โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดและหัวใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เรียนรู้ข้อมูลและเคล็ดลับการจัดการกับ โรคความดันโลหิตสูง จากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

ความดันสูง เกิดจาก หลายสาเหตุ โดยเป็นภาวะที่ระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจวาย โรคสมองเสื่อม ดังนั้น ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความดันสูง [embed-health-tool-bmi] ความดันสูง คืออะไร  ความดันสูง หรือความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ค่าความดันสูงผิดปกติจากค่าความดันปกติ หากมีภาวะความดันสูงเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยตัวเลขค่าบนอยู่ที่ 130-139 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างอยู่ที่ 85-89 มิลลิเมตรปรอท นอกจากนี้ ค่าความดันสูงอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้  ค่าความดันสูงระยะที่ 1: ตัวเลขค่าบน 140-159 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 90-99 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 2: ตัวเลขค่าบน 160-179  มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 100-109 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 3: ตัวเลขค่าบนสูงตั้งแต่ 180  มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และตัวเลขค่าล่างสูงกว่า 110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป อาการความดันสูง  ความดันสูงในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่หากมีค่าความดันสูงมากอาจส่งผลให้เกิดอาการ […]

สำรวจ โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

น้ำบีทรูทลดความดันโลหิต ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ได้จริงหรือ?

บีทรูทเป็นผักชนิดหนึ่งที่กลุ่มคนรักสุขภาพย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะในสารอาหาร และวิตามินที่อยู่ในบีทรูทค่อนข้างให้คุณประโยชน์แก่สุขภาพเรามากมาย เช่น ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงตับ รวมไปถึง ลดความดันโลหิต วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำงานวิจัยเกี่ยวกับ น้ำบีทรูทช่วยลดความดันโลหิต ได้จริง มาฝากทุกคนให้ได้ทราบกัน เรียกได้ว่าเป็นอีกวิธีการ ลดความดันโลหิต ในรูปแบบง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำดื่มได้ทุกวันเป็นประจำ [embed-health-tool-heart-rate] สารอาหารในน้ำบีทรูท มีอะไรบ้าง น้ำบีทรูทเป็นน้ำผักที่ไม่มีการปะปนของไขมัน และอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ น้ำตาล นอกจานี้น้ำบีทรูทยังมีวิตามินสำคัญ ดังต่อไปนี้ ที่ช่วยลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเข้าไปสร้างความเสียหายแก่เซลล์ในร่างกาย โฟเลต วิตามินบี 6 แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส ฟอสฟอรัส ทองแดง สังกะสี งานวิจัย น้ำบีทรูทช่วยลดความดันโลหิตได้จริง ! เนื่องจากบีทรูทมีสารไนเทรต (NO3) ทำให้ร่างกายนำไปแปรเปลี่ยนเป็น ไนตริกออกไซด์ ที่จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว คลายตัว ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น จากการทดลองของ  Prof. Amrita Ahluwalia และทีมผู้ช่วยในแผนกหลอดเลือด ที่ Queen […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ประเภท และปัจจัยเสี่ยง

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หมายถึงผู้ที่มีระดับความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ทั้งความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เรื้อรัง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษซ้อนทับ และภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งล้วนแต่อาจส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที [embed-health-tool-”due-date”] ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทั้ง 3 ประเภท ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หมายถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหลังจากที่ตั้งครรภ์ โดยที่ก่อนตั้งครรภ์มีระดับความดันโลหิตปกติ มักพบได้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์ ขึ้นไป บางกรณีอาจหายไปหลังจากที่คลอดบุตร แต่ในบางครั้งก็อาจพัฒนากลายเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หมายถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ตลอดมาจนถึงช่วงตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการใด ๆ ความดันโลหิตสูงเรื้อรังที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษซ้อนทับ ภาวะนี้เกิดอาจขึ้นในสตรีที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังก่อนตั้งครรภ์อยู่แต่เดิม โดยมีอาการคือระดับความดันโลหิตและโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์อื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งตับ ไต หัวใจ และสมอง หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจทำให้ทารกในครรภ์เป็นอันตราย และเสียชีวิตลงได้ ปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีดังต่อไปนี้ เบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ โรคไต น้ำหนักเกินมาตรฐาน ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความเครียด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันเลือดปกติ ของแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ในเกณฑ์ใด

การวัดค่าความดันเลือด หรือความดันโลหิต คุณสามารถวัดด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงแค่มีเครื่องวัดความดันแบบพกพา โดยสามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ของตัวเลขจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมี ค่าความดันเลือดปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากกันค่ะ ค่าความดันเลือดปกติ ของช่วงวัยผู้ใหญ่ ปกติค่าความดันโลหิตมีหน่วยตามหลักสากลเป็น มิลลิเมตรปรอท เช่น 120/80 มม. โดยตัวเลขแรกเป็นค่าความดันเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือกทางหลอดเลือด (Sustolic) และตัวเลขด้านหลังหมายถึงความดันเมื่อหัวใจหยุดนิ่ง (Diastolic) หากคุณวัดค่าความดันด้วยตัวเองแล้ว สามารถนำตัวเลขบนหน้ามอนิเตอร์มาเทียบกับเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ได้ เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตปกติ : ซิสโตลิก (Sustolic) ต่ำกว่า 120 มม. และ ไดแอสโตลิก (Diastolic) ต่ำกว่า 80 มม. ความดันโลหิตสูง : ซิสโตลิก 120-129  มม. และไดแอสโตลิก ต่ำกว่า 80 มม. ความดันโลหิตสูระยะที่ 1 : ซิสโตลิก 130-139  มม. และไดแอสโตลิก  80-89 มม. ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 […]


โรคความดันโลหิตสูง

รู้หรือไม่!? วิตามินดี ตัวช่วยชั้นยอดจัดการ ความดันโลหิตสูง

รู้หรือไม่คะว่า วิตามินดี (Vitamin D) มีส่วนสำคัญในการควบคุมความดันโลหิต ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต่หากร่างกายได้รับวิตามินดีมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก หากร่างกายขาดวิตามินดี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ เพราะวิตามินดีมีสารเรนิน (Renin) ที่ไต ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมความดันโลหิตภายในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวิตามินดีจะมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากเพียงใด แต่หากรับประทานมากจนเกินอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับคำแนะนำการรับประทานวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย  4 แหล่งอาหารจากวิตามินดี ช่วยลดความดันโลหิตสูง ปกติร่างกายสามารถรับวิตามินดีได้จากแสงแดดธรรมชาติในยามเช้า รวมถึงสารอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี โดยมีแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี มีดังต่อไปนี้ ปลาแซลมอน อุดมด้วยวิตามินดีและคุณค่าทางสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง นม อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินนานาชนิด โดยส่วนใหญ่นมที่มีปริมาณวิตามินดีสูงจะเป็นนมเสริมจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์  (นมปริมาณ 8 ออนซ์ มีวิตามินดีระหว่าง 115 ถึง 124 IU) ข้าวโอ๊ต อุดมด้วยไฟเบอร์และคุณค่าทางสารอาหาร […]


โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก กับความรู้พื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก ส่วนใหญ่จะพบได้ในเด็กที่ชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารที่มีไขมันสูง มักเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็อาจส่งผลระยะยาว ทำให้มีปัญหาสุขภาพในอนาคตได้  [embed-health-tool-heart-rate] โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก (Hypertension in children) คืออะไร โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก (Hypertension in children) เกิดขึ้นในเด็กที่มีระดับความดันโลหิตมากกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออยู่ในภาวะอ้วน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับโรคความดันโลหิตสูงในวัยเด็ก รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ระบบฮอร์โมนผิดปกติ มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โรคความดันโลหิตสูงในวัยเด็ก ถือเป็นภาวะที่น่ากังวอย่างมาก หากปล่อยทิ้งไว้ระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับคำแนะนำหรือรับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูงต่อเนื่องในวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ  เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน เป็นต้น  สัญญาณเตือนโรคความดันโลหิตสูงในเด็ก อาการที่พบได้บ่อยในเด็กที่อยู่ในภาวะ ความดันโลหิตสูง มีลักษณะดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ อาการชัก อาเจียน […]


โรคความดันโลหิตสูง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง

ในปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากอดีต เช่น ภาวะความเครียด รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ขาดการออกกำลังกาย จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรับการรักษาถูกต้องอย่างเหมาะสม ก็อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญภายในร่างกาย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง นั้นส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนใดภายในร่างกายบ้าง และเราจะมีวิธีการลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง ได้อย่างไร โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คืออะไร? ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ การที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น หากแรงดันดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในร่างกายและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจาก โรคความดันโลหิตสูง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจตีบตัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น  ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง โรคความดันโลหิตสูง ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ สมอง โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับสมอง เมื่อหลอดเลือดแดงตีบ เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงยังบริเวณสมองได้น้อยลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมบางประเภท หัวใจ ความดันโลหิตสูงอาจส่งผลให้อาจทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและหนาขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย ไต […]


โรคความดันโลหิตสูง

7 ปัจจัยเสี่ยง ความดันสูง ที่คุณควรรู้

บทความ Hello คุณหมอ วันนี้ขอนำ 7 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มาฝากทุกคนกันค่ะ หากคุณกำลังอยู่ในเกณฑ์ที่เข้าข่ายเป็น โรคความดันโลหิตสูง จะได้ดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ว่าแต่ปัจจัยเสี่ยงโรคนี้จะมีอะไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] ทำความรู้จัก โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อย เกิดจากความดันในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น หากปล่อยไว้นานวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม และอื่น ๆ ที่สร้างความเสียหายแก่ร่างกายแทบทุกส่วนได้ 7 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ดังต่อไปนี้ อายุ ความเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อคุณมีอายุมากขึ้นจนถึงอายุ 64 ปี โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเพศชายมากกว่าเพศหญิง น้ำหนักเกิน เมื่อคุณน้ำหนักมากขึ้น ก็ต้องใช้เลือดในการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารเข้าไปในเนื้อเยื่อมากยิ่งขึ้น เมื่อปริมาณเลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือด ก็จะเพิ่มความดันบนผนังหลอดเลือดเช่นเดียวกัน สูบบุหรี่ สารเคมีในบุหรี่มีผลทำให้ระดับความดันโลหิตของคุณเพิ่มสูงมากขึ้น อีกทั้งยังทำลายผนังบุหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วย รับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม ทำให้ความระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป ยิ่งคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของคุณก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น […]


โรคความดันโลหิตสูง

รู้จัก ความดันโลหิตสูงวิกฤต ภาวะร้ายแรงที่อาจส่งผลเสียถึงชีวิต

ความดันโลหิตสูงวิกฤต เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ แต่ภาวะนี้จะมีอาการอย่างไร แล้วเราจะรับมือได้อย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต ให้มากขึ้นกันค่ะ  [embed-health-tool-heart-rate] ความดันโลหิตสูงวิกฤต คืออะไร ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertension Crisis) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นระดับที่อันตรายต่อร่างกาย และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ตรงเวลา หรือหยุดการรับประทานยาเองโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้  อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้เป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องรีบทำการรักษา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกาย หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ประเภทของ ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต  ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะเร่งด่วนจากความดันโลหิตสูง (Hypertensive Urgency) และ ภาวะฉุกเฉินจากความดันโลหิตสูง( Hypertensive Emergency) โดยมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ภาวะเร่งด่วนจากความดันโลหิตสูง (Hypertensive Urgency) คือภาวะร่างกายมีค่าความดันโลหิตมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท แต่ยังไม่ส่งผลเสียต่ออวัยวะ ภาวะฉุกเฉินจากความดันโลหิตสูง (Hypertensive Emergency) คือการที่ระดับความดันโลหิต พุ่งขึ้นสูงจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกในสมอง […]


โรคความดันโลหิตสูง

ข้อแนะนำ ในการ อ่านค่าความดันโลหิต ด้วยตนเอง

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำเทคนิคดี ๆ ในการ อ่านค่าความดันโลหิต มาฝากกัน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ต้องการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เอาล่ะ! จะมีวิธีการอ่านอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย การ อ่านค่าความดันโลหิต สำคัญอย่างไร? สิ่งแรกที่เราจะเห็นในการอ่าน ค่าความดันโลหิต คือ ตัวเลข 2 ตัว ที่บ่งบอกถึงระดับความดันโลหิตของคุณ หากความดันโลหิตของคุณปกติ จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท ในกรณีที่คุณมีความดันโลหิตมากกว่า 180/120 แสดงว่า คุณอยู่ในภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต ต้องได้รับการรักษาทันที  ความหมาย ค่าความดันโลหิต ที่คุณควรรู้ ในเบื้องต้น เราจะต้องรู้ ค่าความดันโลหิต ที่แสดงในเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งเราสามารถวัดระดับความดันโลหิตได้ด้วยการใช้เครื่องวัดความดันที่ลำแขน โดยแสดง ค่าความดันโลหิต ออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (Systolic Blood Pressure) คือ ค่าที่บ่งบอกถึงความดันเลือด แรงดันในขณะที่หัวใจบีบตัว ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic Blood Pressure) คือ […]


โรคความดันโลหิตสูง

5 วิธีง่าย ๆ ช่วย ลดความดันโลหิตสูง โดยไม่ต้องพึ่งยา

เราสามารถ ลดความดันโลหิตสูง ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่สามารถลดความดันโลหิตได้ โดยไม่ต้องพึ่งยา แต่จะมีวิธีอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ [embed-health-tool-heart-rate] เราสามารถ ลดความดันโลหิตสูง ได้อย่างไร? โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หากปล่อยไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นเราจึงควรทำการลดความดันโลหิตสูง หรือควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในอัตราคงที่ แต่ในการลดความดันโลหิตมักมีด้วยกันหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของแต่ละบุคคล ในเบื้องต้น หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่หากมีอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาร่วมด้วย เพื่อควบคุมความดันโลหิต 5 วิธีลดความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา เราสามารถลดความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา ด้วยมีวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ควบคุมน้ำหนัก เราต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และคอยสังเกตรอบเอว หากรอบเอวกว้างมากจนเกินไป (รอบเอวผู้ชายมากกว่า 40 นิ้ว และรอบเอวผู้หญิงมากกว่า 35 นิ้ว) อาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง ได้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 5-8 มิลลิเมตรปรอท  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยผัก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน