backup og meta

อาบแดด ประโยชน์และข้อควรระวัง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์ · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

    อาบแดด ประโยชน์และข้อควรระวัง

    การ อาบแดด ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นวิธีการที่ช่วยทำให้ผิวมีสีแทน ดูสุขภาพดี ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ และอาจช่วยเพิ่มความมั่นใจให้หลาย ๆ คน แต่การอาบแดดก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะอาจส่งผลให้มีอาการแดดเผา แสบร้อนผิว ทำให้ผิวแก่ก่อนวัยอันควร และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้น จึงไม่ควรอาบแดดเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง และควรทาครีมกันแดดทุกครั้งเพื่อช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีที่อาจทำร้ายสุขภาพผิว

    ประโยชน์ของแสงแดดและการอาบแดด

    ประโยชน์ของ แสงแดดและการอาบแดด

    อีกหนึ่งสูตรความงามในปัจจุบันที่มีคนให้ความสนใจมากนั่นก็คือ การมีผิวแทน หรือการไปอาบแดดเพื่อให้มีผิวแทน เนื่องจากรสนิยมที่มองว่าผิวสีแทนนั้นเป็นผิวที่ดูสุขภาพดี เสริมเสน่ห์ให้แก่ตัวบุคคล และสร้างความมั่นใจได้ ซึ่งการอาบแดดนั้น นอกจากจะให้ข้อดีในเรื่องของความสวยความงามอย่างการมีผิวที่ดูสวยและสุขภาพแล้ว ยังดีต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ ด้วย ดังนี้

    แสงแดดช่วยปรับสภาพอารมณ์และความรู้สึก

    ผู้ช่วยเชี่ยวด้านสุขภาพอย่าง ดร.แครีย์ บลิการ์ด (Carey Bligard, MD, UnityPoint Health) กล่าวว่า แสงแดด ช่วยในการกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกได้เป็นอย่างดี การออกไปรับแสงแดดจะช่วยให้รู้สึกถึงการมีพลังงาน ช่วยในการกระตุ้นระดับของฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยทำให้อารมณ์ดี

    ประโยชน์จากวิตามินดี

    วิตามินดี เป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยดูแลให้กระดูกแข็งแรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารและอาหารเสริมทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การออกไปรับแสงแดดราว 15 นาที ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจาก แสงแดด ได้เช่นกัน

    ปลดปล่อยความเครียด

    ความเครียดเป็นปัญหาทางจิตใจที่ใคร ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญกันอยู่แล้ว การทำกิจกรรมเพื่อช่วยในการคลายเครียดนั้นมีอยู่หลายวิธี เช่น ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ใช้เวลาว่างอยู่กับงานอดิเรก หรือแม้แต่การพาสุนัขไปเดินเล่นรับ แสงแดด ยามเช้าหรือยามเย็น ก็ช่วยปรับอารมณ์และสภาพจิตใจให้ดีขึ้น

    ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

    ในสมองจะมีสารที่ชื่อ เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นสารในสมองที่ทำหน้าที่ในการควบคุมและส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่าถึงเวลาเข้านอนแล้ว การพาตัวเองไปพบกับแสงแดดไม่ว่าจะช่วงเช้าหรือเย็น มีผลการศึกษาพบว่า ช่วยในการกระตุ้นระดับของสาร เมลาโทนิน (Melatonin)  เพื่อทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

    อาบแดดนานแค่ไหนถึงจะพอดี

    โดยปกติแล้วผู้เชี่ยวชาญมองว่า ร่างกายสามารถที่จะอาบแดดได้นานตามต้องการ ตราบที่ไม่มีอาการที่แสดงถึงผลกระทบของแสงแดดต่อผิวหนัง เช่น ผิวไหม้ ผิวลอก หรือเกิดอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง แต่หากยึดตามคำแนะนำที่เหมาะสมแล้ว ควรอาบแดดไม่เกิน 20 นาทีต่อวันโดยไม่ทาครีมกันแดด แต่เพื่อป้องกันการผิวไหม้จาก แสงแดด อาจลดระยะเวลาลงเหลือ 5-10 นาที อย่างไรก็ตาม ไม่ควรลืมทาครีมกันแดดหากจะต้องออกไปพบกับแสงแดดข้างนอก เพื่อป้องกันสุขภาพผิวและอันตรายจากแสงยูวี

    ข้อควรระวังของการ อาบแดด

    แม้การอาบแดดจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่ไม่น้อย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า แสงแดด จากการอาบแดดแต่ละครั้งนั้นจะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพเลย เพราะการตากแดดที่มากจนเกินไปยังคงมีความเสี่ยงที่ควรระวัง ได้แก่

  • ปัญหาสุขภาพผิวหนัง เซลล์ผิวหนังมีเมลานิน (Melanin) ปกป้องผิว แต่เมื่อถูกแสงแดดมากจนเกินไป ก็เสี่ยงที่จะทำให้เป็นฝ้า กระ ผิวไหม้ ผิวลอก ผื่นแดง หรืออันตรายจนเป็นมะเร็งผิวหนัง
  • แก่ก่อนวัยอันควร การเผชิญกับแสงแดดเป็นประจำจะทำให้ผิวแก่ไวขึ้น โดยจะเริ่มสังเกตได้จากริ้วรอย รอยเหี่ยวย่น หรือจุดด่างดำต่าง ๆ 
  • ปัญหาสุขภาพดวงตา รังสียูวีจาก แสงแดด เป็นอันตรายต่อดวงตาโดยสามารถทำร้ายดวงตาชั้นนอกที่เรียกกันว่ากระจกตา ซึ่งอาจทำให้ทัศนะในการมองเห็นมีภาพเบลอ และอาจพัฒนาเป็นต้อกระจก ไปจนถึงเสี่ยงที่จะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
  • เคล็ดลับในการอาบแดดให้สุขภาพดี

    ก่อนจะออกไปอาบแดด ก็ควรที่จะต้องมีการเตรียมตัวอยู่เสมอ เพื่อให้การอาบแดดนั้นเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ และลดความเสี่ยงของปัญหาผิว โดยก่อนออกไปอาบแดดควรที่จะ

  • ทาครีมกันแดดที่มีสาร SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป โดยชะโลมครีมกันแดดอย่างน้อย 15-30 นาทีก่อนที่จะออกไปข้างนอก
  • ปกป้องหนังศีรษะ อาจเป็นการทาครีมกันแดดบริเวณศีรษะ สวมหมวก หรือหาวัตถุสำหรับป้องกันไม่ให้ศีรษะได้รับแสงแดดนานจนเกินไป
  • หากรู้สึกร้อนให้หยุดพักการอาบแดด
  • ดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอขณะที่มีการอาบแดด
  • ระมัดระวังการใช้บริการเตียงอาบแดด เพราะถึงแม้จะไม่มี แสงแดด แต่ยังคงมีแสงยูวีซึ่งอาจเป็นตรายต่อสุขภาพผิวได้
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา