โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ยารักษา ปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน มีอะไรบ้าง

ปลายประสาทอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจทำให้มีอาการอ่อนแรง และการรับความรู้สึกผิดเพี้ยน โดยทั่วไป คุณหมออาจใช้ ยารักษาปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน ได้แก่ ยากันชักบางชนิดและยาต้านเศร้าบางกลุ่มให้เพื่อบรรเทาอาเจ็บปวดจากเส้นประสาท ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาล เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายประสาทอักเสบมากกว่าเดิม [embed-health-tool-bmi] ปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) หรือบางครั้งเรียกว่าปลายประสาทเสื่อม เกิดจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ส่งข้อมูลระหว่างสมองและส่วนนั้น ๆ เกิดความเสียหาย โดยทั่วไป เมื่อเป็นปลายประสาทอักเสบ มักมีอาการดังนี้ รู้สึกชาตามมือหรือเท้า หรือไม่รับรู้ถึงอุณหภูมิร้อนหรือเย็น รู้สึกเจ็บ เสียว หรือแสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น รู้สึกเจ็บปวดเมื่อร่างกายสัมผัสผ้าปูที่นอนเบา ๆ มีแผลติดเชื้อที่เท้า เนื่องจากไม่รู้สึกเจ็บเวลาเริ่มเป็นแผลจึงไม่ทันได้สังเกต จึงปล่อยไว้ไม่ได้รักษาให้ดี ทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นหนองได้ในที่สุด ปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลตนเองให้ดีตามคำแนะนำของคุณหมอ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเรื้อรัง จนส่งผลให้หลอดเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทของอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่อาการปลายประสาทอักเสบได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานในการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ป่วย ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดของโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ […]


โรคเบาหวาน

ผักลดเบาหวาน บริโภคแล้วช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ที่เป็นโรคมีระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงกว่าปกติ หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เลือกรับประทาน ผักลดเบาหวาน ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่พอใช้งาน หรือเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินผิดปกติ ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง น้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนหากสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (เมื่อตรวจเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง) จะเข้าข่ายเป็นเบาหวาน ทำไมต้องลดเบาหวาน การปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตได้ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย เลือกรับประทานที่มีประโยชน์ เช่น ผักลดเบาหวาน  ผักลดเบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร ผู้ป่วยเบาหวานมักได้รับคำแนะนำจากคุณหมอให้เน้นเลือกรับประทานผัก เพราะผักส่วนใหญ่อุดมไปสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะใยอาหาร (Fiber) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยให้ระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารไม่ขึ้นสูงจนเกินไป ช่วยให้การควบคุมเบาหวานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS Med […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

น้ำตาลตก อาการ เป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

น้ำตาลตก หมายถึง ภาวะที่น้ำตาลในเลือดลดลงจากระดับปกติ หรือที่เรียกว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ออกกำลังกายอย่างหนักหรือหักโหม หรือใช้ยาลดระดับน้ำตาลมากกว่าที่คุณหมอแนะนำ เมื่อ น้ำตาลตก จะอาการ ที่พบได้ คือ ปวดศีรษะ วิงเวียน ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว และในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นชักหรือหมดสติซึ่งควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] น้ำตาลในเลือด มีความสำคัญอย่างไร น้ำตาลในเลือด หมายถึง ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหลักที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไป ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นหลังบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แป้งและน้ำตาล เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสมดุลที่เหมาะสม โดยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย รวมทั้งนำน้ำตาลส่วนที่เหลือไปเก็บไว้ที่ตับเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen)  อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุให้ตับอ่อนถูกทำลาย จนส่งผลให้ผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือผลิตไม่ได้เลย จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด น้ำตาลในเลือดแต่ละระดับ มีความหมายอย่างไร การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหารสามารถแปลผล ได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ระดับน้ำตาลในเลือด 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป หมายถึง เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง มีภาวะก่อนเบาหวานหรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล ไม่ว่าช่วงเวลาใด ๆ แล้วมีค่าต่ำกว่า […]


โรคเบาหวาน

วิธีลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง

น้ำตาลในเลือด เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายที่ได้จากกระบวนการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โดยน้ำตาลจะถูกลำเลียงผ่านกระแสเลือดไปยังเซลล์ส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปก็อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี และศึกษา วิธีลดน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานในอนาคต [embed-health-tool-bmi] วิธีลดน้ำตาลในเลือด สำคัญอย่างไร การปฏิบัติตาม วิธีลดน้ำตาลในเลือด ที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์เป้าหมายอย่างเหมาะสม มีความสำคัญกับสุขภาพอย่างมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวาน รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่อาจเป็นอันตราย ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมายเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เส้นเลือดทั่วทั้งร่างกายเสื่อมลง จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ โรคปลายประสาทเสื่อม เมื่อควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานจะส่งผลให้เส้นประสามเสื่อม โดยมักเกิดอาการกับเส้นประสาทบริเวณส่วนปลายก่อน เช่น ปลายนิ้วมือ ปลายนิ้วเท้า จึงทำให้รู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า หรืออาจทำให้รู้สึกปวด แสบ เสียวซ่าได้ เบาหวานขึ้นตา หากคุมเบาหวานได้ไม่ดี นอกจากจะทำให้เส้นเลือดทั่วทั้งร่างกายเสื่อมแล้ว ยังทำให้เส้นเลือดที่จอประสาทตาได้รับความเสียหายด้วย ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจรุนแรงจนทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ การติดเชื้อที่ผิวหนัง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตุ่ม เบาหวาน มีลักษณะอาการอย่างไร รักษาได้อย่างไร

ตุ่ม เบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนังชนิดหนึ่งของโรคเบาหวาน อาจมีลักษณะเป็นได้ทั้งตุ่มน้ำใส ตุ่มสีเหลือง มักเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงเกินไป ตุ่มเบาหวานส่วนมากมักพบบริเวณมือ ขา หรือเท้าของผู้ป่วย และอาจหายไปเองหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เบาหวานคืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลงหรือผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายผิดปกติทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จึงมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดช่วงที่อดอาหารแล้วสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยหนึ่งของโรคเบาหวาน หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงเรื้อรัง ไม่ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน ภาวะเบาหวานขึ้นตา รวมถึงความผิดปกติบริเวณผิวหนัง เช่น ตุ่ม เบาหวาน  ตุ่มเบาหวาน มีลักษณะอย่างไร ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจพบผื่นหรือตุ่มน้ำลักษณะต่าง ๆ ตามร่างกาย ซึ่งมีชื่อเรียกและรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตุ่มน้ำใส พบได้ไม่บ่อยนัก อาจปรากฏที่บริเวณขา เท้า หรือนิ้วเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดตุ่มน้ำที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลจากการติดเชื้อรา การบาดเจ็บบริเวณดังกล่าว หรือระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี อีรัปทีพ แซนโทมาโตซิสม (Eruptive Xanthomatosis) มีลักษณะเป็นตุ่มนูน อาจพบได้เมื่อมีภาวะคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย คาดว่าผื่นชนิดนี้เกี่ยวข้องกับภาวะดื้ออินซูลิน อีรัปทีฟ แซนโทมาโตซิสมักพบบริเวณหลังมือ ข้อเท้า ขา หรือสะโพก และผื่นในช่วงแรกจะมีลักษณะคล้ายกับตุ่มสิว […]


โรคเบาหวาน

ค่าน้ำตาลปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ และแบบไหนที่อาจเป็นอันตราย

น้ำตาลในเลือด คือ น้ำตาลกลูโคสที่ได้จากกระบวนการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งสำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นควรดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อควบคุมและรักษาให้ ค่าน้ำตาลปกติ ป้องกันไม่ให้ค่าน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] ค่าน้ำตาลในเลือดมีความสัมพันธ์กับร่างกายอย่างไร การตรวจค่าน้ำตาลในเลือด คือ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ได้จากการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว ขนมปัง พาสต้า รวมไปถึงอาหารและเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล จากนั้นน้ำตาลกลูโคสจะถูกนำส่งไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน หากร่างกายมีค่าน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ถ่ายปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะหากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานานยังอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อันตราย เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด โรคปลายประสาทอักเสบ ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะตาบอด โรคหัวใจและหลอดเลือด ค่าน้ำตาลปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ ค่าน้ำตาลปกติ จะแตกต่างกันไปตามวิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ส่วนใหญ่มักใช้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งค่าปกติ ไม่ควรสูงกว่า 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่หากทำการตรวจความทนต่อน้ำตาล ซึ่งสามารถทำได้โดยตรวจค่าระดับน้ำตาลหลังจากให้ดื่มสารละลายกลูโคส 75 กรัมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ค่าน้ำตาลปกติ […]


โรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยอาจมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การใช้ยาบางชนิด เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงควรศึกษาวิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายจากการมีน้ำตาลในเลือดสูง [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีดังนี้ ความผิดปกติของตับอ่อน อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันสร้างภูมิไปทำลายเซลล์ในตับอ่อน หรือตับอ่อนถูกทำลายจากสาเหตุภายนอก เช่น ภาวะตับอ่อนอักเสบ อุบัติเหตุ โรคมะเร็ง จนส่งผลให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ และทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  ภาวะดื้ออินซูลิน เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินเพื่อนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งภาวะดื้อต่ออินซูลินเป็นสาเหตุหลักของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไป เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว ขนมหวาน ของทอด อาหารแปรรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำผลไม้ที่ใส่น้ำตาล เพราะเมื่อแป้งและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายจะถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในรูปน้ำตาลกลูโคส หากบริโภคอาหารกลุ่มนี้ในปริมาณมาก จึงส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ การขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะช่วยเผาผลาญน้ำตาลและพลังงานส่วนเกินแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน และช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลได้ดีขึ้น  ความเครียด เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งส่งผลต้านกับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน จึงส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ การเจ็บป่วย ช่วงที่ร่างกายเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อ […]


โรคเบาหวาน

Diabetes (โรคเบาหวาน) คืออะไร มีสัญญาณเตือนและการป้องกันอย่างไรบ้าง

Diabetes เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีรักษาที่สามารถควบคุมโรคให้ผู้ป่วยยังคงมีสุขภาพโดยรวมที่ดีได้ อีกทั้งยังมีวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหรือควบคุมโรคเบาหวาน รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น โรคปลายประสาทเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตและโรคเบาหวานขึ้นตา [embed-health-tool-bmi] Diabetes คืออะไร Diabetes คือ หนึ่งในโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุหลักมาจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินจะกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายนำน้ำตาลไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน โดยในตับอ่อนจะมีเซลล์ชนิดเบต้า (Beta Cells) ที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน หากตับอ่อนผิดปกติและไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอ หรือการจัดการกับน้ำตาลของเซลล์ในร่างกายผิดปกติไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะก่อนเบาหวานและโรคเบาหวานได้ โรคเบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคร่าว ๆ ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีและทำลายเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน จึงทำให้ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน จึงทำให้เเม้ตับอ่อนจะผลิตอิซูลินได้ตามปกติเเต่ก็มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเพิ่มขึ้น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากฮอร์โมน HPL (Human placental lagtogen) ที่สร้างจากรก รวมถึงฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นขณะตั้งครรภ์ มีฤทธิ์ต้านกับอินซูลิน จึงส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลินชั่วคราว และทำให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานประเภทนี้สามารถหายได้เองหลังจากคลอดบุตร เนื่องจากฮอร์โมนดังกล่าวลดลงกลับสู่ระดับปกติ สัญญาณเตือนของ Diabetes สัญญาณเตือนของ […]


โรคเบาหวาน

อาการ Hyperglycemia สาเหตุ การรักษาและวิธีป้องกัน

อาการ Hyperglycemia คือ อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น อาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย รู้สึกหิวหรืออยากอาหารผิดปกติ รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรง ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจนำไปสู่โรคเบาหวาน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โรคไต ภาวะเบาหวานขึ้นตา แผลที่เท้าจากเบาหวาน จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพและรับประทานยาตามที่คุณหมอแนะนำอย่างสม่ำเสมอ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของ อาการ Hyperglycemia สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีดังนี้ รับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไป เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว ขนมหวาน ของทอด อาหารแปรรูป เพราะอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาลและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งหากรับประทานอาหารดังกล่าวมากเกินไปจะส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ขาดการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเผาผลาญน้ำตาลส่วนเกิน รวมทั้งกระตุ้นให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น จึงอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ความผิดปกติของตับอ่อน เนื่องจากเซลล์ในตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลาย ไม่ว่าจะเกิดภูมิต้านทานของร่างกายเอง หรือจากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะตับอ่อนอักเสบ อุบัติเหตุ การผ่าตัดตับอ่อน จะส่งผลให้ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ จนนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ จึงทำให้แม้ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้เพียงพอ แต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะ Hyperglycemia เช่น […]


โรคเบาหวาน

Postprandial Glucose คือ อะไร เกี่ยวกับเบาหวานอย่างไร

Postprandial Glucose คือ ระดับน้ำตาลกลูโคสหลังมื้ออาหาร ซึ่งหากมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมอาจหมายถึงเป็นโรคเบาหวานได้ วิธีตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสหลังมื้ออาหารโดยทั่วไป คุณหมอจะให้ผู้รับการตรวจดื่มน้ำเชื่อมกลูโคสแล้วรอเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จึงเจาะเลือดเพื่อตรวจค่าระดับน้ำตาล [embed-health-tool-bmi] Postprandial Glucose คือ อะไร Postprandial Glucose หรือระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังมื้ออาหาร หมายถึง ระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งจะเพิ่มสูงขึ้นหลังบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง มันฝรั่งทอด น้ำหวาน โดยทั่วไป ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดจะขึ้นสูงสุดในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังมื้ออาหาร และจะค่อย ๆ ลดลงจนอยู่ในระดับปกติภายใน 2-3 ชั่วโมง ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังมื้ออาหารของผู้ที่มีสุขภาพปกติจะไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่านั้น หมายความว่า เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังมื้ออาหาร ตรวจได้อย่างไร การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังมื้ออาหาร สามารถตรวจด้วยวิธีที่เรียกว่า 2-hour Glucose Tolerance Test หรือการตรวจความทนทานต่อกลูโคสแบบ 2 ชั่วโมง โดยผู้ที่เข้ารับการตรวจจะต้องงดอาหารเเละเครื่องดื่มที่มีพลังงานอย่างน้อย 8 - 12 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ เมื่อถึงห้องตรวจ จะให้ผู้รับการตรวจดื่มสารละลายกลูโคส 75 กรัม ให้หมดภายใน […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน