ไตรมาสที่ 3

ยิ่งเข้าสู่ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ก็ยิ่งหมายความว่าใกล้จะถึงเวลาที่เจ้าตัวน้อยจะได้ลืมตามาดูโลกแล้ว แต่นั่นก็หมายความว่า คุณพ่อคุณแม่ยิ่งควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้นไปอีก เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วง ไตรมาสที่ 3 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 3

คุณแม่ ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง และควรผ่าคลอดในกรณีใดบ้าง

การผ่าคลอด (Cesarean section หรือ C-section) เป็นการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง มักใช้ในกรณีที่คุณแม่หรือทารกในครรภ์อาจเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพหากคลอดตามธรรมชาติ แม้การผ่าคลอดจะพบได้ทั่วไป แต่หลายคนก็อาจสงสัยว่า คุณแม่สามารถ ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง และการผ่าคลอดควรทำในกรณีใดบ้าง โดยทั่วไปแนะนำไม่ให้คุณแม่ผ่าคลอดเกิน 3 ครั้งเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับคุณแม่และทารกแรกเกิด และคุณหมอจะเป็นผู้พิจารณาว่าภาวะสุขภาพของคุณแม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าคลอดหรือไม่ [embed-health-tool-due-date] การผ่าคลอดใช้ในกรณีใดบ้าง ทางเลือกในการผ่าคลอดอาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การผ่าคลอดแบบวางแผนมาก่อนล่วงหน้า จะใช้ในกรณีต่อไปนี้ คุณแม่เคยผ่าคลอด เพราะในบางกรณี หากเคยผ่าคลอดแล้ว ครั้งต่อไปจะเปลี่ยนไปคลอดธรรมชาติ อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น มดลูกแตก คุณหมอจึงอาจแนะนำให้ใช้วิธีผ่าคลอด คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa) ที่ทำให้รกบังปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมดเอาไว้ และเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกมากเกินไปหากคลอดธรรมชาติ ทารกอยู่ในท่าก้น (Breech Presentation) เป็นท่าที่ทารกเอาก้นหรือขาเป็นส่วนนำ ไม่กลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ตามปกติ ทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ทารกอยู่ในท่าขวาง (Transverse Presentation) เป็นท่าที่ทารกนอนขวางอยู่ในมดลูก ทำให้ไม่สามารถกกลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่เพื่อคลอดธรรมชาติได้ คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะเมื่อทารกอยู่ในท่าก้น ทั้งนี้ คุณแม่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจไม่จำเป็นต้องผ่าคลอดเสมอไป คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพและความต้องการของตัวเองได้ 2. การผ่าคลอดแบบไม่ได้วางแผนมาก่อน จะใช้ในกรณีต่อไปนี้ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ศีรษะของทารกไม่เคลื่อนลงมาที่อุ้งเชิงกรานและติดอยู่ในกระดูกอุ้งเชิงกราน ทำคลอดตามปกติไม่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกหดตัวได้ไม่ดี […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33 และข้อควรระวังสำหรับคุณแม่

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33 หมายถึง การเจริญเติบโตของทารกที่อยู่ในครรภ์ซึ่งมีอายุครรภ์ครบ 33 สัปดาห์ ซึ่งปกติแล้ว ทารกจะเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย น้ำหนักตัวและขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นจนเท่ากับผลสับปะรด รวมทั้งเซลล์ประสาทนับล้าน ๆ เซลล์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ทารกสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในมดลูก ฟัง รู้สึกมากขึ้น และที่สำคัญรูม่านตาสามารถหดหรือขยายเพื่อตอบสนองกับแสงสว่างหรือความมืดได้แล้ว  [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33 นี้ ทารกมักมีขนาดตัวเท่ากับผลสับปะรด โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.8 กิโลกรัม และตัวยาวประมาณ 43 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ในช่วงสองสามเดือนสุดท้ายก่อนคลอด เซลล์ประสาทนับล้าน ๆ เซลล์จะถูกพัฒนาขึ้นในสมองของทารกน้อย เพื่อช่วยให้ทารกได้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในมดลูก ตอนนี้ทารกจะสามารถฟัง รู้สึก และรูม่านตาสามารถหดหรือขยายเพื่อตอบสนองกับแสงสว่างหรือความมืดได้แล้ว  นอกจากนี้ ปอดของทารกในครรภ์ยังพัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์ เส้นขนเริ่มหนาขึ้น ไขมันยังคงสะสมตามร่างกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยทำหน้าที่ปกป้องและให้ความอบอุ่น  ตัวของทารกน้อยในครรภ์โตขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่ในการเคลื่อนไหวจึงน้อยลง คุณแม่จึงอาจรู้สึกว่าลูกดิ้นแรงไม่เท่าช่วงที่ผ่านมา แต่ความถี่ของการเคลื่อนไหวยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง การที่ทารกน้อยในครรภ์ใช้พื้นที่ในครรภ์มากขึ้น อาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดมากกว่าเดิม หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว รวดเร็วอย่างที่ผ่าน ๆ มา ไม่ว่าจะนั่ง จะเดิน หรือยืน ก็รู้สึกไม่ถนัด และไม่มั่นคง จะเปลี่ยนท่ายังไงก็ยังรู้สึกไม่สบายตัว คุณแม่อาจมีอาการชา […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม