backup og meta

เคล็ดลับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

เคล็ดลับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด การรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องเอาใจใส่อยู่เสมอ  ถึงแม้จะมีวิธีการดูแลช่องปากพื้นฐานอย่างการแปรงฟันที่เหมือนกัน แต่บางครั้งเมื่ออายุมากขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มาฝากให้ทุกครอบครัวได้ทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ปัญหาช่องปาก ที่มักพบเจอในผู้สูงอายุ

ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มักเริ่มมีจำนวนฟันลดน้อยลงตามช่วงวัยและตามการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ถ้าหากไม่มีการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ หรือดูแลไม่ดี ก็อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้

  • โรคเหงือก เป็นอาการที่เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และเศษอาหารที่อยู่ติดตามซอกฟัน โดยมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุจำนวนมากประมาณ 68% ในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • สูญเสียฟัน ส่วนมากการสูญเสียฟันในช่องปากไปมักเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้น แต่ก็สามารถเริ่มหลุดร่วงได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 65-74 ปี จนบางครั้งทำให้จำเป็นต้องหันมาปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ให้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนลง ง่ายต่อการเคี้ยวมาทดแทน
  • ฟันผุ เมื่อรู้สึกปวดฟัน แต่ไม่เข้ารับการตรวจ หรือการรักษาอย่างเท่าทัน ก็อาจทำให้เศษอาหาร หรือแบคทีเรีย ๆ ต่าง ๆ เข้าไปกัดกร่อนจนก่อให้เกิดฟันผุ จนสามารถส่งผลเสียลึกต่อรากฟัน และค่อย ๆ สูญเสียฟันไปในที่สุด
  • ปากแห้ง เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวรุมล้อม ซึ่งโรคบางอย่างก็อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุมีจำนวนน้ำลายที่ลดลง จนริมฝีปากเกิดแห้ง นำไปสู่การระคายเคืองภายในเนื้อเยื่อช่องปากได้

ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหานอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแตกต่างกัน ดังนั้นหากรู้สึกถึงอาการผิดปกติภายในช่องปาก เช่น ปวดฟัน เสียวฟัน โปรดเข้าปรึกษาทันตแพทย์ในทันที เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งได้ค่ะ

ปัจจัยที่ทำให้ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เสื่อมลง

แน่นอนว่า สาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันของผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกายตามช่วงอายุ แต่ก็ยังคงมีปัจจัยอื่น ๆ อย่างการสูบบุหรี่ ที่สามารถทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ หรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งช่องปาก ติดเชื้อ และเกิดแผลในช่องปาก อีกทั้งโรคประจำตัวที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญก็มีความเชื่อมโยงไม่แพ้กันกับพฤติกรรมข้างต้น เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ ที่อาจส่งผลให้เหงือกและเนื้อเยื่อของผู้สูงอายุเกิดการอักเสบขึ้นได้ การ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี

เคล็ดลับการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

การแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เป็นสิ่งคนเราทุกคนย่อมควรกระทำ เพื่อช่วยในการกำจัดเศษอาหาร จุลินทรีย์ และแบคทีเรียที่เกาะตามผิวฟัน หรือเนื้อเยื่อภายในช่องปากออกไป แต่นอกเหนือจากการแปรงฟันแล้ว ยังมีวิธีการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ที่ตัวผู้สูงอายุและคนรอบข้างควรตระหนัก ได้แก่

  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • ทำความสะอาดช่องปากให้ทั่วด้วยน้ำยาบ้วนปาก วันละ 1-2 ครั้ง
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตแพทย์เป็นประจำ

กรณีผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอม อาจต้องถอดฟันปลอมออกพร้อมใช้แปรงสีฟันขัดถูด้วยแรงเบา หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เหมาะสำหรับใช้ภายในช่องปากแช่ฟันปลอมเอาไว้ แล้วล้างออกก่อนนำกลับมาใส่ใหม่อีกครั้ง เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดในช่องปาก และลดความเสี่ยงอัตราการเสื่อมสภาพก่อนวัยได้ดียิ่งขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dental Care for Seniors https://www.webmd.com/oral-health/guide/dental-care-seniors . Accessed March 29, 2021.

The aging mouth – and how to keep it younger https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/the-aging-mouth-and-how-to-keep-it-younger . Accessed March 29, 2021.

Facts About Older Adult Oral Health https://www.cdc.gov/oralhealth/basics/adult-oral-health/adult_older.htm . Accessed March 29, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพดีของชาววัยเก๋า จึงต้องเลือกกิน

กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นจริงหรือเปล่า?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา