สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

อาการไส้ติ่ง ที่บ่งบอกว่า ร่างกายอาจกำลังเกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ หรืออาจร้ายแรงได้ถึงอาการไส้ติ่งแตก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ถ้าไม่สังเกตร่างกายให้ดีและพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ  ไส้ติ่งสามารถเกิดภาวะการอักเสบได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะไส้ติ่งเกิดภาวะการอักเสบจากการอุดตันภายใน เช่น  เศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น เมื่ออุจจาระ ของเสีย สิ่งแปลกปลอม หรือก้อนเนื้อมะเร็ง ได้อุดตันในไส้ติ่งจะทำให้เกิดแบคทีเรียสะสม อาจเกิดอาการเลือดคั่ง จนกระจายไปที่ผนังไส้ติด ทำให้เกิดภาวะการอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง จนขยายตัวขึ้นไปปิดกั้นไส้ติ่ง ทำให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้ บางกรณีเกิดได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่สุก เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อควายดิบ ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคพยาธิตัวตืดวัวควาย จากการกินตัวอ่อนพยาธิหรือเม็ดสาคู เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ ลำตัวจะเป็นปล้อง ๆ แล้วปล้องสุกจะหลุดออกมากับอุจจาระ ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่ง พบได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกติก็ต่อเมื่อเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) แล้ว ทำให้ร่างกายค่อย ๆ แสดงอาการเมื่อไส้ติ่งเริ่มอุดตัน เช่น  เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันที่บริเวณรอบสะดือ  ระยะต่อมา เมื่อไส้ติ่งเริ่มบวมจะลุกลามไปปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดที่ท้องด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น จะรู้สึกเจ็บบริเวณที่ไส้ติ่งมากขึ้น ขณะลุกเดิน เคลื่อนไหวร่างกาย หรือแม้กระทั่งไอและจาม มีไข้ จุกแน่นท้อง  คลื่นไส้ […]

หมวดหมู่ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

วิธีดูแลสุขภาพลำไส้ เพราะลำไส้สำคัญต่อสุขภาพโดยรวมมากกว่าที่คิด

สุขภาพลำไส้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบภูมิคุ้มกัน ความสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เป็นต้น ฉะนั้น การดูแลสุขภาพลำไส้ ให้ดีอยู่เสมอ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสามารถช่วยให้สุขภาพโดยรวมของคุณดีขึ้นได้ด้วย โดยคุณสามารถดูแลสุขภาพลำไส้ของคุณได้ ด้วย วิธีดูแลสุขภาพลำไส้ ง่ายๆ แต่ได้ผลจริงที่เรานำมาฝากนี้กันดีกว่า  วิธีดูแลสุขภาพลำไส้ กินอาหารให้หลากหลาย มีแบคทีเรียเป็นร้อยๆ ชนิดที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนเรา ซึ่งแต่ละชนิดนั้นก็มีบทบาทต่อสุขภาพของเราแตกต่างกันไป ทั้งยังต้องการอาหารเพื่อการเจริญเติบโตที่ต่างกันด้วย ซึ่งการกินอาหารหลากหลายชนิดจะช่วยให้ลำไส้ของเรามีเชื้อจุลินทรีย์มีประโยชน์ที่หลากหลาย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คนที่มาจากทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้จะมีเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ที่หลากหลายกว่าคนในทวีปยุโรปและอเมริกา กินผักและผลไม้ให้มากๆ ผักและผลไม้ คือ แหล่งสารอาหารชั้นยอดที่จะช่วยให้มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ ผักและผลไม้มีปริมาณของไฟเบอร์สูง ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้หมด แต่เชื้อจุลินทรีย์บางชนิดในสำไส้ของเราสามารถย่อยไฟเบอร์เหล่านั้นได้ ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การกินอาหารประเภทผักผลไม้มากๆ จะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้ ฉะนั้นเราจึงควรกินผักและผลไม้ให้มากๆและหลากหลาย เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างครบถ้วน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพลำไส้ด้วย กินอาหารหมักดอง อาหารหมักดอง คือ อาหารที่ใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการแปรรูป ซึ่งมักจะเป็นเชื้อแบคทีเรียและยีสต์ที่ทำการเปลี่ยนน้ำตาลในอาหารให้กลายกรดออร์แกนิคหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งอาหารหมักดองที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โยเกิร์ต กิมจิ นมเปรี้ยว ชาหมัก นัตโตะ อาหารหมักดองเหล่านี้อุดมไปด้วยแบคทีเรียชนิดแลคโตบาซิลลัส ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเรา อย่ากินอะไรที่ใช้น้ำตาลเทียม ในยุคนี้มีการใช้สารแต่งเติมความหวานหรือน้ำตาลเทียมในอาหารต่างๆ กันมาก แต่ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า สารเติมแต่งความหวานเหล่านั้นส่งผลเสียต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า แอสปาร์แตม (Aspartame) ซึ่งเป็นสารเติมแต่งความหวานในอาหารนั้น ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหนักขึ้นได้ แต่กลับเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และส่งผลให้อินซูลินทำงานผิดปกติ ฉะนั้นหากต้องเติมความหวานในอาหารจริงๆ […]


โรคตับ

ไวรัสตับอักเสบ (Viral Hepatitis)

ไวรัสตับอักเสบ (Viral Hepatitis) เป็นอาการติดเชื้อที่ตับ ทำให้เกิดแผลเป็นเรียกว่า ตับแข็ง อาจทำให้เป็นมะเร็งตับ ตับวาย หรือเสียชีวิตได้ คำจำกัดความไวรัสตับอักเสบ คืออะไร ไวรัสตับอักเสบ (Viral Hepatitis) เป็นอาการที่ตับติดเชื้อไวรัส ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเชื้อไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis Virus) การอักเสบเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันสัมผัสได้ถึงสิ่งแปลกปลอมหรืออันตราย เช่น ไวรัส ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งในร่างกาย จึงส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวมาในบริเวณนั้นเพื่อปกป้องร่างกาย อาการนี้ทำให้เกิดรอยแดง บวมหรือเจ็บในบางครั้ง เชื้อไวรัสตับอักเสบจะทำลายตับ และทำให้เกิดแผลเป็นในตับ เรียกว่าตับแข็ง โดยอาการตับแข็งอาจทำให้เป็นมะเร็งตับ ตับวาย หรือเสียชีวิตได้ ตับทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารที่คุณรับประทานให้เป็นพลังงาน กำจัดแอลกอฮอล์และของเสียจากเลือด ช่วยกระเพาะอาหารและลำไส้ในการย่อยอาหาร รวมถึงสร้างโปรตีนที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ เพื่อควบคุมและหยุดการไหลของเลือดด้วย ไวรัสตับอักเสบแบ่งได้เป็นหลายชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี ไวรัสเหล่านี้จะมีวิธีการถ่ายทอดเชื้อที่แตกต่างกัน ไวรัสตับอักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้คนในวัยใดก็สามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้ โรคนี้อาจควบคุมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ไวรัสตับอักเสบเอ ส่งผลต่อผู้หญิงและผู้ชายในทำนองเดียวกัน ไวรัสตับอักเสบบี จะส่งผลต่อผู้หญิงต่างไปจากผู้ชาย ส่วนไวรัสตับอักเสบซี จะส่งผลต่อผู้หญิงต่างไปจากผู้ชายเช่นกัน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคไวรัสตับอักเสบ อาการของโรคไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดคล้ายคลึงกัน อาการเหล่านี้ได้แก่ มีไข้ต่ำๆ (อุณหภูมิระหว่าง 37.5-38.3 องศาเซลเซียส) เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร ท้องไส้ปั่นป่วน อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีสีเหมือนดินเหนียว ปวดข้อต่อ ดีซ่าน […]


โรคตับ

ตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)

ตับอักเสบ เอ (Hepatitis A) เป็นอาการติดเชื้อทางตับที่มีโอกาสติดต่อได้สูง ก่อให้เกิดการอักเสบและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของตับ คำจำกัดความตับอักเสบ เอ คืออะไร ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A) เป็นอาการติดเชื้อทางตับ ที่มีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นไวรัสที่มีโอกาสติดต่อสูง และเป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบประเภทหนึ่งในไวรัสหลายประเภท ที่ก่อให้เกิดการอักเสบและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของตับ หลายคนหายจากโรคนี้ได้ใน 2 ถึง 6 เดือน โดยไม่มีปัญหาสุขภาพรุนแรงใดๆ แต่ในบางกรณีตับอักเสบ เอ สามารถนำไปสู่อาการแทรกซ้อนของโรคหัวใจล้มเหลวได้ ตับอักเสบ เอพบได้บ่อยแค่ไหน ผู้ป่วยตับอักเสบ เอ มักจะเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ หรือเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบ เอ เพราะเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย ผ่านทางการกินดื่มอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ คุณสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคนี้ได้ โดยลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของตับอักเสบ เอ อย่างแรก คุณต้องเข้าใจว่าไม่ใช้ทุกคนที่จะมีอาการนี้ ปกติแล้ว อาการมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกหลังการติดเชื้อ ได้แก่ ดีซ่าน อุจจาระมีสีซีดหรือสีเทา ปัสสาวะสีเข้ม คันไปทั่วร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่นๆ ที่คล้ายไข้หวัด ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ต่ำ เจ็บที่ช่องท้อง อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อใด นัดหมายกับหมอของคุณ หากคุณมีสัญญาณหรืออาการของตับอักเสบ เอ เกิดขึ้น หากคุณสัมผัสกับตับอักเสบ เอ การได้รับวัคซีนตับอักเสบ เอ หรือการบำบัดระบบภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin […]


โรคตับ

ตับอักเสบ บี (Hepatitis B)

รู้เรื่องเบื้องต้นตับอักเสบ บี คืออะไร ตับอักเสบ บี (Hepatitis B) เป็นโรคติดเชื้อทางตับ ที่มีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) เป็นหนึ่งในไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อตับ ตับอักเสบ บี มี 2 รูปแบบ คือ โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดฉับพลัน เป็นโรคระยะสั้นที่เกิดขึ้นภายใน 6 เดือนแรก หลังจากที่มีการสัมผัสกับไวรัสตับอักเสบ บี การติดเชื้ออย่างฉับพลัน สามารถนำไปสู่อาการติดเชื้อเรื้อรัง–แต่ก็ไม่เสมอไป โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเรื้อรัง เป็นโรคติดเชื้อระยะยาวที่เกิดขึ้น เมื่อยังมีไวรัสหลงเหลืออยู่ในร่างกาย พบได้บ่อยแค่ไหน โรคฉับพลันที่มาพร้อมกับอาการ พบได้บ่อยในหมู่ผู้ใหญ่ ขณะที่การติดเชื้อเรื้อรัง มักพบได้บ่อยในหมู่เด็กทารกและเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่ อ้างอิงจากสถิติขององค์กรอนามัยโลก ประชากรโลกจำนวน 2 พันล้านคนป่วยเป็นโรคตับอักเสบ บี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรจำนวน 250 ล้านคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง พบว่าอยู่ในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก รู้จักอาการอาการของตับอักเสบ บี ตับอักเสบ บี ถือเป็นโรคฆาตกรเงียบ เพราะหลายคน ไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้น โรคจึงมักจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ทันสังเกตได้เป็นเวลาหลายปี อาการแรกๆ อาจได้แก่ เกิดผื่น เจ็บกระดูกข้อต่อ อ่อนเพลีย ดีซ่าน อาการที่ตามมา […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

3 โรคทางเดินอาหาร ยอดฮิต ที่พบได้บ่อยในหน้าฝน

ฤดูฝนคือฤดูกาลแห่งความชุ่มชื้น ทุกสรรพสิ่งล้วนเจริญเติบโต ไม่ใช่แค่พืชพรรณ แต่ยังรวมไปถึงเหล่าแบคทีเรียด้วย แบคทีเรียคือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะ โรคทางเดินอาหาร เรามาทำความรู้จักกับโรคทางเดินอาหารในหน้าฝนให้มากขึ้นกับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ โรคทางเดินอาหาร ที่มาพร้อมกับหน้าฝน โรคทางเดินอาหาร หรือโรคในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Disorders) คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบลำไส้ เนื่องจากได้รับเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยที่รับเชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นเข้าไปอาจเกิดอาการท้องเสีย เป็นโรคลำไส้อักเสบ ภาวะอาหารเป็นพิษ หรือเป็นไข้ไทฟอยด์ได้  ซึ่งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารเหล่านี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และสามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ ดังนี้ 1. โรคบิด (Dysentery) โรคบิดเป็นโรคท้องร่วงชนิดหนึ่งที่เกิดจากจุลชีพ 2 ชนิด คือ อะมีบา (Amoeba) ที่ทำให้เกิดโรคบิดชนิดมีตัว และเชื้อแบคทีเรียชิเกลลา (Shigella) ที่ทำให้เกิดโรคบิดแบบไม่มีตัว โดยจุลชีพทั้งสองชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารและการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนจุลชีพพวกนี้มา อาการของโรคบิด โรคบิด ทำให้กลไกการทำงานของลำไส้ผิดปกติ ส่งผลให้ผนังลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี ทำให้มีน้ำหรืออาหารเหลวในลำไส้มาก ร่างกายจึงขับสิ่งแปลกปลอมจำนวนมากนี้ออกมาในรูปแบบของอาการท้องร่วง ผู้ป่วยโรคบิดจะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด มีความรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำ อยากจะถ่ายท้องตลอดเวลา มีไข้ และอ่อนเพลีย วิธีสังเกตว่าเป็นโรคบิดมีตัวหรือไม่มีตัว แม้อาการของโรคบิดมีตัวกับโรคบิดไม่มีตัวจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผู้ป่วยก็สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้ โรคบิดมีตัว ถ่ายเป็นเลือด […]


โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Colitis)

คำจำกัดความลำไส้ใหญ่อักเสบ คืออะไร ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Colitis) หมายถึงอาการอักเสบของเยื่อบุภายในลำไส้ใหญ่ และอาจมีความเกี่ยวข้องกับอาการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด และมีเลือดปนในอุจจาระ อาการอักเสบนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การขาดเลือดที่ไปเลี้ยงลำไส้ โรคลำไส้อักเสบ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease) หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดมีแผล (ulcerative colitis) อาการแพ้ การผ่าตัดลำไส้ ลำไส้ใหญ่อักเสบ พบได้บ่อยได้แค่ไหน ลำไส้ใหญ่อักเสบสามารถพบได้กับคนทุกช่วงวัยและสามารถพบได้ทั่วโลก  สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นอย่างไร อาการทั่วไปมีดังนี้ อาจมมีอาการปวดท้องและท้องอืดแบบ เป็นๆ หายๆ อุจจาระเป็นเลือด ลำไส้มีการบีบตัวอยู่ตลอด มีภาวะขาดน้ำ มีอาการท้องร่วง มีไข้ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของลำไส้ใหญ่อักเสบ โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุของการเกิดลำไส้ใหญ่อักเสบ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุในการเกิดลำไส้ใหญ่อักเสบได้ มีดังนี้ การติดเชื้อที่มาจากไวรัสหรือปรสิต อาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย โรคโครห์น ภาวะลำไส้ใหญ่ขาดเลือด ผ่านการฉายรังสีที่บริเวณลำไส้ใหญ่ ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing enterocolitis) ในเด็กแรกเกิด การอักเสบของลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการติดเชื้อคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium Difficile) การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ คุณหมอจะตรวจร่างกาย และถามถึงอาการที่คุณเป็น เช่น มีอาการมานานเท่าไร อาการปวดรุนแรงแค่ไหน มีอาการปวดบ่อยแค่ไหน แล้วแต่ละครั้งปวดนานเท่าไร มีอาการท้องร่วงบ่อยหรือไม่ คุณได้เดินทางไปไหนบ้างหรือไม่ เร็วๆ นี้ ได้รับยาปฏิชีวนะบ้างหรือเปล่า คุณหมอสามารถวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ จากการสอดท่อเข้าไปทางทวารหนักด้วยเครื่องสร้างสัญญาณแบบยืดหยุ่น (flexible sigmoidoscopy) หรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscope) เพื่อตรวจสอบบริเวณเฉพาะของลำไส้ อาจต้องมีการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อตรวจดูความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ วิธีอื่นๆ […]


โรคตับ

ตับแข็งที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (Nonalcoholic Cirrhosis)

คำจำกัดความโรค ตับแข็งที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา คืออะไร โรคตับแข็ง (Cirrhosis) คือ ระยะสุดท้ายของการเกิดแผล (พังผืด) ที่ตับ ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคและอาการต่างๆ ของตับ เช่น โรคตับอักเสบ (hepatitis) และโรคพิษสุราเรื้อรัง (chronic alcoholism) ตับมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง รวมไปถึงการล้างพิษที่อันตรายในร่างกาย ทำความสะอาดเลือด และสร้างสารอาหารที่สำคัญ โรคตับแข็งอาจเกิดได้จากการตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บที่ตับ ทุกๆ ครั้งที่เกิดอาการบาดเจ็บ ตับของคุณพยายามจะซ่อมตัวของมันเอง ทำให้เกิดเนื้อเยื่อแผลเป็น และยิ่งอาการของโรคตับแข็งยิ่งมีมากเท่าใด แผลเป็นก็จะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นทำให้ตับยากที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคตับแข็งมักจะเป็นคนที่ดื่มหนัก แต่นั่นก็ไม่ใช่สาเหตุทั้งหมด แม้แอลกอฮอล์จะเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคตับแข็ง แต่ผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดโรคตับแข็งได้ แผลเป็นบริเวณตับที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากแอลกอฮอล์จะเรียกว่า โรคตับแข็งที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (Nonalcoholic Cirrhosis) โรค ตับแข็งที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา พบได้บ่อยได้แค่ไหน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของโรคตับแข็งที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุราเป็นอย่างไร โรคตับแข็งนั้นมักจะไม่มีสัญญาณหรืออาการใดๆ จนกระทั่งตับได้รับความเสียหายแล้ว อาการที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้ มีอาการเหนื่อยล้า มีเลือดออกง่าย มีรอยช้ำง่าย มีอาการคันที่ผิว สีผิวหรือดวงตาเป็นสีเหลือง หรืออาการของโรคดีซ่าน (jaundice) ท้องมาน มีน้ำในช่องท้อง (ascites) ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ มีอาการบวมที่ขา น้ำหนักลด มีอาการมึนงง เซื่องซึม และพูดไม่ชัด เป็นอาการทางสมองเนื่องจากโรคตับ (hepatic encephalopathy) มองเห็นเส้นเลือดบนผิวหนังได้ชัดเจน มีรอยปื้นแดงที่บริเวณฝ่ามือ มีอาการตีบของอัณฑะในผู้ชาย หน้าอกมีการขยายใหญ่ขึ้นในผู้ชาย อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของโรค […]


โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis)

ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis) เป็นอาการอักเสบของถุงน้ำดี ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะที่อยู่ใต้ตับของคุณ และช่วยให้ร่างกายของคุณย่อยสลายไขมัน และส่วนใหญ่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์  คำจำกัดความถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน คืออะไร ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis) เป็นอาการอักเสบของถุงน้ำดี ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะที่อยู่ใต้ตับของคุณ และช่วยให้ร่างกายของคุณย่อยสลายไขมัน โรคนี้อาจมีอาการรุนแรง และมักจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด หากคุณคิดว่าตัวเองเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน โปรดติดต่อแพทย์เพื่อทำการรักษาในทันที อาการนี้อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ หากอาการคงอยู่เป็นเวลานาน หรือหากคุณมีอาการกำเริบจากการอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน พบได้บ่อยแค่ไหน ถุงน้ำดีอักเสบเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ราวๆ 1-4% ของผู้ที่มีประสบการณ์โรคนิ่วในถุงน้ำดีที่มีอาการเจ็บเป็นช่วงๆ อาการนี้มีชื่อว่า บิลลิอารีโคลิก (biliary colic) ราวๆ 1 ใน 5 ของผู้คนเหล่านี้ มีโอกาสในการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ หากไม่ทำการผ่าตัดถุงน้ำดีออกไป โปรดปรึกษากับหมอของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน หากคุณมีอาการถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน สัญญาณที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด คือ อาการปวดท้องนานหลายชั่วโมง อาการปวดนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงตรงกลางหรือด้านขวาของท้องส่วนบน อาการนี้อาจลุกลามไปยังไหล่ขวาและหลังได้ อาการเจ็บจากถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ให้ความรู้สึกเจ็บแปล๊บหรือปวดเกร็ง ซึ่งเป็นอาการเจ็บปวดที่รุนแรง อาการอื่นๆ ได้แก่ อุจจาระมีสีโคลน อาเจียน คลื่นไส้ เป็นไข้ ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง หรือดีซ่าน มีอาการปวดหลังกินอาหาร หนาว ท้องอืดท้องเฟ้อ อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน น้ำดีจะก่อตัวขึ้นในถุงน้ำดี หากมีนิ่วในถุงน้ำดีไปขัดขวางท่อน้ำดี สิ่งนี้จะนำไปสู่การอักเสบ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล ความสัมพันธ์ที่คุณควรรู้ เพื่อดูแลตัวเองให้ถูกต้อง

การทำงานของตับกับระดับคอเลสเตอรอลนั้นเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก โรคตับ และปัญหาที่เกิดขึ้นในตับสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และนี่คือความเกี่ยวข้องของ โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล ที่คุณควรรู้ เพื่อการป้องกันและดูแลตัวเอง ความสัมพันธ์ของ โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล การทำงานของตับส่งผลกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างไร หน้าที่หลักของตับ คือ การผลิตน้ำดี น้ำดีจะช่วยให้ร่างกายย่อยสลายไขมันและกำจัดคอเลสเตอรอลได้ หากตับของคุณได้รับความเสียหาย ประสิทธิภาพการทำงานของตับจะลดลง จนนำไปสู่การเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล จึงทำให้ไขมันและคอเลสเตอรอลจะก่อตัวขึ้นในตับและเลือด ยิ่งคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความเสียหายต่อตับได้มากเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การก่อตัวของไขมันในตับอาจก่อให้เกิดโรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Nonalcoholic Steatohepatitis : NASH) หรือไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ โรคตับที่อาจนำไปสู่ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานของตับ จะขัดขวางการทำงานของตับต่อคอเลสเตอรอล อาการบางชนิด ได้แก่ ไขมันพอกตับในคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา โรคไขมันพอกตับในคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา (NAFLD) เป็น ความผิดปกติของไตที่พบเห็นได้ทั่วไป จำนวน 25% ของประชากรทั่วโลกมีอาการของ NAFLD หากมีน้ำหนักเกินหรือเป็นเบาหวานก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น NAFLD นำไปสู่การเป็นโรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipedemia) ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ด้วยระดับคอเลสเตอรอล และสารประกอบแบบเดียวกันในเลือดที่ผิดปกติ NAFLD ยังเชื่อมโยงกับภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ (lipodystrophy) ซึ่งหมายถึงความผิดปกติของร่างกายในการกระจายไขมัน อาการของ NAFLD มีหลากหลายรูปแบบ อย่างหนึ่งก็คือ ไขมันพอกตับแบบร้ายแรง (NASH) ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็ง ตับล้มเหลว และมะเร็งตับ ตับแข็ง โรคตับแข็งเกิดจากพฤติกรรมการดื่มหรือโรคบางชนิด เช่น โรคตับอักเสบ ที่สร้างความเสียหายให้ตับในระยะยาว โรคตับแข็งจะสร้างบาดแผลทิ้งไว้ในตับ […]


โรคกรดไหลย้อน

โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

อาการหายใจลำบาก เป็นหนึ่งในอาการที่น่ากลัวสำหรับผู้ที่อาการแสบร้อนกลางอก หรือเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD) ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการแสบร้อนกลางอกชนิดเรื้อรัง โรคนี้สามารถทำให้เกิดอาการหายใจลำบากหรือติดขัดได้ เนื่องมาจากอาการหดเกร็งของหลอดลม และเกิดขึ้นในขณะที่หายใจเข้า ในระยะยาว อาจนำไปสู่การเกิด โรคหอบหืด ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยปกติแล้ว การหายใจลำบากมักมาพร้อมกับโรคกรดไหลย้อน โดยเกิดจากกรดที่ไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้หลอดอาหารแคบลงได้ เมื่อกรดไหลล้นเข้าไปในกล่องเสียง ทางเดินหายใจ และปอด ก็อาจทำให้ทางเดินหายใจเกิดอาการบวม จนเกิดเป็นอาการของโรคหอบหืดในรูปแบบที่ไม่ปกติขึ้นได้ อาการบาดเจ็บเหล่านี้อาจส่งผลได้อย่างมาก ต่อการทำงานของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากจะทำให้เกิดการไอ หายใจติดขัด และกลืนอาหารแข็งได้ลำบากขึ้น ผู้เป็นโรคกรดไหลย้อนอาจมีอาการหายใจลำบากเพียงอย่างเดียว แต่ในบางกรณีอาจกลายเป็นโรคหอบหืดได้ ทั้งสองโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน ผลการวิจัยทางคลีนิคได้ประเมินไว้ว่า ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้เป็นโรคหอบหืด มักต้องทนทุกข์กับโรคกรดไหลย้อนด้วย ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดมีโอกาสเป็นโรคกรดไหลย้อน มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหอบหืดถึงสองเท่า ผู้เป็นโรคหอบหืดเรื้อรังไม่ยอมรับการรักษา มีโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคกรดไหลย้อนได้มากที่สุด ผู้เป็นโรคหอบหืด ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อนนั้น อาจมีอาการโรคหอบหืดรุนแรงมากขึ้นได้ ฉะนั้นการรักษาโรคกรดไหลย้อน ก็จะช่วยบรรเทาโรคหอบหืดได้ด้วย โดยปกติเชื่อกันว่า โรคหอบหืดพวกนี้เกิดขึ้นมาได้ เนื่องจากโรคกรดไหลย้อน อย่างเช่น  โรคหอบหืดที่เริ่มเป็นในวัยผู้ใหญ่ โรคหืดที่มีอาการแย่ลงหากมีความเครียด หรือหลังทานอาหาร ออกกำลังกาย การเอนกายลงนอน หรือในเวลากลางคืน โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามปกติ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อาจช่วยได้ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อน เคล็ดลับต่อไปนี้ก็อาจช่วยป้องกันและรักษาอาการได้ โดยปกติแล้ววิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อนที่ดีที่สุดก็คือ การปรับเปลี่ยนนิสัย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน