อาการตาพร่ามัวฉับพลัน เป็นอาการที่อยู่ ๆ ก็มองเห็นไม่ชัด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางครั้งอาจทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้เลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ตาพร่ามัวฉับพลัน มาให้อาจกันว่า เกิดได้จากสาเหตุใดบาง ไปดูกันเลยค่ะ
สาเหตุของอาการ ตาพร่ามัวฉับพลัน
สาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าควรได้รับการรักษาอย่างทันที เพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน นั้นมีหลายสาเหตุ ดังนี้
จอประสาทตาหลุดลอก
เมื่อจอประสาทตา เป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่มีหน้าที่ในการรับภาพ ซึ่งอยู่ด้านหลังของดวงตา เมื่อจอประสาทตาเกิดการหลุดออกมาจะทำเลือดและเส้นประสาทบริเวณนั้นหลุดออกมาด้วย เมื่อจอประสาทตาหลุดลอกออกมาจะทำให้เห็นแสงวูบวาบเหมือนแสงแฟลช บางครั้งอาจเห็นจุดหรือเส้นสีดำลอยไปลอยมากลางอากาศ คล้ายหยากไย่ และทำให้เกิด ตาพร่ามัวฉับพลัน ขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันทีอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย จนส่งผลต่อการทำงานของสมอง หากโรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อส่วนที่ควบคุมการมองเห็นอาจทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน แต่หากโรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อเส้นเลือดที่ดวงตาข้างใด ก็จะทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน ในดวงตาข้างนั้น
ได้รับการกระทบกระเทือน
เมื่อได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ อาจทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ปวดหัว เวียนหัว ส่งผลกระทบต่อความจำ หรือบางครั้งอาจส่งผลต่ออารมณ์ด้วย
ภาวะเลือดออกในช่องลูกตาด้านหน้า (Hyphema)
ภาวะเลือดออกในช่องลูกตาด้านหน้า เป็นอาการที่เลือดจะออกบริเวณดวงตา ซึ่งเกิดจากการได้รับบาดเจ็บรุนแรง การติดเชื้อ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดความดันในลูกตาได้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน ได้
จอประสาทตาเสื่อม
จอประสาทตาเสื่อมนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเสื่อมตามอายุ เมื่ออายุมากขึ้นจอประสาทตาก็เริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ ส่งผลทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน ทำให้มองเห็นไม่ชัด
อาการปวดตา
อาการปวดตาอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อใช้สายตาเป็นเวลานานโดยไม่ได้หยุดพัก ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านหนังสือเป็นเวลานาน เล่นโทรศัพท์มือถือติดต่อกันแบบไม่ได้พัก
สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน
- ตาแดง
- น้ำตาลในเลือดสูง จนเลนส์ดวงตาเกิดอาการบวม
- กระจกตาถลอก
- ภาวะม่านตาอักเสบ
- กระจกตาอักเสบ
- จุดรับจอประสาทตาเป็นรู
- ปวดศีรษะไมเกรน
- เส้นประสาทตาอักเสบ
- หลอดเลือดแดงอักเสบ