สุขภาพช่องปาก

สุขภาพช่องปาก เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรจะละเลย เพราะภายในช่องปากของเรานั้น เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพช่องปาก

วิธีแก้ร้อนใน และวิธีดูแลช่องปาก อย่างเหมาะสม

แผลร้อนใน เป็นแผลบวมแดงที่มักเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น ริมฝีปากด้านใน ภายในปากอาจมีแผลร้อนในพร้อมกันเกิน 1 จุด และแผลอาจเพิ่มจำนวนหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ วิธีแก้ร้อนใน สามารถทำได้ด้วยการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์และสารฆ่าเชื้อ ทาเจลฆ่าเชื้อที่แผล ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยทั่วไป แผลร้อนในจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากเป็นแผลนานกว่า 3 สัปดาห์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ร้อนใน คืออะไร ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Mouth ulcers) เป็นแผลตื้น ๆ ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ตรงกลางเป็นสีขาวอมเหลือง ขอบแผลเป็นสีแดง ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น เพดานปาก ริมฝีปากด้านใน เหงือก อาจทำให้รู้สึกเจ็บ รับประทานอาหารไม่สะดวกหรือพูดได้ลำบาก หากเครียด เจ็บป่วย อ่อนเพลียรุนแรง ก็อาจทำให้อาการร้อนในแย่ลงได้ ทั้งนี้ แผลร้อนในไม่ใช่โรคไม่ติดต่อ ต่างจากแผลโรคเริม (Cold sores) ที่พบบริเวณริมฝีปากด้านนอกและรอบริมฝีปาก […]

หมวดหมู่ สุขภาพช่องปาก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพช่องปาก

ปัญหาสุขภาพฟัน

ฟันโยก สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

ฟันโยก เป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไปในเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ฟันน้ำนมเริ่มทยอยหลุดออกไป เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ก็อาจเจอปัญหาฟันน้ำนมโยกได้ แต่หากปัญหาฟันโยกเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่มีฟันแท้ครบแล้ว อาจเป็นสัญญาณของโรคเหงือก และฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และหากพบปัญหาจะได้รักษาอย่างทันท่วงที สาเหตุของฟันโยก  สาเหตุของฟันโยก อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคเหงือกอักเสบ ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของฟันโยก โดยโรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์อักเสบ (Periodontal disease) เกิดจากคราบจุลินทรีย์สะสมในบริเวณขอบเหงือกและกลายเป็นคราบแข็งเรียกว่า “หินปูน” ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียที่อาจทำร้ายเหงือกและฟันได้ หากสะสมเป็นเวลานาน โรคกระดูกพรุน โรคที่ทำให้กระดูกเปราะบาง ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง และถ้าหากมวลกระดูกขากรรไกรหนาแน่นน้อยลง อาจทำให้ฟันโยก และหลุดออกมาได้ การตั้งครรภ์ ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อกระดูกและเนื้อเยื่อในปาก จนทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ อย่างไรก็ดี กรณีนี้ มักเป็นเพียงชั่วคราวไม่ถึงกับทำให้ฟันหลุด การบาดเจ็บจากแรงกระแทกที่ส่งผลต่อฟัน เช่น การหกล้ม การตกจากที่สูง อาจทำให้เนื้อเยื่อ และกระดูกรอบ ๆ ฟันเสียหายได้ นอกจากนี้ การนอนกัดฟันที่อาจเกิดจากความเครียด หรือฟันเรียงตัวผิดปกติ ก็อาจทำให้ฟันสึกและโยกได้เช่นกัน การรักษาฟันโยก  ทันตแพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุ และรักษาอาการฟันโยก โดยอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้ การขูดหินปูน เพื่อขจัดคราบพลัคที่สะสมอยู่ตามซอกฟัน และบริเวณฐานฟัน ทันตแพทย์อาจฉีดยาชาก่อน เพื่อลดอาการเจ็บปวดระหว่างขูดหินปูน รวมถึงให้ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือยาแก้อักเสบเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย และอาจให้ยาพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟนเพื่อระงับอาการปวดหลังจากขูดหินปูน การใช้เฝือกสบฟัน เพื่อช่วยกระจายแรงสบฟันอย่างเหมาะสม […]


ทันตกรรมเพื่อความงาม

ฟันปลอมมีกี่แบบ และควรทำความสะอาดอย่างไร

ฟันปลอม คือ หนึ่งในการรักษาสุขภาพช่องปากที่สามารถถอดได้ โดยมีทั้งฟันปลอมที่ทำจากอะคริลิค ไนลอน และโลหะ ให้พอดีเหงือก เพื่อช่วยทดแทนฟันที่หายไป เพิ่มคุณภาพด้านการรับประทานอาหาร และการพูดสื่อสาร แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ฟันปลอม อาจต้องศึกษาให้ดีก่อนว่า ฟันปลอมมีกี่แบบ แต่ละแบบใช้งานอย่างไร และจะดูแลทำความสะอาดฟันปลอมได้อย่างไร โดยอาจปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อทำการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ฟันปลอมมีกี่แบบ อะไรบ้าง ฟันปลอมที่เป็นที่นิยม มี 3 แบบ คือ ฟันปลอมแบบบางส่วน ฟันปลอมแบบบางส่วนอาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีฟันหลุดเป็นบางซี่ แต่ยังคงมีฟันซี่อื่น ๆ ที่แข็งแรงอยู่ โดยทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากวัดขนาดของฟัน แล้วทำฟันปลอมให้พอดีที่สุด เพื่อเติมเต็มฟันที่หายไป ฟันปลอมแบบบางส่วนอาจทำจากพลาสติก ไนลอน แผ่นโลหะ และอาจมีตะขอยึดกับฟันซี่ข้าง ๆ เพื่อไม่เคลื่อนที่ แต่ยังสามารถถอดออกนำมาทำความสะอาดได้ง่าย ฟันปลอมครบชุด ฟันปลอมครบชุด หรือฟันปลอมทั้งปาก เป็นฟันปลอมที่ทำจากวัสดุหลายชนิด เช่น อะคริลิค ไนลอน เรซิน โลหะเหมาะสำหรับผู้ที่ฟันแท้ในปากทั้งหมดหลุดออกไปแล้ว โดยสามารถนำฟันปลอมแบบครบชุดมาใช้งานทดแทนฟันแท้ได้เลย แต่ในช่วงแรกของการใส่ฟันปลอมรูปแบบนี้ อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเล็กน้อย เพราะฟันปลอมจะยึดเข้ากับเหงือกเพื่อให้ติดแน่น ป้องกันการหลุดร่วงระหว่างวัน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักพักเพื่อทำความความคุ้นเคยในการใช้ ฟันปลอมแบบฝังรากเทียม ฟันปลอมแบบฝังรากฟันเทียมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีฟันหลุดเป็นบางซี่ โดยการฝังรากเทียมที่ทำจากไททาเนียม และฟันปลอมที่ทำจากเซรามิก ยึดเข้ากับกระดูกขากรรไกรและเหงือก ทำให้สามารถใช้งานได้เหมือนฟันแท้ แต่วิธีการนี้อาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าฟันปลอมรูปแบบอื่น ข้อควรระวังในการใส่ฟันปลอม การใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อเป็นปากนกกระจอก […]


โรคเหงือกและช่องปาก

เชื้อราในปาก

เชื้อราในปาก เป็นการติดเชื้อราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) ในบริเวณเยื่อบุปาก โดยสังเกตได้จากรอยสีขาวบริเวณลิ้น และกระพุ้งแก้มหากไม่ทำการรักษาอาจลุกลามไปยังเพดานปาก เหงือก และต่อมทอนซิล คำจำกัดความเชื้อราในปาก คืออะไร เชื้อราในปาก คือ การติดเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่มักเกิดในทารก ผู้สูงอายุ และผู้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องปากได้ง่าย และอาจมีอาการในระดับรุนแรงหากติดเชื้อ อาการอาการของเชื้อราในปาก อาการของเชื้อราในปาก ที่สามารถสังเกตได้ทั้งในช่วงวัยเด็กและผู้ใหญ่ มีดังนี้ รอยสีขาวบริเวณลิ้น กระพุ้งแก้ม บางครั้งอาจพบเจอบนเพดานปาก เหงือก และต่อมทอนซิล เป็นแผลนูนเล็ก มุมปากแตก เป็นแผล และอาจอักเสบได้ อาจมีเลือดออก หากบริเวณที่ติดเชื้อราเชื้อราถูกเสียดสี รู้สึกเจ็บแสบ หรือปวดแผลในช่องปากอย่างรุนแรง จนอาจทำให้รับประทานอาหารลำบาก สูญเสียการรับรู้รสชาติอาหาร สาเหตุสาเหตุของเชื้อราในปาก สาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องปากที่พบมากที่สุดคือ ระบบภูมิคุ้มกันการทำงานอ่อนแอลง โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะคอยทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย แต่หากการป้องกันเหล่านี้มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการต้านเชื้อรา ก็อาจส่งผลให้จำนวนของเชื้อราเพิ่มขึ้น จนเกิดการติดเชื้อในช่องปากได้ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของเชื้อราในปาก ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ติดเชื้อราในปากได้ง่าย มีดังนี้ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งมักเกิดขึ้นในทารกที่ระบบภูมิคุ้มกันยังอาจพัฒนาไม่เต็มที่ และผู้สูงอายุที่ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพลดลง โรคเบาหวาน หากควบคุมอาการของโรคเบาหวานไม่ดี อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งอาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราแคนดิดาได้ การติดเชื้อราในช่องคลอด เป็นการติดเชื้อราคาดิดาชนิดเดียวกันกับเชื้อราในช่องปาก จึงอาจก่อให้เกิดการลุกลามติดเชื้อในช่องปากร่วม อีกทั้งการติดเชื้อราในช่องคลอด ยังส่งผลเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปยังทารกในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ภาวะทุพโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้ง่าย ยา เนื่องจากยาบางชนิดอาจรบกวนความสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องปาก […]


สุขภาพช่องปาก

คราบหินปูน อาการ สาเหตุ การรักษา

คราบหินปูน คือ คราบพลัค หรือคราบจุลินทรีย์ที่เป็นคราบเหนียว มีลักษณะแข็งเกาะอยู่ตามซอกฟัน หรือขอบฟัน หากมีการสะสมของคราบหินปูนมาก อาจทำให้เกิดคราบเหลืองที่ฟันมากขึ้น และอาจส่งผลให้มีกลิ่นปากตามมา ทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจในการพูด หรือยิ้มได้ รวมถึงอาจทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบ ปริทันต์ หากไม่มีการรักษา คราบหินปูน คืออะไร  คราบหินปูน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากทำปฏิกิริยากับโปรตีน หรือเศษอาหารที่อยู่ตามซอกฟัน ทำให้เชื้อแบคทีเรียสะสมกลายเป็นคราบพลัคบริเวณซอกฟัน และขอบฟันล่าง ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสีเหลือง ก้อนแข็ง ซึ่งคราบหินปูนไม่สามารถขจัดออกได้ด้วยการแปรงฟัน จำเป็นต้องขจัดออกด้วยเครื่องมือของทันตแพทย์ สาเหตุการเกิดคราบหินปูน สาเหตุของการเกิดคราบหินปูน คือ ไม่แปรงฟัน หรือแปรงฟันไม่ถูกวิธี รวมถึงบางครั้งอาจละเลยสุขภาพช่องปาก การรับประทานอาหารในทุกวัน อาจทำให้เกิดการสะสมเศษอาหารในซอกฟันได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาลที่ติดฟันได้ง่าย สิ่งเหล่านี้ถือ เป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย และอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดคราบหินปูน นอกจากนี้การดื่มชา กาแฟ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็อาจทำได้เกิดคราบหินปูนได้เช่นกัน ผลกระทบของคราบหินปูน  หากปล่อยให้คราบหินปูนเกาะที่ฟันเป็นระยะเวลานานโดยไม่รักษา อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและสุขภาพเหงือกได้ เพราะหินปูนเป็นแหล่งที่สะสมของเชื้อแบคทีเรีย อาจส่งผลให้มีเลือดออกขณะแปรงฟันกระทบขณะแปรงฟันอาจมีเลือดออก  และทำให้มีกลิ่นปาก หากคราบหินปูนเกาะตัวหนาขึ้น อาจทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ และฟันผุ วิธีการรักษาหรือขจัดคราบหินปูน  การขจัดคราบหินปูน คือ การขูดหินปูนโดยทันตแพทย์ หากมีหินปูนเพียงเล็กน้อย ทันตแพทย์อาจยังไม่ฉีดยาชา แต่ถ้าหากมีคราบหินปูนสะสมมากอาจต้องฉีดยาชา เพราะอาจมีอาการเจ็บ หรือเสียวฟันขณะขูดหินปูนได้ ในการขูดหินปูนทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขูดหินปูนไฟฟ้า […]


สุขภาพช่องปาก

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่ทำให้เกิดแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้าน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อราที่มีชื่อเรียกว่า “แคนดิดา” รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อย่างการขาดสารอาหาร ริมฝีปากแห้ง ปัญหาโรคผิวหนัง เป็นต้น ส่งผลให้ริมฝีปากแห้ง แตก ลอก เกิดสะเก็ดแผลบริเวณมุมปาก อย่างไรก็ตาม โรคปากนกกระจอกอาจหายภายใน 2-3 วัน หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดปากนกกระจอกด้วย คำจำกัดความปากนกกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่ทำให้เกิดแผลที่มุมปาก โดยแผลจะมีลักษณะแตกเป็นร่องบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้าน สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดา ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ เช่น การขาดสารอาหารบางชนิด ริมฝีปากแห้ง ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคันระคายเคืองบริเวณมุมปาก หรือรู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณมุมปาก  โรคปากนกกระจอกอาจหายภายใน 2-3 วัน หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโดยคุณหมอจะรักษาตามประเภทของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว เช่น รักษาด้วยยาต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย   อาการอาการของ ปากนกกระจอก  อาการของปากนกกระจอก จะมีลักษณะเป็นแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 สองด้าน รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้  บริเวณมุมปากตึงขณะอ้าปาก ริมฝีปากแห้ง แตกเป็นขุยรอบมุมปาก รู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณมุมปาก รอยแผลแตก แห้ง […]


สุขภาพช่องปาก

กรามค้าง ความผิดปกติของขากรรไกร

กรามค้าง เป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติของขากรรไกร ทำให้มีอาการอ้าปากได้น้อยกว่าปกติ อ้าปากแล้วหุบไม่ได้ หรือมีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิต และหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เจ็บปวดเมื่อเคี้ยวอาหารหรือพูดได้ [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของ กรามค้าง โดยปกติข้อต่อขากรรไกรจะเคลื่อนที่แบบบานพับร่วมกับแบบเลื่อน โดยมีกระดูกอ่อนห่อหุ้มกระดูกส่วนที่สัมผัสกัน และมีหมอนรองกระดูกมารองรับแรงกระแทก ทำให้ข้อต่อขากรรไกรสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหล ซึ่ง กรามค้าง อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ หมอนรองกระดูกสึกกร่อน หรือเคลื่อนออกนอกตำแหน่ง กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อต่อได้รับความเสียหายจากโรคข้ออักเสบ ข้อต่อเสียหายจากการกระแทกอย่างรุนแรง การสบฟันผิดปกติ (Malocclusion) หรือปัญหาการบดเคี้ยว เช่น การสูญเสียฟันกราม การกัดหรือเค้นฟันอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน อาการกรามค้าง อาการกรามค้างที่เกิดจากภาวะข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ มีดังนี้ อาการปวดบริเวณขากรรไกรข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาการปวดบริเวณรอบ ๆ หูหรือใบหน้า เจ็บขากรรไกรเวลาเคี้ยวอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก มีเสียงดังบริเวณขากรรไกรเมื่ออ้าปากหรือเคี้ยวอาหาร อ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้ หรืออ้าปากได้น้อยกว่าปกติ ปัจจัยเสี่ยงกรามค้าง ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงความผิดปกติของขากรรไกรและอาจนำไปสู่ อาการกรามค้าง มีดังนี้ โรคข้ออักเสบชนิดต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ขากรรไกรบาดเจ็บจากการกระแทกอย่างรุนแรง เคี้ยวอาหารข้างเดียว ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรทำงานไม่สมดุล รับประทานอาหารที่แข็ง เหนียว บ่อยครั้ง ความเครียด หรือการนอนกัดฟัน โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue disease) บางชนิดที่อาจส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกร การรักษากรามค้าง อาการกรามค้างอาจหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่คุณหมออาจใช้ยาร่วมกับการรักษาอื่น […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

ปัญหาฟันผุ ป้องกันได้ด้วยยาสีฟันที่เหมาะสม

คุณรู้ไหมว่า การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี ถือเป็นจุดเริ่มต้นง่าย ๆ ในการดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นมีมากมาย และปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อย แต่หลายคนอาจจะยังละเลย เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องรุนแรงอะไรก็คือ ปัญหาฟันผุ นั่นเอง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ เราบอกเลยว่า คุณกำลังคิดผิด! เพราะ ฟันผุ ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ยิ่งปล่อยไว้ก็ยิ่งทำร้ายสุขภาพ ว่าแต่ฟันผุส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร แล้วเราจะรักษาหรือป้องกันฟังผุได้ด้วยวิธีไหนบ้าง เราไปหาคำตอบกันเลย “ฟันผุ” ไม่ใช่แค่ “ฟันเป็นรู” ฟันผุ เป็นภาวะที่พื้นผิวของฟันถูกทำลายถาวร จนเกิดเป็นรูหรือโพรงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ แบคทีเรียในช่องปาก การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล การแปรงฟันผิดวิธี การใช้ยาสีฟันที่ไม่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ซึ่งหลายคนอาจคิดว่า ฟันผุก็แค่ฟันเป็นรู ดูไม่สวยงาม หรือแค่ทำให้รับประทานอาหารลำบากขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว หากคุณปล่อยไว้นานวันเข้า จากรูฟันผุที่คุณเคยคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็อาจทำร้ายสุขภาพของคุณได้มากจนคุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว ภาวะฟันผุ นอกจากจะทำให้เกิดรูหรือโพรงที่เนื้อฟันแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้ด้วย อาการปวดฟัน อาการเสียวฟัน อาการบวมบริเวณฟันซี่ที่ปวด ฟันถูกทำลายหรือฟันหัก ปัญหาในการเคี้ยวอาหาร ฟันที่ซี่ผุหลุดออก จนฟันซี่ข้าง ๆ เคลื่อน หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

เพิ่มสุขอนามัยในช่องปาก ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ด้วย ที่ขูดลิ้น

นอกจากซอกฟันที่เป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียจนก่อให้เกิดกลิ่นปากแล้ว บริเวณลิ้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่แบคทีเรียสามารถอาศัยอยู่ได้เช่นกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องทำความสะอาดลิ้นไม่ต่างจากการแปรงฟัน และในวันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ ได้นำความรู้เกี่ยวกับ ที่ขูดลิ้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมช่วยให้คุณขจัดคราบต่าง ๆ ที่ลิ้น มาฝากกันค่ะ ทำความรู้จักกับการ ที่ขูดลิ้น กันเถอะ การขูดลิ้น ถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ อุปกรณ์ขูดลิ้นส่วนใหญ่มีลักษณะ หรือรูปทรง และขนาดแตกต่างกันออกไป เช่น ทำจากพลาสติกที่ถูกดัดเป็นรูปทรงโค้งมน หรือโลหะรูปแบบตัววี อุปกรณ์ชนิดนี้มีคุณสมบัติในการช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ แบคทีเรีย แต่ก็ยังไม่มีผลการศึกษาที่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า ที่ขูดลิ้น สามารถช่วยลดกลิ่นปากให้กับผู้ใช้งานได้ในกรณีที่มีปัญหากลิ่นปากเรื้อรัง อุปกรณ์นี้ช่วยได้เพียงแค่ทำให้กลิ่นปากที่เกิดจากการเกิดสะสมตัวของคราบต่าง ๆ ลดลงเล็กน้อยเท่านั้น ประโยชน์ของการใช้ที่ขูดลิ้น การใช้ที่ขูดลิ้นขจัดเซลล์ที่ตายและแบคทีเรียในช่องปากเป็นประจำ อย่างน้อยในช่วงเช้า-เย็น อาจช่วยให้คุณมีสุขภาพช่องปาก ที่ดีขึ้นได้ ดังนี้ ที่ขูดลิ้นช่วยลดแบคทีเรียบริเวณลิ้น เพราะการสะสมของแบคทีเรียและเศษอาหาร อาจทำให้ลิ้นคุณมีสารสีขาวเคลือบอยู่ ดังนั้น การขูดลิ้นอย่างสม่ำเสมออาจช่วยกำจัดสารเคลือบนี้ให้หลุดออกไปได้ และไม่ก่อให้เกิดกลิ่นปากด้วย ปรับปรุงสุขภาพโดยรวมภายในช่องปาก เมื่อกำจัดแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในช่องปากไปแล้ว สิ่งดี ๆ ที่ตามมา คือ ช่วยให้คุณห่างไกลจากอาการฟันผุ ไม่มีกลิ่นปาก และป้องกันโรคเหงือกอักเสบ หรืออื่น ๆ ได้ด้วย เพิ่มการรับรสชาติ ลิ้นของเรามีต่อมรับรสชาติกระจายอยู่ทั่ว หากบนลิ้นมีแบคทีเรียสะสมอยู่มากจนเกิดสารเคลือบขาวขึ้น ก็อาจส่งผลให้ต่อมรับรสที่ลิ้นทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่การขูดลิ้นเป็นประจำ ถือเป็นอีกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดีเยี่ยม ขั้นตอนการขูดลิ้นด้วยตนเอง หากปล่อยให้มีคราบอาหารหรือแบคทีเรียสะสมอยู่ที่ลิ้นเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากคุณได้ […]


โรคเหงือกและช่องปาก

อาการ คันเหงือก ในผู้ใหญ่ เกิดจากอะไรได้บ้างนะ

ส่วนใหญ่แล้ว อาการคันเหงือก มักจะเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ๆ ที่ฟันกำลังจะขึ้น แต่สำหรับอาการ คันเหงือก ในผู้ใหญ่ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสภาวะต่าง ๆ รวมถึงโรคเหงือก อาการภูมิแพ้ หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปดูว่าอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุของ อาการคันเหงือก ในผู้ใหญ่ สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ คันเหงือก ในผู้ใหญ่ เหงือก เป็นเนื้อเยื่อที่มีความบอบบาง มีหน้าที่ในการปกป้องฟัน รากฟัน และเส้นประสาทบริเวณรอบ ๆ ซึ่งมีความอ่อนไหวเป็นอย่างมาก เหงือกเป็นส่วนที่ต้องการ การดูแลไม่ต่างจากฟันเลยทีเดียว หากเหงือกเกิดความเสียหาย อาจทำให้ส่งผลต่อสุขภาพฟันอย่างร้ายแรงได้ เมื่อทราบถึงสาเหตุของ อาการคันเหงือก จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณเกิด อาการคันเหงือก ได้ เหงือกได้รับบาดเจ็บ เมื่อเหงือกได้รับบาดเจ็บ อาจทำให้รู้สึกปวด รู้สึกไม่สบายที่เหงือก และเกิด อาการคันเหงือก ซึ่งอาการบาดเจ็บอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เช่น การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การเจ็บที่เกิดจากพฤติกรรม เช่น นอนกัดฟัน ที่อาจเป็นสาเหตุของ อาการคันเหงือก ได้ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกเกิดการระคายเคืองและคันได้ การสะสมของคราบจุลินทรีย์ การสะสมของคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นคราบเหนียว ๆ เกิดจากการสะสมของเศษอาหารผสมกับแบคทีเรีย […]


ทันตกรรมเพื่อความงาม

เรื่องที่ควรรู้ เมื่อจะ ตกแต่งฟันด้วยเรซินสีเหมือนฟัน

เมื่อฟันแตก บิ่น หรือมีช่องว่างระหว่างฟันหน้า อาจทำให้หลาย ๆ คนหมดความมั่นใจ ไม่กล้ายิ้มโชว์ฟัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำทันตกรรมเพื่อความงาม ช่วยให้ฟันที่แตก บิ่น กลับมาสวยดังเดิม ซึ่งวิธีทำก็มีหลายแบบ แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักการ ตกแต่งฟันด้วยเรซินสีเหมือนฟัน ซึ่งเป็นการซ่อมแซมความเสียหายที่ถือว่าคุ้มค่า ราคาถูกกว่าแบบอื่น ๆ ไปดูกันว่าหากต้องการ ตกแต่งฟันด้วยเรซินสีเหมือนฟัน หรือ อุดฟันสีเหมือนฟัน ต้องรู้อะไรก่อนบ้าง ตกแต่งด้วยเรซินสีเหมือนฟัน คืออะไร การ อุดฟันสีเหมือนฟัน เป็นการใช้วัสดุที่ทำมาจากเรซินคอมโพสิตสีเหมือนฟัน เพื่ออุด ตกแต่งฟันที่เกิดความเสียหาย แตก บิ่น บางกรณีใช้เพื่อปิดช่องว่างระหว่างฟันหน้า เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับฟัน โดยแพทย์จะทำการเลือกสีวัสดุที่มีความใกล้เคียงกับสีฟันจริงมากที่สุด หลังจากนั้น แพทย์จะทำการกรอ เพื่อให้ผิวฟันเกิดความหยาบขึ้น หลังจากนั้นจะใช้ของเหลวช่วยให้สารยึดเกาะติดกับฟัน ดูแลฟันอย่างไรเมื่อ อุดฟันสีเหมือนฟัน เมื่อทำการ อุดฟันสีเหมือนฟัน ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษ แต่จะต้องเข้ารับการตรวจ ประเมินจากทันตแพทย์ เพื่อประเมินว่าคุณสามารถ อุดฟันสีเหมือนฟัน ได้หรือไม่ สำหรับผู้ที่มีฟันเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงหรือฟันผุอย่างรุนแรงการยึดติดอาจไม่ได้ผล จำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำวีเนียร์หรือการครอบฟัน เมือทำการ อุดฟันสีเหมือนฟัน การดูแลก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ หากดูแลฟันดี […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน