เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กทารก Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมเรื่องน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มาไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อาหารเพิ่มน้ำนม เมนูอร่อย เพิ่มน้ำนมแม่

หลังคลอดร่างกายของแม่ต้องการสารอาหารช่วยฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการผลิตน้ำนมให้มีอย่างเพียงพอ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยสร้างน้ำนมคุณภาพที่ดีต่อการเจริญเติบโตของทารก แต่บางครั้งคุณแม่อาจมีน้ำนมไม่เพียงพอ การเลือกเมนูที่เหมาะสมด้วย อาหารเพิ่มน้ำนม จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยดูแลสุขภาพคุณแม่ให้แข็งแรงและมีน้ำนมให้ลูกน้อยดื่มกิน [embed-health-tool-vaccination-tool] โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแม่ให้นม ในระยะให้นมบุตร เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทารกจะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การเลือกรับประทานอาหารของแม่จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสารอาหารนั้นต้องเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและเสริมสร้างร่างกายของแม่ให้สมบูรณ์ รวมถึงให้แม่มีพลังงานอย่างเพียงพอใช้ในการผลิตน้ำนม และสร้างน้ำนมแม่ในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการของทารก โดยแบ่งได้ ดังนี้  พลังงาน : แม่ให้นมควรได้รับพลังงานจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม ข้าวหรือแป้งชนิดอื่น ๆ โปรตีน : ระยะให้นมบุตร โปรตีนจะช่วยในการสร้างน้ำนม ซ่อมแซมเซลล์และฟื้นฟูร่างกายแม่หลังคลอด ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาเสริมด้วย เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่ ผัก ใบเขียว ถั่ว ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีวิตามินซีช่วยให้เหล็กดูดซึมได้ดี แคลเซียม : สารอาหารที่สำคัญในการเสริมสร้างน้ำนมแม่ ให้ทารกนำไปสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม และปลาเล็กปลาน้อย    วิตามินเอ : ช่วยในการสร้างน้ำนม เช่น ไข่แดง ผักใบเขียวและผักสีเหลือง ผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม […]

สำรวจ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่ กับข้อสังเกตอื่น ๆ ที่คุณแม่มือใหม่ควรใส่ใจ

นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิดช่วงขวบปีแรก เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ย่อยง่าย และอ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อย นอกจากเรื่องประโยชน์ของนมแม่แล้ว ยังมีข้อสังเกตอื่น ๆ เกี่ยวกับนมแม่ที่คุณแม่มือใหม่ควรศึกษา เช่น ปริมาณน้ำนมที่ลูกควรได้รับ คุณภาพน้ำนมแม่ อาหารสำหรับหญิงให้นมบุตร เป็นต้น ประโยชน์นมแม่ นมแม่เต็มไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก มีวิตามินครบเกือบทุกชนิด รวมทั้งโปรตีน ไขมัน เกลือแร่งต่าง ๆ และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก  มีภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้ร่างกายของทารกแข็งแรงต้านทานเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ ที่สำคัญย่อยง่ายและโอกาสเสี่ยงต่ำที่ทารกจะแพ้นมแม่ รวมทั้งมักมีน้ำหนักตามเกณฑ์ และลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และป้องกันทารกจากโรคไหลตายในเด็ก หรือ SIDS อีกด้วย ปริมาณนมแม่ที่ลูกน้อยควรได้รับ โดยปกติแล้ววทารกช่วง 1-3 เดือนแรก มักดื่มนมทุก 3-4 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 3-4 ออนซ์ เฉลี่ย 8 ครั้งต่อวัน หรือเฉลี่ยวันละ 24-32 ออนซ์ (100-150 มิลลิลิตร/กิโลกรัม) ซึ่งปริมาณนมจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักตัว กระทั่งอายุครบ 6 เดือนอาจเริ่มมีอาหารชนิดอื่นเข้ามาเสริม เป็นอาหารเสริมตามวัย ทำให้อาจลดปริมาณนมแม่ลง สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยได้นมแม่ไม่เพียงพอ เมื่อลูกน้อยได้กินนมแม่ทุก ๆ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ มีประโยชน์ต่อลูกน้อยและคุณแม่อย่างไร

การ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ถือเป็นเรื่องที่เหล่าคุณแม่ควรจะทำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในน้ำนมแม่นั้นมีสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก ทั้งยังเป็นอาหารที่เหมาะสมกับการย่อยของเด็กอีกด้วย นอกจากสารอาหารแล้ว ในน้ำนมแม่ยังมีประโยชน์อะไรต่อทารกอีกบ้าง ต้องติดตามกันใน Hello คุณหมอ ประโยชน์ของการ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ จากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งของทารกและคุณแม่ด้วย ซึ่งเราจะมาดูประโยชน์ที่มีต่อทารกกันก่อน สำหรับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ มีดังนี้ ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทารก หน่วยงานด้านสุขภาพส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นจะแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ในน้ำนมของแม่นั้นมีทุกสิ่งที่ทารกต้องการในข่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทั้งยังมีสัดส่วนที่เหมาะสม องค์ประกอบในน้ำนมแม่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของทารกได้ โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรกของชีวิต ในช่วงวันแรกหลังคลอด หน้าอกจะผลิตของเหลวสีเหลืองข้นออกมา ซึ่งเรียกว่า “น้ำนมเหลือง” ซึ่งมีโปรตีนที่สูง น้ำตาลต่ำ และเต็มไปด้วยสารประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อทารก โคลอสตรัม (Colostrum) เป็นนมชนิดแรกที่เหมาะกับทารกแรกเกิด เพราะมันสามารถช่วยพัฒนาระบบย่อยอาหารของทารกแรกเกิด หลังจากนั้น 2-3 วันแรก หน้าอกจะเริ่มผลิตน้ำนมในปริมาณที่มากขึ้น สิ่งเดียวที่อาจขาดในน้ำนมแม่ก็คือ วิตามินดี นั่นเอง เพื่อชดเชยการขาดวิตามินดี ได้มีการแนะนำให้หยดวิตามินดีตั้งแต่อายุ 2-4 สัปดาห์ มีแอนติบอดีที่สำคัญ น้ำนมแม่เต็มไปด้วยแอนติบอดีที่ช่วยให้ลูกน้อยต่อสู้กับไวรัสและแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำนมเหลืองซึ่งเป็นนมแรก โคลอสตรัมให้อิมมูโนโกลบูลินเอ (Immunoglobulin A หรือ IgA) […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่อน้ำนมอุดตัน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ท่อน้ำนมอุดตัน (Clogged milk ducts) พบได้ทั่วไปในคุณแม่เพิ่งคลอด กำลังให้นมบุตร หรือเพิ่งให้ลูกหย่านม ทำให้ท่อน้ำนมตีบหรืออุดตัน จนน้ำนมไหลได้ไม่สะดวก รวมถึงอาจมีอาการอักเสบ บวม และมีก้อนในบริเวณเต้านม สามารถหายไปได้เอง แต่ก็สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการนวดเต้านม ปั๊มนม และการประคบร้อน [embed-health-tool-baby-poop-tool] คำจำกัดความ ท่อน้ำนมอุดตัน คืออะไร ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน เป็นภาวะที่เกิดก้อนบวมนูนในท่อน้ำนมของหญิงที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร ทำให้ท่อน้ำนมตีบหรืออุดตัน จนน้ำนมไหลได้ไม่สะดวกหรือคั่งอยู่ในเต้านม (Milk Stasis) ซึ่งก้อนบวมนูนที่เกิดขึ้นนี้อาจมีลักษณะแข็งหรืออ่อนนุ่มก็ได้ ท่อน้ำนมอุดตันพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะท่อน้ำนมอุดตันสามารถพบได้ทั่วไปในคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร คุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรแต่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ หรือคุณแม่ที่เพิ่งหยุดให้ลูกกินนมแม่ โดยผลการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อปี 2011 จากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า 4.5% จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคุณแม่ให้นมบุตรประสบปัญหาท่อน้ำนมอุดตันในช่วงปีแรกของการให้นมบุตร อาการ อาการของท่อน้ำนมอุดตัน อาการทั่วไปของภาวะท่อน้ำนมอุดตัน มีดังนี้ เจ็บปวดบริเวณเต้านม มีก้อนบวม อ่อนนุ่มในเต้านม รู้สึกว่าเต้านมบวมหรือร้อนที่เต้านม น้ำนมจากเต้านมข้างหนึ่งไหลช้าลง ผิวหนังบริเวณเต้านมบริเวณใดบริเวณหนึ่งมีลักษณะขรุขระ มีจุดสีขาวเล็ก ๆ บริเวณหัวนม (Milk Bleb หรือ White Spot หรือ Milk Blister) ในบางกรณี ภาวะท่อน้ำนมอุดตันอาจทำให้มีไข้ต่ำ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าเต้านมติดเชื้อ  ฉะนั้น หากคุณมีไข้ร่วมกับมีอาการรู้สึกเจ็บปวดที่เต้านม เต้านมบวมแดง หรือมีก้อน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

น้ำนมเหลือง คุณค่าของนมหยดแรกจากอกแม่ที่ลูกรักคู่ควร

น้ำนมเหลือง หรือน้ำนมหยดแรก เป็นสีของน้ำนมปกติโดยเฉพาะแม่ที่เพิ่งคลอดลูก น้ำนมในช่วงแรกมักมีลักษณะเป็นสีเหลืองนวลจนถึงสีเหลืองเข้ม ในบางรายอาจมีเลือดซึมปะปนมาด้วย ทั้งนี้ คุณแม่มือใหม่ไม่ต้องกังวลเพราะน้ำนมเหลืองนี้นับเป็นน้ำนมที่มีประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมากต่อทารกแรกเกิด [embed-health-tool-bmi] น้ำนมเหลือง คืออะไร น้ำนมเหลือง หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า โคลอสตรุม (Colostrum) เป็นน้ำนมหยดแรก ๆ ที่ออกมาจากอกของคุณแม่เพื่อให้ลูกน้อยได้รับประทาน ในบางครั้งอาจมีเลือดปะปนมากับน้ำนมด้วย ซึ่งโคลอสตรุมไม่ได้มีเพียงแค่ในมนุษย์เท่านั้น แต่มีอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ เช่น วัว ทั้งนี้ การนำน้ำนมเหลืองจากวัวมาให้ดื่มอาจมาในรูปแบบที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ หรือผลิตภัณฑ์แบบกล่องดูด นมผง รวมถึงแบบขวด ซึ่งสามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัยรวมทั้งทารกตัวน้อยที่อาจยังไม่สามารถดื่มนมจากอกของคุณแม่ได้ แต่แนะนำในรูปแบบนมผงเท่านั้น คุณค่าด้านโภชนาการและประโยชน์ในน้ำนมเหลือง สารอาหารในน้ำนมเหลืองนี้มีวิตามินหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ที่มีค่อนข้างสูง และยังมีธาตุอาหารอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพของทารก ได้แก่ แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) เป็นโปรตีนที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้เด็กแรกเกิดมีร่างกายที่แข็งแรง ลดอัตราการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงได้ แอนติบอดี (Antibody) คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัส หรือแบคทีเรียที่แทรกซ้อนเข้ามา และช่วยลดอัตราการติดเชื้อให้แก่เด็กแรกเกิดเป็นอย่างดี นอกเหนือไปจากสารอาหารข้างต้นแล้ว โคลอสตรุมยังทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะภายในของลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีขึ้นตามไปอีก โดยเฉพาะสุขภาพลำไส้ โดยโคลอสตรุม เข้าไปช่วยให้ผนังของลำไส้มีความแข็งแรงขึ้น ต้านการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ใหญ่ รวมทั้งรักษาอาการท้องร่วง ป้องกันโรคดีซ่านสำหรับเด็กแรกเกิดได้เป็นอย่างดี ข้อควรรู้เกี่ยวกับน้ำนมเหลือง ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับน้ำนมเหลืองมีดังนี้ ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ลูกสำลักนม อันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

คุณแม่มือใหม่ต้องคอยสังเกตและดูลูกน้อยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกรณีที่ ลูกสำลักนม นับเป็นอันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากสำลักนมและได้รับการดูแลไม่ถูกวิธี อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ คุณแม่ควรหาวิธีป้องกันและวิธีแก้ไขเพื่อไม่ให้ลูกน้อยสำลักนมบ่อยเกินไป เรื่องน่ารู้ สำหรับคุณแม่ให้นม หลังคลอดลูก คุณแม่ควรให้นมลูกเร็วที่สุดภายใน 1 ชั่วโมง ให้นมลูกบ่อยๆ หรือทุก 2-3 ชั่วโมง หลังจากคลอดลูก เพื่อกระตุ้นให้ลูกชินกับเต้านม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นอาหารบำรุงน้ำนม เช่น หัวปลี ตำลึง หลังคลอดอย่าทำความสะอาดหัวนมมากจนเกินไปจะทำให้หัวนมแห้ง และไหลน้อย ใช้ลูกประคบอุ่นๆ นวดเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนม งดเว้นการอาบน้ำอุ่นเพราะจะทำให้หัวนมขาดความชุ่มชื้น และหัวนมแตกได้ สาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนม สาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนมนั้นเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันทั้งสาเหตุจากคุณแม่เองและตัวคุณลูก  โดยสาเหตุจากคุณแม่นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การให้นมที่ผิดท่า การที่คุณแม่ดึงเต้านมออกก่อนขณะที่ลูกกำลังดูดนม หรือการที่ให้ลูกน้อยกินนมมากจนเกินความต้องการ รวมถึงน้ำนมที่ไหลเร็วจนเกินไป  ส่วนสาเหตุที่เกิดจากตัวลูกเอง เช่น ลูกน้อยมีอาจมีปัญหาเรื่องความผิดปกติภายในร่างกายอย่างปอดและหัวใจ หรืออาจมีพัฒนาการที่ช้า สังเกตอาการลูกสำลักนมอย่างใกล้ชิด ลูกจะมีอาการไอ เหมือนขย้อนนมหรือคายออกมา หากมีอาการสำลักแบบรุนแรง หน้าลูกจะเริ่มเปลี่ยนสี ลูกมีอาการหายใจผิดปกติ ระหว่างที่คุณแม่ให้นมลูกควรปรับการไหลของปริมาณน้ำนมโดยการกดบริเวณลานหัวนมเพื่อไม่ให้น้ำนมไหลเข้าปากลูกเร็วจนเกินไป จับลูกน้อยนอนตะแคงระหว่างการให้นมเพื่อป้องกันการสำลัก อย่าให้นมลูกบ่อยจนเกินไป หากลูกน้อยร้องไห้ควรสังเกตอาการให้แน่ใจว่าลูกนั้นร้องไห้เพราะหิวจริงๆ หรือเพราะสาเหตุใด รับมืออย่างไร เมื่อลูกสำลักนม หากลูกมีอาการสำลักนม ไม่ควรจับลูกอุ้มขึ้นทันทีเมื่อเกิดอาการสำลัก ควรจับลูกนอนตะแคงให้ศีรษะต่ำลง เป็นการป้องกันนมที่อยู่ในปากลูกไหลย้อนกลับไปที่ปอด ถึงแม้ว่าลูกสำลักนม อาจจะไม่ได้เป็นภาวะที่ร้ายแรงมากนัก แต่ย่อมดีกว่าหากคุณแม่ให้นมลูกอย่างถูกวิธี และรู้จักระมัดระวัง […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เครื่องปั๊มนม เลือกอย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด

เครื่องปั๊มนม เป็นตัวช่วยผ่อนแรงสำหรับคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกน้อยดื่มนมแม่แต่อาจไม่มีเวลา เนื่องด้วยต้องไปทำงานนอกบ้าน มีน้ำนมน้อย รวมทั้งแม่ที่มีปัญหาลูกน้อยไม่ยอมดื่มนมจากเต้า เครื่องปั๊มนมจะช่วยให้คุณแม่ปั๊มนมเก็บไว้ล่วงหน้าได้ทั้งตอนที่อยู่บ้านหรืออยู่นอกบ้าน  ปัจจุบันนี้เครื่องปั๊มนมมีหลายประเภททั้งแบบปั๊มมือและแบบปั๊มด้วยระบบไฟฟ้า คุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับเครื่องปั๊มนม เพื่อเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะเต้า ความชอบ และความสะดวกในการใช้งาน ประเภทของเครื่องปั๊มนม เครื่องปั๊มนมนั้นมีให้เลือกหลากหลาย แต่หลักๆ แล้วเครื่องปั๊มนมมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องปั๊มนมแบบใช้มือ หรือเครื่องปั๊มนมแบบคันโยก ข้อดี คือ ไม่เปลืองไฟ คุณแม่สามารถพกพาไปใช้งานได้ทุกที่ แต่ข้อเสีย คือ อาจต้องใช้เวลาปั๊มนมนานกว่าเครื่องปั๊มนมประเภทอื่น และอาจรู้สึกเมื่อยมือ เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าเดี่ยว หรือเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าเต้าเดี่ยว เป็นเครื่องปั๊มนมแบบอัตโนมัติที่อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากระบบไฟบ้าน หรือถ่านอัลคาไลน์ ใช้ปั๊มน้ำนมได้ทีละเต้า เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าคู่ หรือเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าเต้าคู่ เพียงแค่ใส่ถ่าน หรือเสียบปลั๊กก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกับเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าเดี่ยว แต่ดีกว่าตรงที่สามารถ ปั๊มน้ำนม ได้พร้อมกันสองเต้า จึงประหยัดเวลากว่า เครื่องปั๊มนมสำหรับใช้ในโรงพยาบาล หรือเครื่องปั๊มนมเกรดโรงพยาบาล ตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่  มักใช้งานในหอเด็กอ่อนเพื่อกระตุ้นน้ำนมหลังคลอด หรืออาจใช้งานในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต (Neonatal Intensive Care Unit หรือ NICU) เทคนิคเลือกซื้อ เครื่องปั๊มนม การเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมสักเครื่องมาใช้งาน คุณแม่ควรดูตามลักษณะการใช้งาน และงบประมาณที่มี โดยอาจพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการให้นมลูก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

คุณแม่มือใหม่มักจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับ การให้นมลูก จากเหล่าคุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน หรือจากเพื่อนๆ และญาติๆ ซึ่งบางคำแนะนำก็อาจเป็นความเข้าใจผิดที่สืบต่อกันมา ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้นมลูก รวมถึงปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การให้นมลูก ความเข้าใจผิดที่ 1 ถ้าทารกกินนมแม่บ่อย แสดงว่าลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ทารกกินนมแม่บ่อย อาจไม่ได้หมายความว่าลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ เนื่องจากนมแม่ง่ายต่อการย่อย เด็กจึงมักจะรู้สึกหิวเร็วกว่า เมื่อเทียบกับการกินนมผง นอกจากนี้เวลาที่เหมาะสมที่ควรให้นมลูก คือทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ความเข้าใจผิดที่ 2 หยุดให้นมลูกสักพัก จะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น ความจริงแล้ว ยิ่งให้นมลูกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีน้ำนมมากขึ้น ดังนั้นความเชื่อที่ว่าควรหยุดให้นมลูกเพื่อให้มีน้ำนมมาก จึงไม่ถูกต้องนัก นอกจากนี้คุณแม่บางคนอาจคิดว่า ควรหยุดปั๊มน้ำนมในช่วงกลางวัน เพื่อเก็บไปปั๊มน้ำนมทีเดียวตอนกลางคืน แต่ความจริงแล้วในวันต่อมา อาจมีน้ำนมน้อยลง ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่า ควรปั๊มน้ำนมประมาณ 9-10 ครั้งต่อวัน ความเข้าใจผิดที่ 3 เป็นเรื่องปกติที่จะเจ็บหัวนม เวลาให้นมลูก คุณแม่ทุกคนย่อมรู้สึกไม่สบายตัว ในช่วงวันสองวันแรกของการให้นมลูก แต่เมื่อเรียนรู้การให้นมลูกแล้ว ก็จะรู้วิธีที่ถูกต้องที่ไม่ทำให้เจ็บหัวนม แต่หากคุณแม่มีอาการเจ็บหัวนมไม่หาย หรือเจ็บทุกครั้งที่ให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์ ความเข้าใจผิดที่ 4 นมผงทำให้ลูกนอนหลับดีกว่า งานวิจัยชี้ว่าเด็กที่กินนมผงอาจนอนหลับนานขึ้น แต่คุณภาพนอนหลับอาจไม่ได้ดีขึ้น เนื่องจากนมผงไม่ได้ย่อยอย่างรวดเร็ว และอาจยืดระยะเวลาในการให้นมลูก จึงทำให้เด็กนอนหลับนานขึ้น นอกจากนี้ โดยปกติแล้วการกินนมแม่ ทารกจะเริ่มนอนหลับนานขึ้น […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ให้นมลูก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในเด็กได้

การให้นมลูกมีประโยชน์ต่อสุขภาพคุณแม่และทารก นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ที่พบว่า ให้นมลูก สามารถลดโอกาสที่เด็กจะอ้วนในอนาคต ได้มากถึง 25% Hello คุณหมอ บทความนี้จึงชวนมาดูประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่มีต่อสุขภาพของลูกน้อย ดังนี้ค่ะ [embed-health-tool-vaccination-tool] เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วนในเด็ก งานวิจัยจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) ที่ศึกษาใน 16 ประเทศทั่วทวีปยุโรปเรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ ให้นมลูก ที่มีต่อสุขภาพของลูกน้อย ผลการวิจัยพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถลดโอกาสที่เด็กจะอ้วน ได้ถึง 25% โดยผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ 22% มีแนวโน้มว่าจะอ้วน และเด็กที่กินนมแม่ในเวลาไม่ถึง 6 เดือน 12% มีแนวโน้มว่าจะอ้วน เมื่อเทียบกับกลุ่มเด็กที่กินนมแม่เป็นเวลา 6 เดือน นอกจากนี้ งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร the journal Obesity Facts ได้ให้ข้อมูลว่า มีเหตุผลหลายประการที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถป้องกันเด็กจากโรคอ้วนได้ และยังมีหลักฐานที่พบว่าการให้ทารกกินนมผง อาจมีระดับอินซูลินในเลือดสูงกว่า เมื่อเทียบกับการกินนมแม่ ซึ่งการมีระดับอินซูลินในเลือดสูงจะสามารถกระตุ้นการสะสมไขมัน ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าให้กินนมแม่ เพราะเปรียบเหมือนเป็นวัคซีนแรกของเด็ก ที่ป้องกันการติดเชื้อ และยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว รวมถึงป้องกันโรคอ้วนด้วย […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ลดน้ำหนักหลังคลอด ด้วยการให้นมลูก ทำได้จริงหรือไม่

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และอาจยังมีน้ำหนักเกินอยู่หลังจากคลอดลูกแล้ว โดยทั่วไป ในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากคลอดลูก น้ำหนักคุณแม่อาจลดลงประมาณ 0.45-0.9 กิโลกรัมต่อเดือน ทั้งนี้ คุณแม่บางคนที่ให้ลูกกินนมแม่ อาจ ลดน้ำหนักหลังคลอด ได้ เนื่องจากการร่างกายเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 500 กิโลแคลอรี่ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมไม่ควรงดอาหารหรือกินอาหารน้อยเกินไป เพื่อให้มีสารอาหารเพียงพอในการใช้ชีวิตประจำวัน และช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ [embed-health-tool-due-date] ลดน้ำหนักหลังคลอด ด้วยการให้นมลูก ทำได้อย่างไร น้ำหนักของคุณแม่อาจลดลงประมาณ 0.45-0.9 กิโลกรัมต่อเดือน ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด จากนั้นน้ำหนักจะลดลงได้ช้ากว่าเดิม ซึ่งการลดน้ำหนักหลังคลอดอาจใช้เวลาประมาณ 6-9 เดือนกว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์จะลดลงไปใกล้เคียงกับช่วงก่อนตั้งครรภ์ ทั้งนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักหลังคลอดของคุณแม่ได้เนื่องจากการให้ลูกกินนมแม่อาจช่วยให้คุณแม่เผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น โดยสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American College of Obstetricians and Gynecologists หรือ ACOG) ระบุว่า ร่างกายจะใช้พลังงานประมาณ 450-500 กิโลแคลอรี่ในการผลิตน้ำนมแม่ในแต่ละวัน ซึ่งอาจเทียบเท่ากับการออกกำลังกายในระดับปานกลางประมาณ 45-60 นาที นอกจากนี้ คุณแม่ให้นมลูกอาจระมัดระวังเรื่องอาหารมากกว่าเดิม เช่น ลดการกินอาหารแปรรูป […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สารอาหารบำรุงนมแม่ และข้อแนะนำสำหรับแม่ให้นมลูก

ในกระบวนการผลิตน้ำนมแม่ ร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง อาหารที่คุณแม่กินระหว่างให้นมลูก จึงนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยในการผลิตน้ำนมให้มีคุณภาพ และเพื่อช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง แต่ สารอาหารบำรุงนมแม่ ที่แม่ให้นมลูกควรกินมีอะไรบ้างนั้น Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากค่ะ สารอาหารบำรุงนมแม่ มีอะไรบ้าง โปรตีน ทารกที่กำลังเจริญเติบโตต้องการโปรตีนสูง ดังนั้น แม่ให้นมลูก จึงต้องกินโปรตีนในปริมาณที่มากพอกับที่ทารกต้องการ เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การรักษาสภาพร่างกาย และการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ โดยปริมาณโปรตีนที่แม่ให้นมลูกควรได้รับจะอยู่ที่ประมาณ 54 กรัมต่อวัน แต่ในคุณแม่บางรายอาจต้องการถึง 67 กรัมต่อวันหรือมากกว่า แหล่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง โฟเลต โฟเลตเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อการเติบโตของร่างกาย โดยปกติ แม่ให้นมลูก ควรได้รับโฟเลตในปริมาณ 450 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ในคุณแม่บางรายอาจต้องการในปริมาณ 500 ไมโครกรัมต่อวันหรือมากกว่า แหล่งโฟเลตที่สำคัญได้แก่ ผักประเภทใบ ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ อะโวคาโด สารสกัดจากยีสต์ ไอโอดีน ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาท แม่ให้นมลูก ควรได้รับไอโอดีนปริมาณ 190 ไมโครกรัมต่อวัน หรือ 270 ไมโครกรัมในคุณแม่บางราย แหล่งไอโอดีนที่ดีได้แก่ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม