สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ลําไส้อักเสบ อาการ สาเหตุและวิธีรักษา

โรคลำไส้อักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เพราะภาวะติดเชื้อในลำไส้จนนำสู่โรคลำไส้อักเสบ อาจเกิดได้จากพฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมา สาเหตุจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร [embed-health-tool-bmi] ลําไส้อักเสบจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร  ลําไส้อักเสบ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร เช่น เชื้อแบคทีเรีย : พิษของแบคทีเรียมี 2 แบบ 1.พิษของแบคทีเรียที่ไม่มีการทำลายผิวของลำไส้ (Non-invasive) และ 2.พิษของแบคทีเรียที่ทำลายผิวของลำไส้ (Non-invasive)  เชื้อไวรัส : การติดเชื้อไวรัส (Viral gastroenteritis) เป็นสาเหตุสำคัญของการท้องเสียที่พบบ่อยในเด็กเล็ก แต่ก็พบอาการป่วยได้ในผู้ใหญ่เช่นกัน ได้แก่ โรต้าไวรัส (Rota Virus) และโนโรไวรัส (Noro Virus) ลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาการลำไส้อักเสบชนิดนี้ มักจะเป็นลำไส้อักเสบเฉียบพลัน เกิดได้จากการกินสารมีพิษ อาหารย่อยยากจำนวนมาก เช่น สารพิษจากปลาทะเล สารโลหะหนัก หรือเห็ดพิษบางชนิด  ลำไส้อักเสบ อาการ เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายมากกว่า 10 ลิตรต่อวัน อาจเกิดได้จากพิษของแบคทีเรีย ต้องระวังภาวะช็อคจากการสูญเสียน้ำ  ปวดท้อง มีไข้สูง อุจจาระมีมูกเลือดหรือมีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดจากการทำลายผิวของลำไส้โดยแบคทีเรีย ปวดตามตัว ปวดท้อง คลื่นไส้ […]

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาหารเป็นพิษ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

อาหารเป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อปรสิต โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแบบดิบ ๆ หรือไม่ได้ปรุงสุก จนอาจส่งผลให้ติดเชื้อ และมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ภาวะอาหารเป็นพิษโดยทั่วไปมักมีอาการไม่รุนแรงมาก และหายได้ภายใน 2-3 วัน ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้  อาการของอาหารเป็นพิษ  ภาวะอาหารเป็นพิษ อาจมีอาการดังนี้  ปวดท้อง  ท้องเสีย  คลื่นไส้ อาเจียน  ปวดเมื่อยร่างกาย  มีไข้ หนาวสั่น  ปัสสาวะน้อย มีภาวะขาดน้ำ สังเกตได้จากอาการกระหายน้ำ  ริมฝีปากแห้ง อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เป็นต้น ส่วนใหญ่ อาการมักจะหายภายใน 2-3 วัน แต่หากมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป อาเจียนบ่อย ท้องเสียเกิน 3 วัน ถ่ายเป็นเลือด ตาพร่ามัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการรุนแรง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที อาหารเป็นพิษ […]


ท้องร่วง

ท้องเสีย อาการ สาเหตุ การรักษา

ท้องเสีย หรือท้องร่วง เป็นอาการที่อุจจาระมีลักษณะเหลว หรือถ่ายออกมาเป็นน้ำ ซึ่งอาจถ่ายประมาณ 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้นต่อวัน โดยอาการท้องเสียอาจหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน แต่ถ้าหากท้องเสียต่อเนื่องนานเกินกว่า 3 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน คำจำกัดความ ท้องเสีย คืออะไร ท้องเสีย คือ อาการถ่ายอุจจาระเหลวจนเป็นน้ำ ถ่ายท้องต่อเนื่องประมาณ 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้นต่อวัน บางครั้งอาจถ่ายอุจจาระเป็นเลือด บางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว หน้ามืด มีไข้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากอาหารเป็นพิษหรือการติดเชื้อ โดยปกติอาการท้องเสียอาจหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน ท้องเสียพบได้บ่อยแค่ไหน อาการท้องเสียสามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่วัยทารกก็สามารถท้องเสียได้เช่นกัน อาการอาการของท้องเสีย ท้องเสียอาจมีอาการดังนี้ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง  หรือมากกว่านั้นต่อวัน และไม่สามารถอั้นอุจจาระได้ รวมถึงอาจถ่ายเป็นมูกเลือด อ่อนเพลีย มีไข้อ่อน ๆ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ […]


โรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน สาเหตุ อาการ และการรักษา

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease: GERD) หรือกรดไหลย้อนเรื้อรัง เป็นภาวะกรดในกระเพาะอาการไหลกลับเข้าหลอดอาหารอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร และอาจมีอาการแสบร้อนกลางอก กลืนลำบาก เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ หรืออาเจียนของเหลวรสเปรี้ยวหรือขม หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดอาหารตีบ หลอดอาหารเป็นแผล หรืออาจร้ายแรงกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ คำจำกัดความกรดไหลย้อน คืออะไร กรดไหลย้อน คือ ภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหารอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก หรืออาหารไม่ย่อยจากกรดเกิน กรดไหลย้อนเกิดจากหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าหลอดอาหารสู่ลำคอและปาก ทำให้รู้สึกมีรสเปรี้ยวในปาก อาการกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก อาจทำให้เกิดอาการเสียดท้อง เจ็บหน้าอก กลืนลำบาก หรืออาเจียนของเหลวรสเปรี้ยวหรือขม ในบางคนอาจมีอาการกรดไหลย้อนมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการรุนแรงขึ้น เช่น มะเร็งหลอดอาหาร หลอดอาหารตีบ หรือเป็นแผลในหลอดอาหาร อาการอาการของกรดไหลย้อน อาการของกรดไหลย้อนมีดังนี้ แสบร้อนกลางอกหรือลำคอหลังรับประทานอาหาร และอาจมีรสชาติเปรี้ยวในปาก ซึ่งอาการอาจรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน กลืนลำบาก เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ หรืออาเจียนอาหารเป็นกรดของเหลวรสเปรี้ยวหรือขม รู้สึกมีก้อนในคอ หรือเหมือนมีอาหารติดในลำคอ ไอแห้ง หายใจมีเสียงหวีด เสียงแหบ หรือเจ็บคอเรื้อรัง ท้องอืด สะอึก และเรอ อุจจาระเป็นสีดำหรือเป็นเลือด และอาจอาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการกรดไหลย้อนในเวลากลางคืน อาจมีปัญหาเหล่านี้ร่วมด้วย ไอเรื้อรัง อาการกรดไหลย้อนอาจรบกวนการนอนหลับ โรคกล่องเสียงอักเสบ โรคหอบหืดอาจเกิดขึ้นใหม่หรือมีอาการแย่ลง ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อวินิจฉัยอาการและหาสาเหตุเพื่อรักษาในขั้นตอนต่อไป หากมีปัญหาเหล่านี้ หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดกรามหรือแขน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการหัวใจวาย สาเหตุสาเหตุของกรดไหลย้อน โดยปกติ เมื่อรับประทานอาหาร กล้ามเนื้อส่วนบนของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างจะคลายตัว […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

อาการแพ้ท้อง ที่เกิดจากสาเหตุอื่นไม่ใช่เพราะการตั้งครรภ์

อาการแพ้ท้อง มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงไตรมาสแรกของหญิงตั้งครรภ์ ทำให้มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่อาการแพ้ท้องนี้อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นด้วยไม่ใช่เกิดขึ้นได้เฉพาะในหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งวิธีป้องกันและบรรเทาอาการอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุ สาเหตุของอาการแพ้ท้อง อาการแพ้ท้อง เป็นภาวะที่มีอาการหลายอย่างประกอบกัน หรือเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วิงเวียน  คลื่นไส้ อาเจียน รวมไปถึง ท้องเสีย เหงื่อออกมาก และปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งอาการแพ้ท้องอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ตั้งครรภ์ สัญญาณแรกของหญิงตั้งครรภ์คือ รู้สึกวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน โดยสาเหตุของการแพ้ท้องระหว่างตั้งครรภ์นี้ยังไม่อาจระบุได้ แต่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกายอาจเป็นสาเหตุหลัก โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก และกินระยะเวลาเประมาณ 6 สัปดาห์ อาการเหล่านี้มักจะหายไปในช่วงสัปดาห์ที่ 16 และ 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์  มีบางรายที่อาจแพ้ท้องตลอดการตั้งครรภ์ โดยอาการแพ้ท้องไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะตอนเช้า หรือตอนกลางวัน แต่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน เหนื่อยล้า หรือปัญหาการนอนหลับ ปัญหาสุขภาพหรือภาวะที่ร่างกายเปลี่ยนแปลง เช่น อาการเจ็ตแล็ก โรคนอนไม่หลับ (insomnia) อาจรบกวนการเปลี่ยนแปลงวงจรการนอนหลับหรือรูปแบบการนอน ทำให้ระบบประสาทของร่างกายต้องปรับเปลี่ยนเป็นผลให้ร่างกายตอบสนองด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ ความหิว หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อรู้สึกหิว หรือเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจรู้สึกวิงเวียน อ่อนเพลีย หรืออยากอาเจียน หรือหากปกติรับประทานอาหารเช้าทุกวัน ในวันที่มีการเปลี่ยนแปลงตารางชีวิตประจำวันทำให้ต้องงดอาหาร ก่ออาจก่อให้เกิดอาการแพ้ท้องได้ รวมทั้งการขาดน้ำในตอนเช้า ความเครียด […]


โรคริดสีดวงทวาร

ริดสีดวง อาการ สาเหตุ การรักษา

ริดสีดวง มีลักษณะเส้นเลือดบวมเป็นก้อนเกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก เนื่องจากแรงกดดันและแรงเสียดสีที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เช่น ท้องผูก ท้องเสีย การตั้งครรภ์ หรือการยกของหนัก อาจทำให้มีอาการเจ็บปวด คัน และมีเลือดออกเมื่อขับถ่าย การรักษาและการป้องกันที่เหมาะสมอาจช่วยเยี่ยวยาอาการให้ดีขึ้นและลดโอกาสเกิดซ้ำ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ริดสีดวง คืออะไร ริดสีดวงทวาร เป็นเส้นเลือดบวมที่เกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก อาจขยายใหญ่ขึ้นทั้งภายในและภายนอกทวารหนักเมื่อได้รับการเสียดสีหรือระคายเคืองบ่อยครั้ง เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ใช้แรงเบ่งอุจจาระมากเกินไปหรือนั่งถ่ายเป็นเวลานาน ซึ่งริดสีดวงทวารอาจทำให้มีอาการคัน เจ็บปวด หรือมีเลือดออกเมื่อขับถ่าย ริดสีดวงพบบ่อยแค่ไหน ริดสีดวงทวารอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย พบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือในผู้ที่มีการขับถ่ายไม่ดีเรื้อรัง เช่น ท้องผูก จนอาจทำให้อุจจาระแข็ง เสียดสีกับทวารหนัก และเกิดเป็นริดสีดวงทวารได้ ประเภทของริดสีดวง ริดสีดวงทวารอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ริดสีดวงทวารภายนอก เป็นลักษณะเส้นเลือดก่อตัวขึ้นใต้ผิวหนังบริเวณทวารหนัก ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อาจทำให้เกิดอาการปวดและบวม ในบางครั้งเมื่ออุจจาระอาจมีเลือดออกทางทวารหนักได้เช่นกัน ริดสีดวงทวารภายใน เป็นลักษณะเส้นเลือดบวมก่อตัวขึ้นภายในไส้ตรง เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่กับทวารหนัก อาจทำให้มีเลือดออกเมื่ออุจจาระแต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ริดสีดวงทวารอุดตัน เป็นลักษณะของริดสีดวงภายนอกที่ลิ่มเลือดก่อตัวกันเป็นก้อน อาจห้อยย้อยออกมานอกทวารหนัก อาจทำให้มีอาการปวดและมีเลือดออกง่าย อาการ อาการริดสีดวง อาการอาจขึ้นอยู่กับประเภทของริดสีดวงทวาร ดังนี้ ริดสีดวงทวารภายนอก ริดสีดวงทวารภายนอกเกิดขึ้นใต้ผิวหนังบริเวณทวารหนัก อาจแสดงอาการดังนี้ เจ็บปวดและรู้สึกไม่สบายที่ทวารหนัก ทวารหนักบวม ระคายเคืองหรือคันบริเวณทวารหนัก เลือดออกจากทวารหนักเมื่อขับถ่าย ริดสีดวงทวารภายใน ริดสีดวงทวารภายในเกิดขึ้นบริเวณไส้ตรงไม่สามารถสัมผัสหรือมองเห็นได้ อาจทำให้มีอาการดังนี้ รู้สึกไม่สบาย ตึงหรือระคายเคืองเมื่อขับถ่าย […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร หน้าที่และความสำคัญ

ระบบย่อยอาหาร เป็นระบบที่มีหน้าที่ลำเลียงอาหาร ย่อยสลาย และดูดซึมสารอาหารเพื่อใช้เป็นพลังงานหล่อเลี้ยงร่างกาย โดยระบบย่อยอาหารจะเริ่มต้นตั้งแต่ในปากเชื่อมต่อกันไปจนถึงทวารหนัก ประกอบด้วยระบบทางเดินอาหารและส่วนช่วยกระบวนการย่อยอาหารอย่างตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดีที่ทำงานร่วมกัน การดูแลระบบย่อยอาหารให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ อาจช่วยส่งเสริมให้การทำงานของระบบย่อยอาหารและการดูดซึมดีขึ้น และอาจช่วยป้องโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร เช่น กรดไหลย้อน ริดสีดวง แผลในกระเพาะอาหารได้ [embed-health-tool-bmi] ระบบย่อยอาหาร คืออะไร ระบบย่อยอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร ที่เชื่อมต่อตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก โดยอาหารจะถูกส่งผ่านตามอวัยวะต่าง ๆ ตามลำดับ ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง และทวารหนัก โดยมีตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ช่วยส่งเสริมกระบวนการย่อนสลายและดูดซึมสารอาหารเข้ากระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกายต่อไป ระบบย่อยอาหารมีความสำคัญเนื่องจากร่างกายต้องการสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำจากอาหารและเครื่องดื่มที่รับประทาน เพื่อใช้เป็นพลังงานให้ระบบภายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ ใช้ในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมเซลล์ ระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลักตามลำดับการทำงาน คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง และทวารหนัก โดยมีตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ช่วยส่งเสริมกระบวนการย่อยอาหาร ดังนี้ ปาก […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณกำลังมี อาการอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษ คืออาการป่วยจากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่ม ที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย และอาจมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ตั้งแต่อาการป่วยเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากจะมาแนะนำ สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณกำลังมี อาการอาหารเป็นพิษ เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านสามารถสังเกตอาการ และเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้เกิด อาการอาหารเป็นพิษ อาการอาหารเป็นพิษ เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อปรสิต เชื้อโรคเหล่านี้อาจปนเปื้อนมาในอาหารได้ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ขนส่ง หรือแม้กระทั่งการประกอบอาหาร อาหารเป็นพิษ จากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการอาหารเป็นพิษ โดยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) เชื้ออีโคไล (E. coli) เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) อาหารเป็นพิษ จากเชื้อปรสิต หรือพยาธิ ในบางครั้ง อาการ อาหารเป็นพิษ ก็อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อปรสิต หรือพยาธิต่าง ๆ แม้อาการอาหารเป็นพิษจากเชื้อปริสิตหรือพยาธิจะพบไม่บ่อยเท่ากับอาการอาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็มีความอันตรายไม่แพ้กัน โดยเชื้อปรสิตที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษนั้น มักจะมาจากการติดเชื้อปรสิตท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmais) ที่พบได้ในอึแมว อาหารเป็นพิษ จากเชื้อไวรัส เชื้อโนโรไวรัส (Norovirus) คือเชื้อไวรัสที่สามารถก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ ซึ่งในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว […]


โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

ถุงผนังลำไส้อักเสบ ปัญหาระบบทางเดินอาหาร ที่ควรเร่งรักษา

หากสังเกตตนเองแล้วพบว่ามีอาการปวดท้องรุนแรงไม่ว่าจะข้างใดข้างหนึ่ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาทันที เพราะอาการที่พบอาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มของอาการ ถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticula) [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ถุงผนังลำไส้อักเสบ คืออะไร โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticula) คือโรคที่ผนังช่องท้อง หรือลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง มีการอักเสบและโป่งพองนูนออกมา ในบางครั้งอาจส่งผลให้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และเกิดการติดเชื้อร่วมด้วย อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความกังวลใจว่าตนเองอาจกำลังเผชิญกับถุงผนังลำไส้อักเสบนี้อยู่ สามารถเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ในทันที เพื่อรับทราบอาการเบื้องต้น และรับการรักษาได้อย่างเท่าทัน ถุงผนังลำไส้อักเสบ พบได้บ่อยเพียงใด โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยาก พบได้มากในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีการรายงานระบุไว้ว่า โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ ยังสามารถพบได้ในกลุ่มผู้ที่มีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนในช่วงวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ได้ไม่แพ้กันอีกด้วย อาการ อาการของ โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ สัญญาณเตือนแรกที่บ่งบอกว่าเสี่ยงจะเป็นโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ คือความผิดปกติที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับปัญหาของช่องทางเดินอาหาร และระบบการขับถ่าย เช่น ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องร่วง ท้องผูก แต่หากเป็นโรคถุงผนังลำไส้อักเสบแล้ว อาจมีอาการดังต่อไปนี้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณด้านซ้าย และด้านขวาของช่องท้อง อุจจาระเป็นเลือด มีเลือดออกผ่านทางทวารหนัก เป็นไข้ ปัสสาวะบ่อยครั้ง สาเหตุ สาเหตุของถุงผนังลำไส้อักเสบ การที่ถุงผนังของลำไส้เกิดโป่งพองออกมา อาจเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากการที่ส่วนผนังลำไส้อ่อนแอกว่าปกติ และไม่สามารถต้านแรงดันภายในลำไส้ใหญ่ได้ จนส่งผลให้ผนังลำไส้เกิดการโป่งพองขึ้น นอกจากนี้ การขาดสารอาหารประเภท ไฟเบอร์ ก็มีอาจมีส่วนที่ทำให้เสี่ยงเกิด โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากการขาดไฟเบอร์อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก และสร้างแรงดันระหว่างอุจจาระที่มากเกินไป ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดถุงผนังลำไส้อักเสบ ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า ลำไส้ไม่แข็งแรง

สุขภาพของลำไส้ ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ หากร่างกายมีสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรง ก็จะช่วยให้ระบอื่น ๆ ในร่างกายดีตามไปด้วย เมื่อสุขภาพลำไส้แข็งแรงไม่เพียงแต่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและสมองด้วย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ ลำไส้ไม่แข็งแรง ร่างกายก็จะส่งสัญญาณออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ท้องอืด ท้องผูก วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับสัญญาณที่บ่งบอกว่า สุขภาพลำไส้ไม่ดี ไม่แข็งแรงมาให้อ่านกันค่ะ หน้าที่ของ จุลินทรีย์ในลำไส้  จุลินทรีย์ในลำไส้ (The Gut Microbiome) เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งมีอยู่ในระบบทางเดินอาหารประมาณ 300-500 ชนิด แม้ว่าจุลินทรีย์จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ว่าจุลินทรีย์บางชนิดนั้นมีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งจุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารที่กระเพาะอาหารไม่สามารถย่อยได้ เพื่อนำไปเป็นพลังงานให้กับร่างกาย นอกจากนี้ จุลินทรีย์ในลำไส้ยังทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหาร กระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต่าง ๆ สัญญาณที่บ่งบอกว่า ลำไส้ไม่แข็งแรง จุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารมีหน้าที่ในการย่อย ดูดซึมสารอาหาร ซึ่งพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ความเครียด นอนน้อยเกินไป รับประทานอาหารแปรรูป และอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาจเป็นตัวทำลายจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร จนส่งทำให้ สุขภาพลำไส้ไม่ดี ซึ่งสัญญาณเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า สุขภาพลำไส้ไม่ดี ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร อาการไม่สบายท้อง ท้องไส้ปั่นป่วนบ่อย ๆ เช่น มีแก๊สในกระเพาะอาหาร […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร วิธีที่จะช่วยให้สุขภาพลำไส้ดีขึ้นได้

การ ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ในลำไส้ให้มีความแข็งแรงมีส่วนช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้นได้ด้วย ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารที่ดีต่อจุลินทรีย์ช่วยกระตุ้น แบคทีเรียในลำไส้ ให้ดีขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหารที่น่าสนใจมาให้อ่านกัน หน้าที่ของ แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) ร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียหลายล้านล้านตัว ซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีต่อสุขภาพและชนิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยจะจับคู่กับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตัวอื่น เช่น ไวรัสและเชื้อรา โดยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้จะสร้างไมโครไบโอตา (Microbiota) หรือไมโครไบโอม (Microbiome) ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ซึ่งมีเกือบ  2 ล้านยีนที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีความสมดุล นั้นหมายถึง สุขภาพลำไส้ก็จะดีตามไปด้วย การดูแลรักษาสมดุลของจุลินทรีย์มีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และระบบภูมิคุ้มกันเป็นอย่างมาก วิธี ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) ให้ดีขึ้น ร่างกายของคนเรานั้นมีปริมาณแบคทีเรียอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอาศัยอยู่ในลำไส้ โดยรวม ๆ แล้วเรียกว่า “จุลินทรีย์ในลำไส้“ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก พฤติกรรมการกินถือเป็นเรื่องที่มีผล อย่างมากต่อแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ มีส่วนช่วยปรับปรุง แบคทีเรียในลำไส้ ให้ดีขึ้นได้ รับประทานให้มีความหลากหลาย แบคทีเรียในลำไส้นั้นมีอยู่หลายร้อยชนิด ซึ่งแบคทีเรียแต่ละชนิดก็มีบทบาท หน้าที่ในการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป การรับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่แตกต่างกันออกไปเพื่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแต่ละชนิด […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม