backup og meta

วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ อีกหนึ่งสาเหตุโรคหัวใจ ทำได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

    วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ อีกหนึ่งสาเหตุโรคหัวใจ ทำได้อย่างไรบ้าง

    ไตรกลีเซอไรด์ เป็นหนึ่งในไขมันที่มีอนุภาคขนาดเล็ก โดยปกติแล้วไตรกลีเซอไรด์เกิดได้จากการสังเคราะห์ของระบบร่างกายเรา แต่อาจน้อยกว่าการรับมาจากอาหารที่รับประทาน แต่หากมีปริมาณมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการร้ายแรงบางอย่างได้ วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ เบื้องต้น ที่คุณสามารถลงปฏิบัติด้วยตนเองง่าย ๆ  ก่อนเผชิญกับโรคที่ไม่อาจคาดเดาได้ ฝากทุกคนกันค่ะ

    ทำไม ไตรกลีเซอไรด์ จึงเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจได้

    เนื่องจาก ไตรกลีเซอไรด์ เป็นหนึ่งในไขมันอีกชนิดที่อยู่ภายในเลือดของคุณ ที่เกิดจากแคลอรี่ในอาหารส่วนเกิน เมื่อใดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ ในร่างกายของคุณนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นสูง ก็จะสามารถส่งผลให้หลอดเลือดแดงมีการแข็งตัว ผนังของหลอดเลือดเริ่มหนา จนสร้างความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และโรคหัวใจได้ในที่สุด

    ระดับไตรกลีเซอไรด์ บ่งชี้สุขภาพได้อย่างไรบ้าง

    การตรวจเลือดอาจเป็นทางออกที่ดีที่ทำให้คุณรู้ถึงระดับ ไตรกลีเซอไรด์ แต่ยังคงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย โดยผลลัพธ์ปริมาณของระดับ ไตรกลีเซอไรด์ นั้น สามารถเช็คได้จากข้อมูลด้านล่าง ดังต่อไปนี้

    • ไตรกลีเซอไรด์ ระดับปกติ จะมีปริมาณที่น้อยว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
    • ไตรกลีเซอไรด์ ระดับเริ่มสูง จะมีปริมาณ 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
    • ไตรกลีเซอไรด์ ระดับสูง จะมีปริมาณ 200-499 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
    • ไตรกลีเซอไรด์ ระดับสูงมาก จะมีปริมาณอยู่ที่ 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ขึ้นไป

    เพื่อเป็นการหาปริมาณ ไตรกลีเซอไรด์ ให้แม่นยำยิ่งขึ้น คุณอาจต้องปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์ในก่อนวันนัดหมายร่วมด้วย เช่น การงดอาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น

    วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ ในร่างกาย

    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ดีของตนเอง อาจเป็นอีกหนทางที่จะนำพาให้คุณห่างไกลจากโรคร้ายแรงที่เกิดจากเพิ่มปริมาณของ ไตรกลีเซอไรด์ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้

    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการออกกำลังกาย เป็นการช่วยลดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดี โดยสามารถเริ่มได้จากการวิ่ง ปั่นจักรยาน แอโรบิค เป็นต้น อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
    • ลดอาหารที่ประกอบด้วยน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตสูง เพราะอาหารเหล่านี้ อาจแปรเปลี่ยนเป็น ไตรกลีเซอไรด์ ในปริมาณสูง และกักเก็บไว้ในเซลล์ไขมันเอาไว้ในร่างกายที่มากจนเกินไปได้
    • รับประทานไฟเบอร์ให้มากขึ้น จากการศึกษาพบว่าอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช อาจมีผลทำให้ ไตรกลีเซอไรด์ ลดลง แต่ถ้าหากมีการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อที่ประกอบด้วยไฟเบอร์น้อยจนเกินไป ระดับ ไตรกลีเซอไรด์ ก็จะเพิ่มกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วถึง 45% ภายในระยะเวลา 6 วันเลยทีเดียว
    • จำกัดปริมาณของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มอาจมีน้ำตาล และแคลอรี่อยู่สูงจึงสามารถทำให้ระดับ ไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มขึ้นตามได้ และทำให้เกิดการสะสมของไขมันในเส้นเลือดอย่างรุนแรงได้อีกด้วยเช่นกัน

    หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรค หรือวิธีการลดระดับของ ไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มเติม อาจขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการได้ เพื่อนำแนวทางข้อปฏิบัติที่เหมาะสมแก่ภาวะสุขภาพของคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา