backup og meta

โรคกับเครื่องพ่นละอองยา ใครบ้างต้องพึ่งเครื่องพ่นละอองยา

โรคกับเครื่องพ่นละอองยา ใครบ้างต้องพึ่งเครื่องพ่นละอองยา

เครื่องพ่นละอองยา (Nebulizer) ถือเป็นอุปกรณ์รักษาและระงับอาการแบบเฉียบพลันประเภทหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมักจะใช้กัน โดยในบางกรณี เครื่องพ่นละอองยานี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตของผู้ป่วยเลยก็ว่าได้ อุปกรณ์นี้คืออะไร ทำงานอย่างไร และทำไม โรคกับเครื่องพ่นละอองยา ถึงมีความสัมพันธ์และความสำคัญต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคต่างๆ ไปดูกัน

เครื่องพ่นละอองยาคืออะไร

เครื่องพ่นละอองยา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ออกซิเจนอัดอากาศหรือใช้พลังอัลตราโซนิกเพื่อเปลี่ยนยาซึ่งอยู่ในรูปของเหลวให้กลายเป็นละอองฝอยเพื่อให้เหมาะต่อการสูดดมทางลมหายใจ โดยเครื่องพ่นละอองยาจะช่วยส่งอนุภาคของละอองยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาตรงไปสู่ปอด มักใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อการรักษาที่บ้านในกลุ่มผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยสามารถบรรเทาอาการป่วยของโรคต่างๆ ได้แก่

โรคกับเครื่องพ่นละอองยา สัมพันธ์กันอย่างไร

หอบหืด

หอบหืดเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ เมื่อทางเดินหายใจเกิดอาการบวมและคัดแน่น จะผลิตสารคัดหลั่งปริมาณมากออกมาเป็นสาเหตุของอาการหายใจลำบาก

อาการหอบหืดกำเริบนั้นเกิดจากการที่อาการหอบหืดแย่ลงแบบทันทีทันใด เป็นเหตุให้ทางเดินหายใจบวมและมีสารคัดหลั่งหนาแน่นกว่าปกติ

ผู้ที่มีอาการหอบหืดนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นละอองยาในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม เครื่องพ่นละอองยานั้นมักใช้เพื่อการฉีดพ่นละอองยาปริมาณมากในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน

เมื่อเทียบกับยาพ่น (inhaler) เครื่องพ่นละอองยานั้นอาจเป็นทางเลือกที่สะดวกกว่าสำหรับเด็กที่ยังไม่โตพอที่จะใช้ยาพ่น หรือในผู้ใหญ่ที่สามารถควบคุมอาการหอบหืดได้ยากและเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันขั้นรุนแรงบ่อยๆ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นอาการปอดอักเสบต่อเนื่องที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาแต่สามารถควบคุมอาการเพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลายมากขึ้น วิธีการป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นคือการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

อาการเฉพาะของโรคนี้ คืออาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและทางเดินหายใจถูกอุดกั้น อาการทางเดินหายใจอุดกั้นเกิดจากโรคทางเดินหายใจย่อยๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ยาก

แม้ว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักถูกพิจารณาว่า ภาวะหลอดลมตีบตันที่ไม่สามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็มีอาการดีขึ้นได้ด้วยยาขยายหลอดลมในปริมาณมาก ดังนั้น การใช้เครื่องพ่นละอองยาจึงมักถูกนำมาใช้การรักษาอาการทางเดินหายใจกำเริบ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังแสดงอาการรุนแรงมากขึ้น

หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis)

หลอดลมฝอยอักเสบ เกิดจากหลอดลมฝอยในปอดเกิดการบวมและอักเสบจาการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่พบบ่อยในเด็กทารกและมีแนวโน้มที่จะพัฒนากลายเป็นโรคหอบหืดได้ในภายหลัง หลอดลมฝอยอักเสบอาจถูกเข้าใจสับสนว่าเป็นอาการของหลอดลมอักเสบ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบบริเวณหลอดลม

เครื่องพ่นละอองยานั้นอาจถูกนำมาใช้ในกรณีพิเศษในผู้ป่วยที่มีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ ขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษา

โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)

โรคหลอดลมโป่งพอง หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า โรคมองคร่อ เกิดจากการมีแผลเป็นและการอักเสบบริเวณหลอดลมที่มีสารคัดหลั่งหรือเสมหะคั่งอยู่ หลอดลมจึงขยายตัวและไม่สามารถกำจัดเสมหะออกไปได้ตามปกติ จึงก่อให้ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรีย เครื่องพ่นละอองยาจึงถูกนำมาใช้เพื่อส่งตัวยาที่สามารถลดอาการคั่งของเสมหะ ทำให้สามารถไอเอาเสมหะออกมาได้ ในขณะที่ยาปฏิชีวนะทำหน้าที่รักษาในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย

โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

โรคซิสติกไฟโบรซิส เป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถของร่างกายในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเกลือและน้ำระหว่างเซลล์ เป็นสาเหตุให้เกิดการก่อตัวของสารคัดหลั่งในบริเวณปอดและระบบย่อยอาหาร ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการหายใจและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อบริเวณปอด

เครื่องพ่นละอองยานั้นใช้เพื่อทำการส่งตัวยาเข้าไปควบคุมการก่อตัวของสารคัดหลั่งและอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิส โดยทำหน้าที่ส่งตัวยาหลายชนิดเข้าไปที่ปอด ได้แก่ ยาขยายหลอดลม ยาคอร์ติคอสเตียรอยด์ และ ยาโดเนสอัลฟ่า

การักษาและบรรเทาอาการด้วยการใช้ยาพ่นขยายหลอดลม ไม่เพียงช่วยให้หลอดลมขยายตัวขึ้น แต่ยังช่วยกำจัดสารคัดหลั่งเหนียวข้นที่คั่งอยู่บริเวณปอดได้ด้วย การใช้เครื่องพ่นละอองยาปฏิชีวนะอย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถลดการเกิดอาการติดเชื้อรุนแรงในผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสได้

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

ไซนัสอักเสบ คืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นในบริเวณจมูก และไซนัส หรือโพรงอากาศข้างจมูก เครื่องพ่นละอองยาแบบอัลตราโซนิกทางจมูกถูกนำมารักษาอาการไซนัสอักเสบ และพบว่าสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการคัดแน่นจมูกและอาการปวดบริเวณใบหน้าดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าการพ่นละอองยาปฏิชีวนะสามารถแก้ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยได้ถึงร้อยละ 76 จากการสำรวจในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้เครื่องพ่นละอองยาที่บ้าน พบว่าเครื่องพ่นละอองยามีประโยชน์และข้อดีมากกว่าข้อเสีย โดยข้อดีที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการป่วยได้ด้วยตนเอง และพึ่งพาสถานพยาบาลและแพทย์น้อยลง ทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้มาก

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://patient.info/doctor/nebulisers-in-general-practice

Barta, S. K., A. Crawford, and C. Michael Roberts. “Survey of Patients’ Views of Domiciliary Nebuliser Treatment for Chronic Lung Disease.” Respiratory Medicine 96, no. 6 (June 2002): 375–81.

Daniels, Tracey, Nicola Mills, and Paul Whitaker. “Nebuliser Systems for Drug Delivery in Cystic Fibrosis.” The Cochrane Database of Systematic Reviews, no. 4 (April 30, 2013): CD007639. https://doi.org/10.1002/14651858.CD007639.pub2.

Society, BMJ Publishing Group Ltd and British Thoracic. “Nebulizer Therapy. Guidelines. British Thoracic Society Nebulizer Project Group.” Thorax 52, no. suppl 2 (April 1, 1997): 4. https://doi.org/10.1136/thx.52.2008.S4.

“Consensus Document for Prescription of Nebulization in Rhinology. – PubMed – NCBI.” Accessed May 30, 2018. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25456242.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณเตือน หอบหืดกำเริบ รู้ทันก่อน ช่วยลดความเสี่ยง

โรคหอบหืดส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา