โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน มีสาเหตุมาจากอะไร

ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน เป็นอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานบางราย เกิดจากความอ่อนล้าของร่างกายที่อาจมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด การติดเชื้อแทรกซ้อน รวมไปถึงความเครียด โรคนอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้า ที่อาจพบร่วมด้วยได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ภาวะสุขภาพเหล่านี้สามารถส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกอ่อนเพลีย และง่วงนอนผิดปกติได้  [embed-health-tool-heart-rate] ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน เกิดจากอะไร ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจมีอาการเซื่องซึม เหนื่อยล้า รู้สึกอ่อนล้า และอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ รวมไปถึงอาจรู้สึกง่วงนอน ไม่สดชื่น เกือบตลอดทั้งวัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานหนัก ทั้งยังอาจเกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งอาจมาจากระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุลกับการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ดังนั้น หากสังเกตว่าตนเองเหนื่อยล้าระหว่างวันหรือง่วงนอนตลอดเวลา แม้ว่าจะนอนหลับอย่างเพียงพอตลอด สิ่งนี้อาจเป็นอาการของระดับน้ำตาลที่สูงหรือต่ำไปเกินไปได้  นอกจากนี้ อาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น หรือง่วงนอน ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและต่ำ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อ ปัญหาสภาพจิตใจและอารมณ์ เช่น โรคเครียด ภาวะซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ ที่อาจพบร่วมด้วยได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรืออาจเกิดจากผู้ป่วยมีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติไป ทำให้หลับไม่สนิท จนรู้สึกอ่อนล้า  ปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วน อาจทำให้เกิดโรคนอนกรนและเกิดปัญหาการนอนหลับตามมา รวมทั้งผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนยังอาจรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียได้ง่ายในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

รักษา แผล เบาหวาน ทำได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดแผล

หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควบคุมให้ดี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ระบบประสาทผิดปกติ และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้บาดแผลหายช้าลงและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การ รักษา แผล เบาหวาน อย่างถูกวิธีจึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการป้องกันไม่ให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานลุกลาม [embed-health-tool-heart-rate] โรคเบาหวานส่งผลต่อแผลอย่างไร หากควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้แผลหายช้าลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อแผลได้ง่ายขึ้น เช่น แผลเรื้อรังที่เท้า การถูกตัดเท้าและขา โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ดังนี้ การไหลเวียนเลือดไม่ดี เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไหลเวียนตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายเสื่อมลง เสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดีตามไปด้วย เมื่อเกิดบาดแผล เลือดจะไม่สามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณแผลได้อย่างเพียงพอ จึงส่งผลให้แผลหายช้าลง และหากหลอดเลือดส่วนนั้น ๆ อุดตัน ก็ยังเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเนื้อตายที่อาจรุนแรงจนถึงขึ้นต้องตัดเนื้อเยื่อหรืออวัยวะส่วนดังกล่าวทิ้งอีกด้วย  โรคระบบประสาทจากเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมได้ไม่ดี อาจมีภาวะแทรกซ้อนของเส้นประสาทได้ โดยมักทำให้เกิดอาการชา สูญเสียการรับความรู้สึก และมักเกิดกับอวัยวะส่วนปลายก่อน เช่น ชาปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดบาดแผลได้ง่ายโดยไม่ทันรู้ตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้แผลติดเชื้อและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อติดเชื้อแล้วยังทำให้อาการรุนแรงได้มากกว่าผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีหรือไม่เป็นโรคเบาหวานด้วย รักษา แผล เบาหวาน หากสังเกตพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีแผลรุนแรงขึ้น […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานแฝง ปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

อาการเบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) มีสาเหตุสำคัญ คือ ภาวะดื้อต่ออินซูลินที่ทำให้มีระดับน้ำตาลมีเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเสี่ยงพัฒนาเป็นโรคเบาหวานได้ในอนาคต ดังนั้น หากตรวจพบว่ามีเบาหวานแฝง ควรรีบปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างและควรดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] อาการเบาหวานแฝง เกิดขึ้นได้อย่างไร เบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเบาหวาน มักมีสาเหตุมาจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ที่ทำให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ยังไม่สูงจนเข้าข่ายว่าเป็นโรคเบาหวาน (ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบงดอาหาร 8 ชั่วโมง แล้วค่าอยู่ระหว่าง 100 - 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ซึ่งหากไม่ปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม โดยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ก็อาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเบาหวานแฝง อาจมีดังนี้ พันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น บิดา มารดา พี่น้องท้องเดียวกัน ก็จะยิ่งเสี่ยงมีภาวะเบาหวานแฝงและโรคเบาหวานได้มากขึ้น  อายุ อายุที่เพิ่มขึ้นนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานแฝง จึงแนะนำให้ตรวจสุขภาพและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อคัดกรองหาเบาหวานแฝงในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป  ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมักมีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของเบาหวานแฝง นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุง คือมีไขมันสะสมในช่องท้องมากผิดปกติ นอกจากจะเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานมากกว่าผู้ที่รูปร่างอ้วนทั่วไปแล้ว ยังเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าอีกด้วย  การรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเป็นประจำ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน เกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน อาจแบ่งออกเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำมากจนเกินไป เป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างเร่งด่วน และภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นจากอวัยวะและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไป เนื่องจากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะเท้าเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานรวมทั้งคนในครอบครัว ควรช่วยกันดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นเบาหวานให้ดี ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หลัก ๆ อาจแบ่งออกเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานชนิดเฉียบพลัน เป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้แม้จะเพิ่งเป็นเบาหวานมาไม่นาน หรือบางครั้งก็เป็นอาการแรกที่ทำให้ผู้ป่วยตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวาน  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเกิดจากการรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินที่ไม่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากจนเกินไป จนเกิดอาการสับสน มึนงง รู้สึกเพลีย ไม่มีแรง เหงื่อออกมากผิดปกติ ตัวเย็น บางครั้งอาจทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด วิตกกังวล ใจสั่น หน้าซีด หัวใจเต้นเร็ว มองเห็นภาพซ้อน รู้สึกหิวมาก ปวดหัว หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้ซึม หมดสติ ชัก และหัวใจหยุดเต้นได้  ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมล่าร์ (Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS) เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก (สูงตั้งแต่ 600 […]


โรคเบาหวาน

การ พยาบาล ผู้ ป่วย เบาหวาน ต้องทำอะไรบ้าง

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลหรือพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมโรคให้ดีและประคับประคองไม่ให้อาการแย่ลง เพราะหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ ทั้งนี้ ใน การ พยาบาล ผู้ ป่วย เบาหวาน ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัว ควรจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสม ได้แก่ อาหารมีไขมันต่ำและน้ำตาลน้อย กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที สวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าอยู่เสมอ รวมทั้งดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง สาเหตุเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ลดลงจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง และระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (ตรวจหลังจากอดอาหาร 8 ชั่วโมง) จะนับว่าสูงจนเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการพยาบาลหรือดูแลที่เหมาะสม ระดับน้ำตาลในเลือดอาจเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรคเบาหวานได้ เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การ พยาบาล ผู้ ป่วย เบาหวาน ต้องทำอะไรบ้าง ญาติหรือคนในครอบครัวอาจช่วยเหลือหรือให้การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามคำแนะนำเบื้องต้นต่อไปนี้ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

หน่วยไตของผู้ที่มีโรคเบาหวาน มีความผิดปกติอย่างไร

หน่วยไต คือ ส่วนประกอบย่อยของไตที่ทำหน้าที่สำคัญในการกรองและขจัดของเสียรวมถึงของเหลวส่วนเกินในกระแสเลือดออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ การได้ทราบข้อมูลว่า หน่วยไตของผู้ที่มีโรคเบาหวาน มีความผิดปกติอย่างไร อาจช่วยให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของโรคเบาหวาน สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดี และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคไต โดยทั่วไปแล้ว หน่วยไตของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้จะสามารถทำงานได้อย่างปกติดังเช่นในคนทั่วไป แต่หากควรคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยเฉพาะหากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร นาน 10-15 ปีขึ้นไป จะส่งผลให้ไตและหน่วยไตเสื่อมสภาพ เป็นที่มาของ ภาวะเบาหวานลงไต ภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เช่น ปรับอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ เลิกสูบบุหรี่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตจากการเป็นโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] หน่วยไต คืออะไร ไตเป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่ว มี 2 ข้าง อยู่ภายในช่องท้องด้านหลังระดับบั้นเอว แบ่งได้เป็นเนื้อเยื่อไตชั้นนอก (Cortex) และเนื้อเยื่อไตชั้นใน (Kidney Medulla) ภายในประกอบด้วย หน่วยไต หรือเนฟรอน (Nephron) ประมาณ 1 ล้านหน่วย ที่คอยทำหน้าที่กรองของเสียภายในร่างกายจากกระแสเลือด และขับออกทางปัสสาวะ ทั้งยังมีระบบสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นบางส่วนกลับคืนสู่กระแสเลือด ไม่ว่าจะเป็นโซเดียม แคลเซียม […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีลดน้ำตาลในคนท้อง เพื่อลดความเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อสมดุลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกาย กล่าวคือ ร่างกายมีฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านกับอินซูลินมากขึ้น จึงทำให้คุณแม่บางรายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และนำไปสู่ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ วิธีการดูแลตัวเอง และ วิธีลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง อาจทำได้หลายวิธี เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายเบา ๆ ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ [embed-health-tool-due-date] ค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร ไม่ควรเกิน 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร วิธีลดน้ำตาลในคนท้อง ทำได้อย่างไรบ้าง การดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนท้อง อาจทำได้ดังนี้ รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม คุณแม่ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตขัดสีแต่น้อย เลี่ยงอาหารจำพวกข้าวขาว ขนมปังขาว ขนมหวาน น้ำหวานและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และอาหารแปรรูป เลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน และควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักและผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวกล้อง พืชตระกูลถั่ว เพราะสามารถช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ยารักษา ปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน มีอะไรบ้าง

ปลายประสาทอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจทำให้มีอาการอ่อนแรง และการรับความรู้สึกผิดเพี้ยน โดยทั่วไป คุณหมออาจใช้ ยารักษาปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน ได้แก่ ยากันชักบางชนิดและยาต้านเศร้าบางกลุ่มให้เพื่อบรรเทาอาเจ็บปวดจากเส้นประสาท ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาล เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายประสาทอักเสบมากกว่าเดิม [embed-health-tool-bmi] ปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) หรือบางครั้งเรียกว่าปลายประสาทเสื่อม เกิดจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ส่งข้อมูลระหว่างสมองและส่วนนั้น ๆ เกิดความเสียหาย โดยทั่วไป เมื่อเป็นปลายประสาทอักเสบ มักมีอาการดังนี้ รู้สึกชาตามมือหรือเท้า หรือไม่รับรู้ถึงอุณหภูมิร้อนหรือเย็น รู้สึกเจ็บ เสียว หรือแสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น รู้สึกเจ็บปวดเมื่อร่างกายสัมผัสผ้าปูที่นอนเบา ๆ มีแผลติดเชื้อที่เท้า เนื่องจากไม่รู้สึกเจ็บเวลาเริ่มเป็นแผลจึงไม่ทันได้สังเกต จึงปล่อยไว้ไม่ได้รักษาให้ดี ทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นหนองได้ในที่สุด ปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลตนเองให้ดีตามคำแนะนำของคุณหมอ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเรื้อรัง จนส่งผลให้หลอดเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทของอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่อาการปลายประสาทอักเสบได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานในการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ป่วย ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดของโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ […]


โรคเบาหวาน

ผักลดเบาหวาน บริโภคแล้วช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ที่เป็นโรคมีระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงกว่าปกติ หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เลือกรับประทาน ผักลดเบาหวาน ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่พอใช้งาน หรือเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินผิดปกติ ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง น้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนหากสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (เมื่อตรวจเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง) จะเข้าข่ายเป็นเบาหวาน ทำไมต้องลดเบาหวาน การปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตได้ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย เลือกรับประทานที่มีประโยชน์ เช่น ผักลดเบาหวาน  ผักลดเบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร ผู้ป่วยเบาหวานมักได้รับคำแนะนำจากคุณหมอให้เน้นเลือกรับประทานผัก เพราะผักส่วนใหญ่อุดมไปสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะใยอาหาร (Fiber) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยให้ระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารไม่ขึ้นสูงจนเกินไป ช่วยให้การควบคุมเบาหวานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS Med […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

น้ำตาลตก อาการ เป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

น้ำตาลตก หมายถึง ภาวะที่น้ำตาลในเลือดลดลงจากระดับปกติ หรือที่เรียกว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ออกกำลังกายอย่างหนักหรือหักโหม หรือใช้ยาลดระดับน้ำตาลมากกว่าที่คุณหมอแนะนำ เมื่อ น้ำตาลตก จะอาการ ที่พบได้ คือ ปวดศีรษะ วิงเวียน ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว และในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นชักหรือหมดสติซึ่งควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] น้ำตาลในเลือด มีความสำคัญอย่างไร น้ำตาลในเลือด หมายถึง ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหลักที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไป ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นหลังบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แป้งและน้ำตาล เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสมดุลที่เหมาะสม โดยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย รวมทั้งนำน้ำตาลส่วนที่เหลือไปเก็บไว้ที่ตับเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen)  อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุให้ตับอ่อนถูกทำลาย จนส่งผลให้ผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือผลิตไม่ได้เลย จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด น้ำตาลในเลือดแต่ละระดับ มีความหมายอย่างไร การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหารสามารถแปลผล ได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ระดับน้ำตาลในเลือด 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป หมายถึง เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง มีภาวะก่อนเบาหวานหรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล ไม่ว่าช่วงเวลาใด ๆ แล้วมีค่าต่ำกว่า […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน