กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

การออกกำลังกายนั้นมีหลากหลายรูปแบบ หากคุณอยากอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกาย และกำลังมองหาวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเองอยู่ หมวดหมู่ กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น ของเราช่วยคุณได้!

เรื่องเด่นประจำหมวด

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ท่าออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดหลังช่วงล่าง แบบใดช่วยได้บ้างนะ

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Lower back pain) เป็นอาการปวดหลังที่เกิดจากการบาดเจ็บ เคล็ดขัดยอกของกล้ามเนื้อ หรืออาจจะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวที่ผิดท่าทาง การเปลี่ยนท่านอนช่วยให้อาการปวดหลังล่างดีขึ้นได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดหลังล่าง และช่วยป้องกันอาการปวดหลังช่วงล่างได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มี ท่าออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดหลังช่วงล่าง มาให้ได้ลองทำตามกันค่ะ อาการปวดหลังช่วงล่าง คืออะไร อาการปวดหลังล่าง (Lower back pain) คืออาการปวดที่บริเวณเอว สะโพก โดยจะมีอาการปวดหลังล่างเมื่อมีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เคลื่อนไหวหรือยืนตัวตรงได้ยาก อาการปวดหลังล่างเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บ กล้ามเนื้ออักเสบ เคล็ดขัดยอก ซึ่งอาการปวดหลังล่างสามารถบรรเทาได้ด้วยการ เปลี่ยนท่านอนหรือการออกกำลังกาย อาการปวดหลังช่วงล่าง เกิดจากอะไรได้บ้าง เคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้อและเอ็นด้านหลังสามารถยืดหรือเกิดอาการฉีกขาดได้หากทำกิจกรรมมากไป ทำให้เกิดอาการปวด ตึงบริเวณหลังส่วนล่าง รวมถึงทำให้กล้ามเนื้อกระตุกได้ การพักผ่อนหรือการทำกายภาพบำบัดสามารถลดอาการเหล่านี้ได้ หมอนรองกระดูกบาดเจ็บ เมื่อหมอนรองกระดูกได้รับบาดเจ็บ หมอนรองกระดูกเคลื่อน จนกระดูกอ่อนรอบ ๆ ไปกดทับไขสันหรือรากประสาทถูกกด ถึงสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงล่างได้ ปวดร้าวจากสะโพกร้าวลงขา อาการปวดร้าวจากสะโพกนั้น อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนจนไปกดทับเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังกับขา ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดสะโพก เกิดการบาดเจ็บ เมื่อได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะหกล้ม อาการบาดเจ็บจากกีฬา หรือได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ จนทำให้กระดูกสันหลังเสียหาย กระดูกสันหลังหัก หมอนรองกระดูกแตก จะทำให้เกิดอาการปวดหลังจากการได้รับบาดเจ็บในทันที […]

สำรวจ กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ผู้ป่วย มะเร็งรังไข่ ออกกำลังกาย แบบไหนจึงจะเหมาะสม

การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ควรที่จะออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับโรค แต่การออกกำลังกายก็มีรูปแบบที่มากมาย และแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ การวิ่ง การปั่นจักรยาน หรือการเตะฟุตบอล และที่สำคัญเราต้องเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผุ็ที่ป่วยมะเร็งก็สามารถเลือกออกกำลังกายได้เช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ ชวนไปดูว่า ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ออกกำลังกาย อย่างไรดี ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ออกกำลังกาย มีประโยชน์อย่างไร การออกกำลังกาย (Exercise) มีประโยชน์มากมายหลายอย่างที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่จะได้รับ อย่างแรกสุดก็คือ มันช่วยแก้ไขอาการอ่อนเพลียของคุณให้ดีขึ้นได้ เพราะความจริงแล้ว การออกกำลังกายแบบแอโรบิกสามารถลดความต้องการใช้ยา เพื่อเพิ่มการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เสียหายไป เนื่องจากการทำเคมีบำบัด และนำไปสู่อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงอย่างมาก ที่ผู้ป่วยมักรู้สึกในขณะที่รับการบำบัดนี้ อย่างที่สองก็คือ การออกกำลังกายสามารถช่วยคุณพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ต่อสู้กับการสูญเสียกล้ามเนื้อ และเพิ่มมวลกระดูก เนื่องจากถ้าคุณต้องทำเคมีบำบัดหรือฮอร์โมนบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งรังไข่ คุณก็มักเสี่ยงอย่างมากต่อการสูญเสียกล้ามเนื้อและมวลกระดูก อย่างสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การออกกำลังกายสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นได้ มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า ขณะออกกำลังกาย คุณจะรู้สึกดีขึ้น คุณอาจไม่รู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรงอีกต่อไป และอาจรู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้ด้วย คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรู้สึกกลัว หรือความรู้สึกเหมือนสติแตก ยามที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ แต่การออกกำลังกายจะสามารถช่วยทำให้คุณรู้สึกสงบขึ้น และสามารถรับมือกับความกลัวเหล่านั้นได้ เคล็ดลับสำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ออกกำลังกาย อย่างไรดี เคล็ดลับการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยมะเร็งไข่ มีดังนี้ ปรับปรุงแผนการออกกำลังกาย ไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก หากคุณจะออกกำลังกายแบบเดิมซ้ำกันไปเรื่อย ๆ แทนที่จะทำเช่นนั้น ลองวางแผนการออกกำลังกายที่สามารถทำให้อาการของคุณดีขึ้นได้ และสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ในกรณีที่คุณต้องรับการบำบัดมะเร็งด้วยวิธีการบางอย่าง […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

สุขภาพหัวใจ แข็งแรงได้ด้วยการออกกำลังกายแบบไหนบ้าง

สุขภาพหัวใจ ควรได้รับการดูแลอยู่เสมอ เพราะหัวใจเป็นส่วนกล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตและออกซิเจนให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง หากละเลยอาจก่อให้เกิดโรคร้ายหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้ วิธีเสริมสร้างสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการควบคุมน้ำหนักตัวแล้ว อีกหนึ่งวิธีได้แก่ การออกกำลังกาย [embed-health-tool-heart-rate] สุขภาพหัวใจ และการออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ยังดีต่อสุขภาพหัวใจ ดังต่อไปนี้ 1. การออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Exercises) หรือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายฝึกความอดทนซึ่งทำให้หายใจเร็วขึ้น และหัวใจเต้นเร็วขึ้นด้วย  การออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือดนั้น จะใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนมากกว่าปกติ การออกกำลังกายวิธีนี้ จึงช่วยในให้หัวใจและปอดแข็งแรง ช่วยผ่อนคลายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้รู้สึกอารมณ์ดี ลดอาการผื่นคัน ทำให้คอเลสเตอรอล HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลดีมีปริมาณสูงขึ้น เมื่อออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือดไปนาน ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดอุดตัน และปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจได้ และถ้ากำลังพักฟื้นจากอาการหัวใจล้มเหลว การออกกำลังกายบริหารหัวใจและหลอดเลือด อาจช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มต้นออกกำลังกาย ประเมินภาวะสุขภาพเพื่อรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมแก่ตนเอง การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ได้แก่ การว่ายน้ำ การเดินบนลู่ เต้น วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน เดินขึ้นบันไดที่ทำงาน เพื่อดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง ควรออกกำลังกายด้วยวิธีนี้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ 2. การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน” ช่วยให้หัวใจความแข็งแรง กระชับกล้ามเนื้อ และมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก พัฒนาการจัดระเบียบร่างกาย และควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยมีปัญหาหัวใจล้มเหลว ไม่ควรออกกำลังกายชนิดเพิ่มความแข็งแรงประเภทนี้ ตัวอย่างของการออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง ได้แก่ การยกน้ำหนัก การวิดพื้น และการใช้ท่าบริหารร่างกายแบบที่ใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้าน นักกายภาพบำบัด หรือครูฝึกส่วนตัว […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

แค่ออกกำลังกายด้วย การเดิน ก็ได้ประโยชน์สุขภาพมากมายกว่าที่คิด!

การเดินออกกำลังกาย สามารถทำได้ง่ายในทุกเพศทุกวัย หากคุณต้องการออกกำลังกาย แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ให้ลุกขึ้นและออกไปเดินอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน คุณก็จะได้รับประโยชน์มากมายหลายอย่างแล้ว การเดิน อย่างไร จึงจะเป็นการออกกำลังกาย การออกกำลังกายให้ได้ประโยชน์ขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบได้แก่ ความหนักในการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกาย ความบ่อยในการออกกำลังกาย เนื่องจากการเดินเป็นการออกกำลังกายที่มีความหนักน้อยกว่าการวิ่ง ดังนั้น คุณจึงควรใช้เวลาในการเดินมากกว่าการวิ่ง และเดินให้บ่อยขึ้น นอกจากนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าควรออกกำลังกายแบบแอโรบิคด้วยความหนักระดับปานกลาง (moderate-intensity) อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายอย่างหนักมาก (vigorous-intensity) อย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่และรักษาสุขภาพ ดังนั้น การออกกำลังกายด้วยการเดิน จึงควรเป็นการเดินเร็ว (brisk walking) เนื่องจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลว่า การเดินเร็วหมายถึงการเดิน 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือการเดินเร็วด้วยระยะทาง 1 กิโลเมตรภายในเวลา 12 นาที จะถือเป็นการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลาง (moderate-intensity exercise) ประโยชน์ของ การเดินออกกำลังกาย ช่วยลดความอยากกินของหวาน งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ ประเทศอังกฤษ พบว่าการเดิน 15 นาทีต่อวัน สามารถช่วยลดความอยากกินช็อกโกแลตได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการเดินช่วยลดความอยากกินของหวาน ป้องกันโรคข้อต่ออักเสบ งานวิจัยพบว่า การเดินช่วยลดความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับอาการข้ออักเสบ และการเดิน 8-10 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ สามารถช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบได้ ทำให้ไม่ป่วยง่าย งานวิจัยที่ทำการศึกษาในผู้ชายและผู้หญิงจำนวน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน