backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 หรือประมาณ 6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจกำลังซุกซน ชอบขยับตัว เรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสแสดงออกอย่างเต็มที่ ไม่จำกัดจินตนาการ แต่ก็ควรเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ลูกมีอายุครบ 6 เดือนแล้ว นี่เป็นช่วงครึ่งทางก่อนจะก้าวเข้าสู่อายุหนึ่งขวบ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ วันเวลาที่ใช้กับลูกน้อยนั้นมีค่าและผ่านไปเร็วมาก จึงควรเพลิดเพลินไปกับทุกเวลานาที

    พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 25

    • ตั้งศีรษะให้ตรงเวลานั่งตัวตรงหรือนั่งพิงอะไร
    • เริ่มพูดเป็นคำ  ๆ ที่มีเสียงสูงต่ำได้แล้ว

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    เมื่อลูกเริ่มกระตือรือร้นที่อยากเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ก็ควรให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว โดยเลือกผ้านุ่ม  ๆ จะได้ไม่เสียดสีเวลาลูกเคลื่อนไหว เสื้อผ้ายืด  ๆ หลวม  ๆ และมีอาการถ่ายเทได้ จะช่วยให้ลูกน้อยที่กำลังซนสามารถเคลื่อนไหวไปทั่วห้องได้ง่ายขึ้น

    ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าเด็กที่มีเนื้อหยาบ  ๆ หรือมีตะเข็บที่ทำให้คัน พร้อมกับมีสายยาว มีกระดุม หรืออะไรก็ตามที่อาจเข้าไปปิดกั้นทางเดินหายใจ หรือสร้างความอึดอัดในขณะนอนหลับ คลาน หรือเล่นอะไร

    ลูกน้อยจะรู้ว่าพฤติกรรมอะไรหรือสิ่งใดที่จะทำให้มีความสุข และอะไรที่ทำให้ไม่ชอบใจ ฉะนั้น นับแต่นี้ไปอีกหลายปี ลูกจะทำอะไรเพื่อเรียกร้องความสนใจจาก พอโตขึ้นลูกก็มีแนวโน้มจะทำอะไรแผลง  ๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจจาก อย่าลืมโต้ตอบกลับไปในทางที่ดีเมื่อลูกน้อยทำตัวดี เพราะจะเป็นการฝึกให้ลูกรู้เมื่อกระทำผิดอะไร

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    แพทย์จะทำการตรวจสอบทางร่างกายโดยรวม ใช้เทคนิคการวินิจฉัยและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกน้อย แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางรายการ

    • ซักถามเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของและลูกรวมทั้งคนในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน การนอน พัฒนาการโดยรวมของลูกน้อย รวมทั้งวิธีการดูแลลูกน้อย
    • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดขนาดศีรษะลูกน้อย ตรวจสอบลักษณะหน้าตาทั้งหมดของลูกน้อยนับตั้งแต่คลอดออกมา

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    หอบหืด

    หอบหืดเป็นโรคเรื้อรังที่มักเกิดในเด็ก เกี่ยวข้องกับการอักเสบและตีบตันของระบบทางเดินหายใจ จนทำให้หายใจได้ลำบาก คำว่า หอบหืด มักใช้อธิบายอาการหายใจแรง ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ ละอองเกสร สปอร์เชื้อรา และเชื้อโรคพยาธิจากสัตว์ ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งควันบุหรี่หรือไอเสียด้วย

    การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอาจเกิดจากเชื้อไวรัส เนื่องจากไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และการสูดอากาศเย็นจัดอาจทำหอบหืดมีอาการกำเริบขึ้นได้ ถึงแม้ว่าหอบหืดอาจมีอาการรุนแรงและเรื้อรัง แต่หากดูแลดี  ๆ เด็กส่วนใหญ่ก็สามารถกลับมามีสุขภาพดีและทำกิจกรรมตามปกติได้ ความรุนแรงของโรคมักลดลงเมื่อโตขึ้นและทางเดินหายใจขยายใหญ่ขึ้น

    ลูกอาจทรมานจากโรคหอบหืดถ้ามีอาการไอมากเกินไป โดยเฉพาะตอนกลางคืน หรือมีอาการแพ้ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเหล่านี้ เวลาที่หอบหืดกำเริบมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

    • หายใจถี่
    • หายใจแรง หรือมีเสียงลมลอดออกมา เวลาที่ลูกหายใจ
    • ไออย่างต่อเนื่อง
    • กล้ามเนื้อบริเวณซี่โครงจะมีการบีบรัดตัว
    • จมูกบวมจะบวมขึ้นในการหายใจแต่ละครั้ง
    • อ่อนเพลีย
    • ซูบซีด

    ถ้าคิดว่าลูกมีอาการหอบหืดหรือหายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลาที่ลูกน้อยรู้สึกหายใจไม่ออก มองเห็นซี่โครงหรือท้องยุบเมื่อหายใจเข้า หรือหายใจได้ลำบาก ก็ควรโทรพาเข้าห้องฉุกเฉินทันที และควรขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน เมื่อปากและนิ้วของลูกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ หรือมีอาการเซื่องซึม กระวนกระวาย และควบคุมตัวเองไม่ได้

    โดยปกติแล้ว เด็กที่เป็นหวัดอาจมีอาการหายใจแรง แต่การไอเรื้อรังในช่วงกลางคืนอาจเป็นสัญญาณของโรคหอบหืด ควรติดต่อแพทย์ถ้าลูกน้อยมีปัญหาในการนอนอันเนื่องมาจากการหายใจแรงหรือไอ

    ถ้าลูกน้อยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืด แพทย์จะแนะนำวิธีการควบคุมอาการหอบหืด อาจจำเป็นต้องหาสาเหตุของอาการหอบหืด เช่น ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือควันบุหรี่ ลูกอาจต้องใช้ยาพ่น เพื่อทำให้รู้สึกเย็น เวลานอนก็ควรยกศีรษะและคอให้ตั้งขึ้น 30 องศาหรือมากกว่านั้น

    การทดสอบการแพ้อาจมีประโยชน์ เพราะจะทำให้รู้สาเหตุ และสามารถขจัดตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ออกไป จากสภาพแวดล้อมได้ เช่น อาจต้องเอาพรม ผ้าม่าน หรือตุ๊กตายัดนุ่นออกไปจากห้อง เพื่อลดฝุ่นหรือการกระจายของฝุ่น อาจใช้ยาในการรักษา ซึ่งประกอบไปด้วยยาขยายหลอดลม เพื่อเปิดทางให้อากาศเข้าไปได้สะดวกขึ้น รวมทั้งยาแก้อักเสบ เพื่อลดการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ และถ้ามีการติดเชื้อก็อาจต้องใช้ยาปฎิชีวนะ

    ความเสี่ยงของการไหลตายเมื่ออยู่ลำพังในตอนกลางคืน

    ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยว่าการเปลี่ยนท่านอนให้เด็ก จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไหลตายในเด็กได้ หรือถ้าเด็กพลิกตัวได้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะไหลตายได้เช่นกัน และถ้าเด็กรู้วิธีพลิกตัว ก็จะช่วยป้องกันตนเองจากปัญหาที่เกิดจากการนอนคว่ำ ที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการไหลตายในเด็กมากขึ้น

    ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้จับลูกน้อยนอนหงายจนกว่าจะถึงอายุหนึ่งขวบ และคอยดูแลอย่าให้ลูกน้อยเปลี่ยนท่านอนในตอนกลางคืน นอกจากนี้ ก็ต้องแน่ใจว่าที่นอนของลูกนั้นมีความปลอดภัย และเป็นไปตามคำแนะนำในการป้องกันโรคนี้ เช่น ใช้แต่ฟูกและหลีกเลี่ยงหมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว และของเล่น

    ใช้อ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ให้ปลอดภัย

    เพื่อให้แน่ใจว่าการอาบน้ำของลูกน้อยนั้นไม่ได้สนุกสนานอย่างเดียวแต่ต้องมีความปลอดภัยด้วย จึงควรปฎิบัติตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้

    • รอให้ลูกนั่งได้อย่างมั่นคงก่อน ทั้งและลูกจะรู้สึกสบายใจในอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ได้มากขึ้น ถ้าลูกน้อยสามารถนั่งชันศีรษะได้โดยไม่ต้องมีอะไรคอยพยุง
    • นั่งในท่าที่ปลอดภัยในยามเปียกน้ำ เนื่องจากลูกน้อยมีโอกาสลื่นล้มได้ง่าย ถึงแม้การล้มในอ่างจะไม่มีอันตรายอะไรมาก แต่แต่ก็ควระมัดระวังเอาไว้ก่อนดีกว่า
    • เตรียมผ้าเช็ดตัว ผ้าขัดผิว สบู่ แชมพู ของเล่นไว้ให้พร้อมก่อนจับตัวลูกลงในอ่างอาบน้ำ
    • อยู่ข้าง  ๆ ลูกน้อยตลอดเวลา ต้องจับตาดูลูกอาบน้ำทุกครั้งจนกว่าลูกจะอายุได้ห้าขวบ
    • ตรวจสอบน้ำในอ่าง ใช้ข้อศอก ข้อมือ หรือเครื่องมือวัดความร้อนในการตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำ ก่อนจะจับตัวลูกน้อยลงในอ่างอาบน้ำ

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    เด็กตื่นเร็ว

    ถ้าลูกน้อยตื่นเร็วเกินไป ก็อาจใช้วิธีเหล่านี้ช่วยทำให้ลูกตื่นสายขึ้น

    • อย่าปล่อยให้แสงแดดยามเช้าลอดเข้ามาในห้อง
    • ป้องกันเสียงจากเครื่องยนต์
    • ให้ลูกเข้านอนดึกกว่าเดิม
    • ให้ลูกได้นอนต่อในตอนกลางวัน
    • ลดการงีบในระหว่างวัน
    • ให้ลูกรอสักระยะ
    • เล่นเกมกับลูก
    • ให้ลูกน้อยนอนรอจนกว่าจะถึงเวลากินข้าวเช้า

    การอาบน้ำในอ่างใหญ่

    เพื่อให้ลูกน้อยอาบน้ำอย่างมีความสุข ก็ควรปฎิบัติตามเคล็ดลับต่อไปนี้

    • ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำด้วยของเล่นที่ลูกคุ้นเคย
    • ให้ลูกน้อยได้วิ่งเล่นก่อนอาบน้ำ
    • ใช้อะไรทำหน้าที่เป็นตัวแทน เช่น ของเล่นรูปสัตว์ ตุ๊กตาที่โดนน้ำได้
    • อย่าปล่อยให้ลูกน้อยรู้สึกหนาวเกินไป
    • ให้ลูกถือสิ่งของเอาไว้ในมือ
    • ให้ลูกใช้มือตีน้ำให้แตกกระจาย
    • สร้างความสนิทสนมกับลูกในขณะอาบน้ำ
    • อย่าอาบน้ำหลังรับประทานอาหาร
    • อย่าเปิดท่อน้ำทิ้งจนกว่าลูกจะออกจากอ่างแล้ว
    • จงใช้ความอดทน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา