เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กทารก Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมเรื่องน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มาไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อาหารเพิ่มน้ำนม เมนูอร่อย เพิ่มน้ำนมแม่

หลังคลอดร่างกายของแม่ต้องการสารอาหารช่วยฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการผลิตน้ำนมให้มีอย่างเพียงพอ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยสร้างน้ำนมคุณภาพที่ดีต่อการเจริญเติบโตของทารก แต่บางครั้งคุณแม่อาจมีน้ำนมไม่เพียงพอ การเลือกเมนูที่เหมาะสมด้วย อาหารเพิ่มน้ำนม จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยดูแลสุขภาพคุณแม่ให้แข็งแรงและมีน้ำนมให้ลูกน้อยดื่มกิน [embed-health-tool-vaccination-tool] โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแม่ให้นม ในระยะให้นมบุตร เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทารกจะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การเลือกรับประทานอาหารของแม่จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสารอาหารนั้นต้องเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและเสริมสร้างร่างกายของแม่ให้สมบูรณ์ รวมถึงให้แม่มีพลังงานอย่างเพียงพอใช้ในการผลิตน้ำนม และสร้างน้ำนมแม่ในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการของทารก โดยแบ่งได้ ดังนี้  พลังงาน : แม่ให้นมควรได้รับพลังงานจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม ข้าวหรือแป้งชนิดอื่น ๆ โปรตีน : ระยะให้นมบุตร โปรตีนจะช่วยในการสร้างน้ำนม ซ่อมแซมเซลล์และฟื้นฟูร่างกายแม่หลังคลอด ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาเสริมด้วย เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่ ผัก ใบเขียว ถั่ว ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีวิตามินซีช่วยให้เหล็กดูดซึมได้ดี แคลเซียม : สารอาหารที่สำคัญในการเสริมสร้างน้ำนมแม่ ให้ทารกนำไปสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม และปลาเล็กปลาน้อย    วิตามินเอ : ช่วยในการสร้างน้ำนม เช่น ไข่แดง ผักใบเขียวและผักสีเหลือง ผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม […]

สำรวจ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่าให้นม ท่าไหนดีที่เหมาะสมทั้งคุณแม่และลูกน้อย

ท่าให้นม เป็นท่านั่งสำหรับคุณแม่ที่ต้องเน้นลักษณะท่าทางที่ผ่อนคลาย เนื่องจากเป็นการนั่งที่อาจต้องใช้เวลานาน หากนั่งผิดท่านอกจากจะไม่สบายตัวแล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพหลังและสุขภาพด้านอื่น ๆ ในระยะยาว ดังนั้น คุณแม่จึงควรเลือกท่าให้นมที่เหมาะสมกับสรีระ รวมทั้งต้องคำนึงถึงท่าทางการดื่มนมของลูกน้อยด้วย เพื่อลูกจะได้ดื่มนมอย่างถูกวิธีไม่เกิดปัญหาการสำลัก แก๊สในกระเพาะอาหาร หรือปัญหาอื่น ๆ ตามมา [embed-health-tool-due-date] ท่าให้นมที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ 1. ท่าลูกนอนขวางตัก (Cradle Hold) ท่านี้เป็นท่าให้นมที่พบมากที่สุด โดยคุณแม่จะนั่งตัวตรง หลังพิงเก้าอี้หรือหมอนตามความถนัด ร่วมกับการงอแขนแล้วประคองตัวลูก โดยให้ศีรษะของลูกวางอยู่ที่ด้านในของข้อศอก ใช้ฝ่ามือของแขนข้างเดียวกัน ประคองก้นของลูกเอาไว้ ให้ลำตัวของลูกหันเข้ามาลำตัวของแม่ ซึ่งหน้าท้องของเด็กต้องอยู่แนบกับหน้าท้องของแม่ จากนั้นยกลูกขึ้นหาเต้านม โดยใช้มืออีกข้างหนึ่งเพื่อจับเต้านม เพื่อให้หัวนมอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับปากของลูก เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ง่ายขึ้น 2. ท่าลูกนอนขวางตักแบบประยุกต์ (Cross-cradle hold) ท่านี้คล้ายกับท่าลูกนอนขวางตัก แต่การวางตำแหน่งแขนจะต่างกัน นั่นคือให้ใช้แขนข้างที่ถนัดโอบด้านหลังลูก แล้วใช้มือข้างนั้นประคองศีรษะลูกเอาไว้ พร้อมกับหันตัวลูกเข้าหาลำตัวของแม่ โดยหน้าท้องของเด็ก และแม่อาจต้องแนบชิดกัน หรือหากไม่ถนัด อาจใช้หมอนรองแขน เพื่อช่วยยกตัวลูกให้อยู่ในระดับที่ใกล้กับหัวนมมากขึ้น แล้วใช้มืออีกด้านหนึ่งประคองเต้านมเอาไว้ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยอมหัวนมได้ถนัดขึ้น 3. ท่าอุ้มฟุตบอล (Football Hold) ถือได้ว่าเป็นอีกท่าที่เหมาะสำหรับแม่ที่คลอดลูกด้วยการผ่าท้องคลอด หรือแม่ที่มีขนาดหน้าอกค่อนข้างใหญ่ ท่านี้ลำตัวส่วนล่างของเด็กจะถูกหนีบอยู่ใต้แขนของแม่ คล้ายกับการล็อคลำตัวของเด็กไว้ไม่ให้เคลื่อนขณะให้นม จากนั้นแม่จะใช้มือข้างเดียวกันประคองศีรษะของเด็กเอาไว้ และหันหน้าเด็กเขาหาเต้านม พร้อมนำอีกมือหนึ่งของแม่ประคองเต้านมไว้ร่วม เพื่อให้ลูกดื่มนมจากเต้าคุณแม่ได้ถนัดขึ้น 4. ท่าตะแคงข้าง […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ปั๊มนม ให้ถูกวิธีควรทำอย่างไร และวิธีเก็บน้ำนมแม่ที่เหมาะสม

ปั๊มนม เป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของคุณแม่มือใหม่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่จะต้องกลับไปทำงานหลังครบกำหนดลาคลอด จำเป็นต้องปั๊มนมเก็บเอาไว้ให้ลูกน้อยกินระหว่างวัน คุณแม่มักเริ่มปั๊มนมทันทีหลังจากที่ลูกคลอด โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลซึ่งมักจะมีพยาบาลมืออาชีพคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปั๊มนม นอกจากนั้นแล้ว คุณแม่ควรศึกษาถึงขั้นตอนการปั๊ม การเก็บรักษา และวิธีการนำนมที่ปั๊มเก็บไว้มาให้ลูกน้อยดื่มเพิ่มเติมอีกด้วย ข้อควรรู้ในการ ปั๊มนม เวลาในการปั๊มนม คุณแม่ส่วนใหญ่มักเลือกที่จะปั๊มนมในตอนเช้า แต่ทั้งนี้ เวลาในการปั๊มนมอาจขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณแม่แต่ละคน การปั๊มนมอาจทำหลังจากให้นมลูก 30-60 นาที หรือก่อนให้นมลูกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ภายใน 24 ชั่วโมงคุณแม่อาจปั๊มน้ำนมได้ถึง 8-10 ครั้ง โดยปริมาณนมแม่ที่เหมาะสมคือวันละ 750-1,035 มิลลิลิตร การให้นมลูกไปด้วย ปั๊มนมไปด้วย อาจไม่เหมาะกับคุณแม่บางคน คุณแม่จึงอาจปั๊มนมหลังจากให้นมลูก 1 ชั่วโมงแทน คุณแม่และลูกน้อยแต่ละครอบครัวมีกิจวัตรประจำวันที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรจัดเวลาในการปั๊มนมให้เหมาะกับตัวเอง วิธีปั๊มนม โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่มักเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมตามงบประมาณและความชอบเป็นหลัก และเครื่องปั๊มนมมักมีคู่มือวิธีการใช้มาให้ด้วย แต่โดยหลักๆ แล้ววิธีปั๊มนมทำได้ดังนี้ อ่านคู่มือการใช้เครื่องปั๊มนมให้ละเอียด นั่งในท่าสบายๆ ตรวจสอบอุปกรณ์การปั๊มนมให้เรียบร้อย เครื่องปั๊มนมต้องพอดีกับเต้านมคุณแม่ การปั๊มนม จะคล้ายเวลาให้นมลูก คุณแม่สามารถปรับระดับขณะใช้เครื่องปั๊มนมได้ การปั๊มนม ต้องไม่เจ็บ เวลาปั๊มนมลูกต้องไม่รู้สึกเจ็บ คุณแม่อาจมีความรู้สึกคัดตึงเต้านม หรือรู้สึกไม่สบายตัวได้ แต่ไม่ควรถึงขั้นเจ็บ หากรู้สึกเจ็บ ต้องลองเปลี่ยนที่ปั๊มนม ให้เป็นขนาดที่เหมาะสมกับหน้าอก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

น้ำมะนาวกับคุณแม่ให้นมลูก เครื่องดื่มดี ๆ สำหรับคุณแม่

น้ำมะนาว อาจเป็นเครื่องดื่มโปรดของคุณแม่หลายคน แต่สำหรับ คุณแม่ให้นมลูกอาจมีความกังวลใจว่า การดื่มน้ำมะนาวจะส่งผลเสียต่อลูกหรือไม่ ความจริงแล้ว น้ำมะนาวนอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว ยังอาจเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะกับคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก เนื่องจาก น้ำมะนาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยป้องกันการเสริมของเซลล์ในร่างกาย และช่วยเพิ่มระดับพลังงานให้คุณแม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้การไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้คุณภาพของน้ำนมดีขึ้น น้ำมะนาวกับคุณแม่ให้นมลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร น้ำมะนาวเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดื่มน้ำมะนาวในช่วงให้นมลูกอาจช่วยกระตุ้นและสร้างความสดชื่นให้ร่างกาย สำหรับคุณแม่ที่อาจรู้สึกเหนื่อยในระหว่างการเลี้ยงลูกเล็ก และน้ำมะนาวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยป้องกันการเสริมของเซลล์ในร่างกาย และช่วยเพิ่มระดับพลังงานให้คุณแม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้การไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้คุณภาพของน้ำนมดีขึ้น คุณแม่อาจดื่มน้ำมะนาวคั้นสดหรืออาจผสมกับน้ำ เพื่อให้รสชาติเบาบางลงก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มดื่มน้ำมะนาว คุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกว่า มีอาการแพ้อะไรเกิดขึ้นเนื่องจากการดื่มน้ำมะนาวหรือไม่ หากลูกมีอาการแพ้ควรหยุดดื่มน้ำมะนาว และพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นทันที ประโยชน์ของการดื่มน้ำมะนาว น้ำมะนาวมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพดังนี้ อาจช่วยสุขภาพโดยรวมดีขึ้น น้ำมะนาวอาจดีต่อสุขภาพของคุณแม่และลูก โดยวิตามินและแร่ธาตุในน้ำมะนาว เช่น วิตามินซี อาจช่วยให้คุณแม่แข็งแรงขึ้น ทั้งยังอาจช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สุขภาพยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์เต็มที่ อาจช่วยเพิ่มน้ำนม การดื่มน้ำมะนาวอาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมาได้ดีขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้น้ำนมที่ถูกผลิตออกมามีคุณภาพ เหมาะสมแก่การดูแลสุขภาพของลูก อาจดีต่อระบบย่อยอาหาร โดยทั่วไป การดื่มน้ำมะนาวอาจดีต่อระบบย่อยอาหาร ทั้งยังอาจช่วยจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เช่น อาการท้องอืด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ซึ่งลูกก็อาจพบปัญหาพวกนี้ได้บ่อยเช่นกัน ดังนั้น ในช่วงที่คุณแม่ยังให้นมลูก อาจการดื่มน้ำมะนาวหรือดื่มน้ำมะนาวผสมในน้ำเปล่า เพื่อช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเหล่านี้ให้กับตัวเองและลูก อาจช่วยให้น้ำนมสะอาด การดื่มน้ำมะนาวอาจช่วยในเรื่องของการทำความสะอาดน้ำนม และอาจทำให้น้ำนมของคุณแม่สะอาดขึ้น เนื่องจาก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ปวดหัวขณะให้นมลูก เกิดจากสาเหตุใด

ปวดหัว เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังให้นมลูก อย่างไรก็ตาม หลังคลอดนั้นคุณแม่มือใหม่อาจจะพบเจอปัญหาที่หลากหลายอย่าง เช่น ปวดเมื่อยร่างกาย เจ็บหัวนมบ้างเป็นบางครั้ง จนอาจกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่มือใหม่ แต่สำหรับอาการ ปวดหัวขณะให้นมลูก อาจเป็นปัญหาแอบแฝงมากกว่าที่คุณแม่หลายคนคิด อาการ ปวดหัวขณะให้นมลูก คืออะไร ปวดหัวขณะให้นมลูก มักจะเกิดตลอดระยะเวลาที่ให้นมลูก แต่อาการนี้มักจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอาการปวดหัวขณะให้นมลูกเกิดจากสาเหตุใด อาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะการเพิ่มขึ้นของระดับของฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการคลอดลูกและให้นมลูก แต่ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากเรื่องอื่นได้เช่นกัน สาเหตุของอาการปวดหัวขณะให้นมลูก กลไกการหลั่งน้ำนม คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการปวดหัวขณะให้นมลูก เนื่องจากกลไกการหลั่งน้ำนมและการปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซิน ในบางครั้งอาการปวดหัวนี้อาจหายไปภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่ก็อาจจะมีอาการเรื้อรังต่อไปจนกว่าลูกจะหย่านม เต้านมคัด อาการเต้านมคัดเป็นผลมาจากการที่ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มมากขึ้น อาการปวดหัวขณะให้นมลูกอาจมีสาเหตุมาจากการที่เต้านมของคุณแม่มีอาการตึง บวม ปวด และมีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปริมาณฮอร์โมนออกซิโทซินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดเดียวกันกับที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ ขาดสารอาหารหรือขาดน้ำ หากคุณแม่รับประทานอาหารไม่เพียงพอหรืองดอาหาร ระดับน้ำตาลในร่างกายจะลดลง ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง และปวดหัวได้ นอกจากนี้ ในน้ำนมยังประกอบไปด้วยน้ำกว่า 88% คุณแม่ที่ให้นมลูกส่วนใหญ่มักจะรู้สึกกระหายน้ำขณะให้นมลูก ดังนั้น การดื่มน้ำไม่เพียงพออาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งนำมาสู่อาการปวดหัว เหนื่อยล้า คุณแม่มือใหม่อาจเหนื่อยล้าและนอนไม่พอเนื่องจากต้องดูแลลูก การนอนไม่พอและการหมดแรงอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้น ควรพยายามพักผ่อน หรืองีบหลับในระหว่างวัน เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้น ปวดหัวไมเกรน หากคุณแม่เคยมีอาการปวดหัวไมเกรนก่อนที่จะตั้งครรภ์อยู่แล้ว อาจทำให้อาการไมเกรนนั้นแย่ลงได้ในช่วงหลังคลอดบุตร เนื่องจาก การเปลี่ยนยาที่ใช้หรือมาจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นขณะที่ต้องดูแลลูก วิธีแก้อาการปวดหัวขณะให้นมลูก สำหรับวิธีแก้ปัญหาอาการปวดหัวขณะให้นมลูกอาจทำได้ดังนี้ นวด การนวดอาจบรรเทาอาการปวดหัวได้ดี เพราะเป็นการคลายเส้นประสาทและช่วยผ่อนคลาย โดยอาจนวดเป็นวงกลมไปรอบ ๆ ศรีษะ ดื่มน้ำ เป็นหนึ่งในการรักษาการขาดน้ำจากร่างกาย […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวนมแตก จากการให้นมลูก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรไม่ให้เจ็บปวด

หัวนมแตก หรือเจ็บหัวนม ระหว่างการให้นมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้แต่มักจะหายไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจแก้ไขด้วยการจัดท่าทางการให้นมที่เหมาะสม แต่หากหัวนมแตก หรือเจ็บหัวนมมากผิดปกติ จำเป็นที่จะต้องปรึกษาคุณหมอ เพราะหากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างอื่นตามมา สาเหตุที่ทำให้ หัวนมแตก ในช่วงสัปดาห์แรกของการให้นมแม่นั้น ท่าทางการอมคาบหัวนมของเด็กทารก หรือการวางท่าทางการให้นมที่ไม่เหมาะสม มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หัวนมแตก ในกรณีที่หัวนมแตกหรือเจ็บหัวนมไม่มากนัก ผู้เป็นแม่อาจลองจัดท่าทางในการให้นมใหม่ แต่หากลองเปลี่ยนท่าให้นมใหม่แล้ว อาการหัวนมแตก หรือเจ็บหัวนมยังไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำวิธีการให้นมที่ถูกต้อง และหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ผู้หญิงที่พ้นช่วงให้นมบุตรแล้ว แต่ยังมีอาการหัวนมแตก ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว การรักษา อาการหัวนมแตก   หัวนมแตกอาจมีวิธีบรรเทาอาการในเบื้องต้นด้วยตนเอง ดังนี้ ระหว่างการให้นม ปรับเปลี่ยนท่าทาง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้เป็นแม่ อุ้มทารกเข้าเต้าข้างใดข้างหนึ่งโดยให้ปากของลูกอยู่ระดับเดียวกับหัวนม เหงือกล่างของทารกควรห่างจากฐานของหัวนมขณะที่เด็กอ้าปาก และเมื่อเด็กอ้าปากแล้ว ควรกอดกระชับให้แน่นเข้าอก เพื่อช่วยบังคับให้หัวนมอยู่ในปากของทารกอีกทางหนึ่ง หาท่าทางการให้นมในรูปแบบอื่น ๆ ลองเปลี่ยนท่าการให้นม เพื่อหาท่าที่คุณแม่และลูกรู้สึกสบายที่สุด หากอยู่ในท่าทางที่ดีแล้ว ลูกจะอมคาบหัวนมได้ง่าย และไม่ทำให้เจ็บหัวนม  หากเจ็บหัวนมข้างใดข้างหนึ่ง ให้เปลี่ยนไปให้นมอีกข้างที่เจ็บน้อยกว่า ทารกส่วนใหญ่จะดูดนมเต้าแรกแรงกว่า ในขณะที่เมื่อเปลี่ยนเต้าจะผ่อนอาการดูดเบาลง เนื่องจากรู้สึกหิวน้อยลง บรรเทาอาการเจ็บก่อนการให้นม หากเจ็บหัวนมมาก ควรประคบเย็น เพื่อทำให้รู้สึกชา เพราะการอมคาบนมครั้งแรก มักจะทำให้เจ็บที่สุด หลังการให้นม  รับประทานยา ในกรณีที่มีอาการหัวนมแตก และอาการเจ็บหัวนมไม่หายไป ควรรับประทานทานยารักษาอาการ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หน้าอก เสียทรงเพราะให้นมลูกจริงหรือ

การตั้งครรภ์และการให้นมลูกอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ หน้าอก เปลี่ยนรูปร่างไป นอกจากนี้ อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อายุ ขนาดของเต้านมก่อนตั้งครรภ์ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกังวลจนเกินไปถึงรูปร่างหน้าอกที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ควรดูแลรักษาสุขภาพหน้าอกและเต้านมให้ปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ [embed-health-tool-ovulation] หน้าอก เสียทรงเพราะให้นมลูกจริงหรือ โดยปกติแล้ว ในเต้านมไม่มีกล้ามเนื้อแต่จะยึดติดอยู่กับหน้าอกได้ด้วยเส้นเอ็นบาง ๆ ที่เรียกว่า เส้นคูเปอร์ (Cooper’s Ligament) ขณะตั้งครรภ์เส้นเอ็นบาง ๆ เหล่านี้จะยืดออก และเลือดจะถูกปั๊มเข้าเต้านม ทำให้หน้าอกมีน้ำหนักและอวบอิ่ม การสร้างน้ำนมอาจทำให้เนื้อเยื่อในเต้านมหนาขึ้น และอาจทำให้เต้านมของดูเหมือนหย่อนยานลง เนื้อเยื่อไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ก็อาจจะค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป หลังจากการให้นมลูก อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้ให้นมลูก แต่การตั้งครรภ์อาจส่งผลทำให้รูปร่างเต้านมของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกันไป นอกจากนั้น ยังอาจขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่ ดัชนีมวลกาย พันธุกรรม จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ขนาดของเต้านมก่อนตั้งครรภ์ อายุ ประวัติการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของเต้านม การเปลี่ยนรูปร่างของเต้านมอาจพบได้มากเมื่อเต้านมเต็มไปด้วยน้ำนม โดยเต้านมแต่ละข้างจะเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเต้านมข้างหนึ่ง อาจไม่เกิดขึ้นกับเต้านมอีกข้างก็ได้ ในขณะตั้งครรภ์ เส้นเอ็นที่ยึดติดเต้านมกับหน้าอกจะยืดออกและจะหดตัวลงหลังการให้นมลูก ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างของเส้นรอบอก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ตั้งท้องขณะให้นมลูก มีโอกาสเป็นไปได้หากไม่คุมกำเนิดจริงหรือ?

ตั้งท้องขณะให้นมลูก คือการให้นมลูกหลังคลอด แล้วตั้งครรภ์ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากช่วงเวลาหลังคลอดประมาณ 3-8 เดือนหญิงให้นมลูกมักจะไม่มีประจำเดือน โอกาสที่ร่างกายของฝ่ายหญิงจะมีไข่ตกนั้นต่ำ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะตั้งท้องขณะให้นมลูกหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวและไม่คุมกำเนิด โอกาสตั้งท้องขณะให้นมลูกเป็นไปได้หรือไม่ ตั้งท้องขณะให้นมลูก เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เพียงแต่โอกาสจะเกิดขึ้นได้น้อย เพราะภาวะเจริญพันธ์ุในช่วงเดือนที่ให้นมบุตรนั้นลดลง และการให้นมบุตรส่งผลกระทบต่อการตกไข่ เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงจะสร้างฮอร์โมนโปรแลคติน (ฮอร์โมนน้ำนม) ขึ้นมาในปริมาณมาก ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะยับยั้งฮอร์โมนอื่นที่กระตุ้นการตกไข่ ดังนั้น ยิ่งให้นมทารกบ่อยและนานเท่าไหร่ โอกาสที่จะตั้งครรภ์อีกครั้งก็มักน้อยลงเท่านั้น หากเริ่มให้อาหารเสริมทดแทนน้ำนมแม่ และให้นมลูกลดลง ฮอร์โมนโปรแลคตินก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้ภาวะเจริญพันธุ์กลับคืนมา แต่โดยปกติแล้วมักจะใช้เวลา 3 ถึง 8 เดือน กว่าที่วงจรของไข่ตกจะกลับมาเป็นปกติ [embed-health-tool-ovulation] สัญญาณของการตกไข่ขณะให้นมลูก การตั้งท้องขณะให้นมลูก อาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะร่างกายมักไม่มีการตกไข่ และไม่มีประจำเดือน แต่เมื่อให้นมลูกน้อยลง วงจรของวันตกไข่ก็จะเริ่มกลับมา แต่ถึงอย่างนั้น จะทราบได้อย่างไรว่า ร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะตกไข่เมื่อใด โดยปกติแล้ว ประจำเดือนมักขาดหลายเดือนหลังจากคลอด แต่การไม่มีประจำเดือนไม่ได้หมายความว่า ไม่อยู่ในภาวะเจริญพันธุ์ เพราะในความเป็นจริงแล้วร่างกายจะมีไข่ตกออกมาก่อนการมีประจำเดือนครั้งแรกหลังคลอด ดังนั้น ควรสังเกตสัญญาณล่วงหน้าของภาวะเจริญพันธุ์หรือการที่ร่างกายพร้อมมีลูกอีกครั้ง ดังนี้ การมีสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศเพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณแรกของการตกไข่ หากสังเกตเห็นตกขาว ที่สับเปลี่ยนกันระหว่างของเหลวสีขาวข้น ไปเป็นของเหลวที่มีลักษณะใสและยืดหยุ่น อาจจะหมายความว่า ภาวะเจริญพันธุ์นั้นกลับมาเป็นปกติแล้ว อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นตัวบ่งบอกของการตกไข่ หากสังเกตว่าอุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น นั่นอาจหมายถึงร่างกายกำลังมีภาวะไข่ตก ประจำเดือนครั้งแรก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

6 เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม ให้คุณแม่ด้วยวิธีธรรมชาติ

คุณแม่หลายคนอาจต้องการ เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม เพื่อจะได้แน่ใจว่าตัวเองนั้นมีน้ำนมให้ลูกอย่างเพียงพอ ซึ่งการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามให้นมลูกบ่อย ๆ อาจช่วยทำให้น้ำนมมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือบริโภคคาเฟอีกมากเกินไป เพราะอาจส่งผลให้น้ำนมน้อยลงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม ด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการเพิ่มน้ำนมให้ตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติ อาจทำได้ดังนี้ 1. เทคนิคผิวสัมผัสผิว เทคนิคผิวสัมผัสผิว (Skin-to-skin)  คือ การที่คุณแม่กอดลูกไว้ในอ้อมอก โดยที่คุณแม่ไม่สวมเสื้อและลูกสวมเพียงผ้าอ้อม เพื่อให้ผิวของคุณแม่กับลูกสัมผัสกันโดยตรง คุณแม่อาจทำตอนช่วงงีบหลับตอนกลางวัน ตอนก่อนนอน หรือในตอนกลางคืนก็ได้ เนื่องจาก การที่ผิวได้สัมผัสผิวแบบนี้จะช่วยทำให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนแห่งความรัก หรือ ฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน (Oxytocin) หลั่ง ส่งผลให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ลูกผ่อนคลาย กินนมได้นานขึ้น รวมถึงช่วยเรื่องระบบการหายใจและอุณหภูมิในร่างกายด้วย 2. กินอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ กินให้ครบ 5 หมู่ในทุก ๆ มื้อ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนในแต่ละวัน การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ จะทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น และช่วยทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้นด้วย โดยคุณแม่อาจกินอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนม หรือในทางการแพทย์จะเรียกกลุ่มอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนมว่า กาแลคตาโกจี (Galactagogues) เช่น […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ประโยชน์ของการให้นมลูก มีอะไรบ้าง

น้ำนมแม่ ได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมกับทารกแรกเกิดมากที่สุด เพราะมีสารอาหารสำคัญหลายชนิดที่ดีต่อพัฒนาของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ ประโยชน์ของการให้นมลูก อาจมีมากกว่าประโยชน์ต่อสุขภาพของลูกน้อย เพราะการให้นมลูกอาจส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่ด้วยเช่นกัน 10 ประโยชน์ของการให้นมลูก ที่คุณแม่จะได้รับ 1. ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาให้ข้อมูลว่า คุณแม่ที่ให้นมลูกนานกว่า 1 ปี จะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ 10%  เนื่องจากการให้นมลูกจะช่วยทำให้ความดันโลหิตลดลง และช่วยลดคอเลสเตอรอลด้วย ซึ่งทั้งความดันและคลอเรสเตอรอลต่างก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ส่วนสาเหตุที่ทำให้การให้นมลูกมีผลต่อโรคหัวใจ ก็เป็นเพราะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่จะกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยป้องกันการเป็นโรคหัวใจ 2. ภาวะเลือดออกหลังคลอด ร่างกายของผู้หญิงจะมีการสร้างเลือดมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อการเลี้ยงดูทารกในครรภ์ และหลังจากให้กำเนิดทารกแล้ว เลือดนี้จะถูกขับออกมาจากร่างกายเหมือนกับประจำเดือน และมันจะค่อยๆ น้อยลงหลังจากผ่านไปราวหนึ่งสัปดาห์หรือราวๆ นั้น แต่ก็อาจจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ก็ได้กว่าจะหยุดโดยสิ้นเชิง (เราเรียกเลือดนี้กันว่า “น้ำคาวปลา”) ถึงแม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็สามารถช่วยร่างกายในการกำจัดเลือดนี้ให้หมดไปไวขึ้นได้ และการให้นมลูกก็เป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการทำให้น้ำคาวปลาหมดไวขึ้น และเมื่อคุณแม่มีเลือดออกลดลง ผลดีอีกอย่างที่ได้ก็คือ จะทำให้ระดับพลังงานของคุณแม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเสียเลือดมักทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลีย และความอ่อนเพลียก็เป็นเรื่องไม่ดีต่อคุณแม่ เพราะอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดลูกได้ การให้นมลูกที่ช่วยลดปริมาณและระยะเวลาของการมีเลือดออก (ในน้ำคาวปลา) จึงถือว่าช่วยให้คุณแม่ไม่อ่อนเพลีย และมีความเสี่ยงต่อปัญหาอื่นๆ ต่ำลงด้วย 3. เบาใจเรื่องโรคเบาหวาน ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เมื่อลูกโตขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้คุณแม่ ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ฝึกลูก หย่านมแม่ อย่างไรให้ถูกวิธีและได้ผล

หย่านมแม่ หมายถึง การที่เด็กเปลี่ยนจากดูดนมแม่จากเต้าไปดูดนมขวดหรือรับประทานอาหารอย่างอื่นทดแทน คุณแม่ส่วนใหญ่มักให้ลูกหย่านมหลังจากลูกอายุครบ 1 ขวบ ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มหัดเดิน หัดพูด และกินอาหารหยาบได้มากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรให้ลูกน้อยดูดนมแม่ไปให้นานที่สุด ตราบเท่าที่คุณแม่และลูกน้อยสบายใจ เมื่อลูกน้อยพร้อมและจะช่วยให้การหย่านมแม่เป็นเรื่องง่ายขึ้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกพร้อมหย่านมแม่แล้ว เด็กบางคนอาจไม่ยอมเลิกดูดนมแม่ง่าย ๆ ในขณะที่เด็กบางคนอาจส่งสัญญาณบอกคุณแม่ว่าพร้อมจะหย่านมแล้ว ซึ่งสัญญาณเหล่านั้นได้แก่ ทำท่าทางเหมือนไม่สนใจ หรือไม่อยากดูดนมแม่ ใช้เวลาในการดูดนมแม่น้อยลง ในช่วงที่กำลังดูดนมแม่ ลูกมักมีอาการวอกแวกง่ายขึ้น ไม่จดจ่อกับการดูดนมแม่ ไม่ได้ดูดนมจริงจัง แต่แสดงท่าทางเหมือนกำลังเล่นอยู่มากกว่า เช่น ดึงหรือกัดหัวนมแม่ ซึ่งควรให้ลูกเลิกดูดนมแม่ อมหัวนมไม่ได้ตั้งใจดูดนมให้มีน้ำนมไหลออกมา วิธีฝึกลูก หย่านมแม่ แบบปลอดภัยและเหมาะสม การหย่านมแม่นั้นมีอยู่หลายวิธี ควรเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวคุณแม่และลูกน้อยมากที่สุด ซึ่งมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้ เปลี่ยนให้สมาชิกคนอื่นป้อนนม คุณแม่ควรปล่อยให้สมาชิกคนอื่นในครอบครัว เช่น คุณพ่อ คุณยาย หรือพี่เลี้ยงเด็กป้อนนมจากขวดเมื่อลูกน้อยหิว โดยคุณแม่อาจต้องหลบไปอยู่อีกห้องหนึ่งเพื่อไม่ให้ลูกเห็น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเด็ก ๆ มักจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นเวลาที่ไม่เห็นคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ หรือถ้าคุณแม่ป้อนนมขวดเอง ควรเปลี่ยนบรรยากาศจากเคยป้อนนมในห้องนอน อาจเปลี่ยนไปป้อนนมในห้องนั่งเล่นแทน หรือลองเปลี่ยนท่าป้อนนมใหม่ ถ้าใช้วิธีนี้แล้วยังไม่ได้ผล อาจให้ลูกดูดนมแม่เหมือนเดิม ไว้รอหลังจากนั้นสองสามสัปดาห์แล้วค่อยทดลองอีกครั้ง สลับมื้อระหว่างป้อนนมขวดกับดูดนมแม่ วิธีการหย่านมแบบนี้จะค่อยเป็นค่อยไป โดยเปลี่ยนจากให้ลูกดูดนมแม่มาเป็นให้นมขวดในบางมื้อ ซึ่งอาจจะเป็นนมแม่ที่ปั๊มใส่ขวดเอาไว้ นมผงชงใส่ขวด หรือจะเป็นอาหารหยาบก็ได้ ทั้งนี้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม