามารถแบ่งออกได้หลัก ๆ เป็น 4 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเบาหวาน คือโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินที่ทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลเลือดสูงเป็นเวลานานและไม่ทำการรักษาโรคเบาหวาน อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนจำนวนมาก เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย รวมถึงความผิดปกติในระบบประสาท [embed-health-tool-bmi] เบาหวานมีกี่ชนิด เบาหวาน แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์  เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ส่งผลให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น จนทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ รวมถึงโรคแทรกซ้อนตามมา โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กและวัยรุ่นมากกว่าในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงวัย 4-7 ปี และ […]


โรคเบาหวาน

8 ผลไม้ลดเบาหวาน

ผลไม้ลดเบาหวาน คือ ผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยและไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่อาจช่วยลดการอักเสบ เพิ่มความไวของอินซูลิน ช่วยป้องกันและปรับปรุงเซลล์ตับอ่อนที่สำคัญต่อการผลิตอินซูลิน การเลือกรับประทานผลไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยลดเบาหวาน จึงอาจช่วยผู้ป่วยเบาหวานป้องกันการลุกลามของโรคและป้องกันการเกิดโรคตั้งแต่เริ่มต้น [embed-health-tool-bmi] ค่า GI สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน หากต้องการรับประทานผลไม้ ควรคำนึงถึง Glycemic Index หรือ GI ซึ่งหมายถึง ค่าเปรียบเทียบความเร็วในการดูดซึมอาหารแต่ละชนิดและเปลี่ยนเป็นน้ำตาล โดยค่า GI ยิ่งสูงยิ่งหมายความว่า ร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดยิ่งสูง จึงควรเลือกผลไม้ และอาหารที่มีระดับ GI ต่ำ ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ : ค่า GI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 55 ค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง : ค่า GI อยู่ที่ 56-59 ค่าดัชนีน้ำตาลสูง : ค่า GI เท่ากับหรือมากกว่า 70 8 ผลไม้ลดเบาหวาน ผลไม้ลดเบาหวาน 8 ชนิด ที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (GI) ต่ำ อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีดังนี้ แอปเปิ้ล แอปเปิ้ล […]


โรคเบาหวาน

ข้าวสำหรับคนเป็นเบาหวาน

อาหารทุกชนิดสำคัญต่อร่างกายและสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะข้าวที่เป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรเลือกชนิดของข้าวให้เหมาะสม โดยเน้นข้าวชนิดที่มีใยอาหารสูง น้ำตาลน้อย นอกจากนี้ ควรจำกัดปริมาณการรับประทานข้าวเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] ความสำคัญของข้าวกับเบาหวาน การเลือกข้าวสำหรับคนเป็นเบาหวานสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากข้าวเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายจะเปลี่ยนให้กลายเป็นน้ำตาลเพื่อดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด การรับประทานข้าวมากเกินไปหรือรับประทานข้าวที่มีใยอาหารน้อยและน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขาว อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนมารับประทานข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวป่าที่มีไฟเบอร์มาก จะช่วยทำให้ลดความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารไม่สูงจนเกินไป ข้าวสำหรับคนเป็นเบาหวาน คนเป็นเบาหวานควรเลือกรับประทานข้าวไม่ขัดสี เนื่องจากมีไฟเบอร์สูง ทำให้ร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยนานขึ้น และช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลปริมาณมากเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ไฟเบอร์ยังมีส่วนช่วยทำให้อิ่มได้นานขึ้น ลดการรับประทานอาหารจุบจิบระหว่างมื้อ จึงอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ตั้งแต่เริ่มต้น ข้าวที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แต่ข้าวกล้องนั้นมีระยะในการเก็บรักษาน้อย เพราะเกิดความชื้นง่ายจึงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย ข้าวหลายชนิด เช่น ข้าวเม็ดยาว ข้าวเม็ดสั้น ข้าวเหนียว สามารถทำเป็นข้าวกล้องได้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวเจ้าที่มีลักษณะเมล็ดข้าวกล้องมีสีม่วงเข้ม เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ […]


โรคเบาหวาน

นมสำหรับคนเป็นเบาหวาน ที่ควรบริโภค

โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานได้  ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกินไป นมเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีนและสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย แต่ควรเลือกดื่ม นม สำหรับ คน เป็น เบาหวาน เช่น นมไขมันต่ำ นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ ที่มีน้ำตาลน้อย เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ นมมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร นม คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ นอกจากนี้ยังมีนมจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ ซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม โปรตีน วิตามินดี วิตามินเอ วิตามินบี ที่มีส่วนช่วยรักษามวลกระดูก เสริมสร้างกระดูกและ ฟัน ให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุนและ โรคข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม นมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมบางชนิด เช่น ชีส เนย อาจมีไขมันอิ่มตัวสูง คาร์โบไฮเดรตสูง และคอเลสเตอรอลสูง หากผู้ป่วยเบาหวานรับประทานมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ เพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเลือกรับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมอย่างเหมาะสม นม สำหรับ คน เป็น เบาหวาน […]


โรคเบาหวาน

อินทผาลัม เบาหวาน ประโยชน์และความเสี่ยงในการบริโภค

อินทผาลัม เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากอุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอักเสบของร่างกายจากโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานอินทผาลัมในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะอินทผาลัมมีแคลอรี่และน้ำตาลสูง นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในบางคนได้ [embed-health-tool-bmr] คนเป็นเบาหวานกินอินทผาลัมได้หรือไม่ ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic index : GI) เป็นการจัดลำดับอาหารชนิดแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตว่ามีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากน้อยเพียงใดหลังจากที่กินอาหารไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง โดยกำหนดระดับ 0-100 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีค่า GI ต่ำ ไม่เกิน 55 จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปได้ ซึ่งอินทผาลัมเป็นผลไม้ที่มีรสหวานแต่มีค่า GI ต่ำ หากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน อินทผาลัมเป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูง 1 เมล็ดมีใยอาหารประมาณ 0.6 กรัม ขึ้นอยู่กับขนาดของแต่ละเมล็ด อาจช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและลดความเสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูงได้ การรับประทานอินทผาลัมควบคู่กับอาหารอื่น ๆ เช่น โปรตีน ไขมัน จึงอาจช่วยให้การย่อยอาหารช้าลงและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Journal ปี พ.ศ. 2554 ทำการวิจัยเกี่ยวกับค่าดัชนีน้ำตาลของอินทผลัม 5 ชนิดต่อผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ป่วยเบาหวาน โดยทำการทดลองให้ผู้เข้ารับการทดสอบที่เป็นผู้มีสุขภาพดีจำนวน 30 […]


โรคเบาหวาน

5 สมุนไพร แก้เบาหวาน และข้อควรระวังในการบริโภค

สมุนไพร แก้เบาหวาน เป็นการรักษาทางเลือกที่อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน การรักษาโรคเบาหวานด้วยสมุนไพรอาจพบในตำราแพทย์แผนโบราณที่ระบุว่า สมุนไพรหลายชนิดอาจรักษาโรคเบาหวานได้ แอย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุอย่างชัดเจนว่าสมุนไพรสามารถใช้รักษาโรคเบาหวานได้ เพื่อความปลอดภัยการใช้สมุนไพรในการรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลจากคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] 5  สมุนไพร แก้เบาหวาน สมุนไพรหลายชนิดอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โดยมีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนสรรพคุณของสมุนไพรต่อการป้องกันและรักษาโรค ดังนี้ ว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารประกอบที่มีประโยชน์กว่า 75 ชนิด มีคุณสมบัติช่วยปรับปรุงความไวต่ออินซูลิน จึงอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันให้อยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Diabetes & Metabolic Disorders ปี พ.ศ. 2558 ศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันด้วยว่านหางจระเข้ในผู้ป่วยก่อนเป็นเบาหวาน พบว่า การใช้สารสกัดจากว่านหางจระเข้ในผู้ป่วยก่อนเป็นเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติภายใน 4 สัปดาห์ และควบคุมระดับไขมันให้ปกติหลังจากผ่านไป 8 สัปดาห์ โดยการปรับปรุงความไวของเซลล์ต่ออินซูลิน นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังอุดมไปด้วยสารประกอบกว่า 75 ชนิด เช่น อัลคาไลน์ฟอสเฟต (Alkaline Phosphate) อะไมเลส (Amylase) แคลเซียม คลอรีน โครเมียม […]


โรคเบาหวาน

อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหาร เพราะอาหารบางชนิดอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม ขนมปัง ข้าวขาว ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรศึกษาว่า อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยง รวมถึงอาจวางแผนการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้มีอาหารหลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคไต เส้นประสาทเสียหาย สูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน  อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีดังต่อไปนี้ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง  คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารสำคัญที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ป้องกันโรค และควบคุมน้ำหนัก โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ น้ำตาล แป้ง ไฟเบอร์ ซึ่งคาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการรับประทาน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น คือ น้ำตาล และแป้ง เช่น น้ำผลไม้ปรุงแต่งรสชาติ ข้าวขาว ขนมปังขาว มันฝรั่งทอด แป้งพาสต้า โดยอาจเปลี่ยนไปรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและไฟเบอร์แทน เช่น ข้าวโอ๊ต ข้ากล้อง ข้างฟ่าง มะเขือเทศ แครอท คะน้า […]


โรคเบาหวาน

ผักสำหรับคนเป็นเบาหวาน

การเลือกผักสำหรับคนเป็นเบาหวานนั้นสำคัญอย่างมาก เนื่องจากผักมีหลากหลายชนิด ผักส่วนใหญ่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันการอักเสบของเซลล์ อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่มีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งช่วยป้องกันน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทั้งยังป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อีกด้วย แต่ผักบางชนิดอาจมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน การเลือกผักที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นเบาหวาน อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] ผักสำหรับคนเป็นเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ชื่นชอบ เพียงแค่จัดเตรียมอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการต่อวัน และเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพ โดยเฉพาะการเลือกผักที่มีเส้นใยสูงซึ่งมีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและคอเลสเตอรอลเข้าสู่เลือดได้ดี โดยปริมาณที่แนะนำต่อวันในการรับประทานผักอย่างเหมาะสม คือ 2.5 ถ้วย/วัน งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Chiropractic Medicine ปี พ.ศ. 2561 ทำการวิจัยถึงการบริโภคใยอาหารต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง โดยเฉพาะเส้นใยจากธัญพืช อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีไฟเบอร์เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของเส้นใยต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับวิธีรับประทานผักสำหรับคนเป็นเบาหวานอาจเลือกจากปัจจัยเหล่านี้ ผักที่มีค่า GI ต่ำ ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index หรือ GI) เป็นค่าตัวเลขที่พิจารณาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้น โดยจัดระดับ 0-100 หลังจากการรับประทานอาหารชนิดแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีสัญญาณเตือนอย่างไร

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะหากระดับน้ำตาลสูงเกินกว่า 180-200 มิลลกรัม/เดซิลิตร อาจทำให้เกิด อาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น อาการโคม่าจากเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ไตวาย เส้นประสาทถูกทำลาย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรสังเกตสัญญาณเตือนของอาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หากสังเกตเห็นว่าตนเองมีอาการ ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีบรรเทาอาการ วิธีสังเกต อาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  อาการเบาหวานขึ้น หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้ ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำมากขึ้น โดยปกติผู้คนทั่วไปอาจปัสสาวะประมาณ 4-7 ครั้ง/วัน แต่ผู้ที่มีปัสสาวะบ่อยครั้งมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายเริ่มมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือมีอาการเบาหวานขึ้นแล้ว เนื่องจากร่างกายจะทำการขับน้ำตาลส่วนเกินออกทำให้ปัสสาวะบ่อยและอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ทำให้รู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ คันผิวหนัง ปากแห้ง เพราะร่างกายที่ขาดน้ำจากการปัสสาวะบ่อยอาจทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ส่งผลให้ผิวแห้ง ปากแห้ง มีอาการคันบริเวณผิวหนัง หิวมากกว่าปกติและรู้สึกเหนื่อยล้า เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่อาจเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำตาลเพื่อให้ดึงไปใช้เป็นพลังงานได้ จึงส่งผลให้รู้สึกหิวมากกว่าปกติและร่างกายอ่อนแรง เหนื่อยล้า  ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากตรวจพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงหลังอาหารสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ตามหลักเกณฑ์วินิจฉัยเบาหวาน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้  คลื่นไส้ อาเจียน ร่างกายอาจหลั่งกรดที่เรียกว่า คีโตน (Ketone) […]


โรคเบาหวาน

อาหารลดเบาหวาน มีอะไรบ้าง

การรับประทาน อาหารลดเบาหวาน เป็นวิธีช่วยจัดการกับโรคเบาหวานที่ดี เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และช่วยควบคุมแคลอรี่และไขมันส่วนเกินที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ความเสียหายของเส้นประสาท ความสำคัญของอาหารกับผู้ป่วยเบาหวาน การควบคุมอาหารและวางแผนการรับประทานอาหารมีความสำคัญต่อผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานและผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากอาหารที่เหมาะสมอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมน้ำหนัก และควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง อาหารลดเบาหวาน มีอะไรบ้าง อาหารลดเบาหวานที่อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้ ผักสด หรือผักนึ่ง ปิ้งหรือย่าง ควรเลือกรับประทานผักใบเขียวหรือผักสีแดง สีส้ม สีเหลืองที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น มะเขือเทศ แครอท คะน้า ผักปวยเล้ง เห็ด หัวหอม มะเขือม่วง กะหล่ำดาว บวบ โดยสามารถรับประทานแบบสดหรือนำไปปรุงสุกด้วยการนึ่ง ปิ้ง ย่าง และ อาจเพิ่มรสชาติด้วยสมุนไพรหรือเครื่องเทศ เช่น โรสแมรี่ พริกป่น กระเทียม หรือรับประทานคู่กับน้ำจิ้มหรือน้ำสลัดไขมันต่ำ เพื่อให้รับประทานง่ายและได้รสชาติที่ดีขึ้น อาหารที่มีเส้นใยสูงและธัญพืชเต็มเมล็ด การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงและธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโอ๊ต ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เมล็ดดอกทานตะวัน ข้าวโพด เมล็ดฟักทอง สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากมีน้ำตาลน้อยกว่าธัญพืชขัดสี ทั้งยังช่วยให้อิ่มนานขึ้น และไฟเบอร์สูง ส่งผลดีต่อระบบทางเดินอาหาร […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน