สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าตามแนวขน เคล็ดไม่ (ลับ) สำหรับคนเป็นสิว

การ ล้างหน้าตามแนวขน เป็นอีกหนึ่งศาสตร์การล้างหน้าที่มีส่วนช่วยลดการอุดตันของสิว กระชับรูขุมขนและช่วยลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอีกด้วย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำเคล็ดลับ หน้าสวย ไร้สวย ด้วยการล้างหน้าตามแนวขน มาฝากกันค่ะ จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย ล้างหน้าตามแนวขน เคล็ดไม่ (ลับ) สำหรับคนเป็นสิว ล้างหน้าตามแนวขน เป็นอีกหนึ่งศาสตร์การล้างหน้า ที่ถูกคิดค้นโดย นายแพทย์สมนึก อมรสิริพาณิชย์ ซึ่งกล่าวว่า ท่อน้ำมันจะมีแนวเดียวกับโพรงขน การล้างหน้าไปตามทิศทางเดียวกันกับโพรงขนจะช่วยให้น้ำมันไหลออกมาทิศทางเดียวกัน จึงทำให้ไม่เกิดการอุดตันของสิว หากล้างหน้าไม่ตรงทิศทาง อาจส่งผลให้สิ่งสกปรกออกมาไม่หมด เพิ่มโอกาสการเป็นสิวอุดตันได้  4 ขั้นตอนการล้างหน้า ตามแนวขน อย่างถูกต้องและถูกวิธี เคล็ดลับง่าย ๆ ในการล้างหน้าตามแนวขน อย่างถูกต้องและถูกวิธี มีดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการนำโฟมล้างหน้าผสมกับน้ำเล็กน้อยให้เกิดฟอง โดยเริ่มจากถูบริเวณหน้าผาก จากบริเวณตรงกลางหน้าผากออกไปด้านช้าง ขั้นตอนที่ 2 หลังจากนั้นถูไล่ลงมาบริเวณจมูก ขั้นตอนที่ 3 เริ่มใหม่ที่บริเวณแก้ม ถูแนวเฉียง ๆ ลงมาจนถึงบริเวณขากรรไกร ขั้นตอนที่ 4 ลำดับสุดท้ายบริเวณริมฝีปากบนลงมาถึงบริเวณคาง จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด และซับให้แห้ง  ข้อควรรู้เกี่ยวกับการล้างหน้า ควรล้างหน้าเป็นประจำทุกวันอย่างน้อยวันละ […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

การดูแลและทำความสะอาดผิว

บรรเทาอาการผิวแห้ง ด้วยวิธีธรรมชาติ ทำได้อย่างไรบ้าง

อาการผิวแห้งนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน บางคนอาจมีผิวหน้า และผิวกายแห้งมากกว่าคนอื่น โดยเฉพาะหากเจออาการแห้ง อาการเย็น เป็นต้น การ บรรเทาอาการผิวแห้ง ด้วยวิธีธรรมชาติ อย่างอ่อนโยนและถูกวิธีถือจึงถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรละเลย สาเหตุที่อาจทำให้เกิด อาการผิวแห้ง ผิวหนังมีการผลิตน้ำมันออกมาตามธรรมชาติเรียกว่า ซีบัม (Sebum) และเมื่อผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากเกินไปจะทำให้เกิดสิวได้ แต่อย่างไรก็ตาม น้ำมันที่ผิวผลิตออกมานั้นก็มีหน้าที่ช่วยให้ผิวหนังเกิดความชุ่มชื่น และช่วยลดการติดเชื้อที่ผิวหนัง สำหรับผู้ที่มีอาการผิวแห้งอาจเกิดจากซีบัมผลิตน้ำมันออกมาไม่เพียงพอ เมื่อผิวหนังแห้งอาจทำให้เกิดอาการคัน ผิวลอก เป็นขุย มีผื่นแดง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังแห้งนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อากาศเย็น อากาศแห้ง ได้รับสารเคมีที่รุนแรง ล้างหน้าบ่อยเกินไป ค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH ของผิวไม่สมดุล โรคผิวหนัง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ โดดแสงแดดมากเกินไป บรรเทาอาการผิวแห้ง ด้วยวิธีธรรมชาติ ให้ความชุ่มชื่นกับผิวหนัง การให้ความชุ่มชื่นกับผิวหนัง ไม่ว่าจะด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ ครีมบำรุง หรือว่าผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ถือเป็นเกราะป้องกันของผิวหนัง ช่วยในการกักเก็บน้ำ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่อาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวได้ เช่น เจลว่านหางจระเข้บริสุทธิ์ น้ำมันมะพร้าว เชียบัตเตอร์ ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวที่อ่อนโยน การใช้สบู่ที่มีน้ำหอม สีและสารเคมีอื่น ๆ อาจทำให้ผิวระคายเคืองและแห้งได้ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ สีสังเคราะห์ และพลาสติก ใช้ข้าวโอ๊ตผสมสำหรับอาบน้ำ ข้าวโอ๊ต นอกจากใช้สำหรับการรับประทานแล้ว […]


สุขภาพผิว

โรคผิวหนังช้าง อาการ และการรักษา

โรคผิวหนังช้าง เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนัง ทั้งยังอาจมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นบริเวณข้อพับ เช่น หลังคอ รักแร้ ข้อศอก ขาหนีบ ซึ่งนอกจากจะทำให้ผิวดูไม่สวยงามแล้ว ยังอาจทำให้เสียความมั่นใจอีกด้วย [embed-health-tool-bmr] โรคผิวหนังช้าง คืออะไร โรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) คือ โรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนัง อาจมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นตามบริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น หลังคอ รักแร้ ข้อศอก ขาหนีบ ซึ่งโรคผิวหนังช้างอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด หรืออาจมาจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ ความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไต ต่อมไทรอยด์ การทำงานอินซูลินในร่างกายไม่คงที่ ซึ่งอาจอยู่ในระดับสูงเกินไป หรือร่างกายมีความต้านทานต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ยาหรืออาหารเสริมบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด อาหารเสริมสำหรับผู้ที่เล่นกล้ามเนื้อหรือเพาะกล้าม ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง มะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตาม หาเกิดความกังวลของโรคผิวหนังช้างอาจเข้ารับการตรวจร่างกาย หรือตรวจสุขภาพอย่างละเอียดได้โดยคุณหมอ เพราะบางครั้งอาจมีภาวะเบาหวานแทรกซ้อนอย่างโรคอ้วนร่วมอยู่ด้วย อาการของโรคผิวหนังช้าง การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังตามข้อพับ อาจเป็นสัญญาณเดียวอาจเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจจะมีความคล้ายคลึงกับขี้ไคลเล็กน้อย โดยจะมีสีที่ค่อนข้างคล้ำไปถึงดำ และมีผิวสัมผัสที่เนียนนุ่ม หรืออาจแห้งกร้านตามข้อพับต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใต้หน้าอก ฝ่าเท้า ด้านหน้าของข้อศอก ขาหนีบ […]


สุขภาพผิว

วิตามินบำรุงผิว มีอะไรบ้าง

วิตามินบำรุงผิว ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินเค และอื่น ๆ อาจช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดและมลภาวะต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน ทำให้ผิวมีสุขภาพดี แข็งแรง ชุ่มชื้น และอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งผิวที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดดและรังสียูวีอีกด้วย วิตามินบำรุงผิว มีอะไรบ้าง ในทุก ๆ วันที่คุณออกไปทำงาน ไปเรียน แน่นอนว่าผิวหน้าจะต้องเจอกับแดด ฝุ่น ควันอย่างแน่นอน ซึ่งตัวการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้สุขภาพผิวหน้าของคุณนั้นแย่ลง การทาครีมบำรุงและครีมกันแดดอาจจะไม่เพียงพอต่อผิวหน้า จาการวิจัยชี้ว่า วิตามินบำรุงผิว และมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพผิวในหลาย ๆ ด้าน วิตามินหลายตัวมีส่วนช่วยให้ผิวหน้ามีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ซึ่งวิตามินเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ผิวหน้ามีสุขภาพที่แข็งแรง วิตามินเอ เรตินอยด์ (Retinoids) หรือวิตามินเอ เป็นสารอาหารในกลุ่มเบต้าแคโรทีนที่พบได้ตามธรรมชาติ ซึ่งแหล่งของวิตามินเอที่ดีนั้นมีมากมาย เช่น แครอท ฟักทอง ผักใบเขียว และไข่ ครีมหลายตัวก็มีการเพิ่มวิตามินเอลงไปในส่วนผสม เพราะวิตามินเอมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการหมุนเวียนของเซลล์ ซึ่งช่วยปรับปรุงพื้นผิว สีผิว ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่หมองคล้ำให้ดีขึ้นได้ ที่สำคัญยังมีส่วนช่วยในการต่อสู้กับสิวและชะลอการเกิดริ้วรอย แต่เรตินอยด์เป็น วิตามิน ที่ช่วยเพิ่มความไวต่อแสงแดดได้ ดังนั้นหากมีการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินเอจำเป็นที่จะต้องทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด นอกจากนี้เรตินอยด์ยังทำให้ผิวแห้งได้ ดังนั้นควรใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่มีคุณภาพควบคู่กันไปด้วย วิตามินซี วิตามินซี ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างหนึ่ง […]


สิว

บีบสิว ออกได้หรือไม่ หากเป็นสิวเยอะมาก

บีบสิว เป็นวิธีในการกำจัดสิวบนใบหน้าแบบชั่วคราว ซึ่งสิวที่บีบได้ อาจได้แก่ สิวหัวดำ สิวหัวขาว แต่หากบีบสิวไม่ถูกวิธีอาจทำให้อาการสิวแย่ลง เกิดการอักเสบในบริเวณกว้าง ติดเชื้อ เป็นแผล นอกจากนี้ การบีบสิวอาจทำให้สิวหายช้าลงและชะลอกระบวนการบำบัดผิวตามธรรมชาติ ดังนั้น การบีบสิวที่ถูกต้องอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ สิวเกิดจากอะไร สิว เป็นปัญหาสุขภาพผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนบนใบหน้าเกิดการอุดตันด้วยความมัน สิ่งสกปรก หรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ซึ่งสิวที่เกิดขึ้นอาจมีลักษณะเป็นตุ่มสีแดง และตุ่มที่เป็นหนอง ในบางคนหากสิวมีการอักเสบ อาจทำให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นติดกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ สาเหตุของการเกิดสิวอาจมีดังนี้ ความมันบนใบหน้า หรือหน้ามันมากเกินไปจนเกิดการอุดตันที่รูขุมขน ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกบนใบหน้า มีการสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขน แบคทีเรียสะสมอยู่ในรูขุมขน อาการแพ้ต่อสารบางอย่าง เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ยาสระผม ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งอาจทำให้เกิดสิวฮอร์โมน สัมผัสกับใบหน้าบ่อย ๆ รับประทานยาคุมกำเนิดบางชนิด ซึ่งอาจส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย รับประทานอาการที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมหวาน ของทอด เป็นสิว ควรบีบหรือไม่ สิวมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นสิวฮอร์โมน สิวอักเสบ สิวจากอาการแพ้ สิวหัวหนอง สิวหัวดำ สิวหัวขาว […]


โรคสะเก็ดเงิน

7 ปัจจัยกระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน ที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องทรมานกับอาการผื่นสีแดงหนา และอาการคัน เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทำได้แค่เพียงกดอาการของโรคไม่ให้แสดงอาการ หรือประคับประคองไม่ให้โรคแย่ลง หากมีปัจจัยกระตุ้นโรคสะเก็ดเงินมักทำให้อาการของโรคกลับมาได้เสมอ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเหล่านั้นเพื่อป้องกันอาการโรคแย่ลง โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) คือ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม และเชื้อโรคต่าง ๆ โจมตีเซลล์ของตัวเองเพราะเข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้เกิดอาการผื่นแดงหนา เป็นรอยขุยสีขาว ๆ คล้ายกับรังแค เป็นสะเก็ด เกิดขึ้นตามผิวหนังบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย โรคสะเก็ดเงินพบได้ในกลุ่มผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคผิวหนัง อีกทั้งยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ทำให้เพียงแค่ให้ยาเพื่อกดอาการของโรคให้หายไปชั่วคราว แต่หากผู้ป่วยสัมผัสหรือได้รับผลกระทบจากปัจจัยกระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน อาการของโรคก็จะกลับมา ปัจจัยกระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน ที่ควรหลีกเลี่ยง ปัจจัยกระตุ้นให้โรคสะเก็ดเงิน ทำให้อาการของโรคกลับมาแสดงอีกครั้ง มักประกอบไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้ ความเครียด ความเครียดนับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัจจัยกระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน เพราะเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะอ่อนแอลง ระบบภูมิคุ้มกันจึงทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย และทำให้โรคแฝงหรืออาการต่าง ๆ ของโรคที่แฝงตัวอยู่กำเริบได้ เช่น โรคเริม โรคสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ควรระมัดระวังเรื่องความเครียดสะสม พยายามหาทางผ่อนคลายอารมณ์ ไม่ให้ตัวเองเครียดมากเกินไป เช่น ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย […]


สุขภาพผิว

คันเท้า คันฝ่าเท้า อาการ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

คันเท้า หรือ คันฝ่าเท้า อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน อาการแพ้ หรืออาจเกิดความผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งวิธีการรักษาและการป้องกันก็อาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สาเหตุของอาการคันเท้า ดังนั้น หากสังเกตพบความผิดปกติ จึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] อาการคันเท้า เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการคันเท้า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ปัญหา คันฝ่าเท้า ที่คุณกำลังประสบอยู่ อาจมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้ อาการคันเท้า จากโรคปลายประสาทอักเสบ สถาบันโรคทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (National Institute of Neurological Disorders and Stroke) เผยว่าการบาดเจ็บหรือความเสียหายที่ระบบประสาทส่วนปลาย หรือปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy) อาจจะส่งผลต่อระบบรับความรู้สึก เช่น ทำให้เกิดอาการชาที่เท้า อาการคันที่เท้า หรืออาการปวดที่บริเวณเท้า โรคสะเก็ดเงิน โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังมีการเจริญเติบโตเร็วเกินไปหรือเติบโตเร็วจนผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดอาการอักเสบจนเป็นผื่นขนาดใหญ่ และส่งผลให้เกิดอาการคัน โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นที่บริเวณขาหรือเท้าก็จะทำให้รู้สึก คันเท้า โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) เกิดจากการสัมผัสกับสารเคมี หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง เมื่อเป็นแล้วมักทำให้เกิดผื่น ตุ่มแดง ผิวแห้ง อักเสบ และเกิดอาการคัน […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

จุดสีขาวบนใบหน้า ปัญหาผิวที่ควรรักษา

จุดสีขาวบนใบหน้า บางครั้งอาจเกิดจากสิวอักเสบ หลุมสิว แต่นอกจากสาเหตุเหล่านี้ยังอาจเกิดจากปัญหาผิวอื่น ๆ เช่น กลากน้ำนม เกลื้อน โรคด่าวขาว โรคกระขาว ซึ่งอาจทำให้ใบหน้าไม่เรียบเนียน มีรอยแผล และส่งผลต่อความมั่นใจ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุของการเกิดจุดสีขาวบนใบหน้า อาจช่วยให้รักษาปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดมากขึ้น [embed-health-tool-bmr] จุดสีขาวบนใบหน้า ที่ควรรักษา ผิวหน้าของแต่ละคนอาจประสบปัญหาที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพผิว ซึ่งจุดสีขาวบนใบหน้าที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากสิวเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากปัญหาผิวอื่น ๆ ดังนี้ 1. กลากน้ำนม กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง โดยส้วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย กลากน้ำนมอาจส่งผลให้บริเวณผิวหนังมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงวงกลมหรือวงรี แห้ง มีขนาดตั้งแต่ 0.6-2.5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณใบหน้า ต้นแขน คอ หน้าอก หลัง วิธีรักษากลากน้ำนม อาการที่เกิดขึ้นอาจจางหายไปเองภายในไม่กี่เดือน แต่ในบางคนอาจทิ้งร่องรอยไว้เล็กน้อยนานหลายปี การรักษาอาจขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ้คุณหมออาจสั่งจ่ายยาสเตรียรอยด์ที่ประกอบด้วยสารไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หรืออาจแนะนำมให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นและลดความแสบร้อนโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า 2. สิวหิน หรือมิเลีย สิวหิน หรือสิวข้าวสาร คือ ก้อนซีสต์มิเลีย (Milia) ขนาดเล็กที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน […]


สิว

สิวหิน ก้อนซีสต์บนใบหน้าที่รักษาให้หายได้

สิวหิน หรือสิวข้าวสาร เป็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ บนใบหน้า ซึ่งสิวหินนี้แท้จริงแล้วคือก้อนซีสต์ที่ชื่อว่า มิเลีย (Milia)  โดยปกติมักขึ้นบนใบหน้าของทารกแรกเกิด บริเวณ คาง จมูก และแก้ม แต่อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย  และไม่สามารถป้องกันสิวชนิดนี้ได้ มักหายไปเองในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ สิวหิน หรือ มิเลีย เป็นอย่างไร สิวหิน หรือสิวข้าวสาร คือก้อนซีสต์มิเลีย (Milia) ขนาดเล็กที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง มีลักษณะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร พบได้มากที่สุดในเด็กทารกแรกเกิด แต่ขณะเดียวกันก็อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ใหญ่ในบางคนโดยเฉพาะช่วงบริเวณ จมูก ดวงตา แก้ม และหน้าผาก สาเหตุที่ทำให้เกิดมิเลียขึ้นมานั้น เป็นไปได้ว่าอาจมาจากการสะสมของเคราติน (Keratin) หรือโปรตีนของชั้นผิวหนังที่ถูกสะสมไว้ จึงทำให้ปรากฏออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูนสีขาวอยู่บนผิวหน้า อีกทั้งยังอาจเป็นผลมาจากการใช้ครีมสเตรียรอยด์ และถูกแสงแดดมากเกินไป ประเภทของมิเลีย มิเลีย ในเด็กแรกเกิด (Neonatal milia) เป็นสิวหินที่เกิดขึ้นได้และอาจหายไปเองโดยใช้เวลาไม่นาน หรือประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังคลอด โดยส่วนใหญ่มักจะเห็นก้อนซีสต์นี้ได้ที่ใบหน้า หนังศีรษะ และลำตัวส่วนบน โดยพบเด็กทารกแรกเกิดพบกับปัญหาสิวหินนี้ 40 เปอร์เซ็นต์ มิเลียในเด็กและผู้ใหญ่ (Primary milia) ถึงแม้สิวหินอาจหายไปได้เอง แต่ก็เป็นไปได้ที่ตุ่มเล็ก ๆ เหล่านี้จะปรากฏบนใบหน้าเป็นเวลาหลายเดือน โดยมักพบได้ทั้งบริเวณเปลือกตา […]


โรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ สาเหตุ และการบรรเทาอาการ

โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis) เป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดหนึ่งที่มีรอยโรคบริเวณซอกพับต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ใต้ราวนม มีลักษณะเป็น ผื่นแดง อ่อนนุ่ม ดูมันวาว และมักไม่ค่อยมีขุยเหมือนสะเก็ดเงินชนิดอื่น ๆ รวมถึงอาจมีอาการอักเสบ ระคายเคือง และมีอาการคัน พบได้มากในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น สูบบุหรี่ การบาดเจ็บที่ผิวหนัง ความเครียด การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพ อาจช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการกำเริบของโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับได้ [embed-health-tool-bmi] โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ เกิดจากอะไร สาเหตุของโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับก็เหมือนกับโรคสะเก็ดเงินชนิดอื่น ๆ นั่นคือ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายสร้างเซลล์ผิวหนังขึ้นมาเร็วเกินไป จนเกิดการสะสม แต่ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับได้เช่นกัน การสูบบุหรี่ โรคอ้วน การใช้ยา การติดเชื้อ การบาดเจ็บที่ผิวหนัง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดวิตามินดี ความเครียด การเสียดสี ความชื้น เช่น เหงื่อ ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน หรือเป็นผู้สูงอายุ วิธีบรรเทาอาการของ โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ นี้ด้วยตัวเอง โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมและบรรเทาอาการของโรคได้ด้วยวิธีรักษาทางการแพทย์ […]


โรคผิวหนังอักเสบ

ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส สาเหตุ อาการ และการรักษา

ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส (Dyshidrotic Eczema) หรือ โรคตุ่มน้ำอักเสบเป็นความผิดปกติของผิวหนังที่ก่อให้เกิดอาการคัน มีตุ่มพอง หรือตุ่มใส ในบริเวณปลายนิ้ว ง่ามนิ้ว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บหนาขึ้น สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน หรือการบำบัดด้วยแสง ร่วมกับการรักษาสุขอนามัยผิวหนังให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ [embed-health-tool-”bmr”] คำจำกัดความ ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส คืออะไร โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส บางครั้งเรียกว่า โรคตุ่มน้ำอักเสบ เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดตุ่มพอง หรือตุ่มน้ำเล็ก ๆ ที่ชั้นผิวหนังในระดับลึกที่บริเวณมือ นิ้วมือ ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า เท้า และฝ่าเท้า ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใสมักเป็น ๆ หาย ๆ โดยตุ่มอาจขึ้นนานถึง 3 สัปดาห์ เมื่อตุ่มใสนี้แห้งจะทิ้งรอยไว้บนผิวหนัง และบางครั้ง ตุ่มใสอาจขึ้นซ้ำก่อนที่รอยเดิมจะหาย แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว หากอาการไม่ได้ร้ายแรง ก็มักจะหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาหรือเข้ารับการรักษาเฉพาะใด ๆ โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส พบได้บ่อยแค่ไหน โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ และผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชายสองเท่า แต่คุณก็สามารถลดโอกาสในการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใสได้ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส อาการที่พบได้ทั่วไปของ โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส ได้แก่ มี ผื่นคัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน