โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ความเชื่อเกี่ยวกับเบาหวาน กับข้อเท็จจริงที่ควรรู้

หลายคนอาจเคยได้ยินความเชื่อแปลก ๆ กี่ยวกับโรคเบาหวาน เช่น เมื่อเป็นโรคเบาหวานห้ามกินน้ำตาลเด็ดขาด คนอ้วนเท่านั้นที่จะเป็นเบาหวาน ซึ่งบางครั้ง ความเชื่อเกี่ยวกับเบาหวาน เหล่านี้ อาจไม่เป็นความจริง หากเชื่อเช่นนั้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น กินอาหารน้ำตาลสูงเป็นประจำเพราะคิดว่าตัวเองไม่อ้วน ยังไงก็ไม่เป็นเบาหวาน การรับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเบาหวาน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus : DM) คืออะไร โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus : DM) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายไม่สามารถดึงกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลรูปแบบหนึ่งไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้กลูโคสสะสมในกระแสเลือด เป็นเหตุให้น้ำตาลในเลือดสูง  ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่นำน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อเก็บไว้หรือใช้เป็นพลังงานได้อย่างเพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคเบาหวานแบ่งออกเป็นกี่ชนิด ชนิดของโรคเบาหวาน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เป็นภาวะที่ร่างกายหยุดการผลิตอินซูลิน ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินทุกวัน ส่วนใหญ่แล้วเบาหวานชนิดที่ 1 จะพัฒนาในวัยเด็กหรือวัยรุ่น แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นผลมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม หรือที่เรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน เบาหวานชนิดที่ 2 มักจะเกิดขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 40 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus)

เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะที่ระดับกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ผู้ป่วยโรคนี้จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คำจำกัดความเบาหวานชนิดที่ 1 คืออะไร เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะที่ระดับกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ได้เพียงพอ ผู้ป่วยโรคนี้จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน หรืออายุ ไม่ถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดนี้ มักถูกเรียกว่า “โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น” (Juvenile-onset diabetes) เพราะมักเกิดในเด็กและวัยรุ่นมากที่สุด อินซูลิน (Insulin) มีความสำคัญในการควบคุมปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ตามปกติ และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้กับอวัยวะสำหรับต่าง ๆ ได้ เช่น หัวใจ ดวงตา ตับ ระบบประสาท เหงือก ฟัน ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรเข้ารับการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อการควบคุมโรค และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนได้  พบได้บ่อยได้แค่ไหน เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้น้อยกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาตับอ่อน หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การใช้ยาสแตติน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

การใช้ยาสแตติน อาจมีความสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องควบคุมปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น คอเลสเตอรอลสูง ดังนั้น การใช้ยาสแตตินซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดไขมัน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดไขมัน โดยเฉพาะไขมันคอเลสเตอรอลความหนาแน่นต่ำหรือไขมันเลว (LDL) และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาสแตติน สแตติน (Statin) เป็นยาในกลุ่มที่มีคุณสมบัตติช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่า เส้นเลือดในสมองแตก ผลการศึกษา พบว่า การใช้ยาสแตตินสามารถลดความเสี่ยงอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 25-35 นอกจากนี้ ยังช่วยลดโอกาสการเกิดหัวใจวายซ้ำ ได้ถึงร้อยละ 40 ยาสแตติน ส่งผลต่อการผลิตไขมันคอเลสเตอรอลของตับ ซึ่งช่วยลดระดับไขมันความหนาแน่นต่ำหรือไขมันเลว (LDL) และเพิ่มระดับไขมันความหนาแน่นสูงหรือไขมันดี (HDL)  การที่ใช้คำว่าไขมันดีและไขมันเลว นื่องจากไขมัน LDL ในระดับสูง เชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจที่สูงขึ้น ขณะที่ระดับไขมัน HDL ในระดับสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ การใช้ยาสแตติน กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยาสแตติน เป็นยาที่ช่วยลดไขมันเลวที่นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูง แต่ผลงานวิจัยล่าสุดจากประเทศฟินแลนด์ พบว่า ยาสแตตินที่ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

วิตามินดี ช่วยป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้จริงหรือ

วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ด้วยการรับวิตามินดีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่ควรรู้ และต้องไม่ลืมป้องกันโรคเบาหวานด้วยวิธีอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับ อินซูลิน ในร่างกาย อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนภายในร่างกายที่สร้างจากตับอ่อน ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้สำคัญต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะอินซูลินมีคุณสมบัติช่วยในการดูดซึมกลูโคสที่เข้าสู่กระแสเลือด ไปสู่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ กล่าวคือ อินซูลินมีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการนำกลูโคสไปใช้ และการเก็บสำรองกลูโคสไว้เป็นพลังงาน ความเชื่อมโยงของอินซูลินกับ โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีร่างกายที่ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ เพื่อจัดการกับปริมาณกลูโคสที่ร่างกายได้รับเข้าไป หรือร่างกายเกิดความผิดปกติในการใช้อินซูลิน ผลก็คือ เมื่อไม่สามารถควบคุมกลูโคสได้ ปริมาณกลูโคสจะสะสมเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคเบาหวาน จึงส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีอาการต่าง ๆ เช่น สายตาไม่ดี มีปัญหาผิว และความดันโลหิตสูง ร่วม อีกทั้งยังอาจก่อให้อาการต่าง ๆ และความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา นอกจากนี้ผู้ที่จะตกอยู่ในความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้นั้นมักจะเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือผู้ที่ประสบกับโรคอ้วนเป็นส่วนใหญ่ วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เสื่อมสมรรถภาพ ปัญหาทางเพศที่ผู้ป่วย เบาหวาน ต้องเจอ

เสื่อมสมรรถภาพ คือภาวะปัญหาทางเพศซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการเป็นโรคเบาหวาน อวัยวะเพศอาจมีอาการเหน็บ ชา อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือแม้กระทั่งเน้ำอสุจิไหลย้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงอาการไร้ความรู้สึกทางเพศของฝ่ายหญิง ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคู่รักหรือปัญหาชีวิตครอบครัวได้ ปัญหาสุขภาพทางเพศในผู้ป่วยเบาหวาน   ผู้ป่วยเบาหวานไม่ว่าจะชายหรือหญิง อาจต้องประสบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพ โดยเฉพาะปัญหาความต้องการทางเพศที่ลดต่ำลง รวมทั้งปัญหาในการถึงจุดสุดยอดช้าลง หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ ซึ่งเป็นผลมาจากโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำได้ไม่ดีพอ  นอกจากนั้นแล้ว ยังมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในผู้ป่วยชายและหญิงที่พบแตกต่างกัน ดังนี้ ปัญหาสุขภาพทางเพศในผู้ป่วยเบาหวานชาย   เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หนึ่งในปัญหาที่ผู้ชายเจอก็คือ การที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ค่าเฉลี่ยของอาการนี้ในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานอยู่ที่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 75 แต่อาการอวัยวะเพศไม่แข็งตัวในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคถึง 2-3 เท่า หลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานอาจประสบปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง ซึ่งได้แก่การที่ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของน้ำอสุจิ ไหลย้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แทนที่จะไหลออกทางอวัยวะเพศ ปัญหาการหลั่งอสุจิย้อนทางเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดภายใน ที่เรียกว่า sphincter ทำงานไม่ปกติ การเกิดปัญหาการหลั่งอสุจิย้อนทาง น้ำอสุจิจะไหลเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และถูกปล่อยออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่ไม่ส่งผลเสียต่อกระเพาะปัสสาวะแต่อย่างใด โรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ (Peyronie’s disease) ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ (Peyronie’s disease) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดพังผืดในองคชาติ จนทำให้องคชาติโค้งงอขณะแข็งตัว และเกิดความเจ็บปวด องคชาติมีรูปทรงที่แตกต่างกัน และการโค้งงอเพียงเล็กน้อยไม่เป็นปัญหา แต่การเป็นโรคที่ทำให้องคชาติโค้งงอเช่นนี้ จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการแข็งตัว […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตรวจเบาหวานคนท้อง เพื่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในท้อง

ตรวจเบาหวานคนท้อง เป็นการตรวจระดับน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากการตั้งท้องอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งท้อง ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจเบาหวาน รวมถึงอาการและการรักษาจึงจำเป็นอย่างยิ่ง [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ตรวจเบาหวานคนท้อง มีประโยชน์อย่างไร ตรวจเบาหวานคนท้องอาจช่วยให้ผู้หญิงที่ต้องการตั้งท้องและผู้หญิงที่ท้องแล้วทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานขณะตั้งท้อง เพื่อจะได้รักษาได้อย่างเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในท้อง โดยควรเข้ารับการตรวจสุขภาพขณะท้องตามที่คุณหมอนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ หลังจากคลอดแล้ว ควรไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่าเบาหวานขณะตั้งท้องหายขาดแล้วหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอดหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เบาหวานขณะตั้งท้องอาจยากที่จะป้องกันได้ในบางกรณี โดยเฉพาะหากภาวะเบาหวานขณะตั้งท้องอยู่ในระดับที่รุนแรง ดังนั้น ผู้หญิงตั้งท้องจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองเป็นพิเศษ และควรตรวจหาความเสี่ยงสุขภาพตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง หรือตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก เพื่อจะได้รับมือและป้องกันเบาหวานรวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ขณะตั้งท้องได้อย่างทันท่วงที เบาหวานขณะท้อง ส่งผลกระทบต่อทารกในท้องอย่างไร เมื่อ ตรวจเบาหวานคนท้อง แล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นขณะตั้งท้อง หมายความว่า น้ำตาลส่วนเกินนั้นสะสมอยู่ในร่างกายของทารก ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่ทารกจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ  ดังนี้ ทารกมีบาดแผลในระหว่างคลอด อันเป็นผลจากขนาดตัวที่ใหญ่ ทารกที่เกิดมาอาจมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าปกติ ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และระดับแร่ธาตุต่ำเมื่อคลอดออกมา ทารกตัวเหลือง ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจในระยะสั้น นอกจากนี้ หากตรวจเบาหวานคนท้องแล้วพบว่าเป็นเบาหวานขณะท้อง มีแนวโน้มว่าเมื่อทารกโตขึ้นอาจมีโอกาสจะเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน  ดังนั้น จำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำรวมถึงการปฏิบัติตัวของคุณแม่ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าวได้ ผลกระทบจากการเป็นเบาหวานขณะตั้งท้อง คุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งท้อง อาจมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ รวมถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ […]


โรคเบาหวาน

ทำความรู้จักกับกับ เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวาน (Diabetes) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก คือ เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา เท้า ระบบประสาท การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานทั้ง 2 ประเภท อาจช่วยให้รับมือกับโรคเบาหวานได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับโรค เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวาน (Diabetes) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ตามสาเหตุการเกิดโรค ดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีและทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน (Insulin) ทำให้ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ จึงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายของคุณผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่มีปฏิกิริยาต่ออินซูลิน จึงส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ และน้ำตาลในเลือดสูง อาการของ เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 อาการโดยทั่วไปของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกกระหายน้ำมาก […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน กับภาวะความดันโลหิตสูง

ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาอาการของผู้ป่วยเบาหวานและวิธีการที่ผู้ป่วยดูแลตัวเอง ในบางรายผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังภาวะสุขภาพหัวใจ จนอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยเบาหวานควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงที่อาจเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนได้ เพื่อเป็นข้อมูลในการดูแลสุขภาพของตนเองไม่ให้เสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นได้แน่ชัดมากนัก ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ที่บ้าน เพื่อตรวจความดันโลหิตของตัวเองอยู่เป็นประจำ เพราะหากความดันโลหิตสูงกว่าปกติแม้เพียงเล็กน้อย ก็ถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนปกติถึง 2-3 เท่า นอกจากนี้ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอาจมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่าง เส้นเลือดในสมองแตก โรคหัวใจ และหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง พบได้บ่อยแค่ไหนในผู้ป่วยเบาหวาน ในประเทศอังกฤษ ความดันโลหิตสูง พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยจำนวน 3 ใน 10 คนเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยจำนวน 8 ใน 10 คนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทั้ง 2 ประเภท สามารถนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูงในท้ายที่สุด โรคเบาหวานสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดแดง เส้นเลือดในสมองแตก หัวใจล้มเหลว หรือไตวาย หากผู้ป่วยเบาหวาน มีภูมิหลังครอบครัวที่เป็นความดันโลหิตสูง หรือมีไลฟ์สไตล์บางอย่างที่ควรปรับเปลี่ยน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ยาเบาหวาน ทำให้เกิด มะเร็งตับอ่อน ได้หรือเปล่า

เบาหวานเป็นโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญ อาจเกิดจากการผลิตอินซูลิน (Insulin) ไม่เพียงพอ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจต้องใช้ ยาเบาหวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการและควบคุมโรค แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่กังวลว่า ยาเบาหวานอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) การเรียนรู้ความเกี่ยวข้องระหว่างยาเบาหวานและมะเร็งตับอ่อนให้ดี จึงอาจช่วยให้เข้าใจทั้งสองโรคนี้ และรับมือกับโรคและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ดีขึ้น ความเกี่ยวข้องกันระหว่าง ยาเบาหวาน และมะเร็งตับอ่อน ยาที่มีส่วนผสมหลักของอินเครติน (incretin-based) เป็นหนึ่งในยาทางเลือกตัวใหม่ในการรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 ยาที่มีส่วนผสมของอินเครติน มี 2 ประเภท ได้แก่ GLP-1 agonists และ DPP-4 inhibitors โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ GLP-1 agonists GLP-1 agonists จะป้องกันไม่ให้ท้องว่าง และเพิ่มการผลิตอินซูลิน ซึ่งจะไปลดน้ำตาลในเลือด ตัวอย่างยา GLP-1 agonists เช่น Exenatide (Byetta) liraglutide (Victoza) โดย Exenatide เป็นยาที่มีส่วนผสมของอินเครตินตัวแรก ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในปีพ.ศ. 2548 DPP-4 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ผลข้างเคียง โรคเบาหวาน เป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนไหนบ้าง

โรคเบาหวาน ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวานได้แก่ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดหัวใจ ดวงตา ไต เส้นประสาท ผิวหนัง ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ป่วยเบาหวานและคนใกล้ชิดควรจะต้ิงให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี ปรับพฤติกรรมสุขภาพแลั รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนให้ได้มากที่สุด [embed-health-tool-bmi] ผลข้างเคียง ของ โรคเบาหวาน มีกี่ประเภท ผลข้างเคียงโรคเบาหวาน มี 2 ประเภท ได้แก่ แบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ผลข้างเคียงเฉียบพลัน หรือภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉิน อย่างเช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycema) ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (Diabetic Ketoacidosis) นับเป็นภาวะที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือ ปล่อยทิ้งไว้ อาการเหล่านี้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผลข้างเคียงเรื้อรัง หรือ ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เป็นผลจากกาที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นเวลานาน สามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตา ไต เส้นประสาท หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดหัวใจ ผลข้างเคียง โรคเบาหวาน ส่งผลกระทบต่ออวัยวะใดบ้างในร่างกาย ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน ส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ภายในอวัยวะร่างกาย ดังนี้ ดวงตา เมื่อไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ ระดับน้ำตาลที่สูงอย่างเรื้อรังสามารถสร้างความเสียหายต่อเส้นเลือดแดงในดวงตา และหากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลให้เกิดอาการตาบอด โรคต้อหิน (Glaucoma) โรคต้อกระจก (Cataracts) เบาหวานขึ้นตา […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน