สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

อาการไส้ติ่ง ที่บ่งบอกว่า ร่างกายอาจกำลังเกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ หรืออาจร้ายแรงได้ถึงอาการไส้ติ่งแตก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ถ้าไม่สังเกตร่างกายให้ดีและพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ  ไส้ติ่งสามารถเกิดภาวะการอักเสบได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะไส้ติ่งเกิดภาวะการอักเสบจากการอุดตันภายใน เช่น  เศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น เมื่ออุจจาระ ของเสีย สิ่งแปลกปลอม หรือก้อนเนื้อมะเร็ง ได้อุดตันในไส้ติ่งจะทำให้เกิดแบคทีเรียสะสม อาจเกิดอาการเลือดคั่ง จนกระจายไปที่ผนังไส้ติด ทำให้เกิดภาวะการอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง จนขยายตัวขึ้นไปปิดกั้นไส้ติ่ง ทำให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้ บางกรณีเกิดได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่สุก เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อควายดิบ ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคพยาธิตัวตืดวัวควาย จากการกินตัวอ่อนพยาธิหรือเม็ดสาคู เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ ลำตัวจะเป็นปล้อง ๆ แล้วปล้องสุกจะหลุดออกมากับอุจจาระ ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่ง พบได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกติก็ต่อเมื่อเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) แล้ว ทำให้ร่างกายค่อย ๆ แสดงอาการเมื่อไส้ติ่งเริ่มอุดตัน เช่น  เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันที่บริเวณรอบสะดือ  ระยะต่อมา เมื่อไส้ติ่งเริ่มบวมจะลุกลามไปปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดที่ท้องด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น จะรู้สึกเจ็บบริเวณที่ไส้ติ่งมากขึ้น ขณะลุกเดิน เคลื่อนไหวร่างกาย หรือแม้กระทั่งไอและจาม มีไข้ จุกแน่นท้อง  คลื่นไส้ […]

หมวดหมู่ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ แสบร้อนกลางอก อาจเสี่ยงเป็น โรคหลอดอาหารอักเสบ

เคยไหม อยู่ ๆ ก็กลืนอาหารลำบาก กินอะไรแต่ละทีรู้สึกเจ็บปาก เจ็บคอไปหมด จนแทบไม่อยากจะกินอะไร แถมบางทียังมีรสชาติแปลก ๆ ในปาก หรือรู้สึกแสบร้อนกลางอกจนทรมานอีกต่างหาก ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ทาง Hello คุณหมอ ขอบอกเลยว่าคุณอาจกำลังเป็น โรคหลอดอาหารอักเสบ อยู่ก็ได้นะ [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จัก โรคหลอดอาหารอักเสบ หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นหลอดกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างคอและช่องท้อง ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารจากช่องปากลงสู่กระเพาะอาหาร หากหลอดอาหารอยู่ในสภาวะปกติ กระบวนการกลืนอาหารก็จะเป็นปกติตามไปด้วย แต่เมื่อใดที่หลอดอาหารบวม หรืออักเสบ ก็อาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บ หรือกลืนอาหารได้ลำบากขึ้น ซึ่งการอักเสบนี้เรียกว่า โรคหลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis) โรคหลอดอาหารอักเสบสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ หลอดอาหารอักเสบจากโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารระคายเคือง และเนื้อเยื่อหลอดอาหารถูกทำลาย จนหลอดอาหารอักเสบในที่สุด นอกจากโรคกรดไหลย้อนแล้ว สภาวะดังต่อไปนี้ ก็สามารถทำให้คุณเป็นโรคหลอดอาหารอักเสบได้เช่นกัน โรคการกินผิดปกติ (Eating disorders) อาการของกลุ่มโรคการกินผิดปกติ เช่น อาการอาเจียนบ่อย ๆ ก็อาจทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมากัดหลอดอาหาร จนทำให้หลอดอาหารอักเสบได้ โดยเฉพาะโรคบูลิเมีย (Bulimia nervosa) หรือที่เรียกว่า โรคล้วงคอ การใช้ยา ยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์กัดเนื้อเยื่อหลอดอาหาร […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

อาหารสําหรับผู้ป่วยลําไส้อุดตัน มีอะไรบ้าง

ภาวะลำไส้อุดตัน เป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหาร และส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารของผู้ป่วยอย่างมาก เพราะการกินอาหารอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้อาการลำไส้อุดตันทรุดหนักลงได้ ซึ่ง การเลือก อาหารสําหรับผู้ป่วยลําไส้อุดตัน ถือเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจอย่างมาก เนื่องจากระดับความรุนแรงของภาวะลำไส้อุดตันจะสามารถรับประทานอาหารได้ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจึงอาจช่วยบรรเทาอาการและไม่ทำให้อาการที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น [embed-health-tool-bmi] ภาวะลำไส้อุดตัน คืออะไร ภาวะลำไส้อุดตัน คือ ภาวะที่ลำไส้เกิดการอุดตันจนทำให้กากอาหารหรือของเหลวไม่สามารถไหลผ่านระบบทางเดินอาหารได้ตามปกติ การอุดตันนี้อาจเกิดจากการที่ลำไส้ตีบแคบลง เนื่องจากอาการบวมของผนังลำไส้ แผลเป็นจากการผ่าตัด หรืออาจเกิดอาการลำไส้บิดก็ได้ เมื่อเกิดการอุดตันขึ้นในระบบทางเดินอาหาร จึงจำเป็นต้องระมัดระวังการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะหากผู้ป่วยที่มีอาการลำไส้อุดตันยังคงรับประทานอาหารตามปกติ อาจทำให้กากอาหารยิ่งไปอุดตันลำไส้มากขึ้น ไม่สามารถระบายออกไปได้ และอาจทำให้เกิดภาวะที่อันตราย เช่น ลำไส้แตก อาหารสําหรับผู้ป่วยลําไส้อุดตัน มีอะไรบ้าง โดยปกติแล้ว คุณหมอจะเป็นผู้กำหนดอาหารที่ผู้ป่วยภาวะลำไส้อุดตันสามารถรับประทานได้ โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ โดยอาจแบ่งได้ดังนี้ ภาวะลำไส้อุดตันในระดับเบา ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตันในระดับเบา อาจจะมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้องบ้างนาน ๆ ครั้ง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยอาการอุดตันในลำไส้อาจเกิดขึ้นแค่บางส่วน ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตันในระดับเบาอาจสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ด้วยการควบคุมการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอุดตันนั้นรุนแรงขึ้น จนอาจนำไปสู่ภาวะลำไส้อุดตันในระดับรุนแรง อาหารที่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยในสภาวะนี้ คือ อาหารที่มีใยอาหารต่ำ ดังนี้ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ที่ปรุงสุกโดยวิธีการต้ม นึ่ง อบ หรือตุ๋น ไข่ทุกประเภท […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

Dysphagia คือ อะไร และอันตรายอย่างไร

Dysphagia คือ ภาวะกลืนลำบาก หมายถึงอาการที่ร่างกายไม่สามารถกลืนอาหารหรือน้ำได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการสำลักจนเศษอาหารอุดในหลอดลม ปิดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้หายใจไม่ออกจนอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] เรียนรู้กลไกการกลืน การกลืนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะช่องปาก (oral phase) ระยะคอหอย (pharyngeal phase) ระยะหลอดอาหาร (esophageal phase) เมื่อกินอาหารเข้าไป อาหารจะถูกเคี้ยวและผสมรวมกับน้ำลาย กลายเป็นก้อนอาหาร จากนั้นลิ้นก็จะดันก้อนอาหารดังกล่าวไปที่ด้านหลังของปาก และเมื่อก้อนอาหารถูกลิ้นผลักมาทางด้านหลังปากแล้ว หูรูดของหลอดอาหารส่วนบนก็จะคลายตัว และเปิดทางให้อาหารผ่านเข้าสู่หลอดอาหารจนหมด จากนั้นหูรูดหลอดอาหารส่วนบนก็จะหดตัว และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนก้อนอาหารก็จะเคลื่อนลงไปยังกระเพาะอาหาร ถือว่าสิ้นสุดกระบวนการกลืน Dysphagia คือ อะไร Dysphagia หรือ ภาวะกลืนลำบาก เป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลืนอาหารหรือของเหลวได้อย่างเป็นปกติ กล่าวคือ ร่างกายต้องใช้เวลาในการกลืน และใช้ความพยายามในการส่งอาหารจากช่องปากสู่กระเพาะอาหารนานผิดปกติ บางรายอาจรู้สึกเจ็บขณะกลืนอาหาร หรืออาจถึงขั้นกลืนอาหารไม่ได้เลย ภาวะกลืนลำบากสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ การที่กลืนอาหารลำบากอาจเป็นเพราะกินอาหารเร็วเกินไป หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดพอ ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป และไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างใด หากกินอาหารให้ช้าลง หรือเคี้ยวอาหารให้ละเอียดขึ้น ปัญหากลืนลำบากที่มีก็จะดีขึ้นตามไปด้วย แต่หากมีภาวะกลืนลำบากติดต่อกันเป็นเวลานาน แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ เพราะนั่นอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่นที่ร้ายแรง ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน อาการของ ภาวะกลืนลำบาก สัญญาณและอาการของภาวะกลืนลำบากที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ […]


โรคลำไส้แปรปรวน

รับมือกับอาการลำไส้แปรปรวน ด้วยวิธีเหล่านี้ ให้อยู่หมัด

อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) เป็นความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร อาการของโรคลำไส้แปรปรวนนั้นสร้างความรำคาญให้กับคุณไม่น้อย บางครั้งก็มีอาการท้องเสียหรือท้องผูก วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมวิธี รับมือกับอาการลำไส้แปรปรวน มาฝากทุกคนค่ะ รับรองว่าเป็นวิธีที่ใครก็สามารถทำได้แน่นอน 4 เคล็ดลับวิธี รับมือกับอาการลำไส้แปรปรวน อาการของลำไส้แปรปรวน ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว เพราะมีทั้งอาการท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร บางครั้งก็มีอาการท้องร่วงด้วย แต่การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางอย่างก็ช่วยให้คุณรับมือกับอาการท้องร่วง และช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวนให้ดีขึ้นได้ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายของเรามีความแข็งแรงแล้ว บางคนยังออกกำลังกายเพื่อคลายเครียด ลดความวิตกกังวลและลดภาวะซึมเศร้า ที่สำคัญการออกกำลังกายมีส่วนช่วยลดความเครียดและกระตุ้นให้ลำไส้หดตัวได้ตามปกติ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวนได้ หากคุณไม่ได้ออกกำลังกายมานาน ควรเริ่มออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรหักโหม ซึ่งเวลาที่แนะนำในการออกกำลังกายคือนาน 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยป้องกันไม่ให้อาการลำไส้แปรปรวนแย่ลงได้ ลดความเครียด ความเครียดที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความเครียดทางร่างกายหรือว่าจิตใจ ทำให้อาการลำไส้แปรปรวนนั้นกำเริบได้ เพราะมีความสัมพันธ์ระหว่างสมองและระบบย่อยอาหารที่ทำให้อาการลำไส้แปรปรวนรุนแรงขึ้นได้ การได้ผ่อนคลาย ลดความเครียดถือเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยให้อาการลำไส้แปรปรวนนั้นดีขึ้นได้ เทคนิคการหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม (Abdominal Breathing) และการคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทีละส่วน (Progressive Muscle Relaxation) ช่วยให้อาการลำไส้แปรปรวนดีขึ้น นอกจากมียังมีวิธีคลายเครียดอีกมากมาย ดังนี้ นอนให้เพียงพอ ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ลดความวิตกกังวล ลดความเมื่อยล้า ปรับรูปแบบการรับประทานอาหาร การเปลี่ยนอาหารมีส่วนช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวนได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้มีอาหารที่เฉพาะเจาะจงว่าสามารถรักษาอาการลำไส้แปรปรวนได้ อาหารบางชนิดอาจได้ผลดีกับบางคน แต่บางชนิดก็ไม่ได้ผลกับบางคน ดังนั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะกับตนเอง แต่การปรับอาหารจะได้ผลดีที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับอาการและปฏิกิริยาต่ออาหารบางชนิด คุณจึงควรทำบันทึกการรับประทานอาหาร โดยระบุชนิดอาหารที่รับประทานและอาการ เพื่อจะได้รู็ว่า […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ท้องอืดบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า

หากคุณมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยบ่อย ๆ ในบางครั้งอาจไม่ใช่ภาวะท้องอืดท้องเฟ้อทั่วไป แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า ก็เป็นได้ ในบทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะดังกล่าวให้มากขึ้นกันค่ะ ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า (Gastroparesis) เกิดจากอะไร ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า (Gastroparesis) เกิดจากการที่อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารนานผิดปกติ โดยปกติแล้วการหดตัวของกล้ามเนื้อจะขับเคลื่อนอาหารผ่านทางเดินอาหาร แต่ในผู้ที่อยู่ในภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า คืออาหารจะผ่านทางเดินอาหารช้าลงหรือไม่ทำงานเลยทำให้อาหารไม่สามารถเคลื่อนจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน อย่างไรก็ตาม ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้าพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต สาเหตุของการเกิดภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า ในปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้สาเหตุที่แน่ชัดของภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า โดยมีข้อสันนิษฐานว่า ภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้าเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทเวกัส (Vagus nerve) ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานผิดปกติทำให้ไม่สามารถลำเลียงอาหารจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ได้  รวมถึงสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้ โรคเบาหวาน การผ่าตัดช่องท้อง การติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหาร ยาบางชนิดที่ชะลอการย่อยอาหาร โรคหนังแข็ง (Scleroderma) โรคทางระบบประสาท เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม โรคพาร์กินสัน ไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) สัญญาณและอาการของภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า หากคุณมีอาการปวดท้อง ท้องอืดบ่อย ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกของภาวะดังกล่าว ดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกอิ่มหลังจากรับประทานอาหารเพียงไม่กี่คำ กินข้าวไม่กี่ชัวโมงก็อาเจียนออกมา กรดไหลย้อน ท้องอืด อาการปวดท้อง การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด รู้สึกอยากอาหารน้อยลง วิธีการรักษาภาวะกระเพาอาหารย่อยช้า หากคุณมีอาการที่บ่งชี้ของภาวะกระเพาะอาหารย่อยช้า ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษา ถ้าหากปล่อยไว้เนิ่นนานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ โดยหลังจากการปรึกษาหรือวินิจฉัยโรคแล้ว วิธีการรักษาทางการแพทย์จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล รวมถึงการปรับพฤติกรรมตนเอง ดังนี้ การรักษาด้วยการรับประทานยา เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) […]


อาการแสบร้อนกลางอก

วิธีแบบธรรมชาติที่ช่วย หยุดอาการแสบร้อนกลางอก

อาการแสบร้อนกลางทรวงอก มักจะเป็น ๆ หาย ๆ เมื่ออาการกำเริบมักจะมีทำให้เกิดอาการแสบร้อน ปวดที่หน้าอก ส่วนใหญ่อาการนี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร หลาย ๆ คนมักจะเลือกการซื้อยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ยังมีวิธีแบบธรรมชาติและการเปลี่ยนพฤติกรรมมากมาย ที่ช่วย หยุดอาการแสบร้อนกลางอก วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาให้อ่านกันแล้วค่ะ อาการแสบร้อนกลางอก (Heartburn) คืออะไร อาการแสบร้อนกลางทรวงอก (Heartburn) เป็นอาการปวดแสบ ปวดร้อนที่หน้าอก ซึ่งอาการมักจะกำเริบหรือเลวร้ายลงหลังจากที่รับประทานอาหาร ช่วงตอนเย็น ตอนนอน หรือตอนก้มตัว อาการแสบร้อนกลางทรวงอกเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เป็นแล้วหาย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งหลาย ๆ คนก็มักจะจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น ด้วยการซื้อยารับประทานจากเภสัชกร อาการแสบร้อนกลางทรวงอกที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ นั้นมักจะรบกวนการทำกิจกรรมประจำวันได้ วิธี หยุดอาการแสบร้อนกลางอก แบบธรรมชาติ หากใครที่เคยมีอาการแสบร้อนกลางทรวงอกจะรู้ดีว่า มักจะเกิดอาการสะอึกก่อนแล้วตามมาด้วยอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลำคอ บางครั้งอาการแสบร้อนนี้อาจจะเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารรสเผ็ด ไขมันสูง หรืออาหารที่เป็นกรด บางครั้งอาการนี้อาจจะเป็นหนึ่งในอาการของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นภาวะเรื้อรังที่มาสาเหตุมาจากหลายอย่าง ซึ่งนอกจากการรับวประทายาเพื่อบรรเทาอาการแล้ว ยังมีวิธีแบบธรรมชาติมากมายที่ช่วย หยุดอาการแสบร้อนกลางทรวงอก ได้ อย่ากินมากเกินไป การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมือใหญ่มีส่วยช่วยให้อาการกรดไหลย้อนและอาการแสบร้อนกลางทรวงอกนั้นดีขึ้นได้ ส่วนใหญ่แล้วอาการกรดไหลย้อนมักจะเกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหารมือใหญ่ ๆ  และทำให้อาการนั้นแย่ลง ลดน้ำหนัก ผู้ที่มีสุขภาพดี กะบังลมจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างให้แข็งแรง แต่หากมีไขมันหน้าท้องมากเกินไป […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ทำความสะอาดลำไส้ ด้วยแรงดันน้ำ วิธีดีท็อกซ์รูปแบบใหม่ที่คุณควรรู้!

นอกจากการทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรเพื่อดีท็อกซ์ลําไส้ภายในช่องท้องของเราแล้ว ยังมีอีกหนึ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถ ทำความสะอาดลำไส้ คุณให้ไกลจากสารพิษต่าง ๆ พร้อมทั้งยังเป็นการปรับปรุงสุขภาพช่องท้องให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ที่บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักพร้อม ๆ กันค่ะ ทำความสะอาดลำไส้ ด้วยแรงดันน้ำ คืออะไร การทำความสะอาดลำไส้ด้วยแรงดันน้ำ (Colon Cleansing) เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร และถูกได้รับการพัฒนาตามยุคสมัย เพื่อใช้สำหรับการกำจัดชำระล้างสิ่งสกปรกในลำไส้ของเราที่ไม่สามารถมองเห็น หรือสัมผัสได้ให้ออกไปจากร่างกาย ซึ่งมีกระบวนการการทำงานด้วยการใช้แรงดันน้ำ หรือของเหลวที่มีการผสมตัวยาส่งไปยังท่อลำเลียงผ่านทางทวารเข้าไปในลำไส้โดยตรง ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการชำระล้างลำไส้ด้วยเทคนิคนี้ มักเป็นผู้ที่กำลังประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องผูก ทางเดินอาหารเป็นพิษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลธรรมดาอย่างเราไม่สามารถจะเลือกใช้บริการนี้ได้ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ การตรวจสอบสุขภาพช่องท้อง หรือได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อลดความเสี่ยง และสร้างความปลอดภัยให้แก่ภายในร่างกายของคุณ ทำไมคนเราจำเป็นต้อง ทำความสะอาดลำไส้ เนื่องจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารของเราโดยตรง จนได้รับการสะสมทำให้เกิดแบคทีเรียทำให้เกิดเป็นปฏิกิริยาบางอย่างขึ้น เช่น อาการท้องผูก ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ดังนั้นการที่เราทำความสะอาดลำไส้ อาจเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอม พร้อมช่วยปรับปรุงให้ระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายจากโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ การทำงานของ เครื่องทำความสะอาดลำไส้ เป็นอย่างไร เมื่อคุณได้รับการอนุญาตจากแพทย์แล้วว่าสามารถใช้บริการทำความสะอาดลำไส้ด้วยเครื่องแรงดันน้ำได้ ในขั้นตอนต่อไปนักบำบัดเฉพาะทาง หรือแพทย์จะทำการชำระล้างสิ่งสกปรกให้ โดยเครื่องแรงดันน้ำนี้มีกระบวนการการทำงานดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 แพทย์จะทำการให้นำท่อ หรืออุปกรณ์บางอย่างสวนเข้าไปในทางทวารหนัก เพื่อทำการนำสิ่งสกปรกในลำไส้นั้นออกมา ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการของเครื่องนี้ถูกควบคุมการปล่อยแรงดันน้ำอย่างช้า ๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ […]


โรคลำไส้แปรปรวน

โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น หรือเป็นเพียงความเชื่อผิด ๆ

โรคลำไส้แปรปรวน หรือที่หลายๆ คนอาจจะคุ้นในชื่อ IBS ซึ่งย่อมาจาก Irritable bowel syndrome เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง รู้สึกไม่สบายท้อง มีอาการท้องผูก ท้องเสีย บางคนก็มีทั้งอาการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน ซึ่งมีสาเหตุการเกิดมาจากหลายอย่างทั้ง ความเครียด อาหารที่รับประทาน หรือแม่แต่พฤติกรรมที่ทำอยู่ทุก ๆ วันนั้นก็มีผลกระทบกับอาการลำไส้แปรปรวนได้ แต่มีความเชืjอที่ว่า โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น ได้ โดยการรักษาสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ใครที่สงสัยว่า โปรไบโอติกนั้นดีต่ออาการลำไส้แปรปรวนจริงหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมมาให้อ่านกันแล้วค่ะ โปรไบโอติก คืออะไร โปรไบโอติก (Probiotic) เป็นแบคทีเรียที่มีชีวิตและยีสต์ที่ดีต่อสุขภาพของเรา โดยเฉพาะดีกับระบบย่อยอาหาร หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าโปรไบโอติกนั้นเป็นเชื้อโรคที่ทำให้ร่างกายเกิดโรค แต่จริง ๆ แล้วในร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีและชนิดที่ดี โปรไบโอติกนั้นจัดเป็นแบคทีเรียชนิดที่ดีและมีประโยชน์กับร่างกาย เพราะช่วยลำไส้แข็งแรงขึ้น ซึ่งโปรไบโอติกสามารถพบได้ในอาหารบางชนิดอย่าง โยเกิร์ต กะหล่ำปลีดอง กิมจิ และอาหารหมักดองอื่น ๆ เมื่อร่างกายได้รับแบคทีเรียที่ดีอย่าง โปรไบโอติก ก็จะช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในร่างกายเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานอย่างที่ควรจะเป็น โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น ได้จริงหรือไม่ อาการลำไส้แปรปรวนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร เช่น ผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวนจะมี แลคโตบาซิลลัส […]


โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล ฝังเข็มแล้วช่วยได้ไหม จะมีผลข้างเคียงหรือเปล่า

โรค ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล (Ulcerative Colitis) หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่าโรคยูซี (UC) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบในระบบทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง โดยผู้ที่เป็นโรคนี้เกิดจากการอักเสบที่เยื่อบุผิวบริเวณลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ทำให้เกิดแผลและเกิดเลือดออกที่ผนังลำไส้ และทำให้ลำไส้บีบตัวเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยปวดท้อง ท้องร่วง และถ่ายเป็นเลือด โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผลนี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และในปัจจุบันก็ยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งก็เผยว่า การฝังเข็ม อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ ว่าแต่ฝังเข็มแล้วจะทำให้อาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผลดีขึ้นได้จริงไหม หรือจะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง Hello คุณหมอ จะพาไปดูกันเลยดีกว่า การฝังเข็ม คืออะไร การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของการแพทย์แผนจีนที่นิยมใช้แพร่หลายมานานนับพันปี ปัจจุบันถือเป็นวิธีหนึ่งในศาสตร์การแพทย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญจะใช้เข็มขนาดเล็กปักลงไปตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายในระดับความลึกที่แตกต่างกันไป จากนั้นจึงใช้นิ้วมือหมุนปั่น หรือเชื่อมต่อกับไฟฟ้าโวลต์ต่ำ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของพลังหรือลมปราณ ช่วยปรับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เมื่อทำแล้วจะช่วยรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ สร้างเสริมและป้องกันโรคได้ ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์นิยมใช้การฝังเข็มในการรักษาโรคและสภาวะสุขภาพต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคข้ออักเสบ อาการปวดหลัง โรคซึมเศร้า โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) อาการปวดท้องเนื่องจากการมีประจำเดือน อาการปวดท้องคลอด รวมถึง ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล ด้วย การฝังเข็มกับโรค ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ไขข้อสงสัย ตดบ่อย เป็นอันตรายหรือเปล่า

การตด หรือการผายลม เกิดขึ้นจากการหมักหมมของกากอาหารในลำไส้ จนกลายเป็นแก๊ส และออกมาเป็นลมที่มีกลิ่นเหม็น การตดนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่อาการ ตดบ่อย  อาจทำให้เสียบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจ ทั้งนี้ หากตดบ่อย อาจไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อาจสะท้อนปัญหาสุขภาพที่ควรระวังได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] ทำไมถึงตดบ่อย ตามปกติแล้ว ผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มักจะตดกันวันละประมาณ 5-15 ครั้งต่อวัน แต่หากรู้สึกว่าตัวเองตดบ่อย อย่างน้อยวันละ 20 ครั้งขึ้นไป อาจหมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงในระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ซึ่งอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่ย่อยยาก อาหารที่ย่อยยาก ๆ อย่างอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง มีโปรตีนสูง หรือมีน้ำตาลบางชนิดที่ร่างกายมักจะต้องใช้เวลานานในการย่อยอาหารเหล่านี้ อาจทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ระหว่างกระบวนการย่อยอาหารมากกว่าปกติ และส่งผลให้ตดบ่อยมากยิ่งขึ้น อาหารเหล่านั้นได้แก่ ถั่ว ธัญพืช ผักและผลไม้ หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลต่าง ๆ เช่น ซอร์บิทอล (Sorbitol) ที่สามารถพบได้ในขนมและลูกอมต่าง ๆ ความเครียด เมื่อมีความเครียดสะสมมาก ๆ บางครั้งก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome) ที่ทำให้ตดบ่อยขึ้นกว่าเดิมได้ นอกจากนี้ เมื่อเกิดความเครียด มักจะรับประทานอาหารมากขึ้นกว่าเดิม และเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อย่าง น้ำอัดลม หรือมันฝรั่งทอด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน