ไตรมาสที่ 3

ยิ่งเข้าสู่ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ก็ยิ่งหมายความว่าใกล้จะถึงเวลาที่เจ้าตัวน้อยจะได้ลืมตามาดูโลกแล้ว แต่นั่นก็หมายความว่า คุณพ่อคุณแม่ยิ่งควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้นไปอีก เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วง ไตรมาสที่ 3 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 3

คุณแม่ ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง และควรผ่าคลอดในกรณีใดบ้าง

การผ่าคลอด (Cesarean section หรือ C-section) เป็นการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง มักใช้ในกรณีที่คุณแม่หรือทารกในครรภ์อาจเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพหากคลอดตามธรรมชาติ แม้การผ่าคลอดจะพบได้ทั่วไป แต่หลายคนก็อาจสงสัยว่า คุณแม่สามารถ ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง และการผ่าคลอดควรทำในกรณีใดบ้าง โดยทั่วไปแนะนำไม่ให้คุณแม่ผ่าคลอดเกิน 3 ครั้งเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับคุณแม่และทารกแรกเกิด และคุณหมอจะเป็นผู้พิจารณาว่าภาวะสุขภาพของคุณแม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าคลอดหรือไม่ [embed-health-tool-due-date] การผ่าคลอดใช้ในกรณีใดบ้าง ทางเลือกในการผ่าคลอดอาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การผ่าคลอดแบบวางแผนมาก่อนล่วงหน้า จะใช้ในกรณีต่อไปนี้ คุณแม่เคยผ่าคลอด เพราะในบางกรณี หากเคยผ่าคลอดแล้ว ครั้งต่อไปจะเปลี่ยนไปคลอดธรรมชาติ อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น มดลูกแตก คุณหมอจึงอาจแนะนำให้ใช้วิธีผ่าคลอด คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa) ที่ทำให้รกบังปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมดเอาไว้ และเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกมากเกินไปหากคลอดธรรมชาติ ทารกอยู่ในท่าก้น (Breech Presentation) เป็นท่าที่ทารกเอาก้นหรือขาเป็นส่วนนำ ไม่กลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ตามปกติ ทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ทารกอยู่ในท่าขวาง (Transverse Presentation) เป็นท่าที่ทารกนอนขวางอยู่ในมดลูก ทำให้ไม่สามารถกกลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่เพื่อคลอดธรรมชาติได้ คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะเมื่อทารกอยู่ในท่าก้น ทั้งนี้ คุณแม่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจไม่จำเป็นต้องผ่าคลอดเสมอไป คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพและความต้องการของตัวเองได้ 2. การผ่าคลอดแบบไม่ได้วางแผนมาก่อน จะใช้ในกรณีต่อไปนี้ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ศีรษะของทารกไม่เคลื่อนลงมาที่อุ้งเชิงกรานและติดอยู่ในกระดูกอุ้งเชิงกราน ทำคลอดตามปกติไม่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกหดตัวได้ไม่ดี […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาเกือบจะสมบูรณ์แล้ว และหากคลอดก่อนกำหนดก็อาจมีโอกาสรอดชีวิตสูง ช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวเนื่องจากขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่กดทับบริเวณกระบังลม ทำให้หายใจลำบาก อีกทั้งยังอาจทำให้มีอาการปวดหลัง นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายร่วมด้วย นอกจากนี้ คุณแม่บางคนอาจเริ่มมีอาการเจ็บท้องเตือนเป็นพัก ๆ หากสังเกตว่ามีอาการเจ็บท้องนานผิดปกติ หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรเข้าพบคุณหมอในทันที [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยของคุณแม่มีขนาดเท่ากับมันแกวหัวใหญ่ ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 1.7 กิโลกรัม และสูงประมาณ 42.5 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงส้นเท้า ถ้าลูกน้อยของคุณแม่คลอดออกมาในช่วงเวลานี้ ก็มีโอกาสจะรอดชีวิตเมื่ออยู่นอกครรภ์มารดา ตอนนี้ร่างกายของทารกน้อยเหลือแค่การแต่งเติมขั้นสุดท้ายเท่านั้นเอง ซึ่งขนตา ขนคิ้ว และเส้นผม จะงอกขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน เส้นขนที่เคยขึ้นปกคลุมร่างกายในช่วงต้นเดือนที่ 6 ก็จะเริ่มหลุดร่วงออกไปแล้ว ถึงแม้จะมีเส้นขนบางส่วนตกค้างอยู่ในบริเวณไหล่และหลังในตอนที่คลอดออกมา ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกกับคุณแม่และการเติบโตของทารกในครรภ์ เลือดในร่างกายคุณแม่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 40-50 เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อมดลูกถูกดันไปอยู่ใกล้ ๆ กับกระบังลม และเบียดอยู่กับกระเพาะอาหาร ก็จะส่งผลให้คุณแม่หายใจไม่สะดวก และมีอาการแสบร้อนกลางอกได้ วิธีที่จะช่วยให้คุณแม่มีการดีขึ้นก็คือ พยายามนอนโดยใช้หมอนหนุนให้สูงขึ้น และแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมือเล็ก ๆ และกินให้บ่อยขึ้น ถ้าอาการปวดหลังช่วงล่างไม่ใช่เป็นเพราะการคลอดก่อนกำหนด ก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน นอกจากนี้ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเกิดการเปลี่ยนแปลง […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 31 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 31 อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ในช่วงนี้ทารกในครรภ์อาจมีพัฒนาการที่เกือบจะสมบูรณ์ มีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และอาจหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกเจ็บท้องหลอกวันละหลายครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 นาที อีกทั้งยังอาจเริ่มผลิตน้ำนมแม่ออกมา ซึ่งเป็นน้ำนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดังนั้น จึงควรปั๊มน้ำนมและเก็บไว้ให้ลูกกินหลังคลอด [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 31 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกของคุณมีขนาดเท่าลูกมะพร้าว ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม และยาวประมาณ 40 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงส้นเท้า ตอนนี้ลูกน้อยของคุณน่าจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำวันละ 250 มล. แล้วจะดื่มน้ำคร่ำกลับเข้าไปวันละหลายครั้ง ถ้ามีน้ำส่วนเกินอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ก็หมายความว่าลูกของคุณไม่ได้ดื่มน้ำคร่ำตามปกติ หรืออาจมีอะไรขวางทางเดินอาหารอยู่ก็ได้ การมีของเหลวในถุงน้ำคร่ำไม่พอเพียง ก็หมายความว่าลูกน้อยของคุณไม่ได้ปัสสาวะอย่างที่ควรจะเป็น และอาจเป็นการบ่งชี้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ไตหรือทางเดินปัสสาวะแล้ว คุณหมอจะทำการวัดระดับน้ำคร่ำ เมื่อถึงคราวที่ต้องทำอัลตราซาวด์ตามปกติ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง คุณแม่อาจรู้สึกหน่วง ๆ ตึง ๆ บริเวณมดลูก ซึ่งนั่นเป็นอาการบีดรัดตัวของมดลูกในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาการเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย ถ้าเกิดขึ้นก็จะไม่นานเกิน 30 วินาที และจะไม่มีความเจ็บปวดด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้ามีการบีบรัดตัวถี่ ๆ และถึงแม้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดก็ตาม นั่นอาจเป็นสัญญานของการคลอดก่อนกำหนดได้ คุณแม่ควรติดต่อคุณหมอทันที ถ้ามีการบีบรัดตัวของมดลูกมากกว่า 4 […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30 ทารกมีขนาดตัวเท่ากับกะหล่ำปลี โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.3 กิโลกรัม และยาวประมาณ 40 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ขนาดตัวของทารกจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมทั้งมีชั้นไขมันมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ทารกมีริ้วรอยน้อยลง ทั้งยังทำหน้าที่สร้างความอบอุ่นให้กับทารกในช่วงหลังคลอดด้วย นอกจากนั้น สมองเริ่มมีรอยหยัก อีกทั้ง ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30 นี้ ทารกมีขนาดตัวเท่ากับกะหล่ำปลี โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.3 กิโลกรัม และยาวประมาณ 40 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า  ขนาดตัวของทารกจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมทั้งมีชั้นไขมันมากขึ้น โดยชั้นไขมันจะช่วยให้ทารกมีริ้วรอยน้อยลง ทั้งยังทำหน้าที่สร้างความอบอุ่นให้กับทารกในช่วงหลังคลอดด้วย ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์นี้ ทารกจะฝึกหายใจมากขึ้น ทำให้กระบังลม (Diaphragm) เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และทารกน้อยอาจสะอึกได้เป็นครั้งคราว จนทำให้มดลูกบิดตัวเป็นจังหวะจนคุณแม่รู้สึกได้ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในช่วงตั้งครรภ์เส้นผมของคุณแม่จะดูหนาขึ้น แต่เมื่อคลอดบุตร ผมจะหลุดร่วงอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผมดูบางลงได้ ในช่วงนี้ อาจรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีปัญหาในการนอนหลับ จนพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งยังอาจรู้สึกว่าตัวเองซุ่มซ่ามมากกว่าปกติอีกด้วย เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเอ็นต่าง ๆ คลายตัวมากขึ้น ข้อต่อต่าง ๆ จึงอาจไม่แน่นกระชับเหมือนเดิม ส่งผลให้เสียสมดุลได้ […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 นี้ ลูกน้อยมีขนาดตัวเท่ากับลูกฟักทองน้ำเต้า โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.1 กิโลกรัม และสูงประมาณ 38.1 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ลูกน้อยยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงแรก ๆ อาจเป็นการเตะต่อยที่รู้สึกได้ง่าย คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถตรวจสอบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เบื้องต้นได้ ด้วยการนับการเคลื่อนไหวของลูก หากภายใน 2 ชั่วโมง นับการเคลื่อนไหวของลูกได้น้อยกว่า 10 ครั้ง หรือทารกเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติมาก ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อให้คุณหมอช่วยตรวจสอบว่า ทารกในครรภ์ยังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง อาการปวดแสบร้อนกลางอก กรดไหลย้อน ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เป็นต้น ยังคงสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 29 โดยหนึ่งในสาเหตุหลัก ก็คือ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ทำให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายคลายตัว รวมทั้งระบบทางเดินอาหารด้วย การคลายตัวนี้อาจทำให้เกิดแก๊ส จนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายได้ นอกจากนี้ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นยังอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นริดสีดวงทวาร และมีอาการเส้นเลือดบวมในบริเวณลำไส้เกิดขึ้น แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะอาการเหล่านี้อาจหายไปได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ อาจรู้สึกว่าทารกในครรภ์เคลื่อนไหวน้อยลง นั่นเป็นเพราะทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น และมีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวน้อยลง […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 นี้ ลูกน้อยมีขนาดตัวเท่ากับขนุน โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม และสูงประมาณ 45 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ทารกในครรภ์สัปดาห์นี้จะเติบโตช้าลง ซึ่งคุณแม่อาจสังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่ลดลงหรือคงที่ การที่ลูกน้อยมีกล้ามเนื้อสำหรับใช้ในการดูดและกลืนน้ำคร่ำ ทำให้มีของเสียต่าง ๆ สะสมอยู่ในลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ที่ปล่อยออกมาจากลำไส้ เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเส้นขนอ่อนในของเสียที่จะกลายเป็นขี้เทา หรืออุจจาระครั้งแรกของทารกในที่สุด ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง การที่ทารกในครรภ์เคลื่อนตัวมาอยู่แถวกระดูกเชิงกราน ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะนี้จึงยิ่งปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ทราบเพศของทารกน้อยแล้ว หากลูกเป็นเด็กผู้ชายอาจต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการขลิบ ซึ่งหมายถึง การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กชายออก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังคลอด 2-3 สัปดาห์ การขลิบมีประโยชน์สุขภาพมากมาย เช่น ช่วยให้ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันปัญหาในการปัสสาวะ ป้องกันโรคมะเร็งอวัยวะเพศชาย การพบคุณหมอ ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง คุณหมอจะแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูก เช่น สัญญาณของการคลอดลูก การเตรียมความพร้อมก่อนคลอด เพื่อให้สามารถเตรียมตัวให้พร้อม อย่างไรก็ตาม สัญญาณการคลอดลูกอาจจะไม่เกิดขึ้นตามปกติ ฉะนั้น หากมีข้อสงสัยอะไร ควรปรึกษาคุณหมอทันที การทดสอบที่ควรรู้ การดูแลสุขภาพก่อนคลอดจะยังคงดำเนินต่อไป เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดคลอดแล้ว คุณหมออาจทำการตรวจกระดูกเชิงกรานตามปกติ เพื่อดูท่าทางของทารกในครรภ์ว่าตอนนี้อยู่ในท่าเอาหัวลง […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40 เป็นสัปดาห์ที่ทารกในครรภ์พร้อมออกมาลืมตาดูโลกในวินาทีใดก็ได้ แต่ในบางราย ทารกอาจอยู่ในครรภ์นานกว่านั้นแต่มักไม่เกิน 42 สัปดาห์ คุณหมอจะหาวิธีดูแลครรภ์และบุตรให้ปลอดภัย ทั้งนี้ ทารกในครรภ์มักมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกใหญ่ น้ำหนักตัวประมาณ 3.50 กิโลกรัม และความยาวประมาณ 50.8 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า [embed-health-tool-bmi] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40 นี้ ทารกมักมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกใหญ่ โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3.50 กิโลกรัม ประมาณ 50.8 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า หลังจากรอคอยจะได้เห็นหน้าลูกน้อยมานานหลายสิบสัปดาห์ ทารกในสัปดาห์ที่ 40 นี้อาจคลอดได้ทุกเมื่อ มีผู้หญิงเพียง 5% เท่านั้นที่คลอดในช่วงที่ประมาณการณ์เอาไว้ และหากเป็นท้องแรก ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่อาจต้องรออีกประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่านพ้นวันครบกำหนดคลอดไปแล้ว ลูกน้อยจึงจะลืมตาดูโลก ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มักจะมีศีรษะแหลม หรือดูผิดรูปทรง ไม่ได้กลมสวยอย่างที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องการ แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะหลังจากนั้นอีก 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน ศีรษะของทารกน้อยก็จะกลับมาดูกลมได้รูปดังเดิม ส่วนปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด เช่น สีผิวดูไม่สม่ำเสมอ ผิวแห้งเป็นหย่อม […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 นี้ ลูกน้อยของคุณจะมีขนาดตัวเท่ากับฟักทอง โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3.30 กิโลกรัม และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า การ ตั้งครรภ์ ในบางกรณีอาจเกิดปัญหาสายสะดือพันรอบคอทารกในครรภ์ ซึ่งหากเกิดกรณีนี้ อาจต้องใช้วิธีผ่าคลอด เนื่องจากสายสะดือที่พันคอทารกในครรภ์ทำให้เกิดแรงเหนี่ยวรั้งในระหว่างทำคลอด แต่คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างใด เว้นแต่ว่าสายสะดือจะมัดเป็นปมแน่น แต่กรณีนี้ก็เกิดขึ้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของการตั้งครรภ์เท่านั้น ในสัปดาห์ที่ 39 ของการ ตั้งครรภ์ นี้ ไขหุ้มทารกที่เคลือบผิวทารกในครรภ์อยู่ จะหลุดออกไปเกือบหมดแล้ว และทารกจะมีขนอ่อนขึ้นทั่วร่างกาย ส่วนร่างกายของคุณแม่จะทำหน้าที่ส่งสารภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยในครรภ์ผ่านทางรก ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกน้อยสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ในช่วง 6-12 เดือน หรือช่วงขวบปีแรกของการใช้ชีวิต ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง สัญญาณที่แสดงว่าคุณแม่ ตั้งครรภ์ พร้อมคลอดและสามารถสังเกตได้ง่ายก็คือ ถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกว่าน้ำเดิน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อนับจากนี้ไป เวลาที่มีน้ำเดิน คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีน้ำคร่ำไหลทะลักออกมา ในขณะที่คุณแม่บางคนอาจมีน้ำคร่ำค่อย ๆ […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 นี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากับมะละกอลูกใหญ่ โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.7 กิโลกรัม และสูงประมาณ 47 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า บัดนี้ทารกน้อยดูอ้วนจ้ำม่ำขึ้นมาแล้ว แก้มของลูกน้อยมีไขมันสะสม และมีกล้ามเนื้ออันทรงพลัง ที่จะช่วยให้ทารกน้อยสามารถดูดนม ดูดนิ้วได้อย่างคล่องแคล่ว แผ่นกระดูกที่จะกำลังก่อตัวขึ้นเป็นกะโหลกศีรษะ อาจเคลื่อนซ้อนทับกันในขณะที่ศีรษะของทารกน้อยอยู่ข้างในเชิงกราน ลักษณะที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “การเปลี่ยนรูปศีรษะ” ซึ่งจะช่วยให้ทารกสามารถผ่านออกไปทางช่องคลอดได้ง่ายขึ้น ตอนคลอด ศีรษะของทารกน้อยบางคนอาจดูแหลมผิดปกติ หรือผิดรูป แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะหลังจากนั้นอีก 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน ศีรษะของทารกน้อยก็จะกลับมาดูกลมได้รูปดังเดิม ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในขณะที่ลูกน้อยกินเนื้อที่ในครรภ์มากขึ้นนั้น ก็อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด จุกเสียด แม้จะกินอาหารในปริมาณปกติก็ตาม ฉะนั้น ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นหลายมื้อขึ้น เช่น เปลี่ยนจากกินอาหารวันละ 3 มื้อเป็นวันละ 5 มื้อ และกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อยลง เมื่ออยู่ในช่วง 2-3 วันหลังคลอด […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35 นี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกเล็ก โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.3 กิโลกรัม และสูงประมาณ 46 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ตัวของทารกน้อยในครรภ์โตขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ในการเคลื่อนไหวจึงน้อยลง คุณแม่จึงอาจรู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้น แต่ความถี่ของการเคลื่อนไหวอาจน้อยลง หากลูกน้อยอยู่ในท่าเอาศีรษะลง ศีรษะของเขาจะอยู่กระดูกหัวหน่าวของคุณแม่ ซึ่งเป็นท่าเตรียมพร้อมรอคลอด ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ตอนนี้มดลูกที่มีกระดูกเชิงกรานปกป้องเอาไว้ จะขยายใหญ่ขึ้นจนถึงระดับใต้ซี่โครงของคุณ ลูกน้อยในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ขึ้นจนกินเนื้อที่ในมดลูกมากกว่าน้ำคร่ำ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกำลังเบียดหรือกดทับอวัยวะอื่นๆ ซึ่งนั่นคือเหตุผลว่าทำไมคุณถึงปวดปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือระบบทางเดินอาหารทำงานได้ไม่ปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นอาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ต้องพบเจอ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร ควรระมัดระวังอะไรบ้าง หลายคนอาจคิดว่าทารกน้อยร้องไห้ครั้งแรกเมื่อลืมตาดูโลก แต่มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ทารกในครรภ์มีการแสดงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับการร้องไห้ เช่น คางสั่น อ้าปากกว้าง หายใจเข้าถี่ๆ หลายครั้งก่อนจะหายใจออก คล้ายสะอื้น จึงสันนิษฐานได้ว่า ทารกอาจร้องไห้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้วก็เป็นได้ การพบคุณหมอ ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่แล้วทารกน้อยจะคลอดในช่วงอายุครรภ์ 37-41 สัปดาห์ แต่หากทารกอยู่ในครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วันขึ้นไป ถือว่าเป็น “การตั้งครรภ์เกินกำหนด” ซึ่งมีความเสี่ยงกับทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ หากเกิดกรณีนี้ คุณแม่ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อจะได้ตรวจหาสาเหตุและวิธีรับมือต่อไป การทดสอบที่ควรรู้ ในช่วงเนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องเข้าพบคุณหมอบ่อยขึ้น และต้องตรวจสอบร่างกายหลายรายการเป็นพิเศษ […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 นี้ ลูกน้อยมีขนาดตัวเท่ากับผลแคนตาลูป โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.15 กิโลกรัม และสูงประมาณ 45 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 34 จะเริ่มมองเห็นสี ซึ่งสีแรกที่ทารกน้อยมองเห็น ก็คือ สีแดง ซึ่งเป็นสีในครรภ์นั่นเอง เล็บจะยาวพ้นปลายนิ้วแล้ว ไขหุ้มทารก หรือไขทารกแรกเกิด (Vernix caseosa) ที่เคลือบปกป้องผิวของทารกน้อยอยู่เริ่มแข็งตัวขึ้น ก่อนจะหลุดร่อนออกไปในอีกไม่กี่สัปดาห์หน้า ทารกในสัปดาห์นี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าพร้อมคลอดแล้ว โดยคุณหมอจะสามารถตรวจสอบได้ว่า ทารกในครรภ์หมุนตัวกลับศีรษะมาทางช่องคลอด ที่เรียกว่า ทารกท่าศีรษะ (Vertex or Cephalic Presentation) หรือทารกไม่กลับศีรษะ ที่เรียกว่า ทารกท่าก้น (Breech Presentation) แต่หากคุณแม่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว ทารกในครรภ์อาจจะกลับหัวเพียงไม่กี่วัน หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอดก็ได้ แคลเซียมถือเป็นสารอาหารสำคัญมากสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากร่างกายคุณแม่ไปเสริมสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรได้รับแคลเซียมมากกว่าเดิม คือ จากวันละ 500-600 […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม