สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

อาการไส้ติ่ง ที่บ่งบอกว่า ร่างกายอาจกำลังเกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ หรืออาจร้ายแรงได้ถึงอาการไส้ติ่งแตก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ถ้าไม่สังเกตร่างกายให้ดีและพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ  ไส้ติ่งสามารถเกิดภาวะการอักเสบได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะไส้ติ่งเกิดภาวะการอักเสบจากการอุดตันภายใน เช่น  เศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น เมื่ออุจจาระ ของเสีย สิ่งแปลกปลอม หรือก้อนเนื้อมะเร็ง ได้อุดตันในไส้ติ่งจะทำให้เกิดแบคทีเรียสะสม อาจเกิดอาการเลือดคั่ง จนกระจายไปที่ผนังไส้ติด ทำให้เกิดภาวะการอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง จนขยายตัวขึ้นไปปิดกั้นไส้ติ่ง ทำให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้ บางกรณีเกิดได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่สุก เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อควายดิบ ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคพยาธิตัวตืดวัวควาย จากการกินตัวอ่อนพยาธิหรือเม็ดสาคู เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ ลำตัวจะเป็นปล้อง ๆ แล้วปล้องสุกจะหลุดออกมากับอุจจาระ ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่ง พบได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกติก็ต่อเมื่อเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) แล้ว ทำให้ร่างกายค่อย ๆ แสดงอาการเมื่อไส้ติ่งเริ่มอุดตัน เช่น  เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันที่บริเวณรอบสะดือ  ระยะต่อมา เมื่อไส้ติ่งเริ่มบวมจะลุกลามไปปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดที่ท้องด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น จะรู้สึกเจ็บบริเวณที่ไส้ติ่งมากขึ้น ขณะลุกเดิน เคลื่อนไหวร่างกาย หรือแม้กระทั่งไอและจาม มีไข้ จุกแน่นท้อง  คลื่นไส้ […]

หมวดหมู่ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร วิธีที่จะช่วยให้สุขภาพลำไส้ดีขึ้นได้

การ ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ในลำไส้ให้มีความแข็งแรงมีส่วนช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้นได้ด้วย ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารที่ดีต่อจุลินทรีย์ช่วยกระตุ้น แบคทีเรียในลำไส้ ให้ดีขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหารที่น่าสนใจมาให้อ่านกัน หน้าที่ของ แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) ร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียหลายล้านล้านตัว ซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีต่อสุขภาพและชนิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยจะจับคู่กับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตัวอื่น เช่น ไวรัสและเชื้อรา โดยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้จะสร้างไมโครไบโอตา (Microbiota) หรือไมโครไบโอม (Microbiome) ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ซึ่งมีเกือบ  2 ล้านยีนที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีความสมดุล นั้นหมายถึง สุขภาพลำไส้ก็จะดีตามไปด้วย การดูแลรักษาสมดุลของจุลินทรีย์มีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และระบบภูมิคุ้มกันเป็นอย่างมาก วิธี ปรับปรุงแบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) ให้ดีขึ้น ร่างกายของคนเรานั้นมีปริมาณแบคทีเรียอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอาศัยอยู่ในลำไส้ โดยรวม ๆ แล้วเรียกว่า “จุลินทรีย์ในลำไส้“ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก พฤติกรรมการกินถือเป็นเรื่องที่มีผล อย่างมากต่อแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ มีส่วนช่วยปรับปรุง แบคทีเรียในลำไส้ ให้ดีขึ้นได้ รับประทานให้มีความหลากหลาย แบคทีเรียในลำไส้นั้นมีอยู่หลายร้อยชนิด ซึ่งแบคทีเรียแต่ละชนิดก็มีบทบาท หน้าที่ในการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป การรับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่แตกต่างกันออกไปเพื่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแต่ละชนิด […]


โรคริดสีดวงทวาร

หลัง ผ่าตัดริดสีดวง ควรดูแลแผลผ่าตัดริดสีดวงอย่างไร

โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อย และหากอาการรุนแรงหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันก็อาจต้องรักษาด้วยการ ผ่าตัดริดสีดวง เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคริดสีดวงทวาร สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือการศึกษาและทำความเข้าใจถึงวิธีการ ดูแลแผลผ่าตัดริดสีดวงทวาร อย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ดูแลตัวเองที่บ้านได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แผลหายช้า [embed-health-tool-bmi] โรคริดสีดวงทวาร คืออะไร โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) คือ ภาวะที่เกิดจากหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักนูนหรือโป่งพอง ส่งผลให้เยื่อบุผนังทวารหนักที่ได้รับผลกระทบนูนบวม ส่งผลให้มีอาการปวดบวมอย่างรุนแรง และอาจเกิดก้อนแข็งภายในหรือภายนอกทวารหนัก ร่วมกับมีอาการเจ็บแสบหรือเลือดออกขณะถ่ายอุจจาระ บางครั้งอาจมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม ซึ่งในบางกรณี อาจต้องรักษาด้วยการ ผ่าตัดริดสีดวง โรคริดสีดวงทวาร มักเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ออกแรงเบ่งอุจจาระมากเกินไป ท้องร่วง หรือท้องผูกเรื้อรัง อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำ มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน นั่งโถส้วมนาน ๆ เป็นประจำ ภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงทวาร หากเป็นโรคริดสีดวงทวาร แล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ โรคโลหิตจาง เนื่องจากสูญเสียเลือดมากจนส่งผลให้มีเลือดลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายไม่เพียงพอ ลิ่มเลือด แม้ลิ่มเลือดจะไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการบวมและรู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก หลัง ผ่าตัดริดสีดวง ควรดูแลแผลอย่างไร หากโรคริดสีดวงทวารหนักอยู่ในระยะรุนแรง มีติ่งเนื้อหรือก้อนริดสีดวงยื่นออกมาจากรูทวารและไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก คุณหมออาจแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งอาจเป็นการผ่าตัดแบบตัดก้อนริดสีดวงทิ้ง การผ่าตัดแบบเย็บผูกหลอดเลือด การผ่าตัดแบบใช้เครื่องเย็บอัตโนมัติ […]


โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES)

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES) เป็นภาวะที่หาได้ยากที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร มักเกิดขึ้นบริเวณตับอ่อน และบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น มีลักษณะก่อตัวเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกดังกล่าวจะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า “แกสตริโนม่า (Gastrinomas)” ออกมามากกว่าปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น อาการท้องร่วง อาการปวดท้อง กรดไหลย้อน เป็นต้น คำจำกัดความกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES) คืออะไร กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES) เป็นภาวะที่หาได้ยากที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหารมักเกิดขึ้นบริเวณตับอ่อน และบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น มีลักษณะก่อตัวเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกดังกล่าวจะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า “แกสตริโนม่า (Gastrinomas)” ออกมามากกว่าปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น อาการท้องร่วง อาการปวดท้อง กรดไหลย้อน เป็นต้น  พบได้บ่อยเพียงใด กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสั มักพบในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี    อาการอาการ กลุ่มโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES) ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน จะมีลักษณะการแสดงออก ดังต่อไปนี้  อาการปวดท้อง อาการท้องร่วง รู้สึกแสบร้อนบริเวณช่องท้องส่วนบน กรดไหลย้อน เรอ คลื่นไส้และอาเจียน เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร การลดน้ำหนัก ความอยากอาหารลดลง  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ตด หากบ่อยหรือดังผิดปกติ อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ

ตด หรือ การผายลม เกิดจากการปล่อยแก๊สในลำไส้ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการสะสมในระบบย่อยอาหาร แต่หากกลิ่นและเสียงนั้นไม่ปกติ มันอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเซลิแอค โรคตับ โรคลำไส้อักเสบ โดยปกติผู้ที่สุขภาพแข็งแรงดีจะตดประมาณ 14-23 ครั้ง/วัน หากตดมากกว่า 25 ครั้งต่อวัน หรือมีกลิ่นเหม็นและเสียงดังกว่าปกติ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร [embed-health-tool-bmi] ตด เกิดจากอะไร ตด หรือ การผายลม เกิดจากการปล่อยแก๊สในลำไส้ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการสะสมในระบบย่อยอาหาร โดยมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้  อากาศที่กลืนเข้าไป ในทุก ๆ วันทุกคนอาจกลืนอากาศเข้าไปตลอดเวลา เช่น อากาศขณะที่เคี้ยวอาหาร การดื่มเครื่องดื่มจากน้ำอัดลม โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเซลิแอค โรคตับ โรคลำไส้อักเสบ อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตมากเกินไป อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีแก๊สมากจนอาจเกิดการตดบ่อย อาหารไม่ย่อย อาหารที่ถูกย่อยไม่หมดบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้เกิดการตด ตดกับปัญหาสุขภาพที่ควรรู้ ถึงแม้ว่าตดอาจเป็นเรื่องปกติ แต่หากกลิ่นและเสียงนั้นไม่ปกติ มันอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้อีกด้วย นอกจากนี้ ตดยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาบางชนิด โดยลักษณะของกลิ่นตดอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้  ตดมีกลิ่น เกิดจากการรับประทานที่มีเส้นใยสูง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี […]


โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease :IBD)

ลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease หรือ IBD) เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในลำไส้และระบบทางเดินอาหารที่มีการอักเสบสะสมติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานจนอาการเข้าขั้นเรื้อรัง คำจำกัดความลำไส้อักเสบเรื้อรัง คืออะไร ลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease หรือ IBD) เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในลำไส้และระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีการอักเสบสะสมติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานจนอาการเข้าขั้นเรื้อรัง เราสามารถจำแนก โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) คืออาการทางสุขภาพที่มีการอักเสบและเป็นแผลตามเยื่อบุของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรคโครห์น (Crohn’s Disease) คืออาการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในระบบทางเดินอาหาร แต่โดยมากแล้ว โรคโครห์นมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณลำไส้ส่วนปลาย โดยจะเริ่มตั้งแต่ลำไส้เล็ก ไปยังลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก อาการของ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ทั้งสองประเภทนี้จะก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หรือในบางกรณีก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง พบได้บ่อยแค่ไหน โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็เสี่ยงที่จะเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรังได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นลำไส้อักเสบเป็นประจำมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง อาการอาการของ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ผู้ที่เป็น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีอาการท้องเสียอย่างต่อเนื่อง มีอาการปวดท้อง มีเลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด ร่างกายอ่อนเพลีย ในผู้ป่วย โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง บางราย อาจมีอาการภายนอกร่วมด้วย ได้แก่ ตาอักเสบ มีความผิดปกติที่ผิวหนัง มีอาการข้ออักเสบ ผู้ป่วย โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง […]


แผลในกระเพาะอาหาร

เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีวิธีป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง

หนึ่งในอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารที่เรามักจะพบกันได้บ่อย ๆ ก็คือ แผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้หากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหาร แต่ถ้าจู่ ๆ เราก็เป็นแผลในกระเพาะอาหารขึ้นมาล่ะ จะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง หากสงสัยกันล่ะก็ วันนี้ Hello คณหมอ มีสาระน่ารู้และวิธีการรับมือเมื่อ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มาฝากค่ะ แผลในกระเพาะอาหารคืออะไร แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) เกิดจากการที่เยื่อบุในกระเพาะอาหารถูกทำลายจากกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรือบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) การรับประทานยาแอสไพริน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด หรือแม้แต่การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด ก็สามารถก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน  แผลในกระเพาะ อาหารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นด้านในของกระเพาะอาหาร (Gastric ulcers) แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดบนเยื่อบุลำไส้เล็ก (Duodenal ulcer) อาการของแผลในกระเพาะอาหารเป็นอย่างไร ผู้ที่เป็น แผลในกระเพาะอาหาร มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดแสบปวดร้อนในท้อง ไม่สบายท้อง ท้องอืด เรอ แน่นหรือเจ็บหน้าอก คลื่นไส้และอาเจียน ไม่อยากอาหารหรือไม่กระหายน้ำ น้ำหนักลด อุจจาระมีสีคล้ำหรือมีเลือดปนออกมา อาการปวดของ แผลในกระเพาะอาหาร สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา อาการปวดก็อาจกลับมาได้อีกครั้ง หรืออาจทำให้มีอาการปวดท้องในตอนกลางคืน เป็นแผลในกระเพาะอาหาร จะรักษาได้อย่างไร แผลในกระเพาะอาหาร สามารถหายเองได้ แต่ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นอีกครั้งได้เช่นกัน แพทย์จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุเพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างตรงจุด โดยอาจใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้ หากสาเหตุในการเกิด แผลในกระเพาะอาหาร มาจากติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาโดยการให้รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโดยการให้รับประทานยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโดยการให้รับประทานยาป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ อย่างไรก็ตาม แผลในกระเพาะอาหาร อาจรักษาไม่หาย ถ้าหาก ไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรเกิดการดื้อยา สูบบุหรี่เป็นประจำ หากเป็นแผลที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ มีการผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป หากเป็นแผลที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นที่ไม่ใช่เชื้อเอชไพโลไร เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีอาการทางสุขภาพอื่น ๆ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

5 พฤติกรรมเสี่ยงอาหารเป็นพิษ ที่คุณควรหลีกเลี่ยง

ปัญหาอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ นอกจากจะทำให้คุณต้องทรมานกับอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ยังอาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอจึงอยากแนะนำ 5 พฤติกรรมเสี่ยงอาหารเป็นพิษ ที่คุณควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ 5 พฤติกรรมเสี่ยงอาหารเป็นพิษ ที่ควรระวัง 1. เสี่ยงอาหารเป็นพิษ เพราะไม่ล้างมือก่อนกินข้าว การไม่ล้างมือก่อนกินข้าว เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ ในระหว่างวัน มือของคุณสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทำให้มีเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ติดมากับมือของคุณมากมาย เมื่อคุณสัมผัสกับอาหารโดยไม่ได้ล้างมือให้ดีก่อน เชื้อโรคเหล่านั้นก็อาจปนเปื้อนในอาหาร และเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิด ภาวะอาหารเป็นพิษ ได้ สิ่งที่คุณควรทำคือ ล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนช่วงการเตรียมวัตถุดิบ ช่วงทำอาหาร และก่อนรับประทานอาหาร โดยล้างมือด้วยสบู่ให้ทั่วทั้งฝ่ามือ ซอกเล็บ และบริเวณรอบข้อมือ เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที นอกจากนี้ คุณควรล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำและสัมผัสกับสิ่งสกปรกด้วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 2. ทำความสะอาดวัตถุดิบผิดวิธี เวลาที่คุณซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ มาจากตลาด ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบจำพวกผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ […]


ท้องอืดท้องเฟ้อ

อาการจุกเสียดท้อง ขณะออกกำลังกาย สามารถรักษาได้อย่างไร

คุณเคยหรือไม่ ขณะออกกำลังกายไม่ว่าจะในรูปแบบหนัก หรือเบา บางครั้งก็มักมี อาการจุกเสียดท้อง มาคอยสร้างความเจ็บปวดให้คุณทุกเมื่อตลอดเวลา จนทำให้คุณนั้นต้องหยุดทำกิจกรรม และรับกลับบ้านไปพักในทันที ซึ่งไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะอาการดังกล่าวนี้คุณสามารถรักษาด้วยตนเองง่าย ๆ จากวิธีที่ Hello คุณหมอ ได้นำมาฝากให้ทุกคนลองปฏิบัติตามกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] อาการจุกเสียดท้อง คืออะไร อาการจุกเสียดท้อง (Side Stitches) คืออาการที่เกิดจากความตึงเครียดของกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครง ซึ่งสามารถส่งผลสร้างความเจ็บปวดบริเวณท้องข้างใดข้างหนึ่งชั่วคราวขณะออกกำลังกาย โดยอาจมีสาเหตุเบื้องต้นมาจากการบิดลำตัวที่มากเกินไป การยกของหนัก หรือแม้แต่ถูกกระแทก และถูกปะทะอย่างรุนแรง ทั้งนี้ยังอาจรวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยน้ำตาลก่อนออกกำลังกายอีกด้วย เพราะเครื่องดื่ม หรืออาหารบางประเภทมักมีคาร์โบไฮเดรตสูงที่สามารถส่งผลเสียไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้คุณอาจได้รับบาดเจ็บเกิดอาการจุกเสียดท้องระหว่างที่คุณออกกำลังกายอยู่ได้ สัญญาณของ อาการจุกเสียดท้องเบื้องต้น ในขณะที่คุณออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพอย่างเพลิดเพลิน บางครั้งก็อาจมีอาการจุกเสียดหน้าท้องขึ้นมาอย่างกะทันหัน ซึ่งหากคุณไม่แน่ใจว่าตนเองกำลังประสบกับอาการจุกเสียดอยู่หรือไม่นั้น คุณสามารถเช็กได้จากสัญญาณเบื้องต้น ดังนี้ กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงมีการกระตุก ขณะหายใจเข้า ไอ หรือจาม รู้สึกเจ็บบริเวณซี่โครง หน้าท้อง มีอาการปวดหลังส่วนบน เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงเมื่อเคลื่อนไหวบ่อยครั้ง เจ็บปวดบริเวณซี่โครง นอกจากอาการข้างต้นแล้ว บางกรณีอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ  เช่น เจ็บซี่โครงรุนแรงขณะมีการบิดตัว จนถึงขั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกตินั้น คุณควรเข้าขอคำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งด้วยเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อเร่งหาวิธีรักษาเบื้องต้น ก่อนที่คุณนั้นจะเจ็บปวด และทุกข์ทรมานกว่าเดิม วิธีรักษาอาการจุกเสียดท้องด้วยตนเอง เมื่อคุณเริ่มมีอาการเจ็บหน้าท้อง หรือบริเวณซี่โครงข้างใดข้างหนึ่งขึ้น สิ่งที่คุณควรพึงปฏิบัติอย่างแรก […]


ท้องผูก

ท้องผูกเรื้อรัง อุจจาระไม่ออกหลายวัน อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่ต้องรีบแก้ไข

แม้ท้องผูกจะเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วไป แต่ก็ใช่ว่าเราจะละเลยปัญหานี้ได้ เพราะหากปล่อยไว้ ไม่รีบรักษา อาการท้องผูกของคุณอาจกลายเป็นภาวะ ท้องผูกเรื้อรัง ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด แล้วคุณจะสังเกตได้อย่างไรว่าตัวเองท้องผูกเรื้อรังหรือไม่ หรือเราจะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไรบ้าง เราไปหาคำตอบจากบทความของ Hello คุณหมอ กันเลย ภาวะท้องผูกเรื้อรัง คืออะไร หลังจากที่เรากินอาหารเข้าไป อาหารจะเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหาร เริ่มจากปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และกลายเป็นของเสียออกทางทวารหนัก โดยปกติแล้ว ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 ครั้งต่อวันไปจนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่หากขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลาติดต่อกันหลายเดือน จะถือว่ามีภาวะท้องผูกเรื้อรัง (Chronic Constipation) แต่ในความเป็นจริง คำจำกัดความภาวะท้องผูกเรื้อรังของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ท้องผูกเรื้อรังของบางคนอาจหมายถึงภาวะที่ร่างกายขับถ่ายอุจจาระไม่สม่ำเสมอติดต่อกันหลายสัปดาห์ ในขณะที่บางคนอาจหมายถึง ภาวะที่ขับถ่ายอุจจาระได้ลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากกว่าปกติจึงจะถ่ายออก ความแตกต่างระหว่างภาวะท้องผูกเฉียบพลัน กับท้องผูกเรื้อรัง ความแตกต่างที่เห็นได้เด่นชัดระหว่างภาวะท้องผูกเฉียบพลัน กับภาวะท้องผูกเรื้อรังก็คือระยะเวลาที่เกิดอาการ ผู้ที่ท้องผูกเฉียบพลันจะมีอาการถ่ายอุจจาระลำบากติดต่อกันเป็นเวลา 2-3 วัน ส่วนผู้ที่ท้องผูกเรื้อรังจะมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระนาน 2-3 เดือน หรือบางคนอาจท้องผูกเรื้อรังติดต่อกันนานเป็นปี นอกจากเรื่องระยะเวลาในการเกิดโรค คุณยังสามารถสังเกตข้อแตกต่างระหว่างภาวะท้องผูกเฉียบพลันและท้องผูกเรื้อรังในเบื้องต้นได้ จากข้อสังเกตดังต่อไปนี้ ภาวะท้องผูกเฉียบพลัน มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต หรือการกินอาหาร การไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ความเจ็บป่วย การใช้ยา และการเดินทาง บรรเทาได้ด้วยยาระบายที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา […]


ท้องผูก

ยาระบายจากธรรมชาติ ที่ช่วยแก้อาการท้องผูก ทำให้คุณขับถ่ายคล่องขึ้น

เวลาที่ท้องผูก ขับถ่ายไม่สะดวก หลายคนอาจเลือกซื้อยาระบายมากิน เพราะสามารถกระตุ้นการขับถ่ายได้อย่างรวดเร็ว แต่ยาระบายประเภทนี้ ควรใช้แค่เป็นครั้งคราวเท่านั้น เพราะหากคุณใช้บ่อยเกินไป หรือใช้ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการดื้อยา และส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี วันนี้ Hello คุณหมอ เลยมีตัวเลือกที่อาจเหมาะสมกับคุณมากกว่า อย่าง ยาระบายจากธรรมชาติ มาแนะนำให้คุณลองกินเมื่อเกิดอาการท้องผูก รับรองว่า คุณจะขับถ่ายได้ดีขึ้น แถมยังดีต่อสุขภาพมากกว่าด้วย ยาระบายจากธรรมชาติ ที่คุณควรลอง ลูกพรุน ลูกพรุน คือลูกพลัมตากแห้ง อุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือใยอาหารซึ่งส่งผลดีต่อระบบขับถ่าย ไฟเบอร์ในลูกพรุนเป็นไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fiber) เรียกว่าเซลลูโลส (Cellulose) ที่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในอุจจาระ อีกทั้งเมื่อไฟเบอร์ในลูกพรุนถูกจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่หมักจนกลายเป็นกรดไขมันสายสั้น (Short chain fatty acid) ก็จะช่วยให้อุจจาระเป็นก้อน และขับถ่ายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ในลูกพรุนยังมีน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่เรียกว่า ซอร์บิทอล (Sorbitol) ซึ่งร่างกายของเราดูดซึมได้ไม่ดีนัก จึงช่วยเพิ่มน้ำในลำไส้ใหญ่ และมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ในบางคน ผลไม้ตระกูลส้ม ผลไม้ตระกูลส้ม หรือผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มโอ มะนาว เลมอน เกรปฟรุต ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี โดยเฉพาะไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ที่ชื่อว่า เพกติน (Pectin) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน