backup og meta

ทำความรู้จักกับ อาการลำไส้ขี้เกียจ ที่คุณรู้แล้ว ต้องรีบรักษา

ทำความรู้จักกับ อาการลำไส้ขี้เกียจ ที่คุณรู้แล้ว ต้องรีบรักษา
ทำความรู้จักกับ อาการลำไส้ขี้เกียจ ที่คุณรู้แล้ว ต้องรีบรักษา

อาการลำไส้ขี้เกียจ ส่งผลให้ระบบขับถ่ายคุณนั้นไม่เป็นไปตามเวลา ท้องไส้ปั่นป่วน ในบางครั้งก็มีอาการท้องผูก และท้องเสียร่วมด้วย จนต้องพึ่งยาระบายเป็นตัวช่วยเสริม แถมยังเสียเวลาไปกับการวิ่งเข้า วิ่งออก จากห้องน้ำแทบทั้งวัน มารู้ถึงการรักษาสุขภาพลำไส้ ในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ ได้มานำฝากกัน

อาการลำไส้ขี้เกียจ มีสาเหตุมาจากอะไร ?

อาการลำไส้ขี้เกียจ (Colonic inertia) เกิดมากจากความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร หรือมีสิ่งรบกวนบางอย่างเข้าไปทำให้ลำไส้เกิดการอุดตัน อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาลดกรด หรือยาระบายบ่อยครั้ง ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนมมากเกินไป และการดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องผูก ท้องอืด และท้องเสียได้

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าลำไส้ของคุณกำลังมีปัญหา

อาการจะรุนแรงมาก หรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเมื่อเกิดอาการดังต่อไปนี้

วิธีรักษาอาการลำไส้ขี้เกียจ ให้กลับมาปกติดังเดิม

ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยลดปริมาณอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนม รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวันอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ก่อนเกิดอาการรุนแรง เพราะหากคุณปล่อยไว้จนถึงขั้นเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดลำไส้ได้เลยทีเดียว

  • ยา

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำการใช้ยาระบายเพื่อรักษาอาการท้องผูกในเบื้องต้น และคอยติดตามอาการของคุณอย่างใกล้ชิด เพราะยาระบาย อาจไปทำความเสียหายให้แก่ระบบประสาท และกล้ามเนื้อของลำไส้ส่วนล่างจนถึงลำไส้ใหญ่

  • ฝึกการขับถ่ายด้วยเครื่องไบโอฟีดแบค (Biofeedback)

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ขับถ่ายเป็นเวลา และขับถ่ายออกได้ง่ายขึ้น โดยการวัดแรงดันการบีบตัว และการคลายตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ที่จะแสดงออกมาบนหน้าจอเครื่อง เรียกง่ายๆ ว่า การวัดแรงเบ่งอุจจาระ

  • การผ่าตัด

กรณีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังเท่านั้น การผ่าตัดเป็นการนำส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดของลำไส้ใหญ่ เพื่อเชื่อมลำไส้เล็กเข้าสู่ช่องรูทวาร เป็นการนำไปสู่การขับถ่ายที่ดี

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Colonic inertia http://ddc.musc.edu/public/diseases/colon-rectum/colonic-inertia.html Accessed January 20, 2020

Colonic Inertia Treatment Options https://www.g-pact.org/colonic-inertia/treatment-options Accessed January 20, 2020

Toward a definition of colonic inertia https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4572142/ Accessed January 20, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีดูแลสุขภาพลำไส้ เพราะลำไส้สำคัญต่อสุขภาพโดยรวมมากกว่าที่คิด

เดี๋ยวท้องเสีย เดี๋ยวท้องผูก! ไม่อยาก ท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยว เราป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา