โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือด ปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ และมีวิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างไรบ้าง

ค่าระดับน้ำตาลในเลือด คือ ค่าความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสที่ละลายอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งหากมีค่าผิดปกติอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวาน ทั้งยังเสี่ยงเกิดภาวะอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคไต จึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่า ระดับน้ําตาลในเลือด ปกติ หรือไม่ หากมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกินไป ควรปรับพฤติกรรสุขภาพเบื้องต้น หากมีอาการผิดปกติควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทั้งจากภาวะน้ำตาลสูงหรือต่ำจนเกินไป ซึ่งต่างก็รุนแรงจนอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ หากตรวจเลือดหลังงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลปกติ จะมีค่าสูงไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่หากตรวจหลังจากดื่มสารละลายตาลกลูโคส 75 กรัม เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ค่าระดับน้ำตาลจะต้องไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ หากตรวจแล้วมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าว ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกาย และหากเข้าข่ายเป็นเบาหวานแล้ว คุณหมออาจให้เริ่มรักษาด้วยยาลดน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เป็นอย่างไร ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ คือ ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำและสูงกว่าเกณฑ์ ดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หากผู้ที่เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดหรือยารักษาเบาหวานไม่ถูกวิธี […]


โรคเบาหวาน

อาการโรคเบาหวาน ระยะแรก และปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน

โดยทั่วไปเเล้ว โรคเบาหวานเป็นโรคที่จะค่อย ๆ พัฒนาอาการขึ้นทีละน้อย จึงทำให้ไม่มีอาการแสดงที่เด่นชัด อีกทั้งในระยะเริ่มต้นผู้ป่วยมักจะยังมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มาก จึงทำให้เกิดอาการผิดปกติใด ๆ เเม้จะเริ่มมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติเเล้ว โดย อาการโรคเบาหวาน ระยะแรก อาจเริ่มแสดงอาการได้ เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งเเต่ 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย ตาพร่ามัว ปัสสาวะบ่อยขึ้น กระหายน้ำมากขึ้น ผิวแห้ง ปากแห้ง คันตามผิวหนัง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานมักเกิดจากภาวะสุขภาพ ปัจจัยทางพันธุกรรม รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน หากพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงรวมถึงมีอาการที่อาจเข้าข่ายโรคเบาหวาน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมให้เร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คือ อะไร โรคเบาหวาน (Diabetes) คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในร่างกายสูงกว่าปกติ เนื่องจากเกิดความผิดปกติของตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากเมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ จึงส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  (Hyperglycemia) เเละนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด โดยทั่วไปคุณหมอจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเมื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเเบบอดอาหารได้สูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไปปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานแต่ละชนิด อาจมีดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 1 พันธุกรรม พบว่าผู้ที่ญาติสายตรง ได้เเก่  พ่อแม่ พี่/น้องท้องเดียวกัน เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 […]


โรคเบาหวาน

ค่าน้ำตาล หลัง กิน ข้าว 1 ชม ควรอยู่ที่เท่าไหร่

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารเป็นวิธีที่นิยมใช้ประเมินความสามารถของร่างกายในการจัดการกับน้ำตาลจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และยังใช้เป็นเกณฑ์ที่บอกการควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกายได้ โดย ค่าน้ำตาล หลัง กิน ข้าว 1 ชม ของคนทั่วไปไม่ควรเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในขณะที่ค่าน้ำตาลหลังกินข้าว 1 ชม ของผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากจะใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยในการติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ด้วย ซึ่งจะทำให้คุณหมอทราบได้ว่า การรักษาที่ให้กับผู้ป่วยนั้นเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ทั้งยังช่วยให้คุณหมอสามารถปรับแนวทางการรักษาและให้คำแนะนำในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยได้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพมากขึ้นด้วย โดยทั่วไปแล้ว การวัดระดับน้ำตาลในเลือดสามารถตรวจเบื้องต้นด้วยตัวเองที่บ้านได้ โดยการใช้เครื่องตรวจเบาหวานหรือเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว (Blood Glucose Meter หรือ BGM) ซึ่งมีขั้นตอนเบื้องต้นดังนี้ ทำความสะอาดปลายนิ้วที่จะเจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์ เตรียมเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และสอดแถบวัดค่าระดับน้ำตาลเข้ากับตัวเครื่อง ใช้ชุดเข็มสำหรับเจาะเลือดปลายนิ้วเจาะที่บริเวณปลายนิ้ว บีบเลือดที่ปลายนิ้วเบา ๆ ให้เลือดหยดเข้าแถบวัด ค่าระดับน้ำตาลจะปรากฏบนจอเครื่องวัด  การวัดระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำได้หลายช่วงเวลา เช่น ก่อนมื้ออาหาร หลังมื้ออาหาร หลังออกกำลังกายหรือออกแรงหนักกว่าปกติ การตรวจค่าน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารจะช่วยบอกถึงความสามารถในการจัดการกับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นหลังรับประทานอาหารของร่างกาย ทางการแพทย์แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพราะเป็นช่วงที่ระดับน้ำตาลกำลังขึ้นสูงพอดีหลังจากอาหารถูกย่อยและดูดซึม  ค่าน้ำตาล หลัง กิน ข้าว 1 ชม ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ค่าน้ำตาลในเลือดจะรายงานเป็นหน่วยมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ซึ่งการตรวจระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหาร […]


โรคเบาหวาน

เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหาร ใช้ในกรณีไหน ต้องเตรียมตัวยังไง

การ เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหาร เป็นวิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือดรูปแบบหนึ่ง โดยจะมีการวัดผล 2 ประเภท คือ การตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C หรือ HbA1C) หรือการตรวจระดับน้ำตาลสะสมและการตรวจระดับน้ำตาลแบบสุ่ม ซึ่งสามารถใช้เพื่อคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบาหวาน รวมทั้งใช้สำหรับประเมินและติดตามการควบคุมโรคเบาหวานของผู้ป่วยได้ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดรูปแบบนี้มีข้อดี คือ ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องอดอาหารมาล่วงหน้า [embed-health-tool-bmi] การเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหาร ใช้ในกรณีใดบ้าง การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการ เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหาร อาจมีประโยชน์ดังต่อนี้ ประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน คุณหมออาจสั่งตรวจน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปวดศีรษะ สายตาพร่ามัว อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย รวมถึงใช้ตรวจในผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่เดิม เพื่อบอกถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีการใช้ยาที่อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยากดภูมิบางชนิด จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี หรือ การตรวจสุขภาพก่อนเข้ารับการทำงาน เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหาร มีแบบไหนบ้าง การตรวจระดับน้ำตาล โดยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วแบบไม่ต้องอดอาหาร (Non fasting […]


โรคเบาหวาน

Glycemic Index คือ อะไร เกี่ยวกับโรคเบาหวานอย่างไร

Glycemic Index คือ ค่าดัชนีน้ำตาล ซึ่งเป็นค่าที่บ่งชี้ความสามารถของอาหารชนิดนั้น ๆ ว่าดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้เร็วหรือช้า โดยอาหารที่มีค่า Glycemic Index สูง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้เร็วกว่าอาหารที่มีค่า Glycemic Index ต่ำกว่า ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีค่า Glycemic Index ต่ำ เพราะอาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารไม่สูงขึ้นมากเกินไป ควบคุมโรคเบาหวานได้ดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่อาจตามมาได้ [embed-health-tool-bmi] Glycemic Index คือ อะไร Glycemic Index (GI) คือ ค่าดัชนีน้ำตาล เป็นค่าที่บอกว่าอาหารแต่ละชนิดสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้เร็วหรือช้าหลังบริโภค ซึ่งจะเทียบกับการบริโภคน้ำตาลกลูโคส โดยแสดงเป็นตัวเลข 0-100 อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้เร็วกว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า ทั้งนี้ ค่าดัชนีน้ำตาลอาจจำแนกกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ระดับ คือค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง และค่าดัชนีน้ำตาลสูง โดยสามารถแปลผลได้ดังนี้ อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ หมายถึง อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลไม่เกิน 55 อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง หมายถึง อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล 59-69 อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง หมายถึง […]


โรคเบาหวาน

อาหารคุมเบาหวาน มีเมนูอาหารอะไรบ้าง

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีระดับน้ำตาลในเลือดจะสูง และหากไม่ควบคุมให้ดี อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกินไป นอกเหนือจากการออกกำลังกาย การรับประทานยาตามคุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดแล้ว ผู้ที่เป็นเบาหวานยังควรเลือกรับประทาน อาหารคุมเบาหวาน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท ข้าวโพดต้ม อกไก่ย่าง มันอบ นมจืด ผักต้ม ที่จะช่วยให้สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้องรับประทาน อาหารคุมเบาหวาน เบาหวาน เป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสมดุลปกติได้ และหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะยิ่งเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคปลายประสาทเสื่อม ทั้งยังเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความพิการหรือการเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว การปรับพฤติกรรมสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยควบคุมโรคเบาหวานให้ดีได้ในระยะยาว การเลือกรับประทานอาหารคุมเบาหวาน ซึ่งเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงนับเป็นปัจจัยสำคัญ อีกทั้งยังควรออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอด้วย อาหารคุมเบาหวาน มีอะไรบ้าง อาหารที่ควรรับประทานเมื่อเป็นโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีดังต่อไปนี้ อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหาร (Fiber) สูง เช่น เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสาลี ควินัว ข้าวโพด ถั่วลันเตา เนื่องจากไฟเบอร์มีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมของน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้ จึงช่วยทำให้ระดับน้ำตาลหลังรับประทานไม่เพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วจนเกินไป […]


โรคเบาหวาน

การ ดูแล ผู้ ป่วย เบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

การ ดูแล ผู้ ป่วย เบาหวาน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหรือมีภาวะแทรกซ้อนแล้ว รวมไปถึงผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นผู้สูงอายุซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน จะได้สามารถช่วยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วยเบาหวานได้เหมาะสมขึ้น เพื่อช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] การ ดูแล ผู้ ป่วย เบาหวาน มีอะไรบ้าง การดูแลผู้ป่วยเบาหวานอาจจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจและความใจเย็นเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยในการควบคุมโรคและช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ ผู้ดูแลควรทำความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ผู้ดูแลควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุ อาการ ปัจจัยเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน การรักษา และการดูแลผู้ป่วย เพื่อจะได้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างถูกต้อง และสามารถปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยารักษา และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง หากผู้ดูแลเข้าใจเกี่ยวกับโรคก็อาจช่วยควบคุมไม่ให้โรคเบาหวานของผู้ป่วยรุนแรงขึ้น ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ผู้ดูแลควรใจเย็นและให้กำลังใจผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ดูแลควรพูดคุย สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และรับฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดหรือร้องขอ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยวและมีกำลังใจในการดูแลตนเอง จะได้สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยปฏิเสธการช่วยเหลือหรือดูแล ผู้ดูแลอาจโน้มน้าวและแสดงความตั้งใจว่าอยากช่วยเหลือจริง ๆ โดยไม่บังคับ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจและเปลี่ยนความคิดใหม่ ผู้ป่วยจะได้ดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพที่ดี ผู้ดูแลควรดูแลสุขภาพประจำวัน สุขภาพประจำวันของผู้ป่วยเบาหวานที่ผู้ดูแลควรให้ความสำคัญ มีดังนี้ เลือกหรือเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพ  เนื่องจากอาหารถือเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ดูแลจึงควรจัดเตรียมอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ให้มีทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน วิตามิน แร่ธาตุ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน มีสาเหตุมาจากอะไร

ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน เป็นอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานบางราย เกิดจากความอ่อนล้าของร่างกายที่อาจมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด การติดเชื้อแทรกซ้อน รวมไปถึงความเครียด โรคนอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้า ที่อาจพบร่วมด้วยได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ภาวะสุขภาพเหล่านี้สามารถส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกอ่อนเพลีย และง่วงนอนผิดปกติได้  [embed-health-tool-heart-rate] ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน เกิดจากอะไร ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจมีอาการเซื่องซึม เหนื่อยล้า รู้สึกอ่อนล้า และอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ รวมไปถึงอาจรู้สึกง่วงนอน ไม่สดชื่น เกือบตลอดทั้งวัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานหนัก ทั้งยังอาจเกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งอาจมาจากระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุลกับการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ดังนั้น หากสังเกตว่าตนเองเหนื่อยล้าระหว่างวันหรือง่วงนอนตลอดเวลา แม้ว่าจะนอนหลับอย่างเพียงพอตลอด สิ่งนี้อาจเป็นอาการของระดับน้ำตาลที่สูงหรือต่ำไปเกินไปได้  นอกจากนี้ อาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น หรือง่วงนอน ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและต่ำ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อ ปัญหาสภาพจิตใจและอารมณ์ เช่น โรคเครียด ภาวะซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ ที่อาจพบร่วมด้วยได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรืออาจเกิดจากผู้ป่วยมีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติไป ทำให้หลับไม่สนิท จนรู้สึกอ่อนล้า  ปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วน อาจทำให้เกิดโรคนอนกรนและเกิดปัญหาการนอนหลับตามมา รวมทั้งผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนยังอาจรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียได้ง่ายในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

รักษา แผล เบาหวาน ทำได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดแผล

หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควบคุมให้ดี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ระบบประสาทผิดปกติ และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้บาดแผลหายช้าลงและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การ รักษา แผล เบาหวาน อย่างถูกวิธีจึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการป้องกันไม่ให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานลุกลาม [embed-health-tool-heart-rate] โรคเบาหวานส่งผลต่อแผลอย่างไร หากควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้แผลหายช้าลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อแผลได้ง่ายขึ้น เช่น แผลเรื้อรังที่เท้า การถูกตัดเท้าและขา โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ดังนี้ การไหลเวียนเลือดไม่ดี เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไหลเวียนตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายเสื่อมลง เสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดีตามไปด้วย เมื่อเกิดบาดแผล เลือดจะไม่สามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณแผลได้อย่างเพียงพอ จึงส่งผลให้แผลหายช้าลง และหากหลอดเลือดส่วนนั้น ๆ อุดตัน ก็ยังเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเนื้อตายที่อาจรุนแรงจนถึงขึ้นต้องตัดเนื้อเยื่อหรืออวัยวะส่วนดังกล่าวทิ้งอีกด้วย  โรคระบบประสาทจากเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมได้ไม่ดี อาจมีภาวะแทรกซ้อนของเส้นประสาทได้ โดยมักทำให้เกิดอาการชา สูญเสียการรับความรู้สึก และมักเกิดกับอวัยวะส่วนปลายก่อน เช่น ชาปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดบาดแผลได้ง่ายโดยไม่ทันรู้ตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้แผลติดเชื้อและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อติดเชื้อแล้วยังทำให้อาการรุนแรงได้มากกว่าผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีหรือไม่เป็นโรคเบาหวานด้วย รักษา แผล เบาหวาน หากสังเกตพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีแผลรุนแรงขึ้น […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานแฝง ปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

อาการเบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) มีสาเหตุสำคัญ คือ ภาวะดื้อต่ออินซูลินที่ทำให้มีระดับน้ำตาลมีเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเสี่ยงพัฒนาเป็นโรคเบาหวานได้ในอนาคต ดังนั้น หากตรวจพบว่ามีเบาหวานแฝง ควรรีบปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างและควรดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] อาการเบาหวานแฝง เกิดขึ้นได้อย่างไร เบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเบาหวาน มักมีสาเหตุมาจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ที่ทำให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ยังไม่สูงจนเข้าข่ายว่าเป็นโรคเบาหวาน (ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบงดอาหาร 8 ชั่วโมง แล้วค่าอยู่ระหว่าง 100 - 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ซึ่งหากไม่ปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม โดยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ก็อาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเบาหวานแฝง อาจมีดังนี้ พันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น บิดา มารดา พี่น้องท้องเดียวกัน ก็จะยิ่งเสี่ยงมีภาวะเบาหวานแฝงและโรคเบาหวานได้มากขึ้น  อายุ อายุที่เพิ่มขึ้นนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานแฝง จึงแนะนำให้ตรวจสุขภาพและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อคัดกรองหาเบาหวานแฝงในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป  ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมักมีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของเบาหวานแฝง นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุง คือมีไขมันสะสมในช่องท้องมากผิดปกติ นอกจากจะเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานมากกว่าผู้ที่รูปร่างอ้วนทั่วไปแล้ว ยังเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าอีกด้วย  การรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเป็นประจำ […]

advertisement iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม