backup og meta

ข้าวโพด ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ข้าวโพด ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถหารับประทานได้ง่าย และนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายทั้งคาวและหวาน อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยบำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ดีต่อลำไส้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานข้าวโพดก็อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพบางอย่าง เช่น เชื้อราที่แฝงในข้าวโพด ดังนั้น จึงควรเลือกรับประทานข้าวโพดที่สะอาด ถูกสุขอนามัย และปรุงสุกแล้วเท่านั้น

[embed-health-tool-bmr]

ข้อมูลโภชนาการ ข้าวโพด

การรับประทานข้าวโพดต้มสุก 100 กรัม จะได้สารอาหารที่สำคัญ ดังนี้

  • พลังงาน 96 แคลอรี่
  • น้ำ 73 เปอร์เซ็นต์
  • โปรตีน 3.4 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 21 กรัม
  • น้ำตาล 4.5 กรัม
  • ไฟเบอร์ 2.4 กรัม
  • ไขมัน 1.5 กรัม
  • โซเดียม 15 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของ ข้าวโพด

บำรุงสายตา

ข้าวโพดมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการบำรุงสุขภาพดวงตา ได้แก่ ลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอ โดยสารอาหารเหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของเรตินา ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเรตินา และลดความเสี่ยงของการสูญเสียการมองเห็น

บำรุงหัวใจ

การรับประทานข้าวโพดมีส่วนช่วยในการบำรุงหัวใจ เนื่องจากมีสารโพแทสเซียม ที่มีส่วนช่วยในการรักษาระดับความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง และมีไฟเบอร์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล 

มากไปกว่านั้น ข้าวโพดยังมีแมกนีเซียมในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด

ช่วยในการลดน้ำหนัก

เวลาลดน้ำหนัก หรืออยู่ระหว่างควบคุมอาหาร หากหิวบ่อย ๆ คงไม่ดีแน่ จัดการปัญหานั้นด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและไฟเบอร์สูง เพราะจะทำให้อิ่มได้นานขึ้น ช่วยลดความอยากอาหารมื้อถัดไป

บำรุงลำไส้

ข้าวโพดเป็นอีกหนึ่งอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง การรับประทานอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูงเป็นประจำจะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยในการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารในลำไส้ ทำให้ลำไส้สะอาด

นอกจากนั้นแล้ว แบคทีเรียชั้นดีเหล่านี้ยังทำหน้าที่ในการผลิตกรดไขมันสายสั้น (Short Chain Fatty Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่ทำหน้าที่ในการป้องกันความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้

อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

ข้าวโพดมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ทั้งวิตามินซี ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) โพลีฟีนอล (Polyphenol) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้มีส่วนช่วยในการปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ และยังบำรุงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายรวมถึงระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย

ข้อควรระวังในการกิน ข้าวโพด

  • อาการแพ้ข้าวโพด แม้จะเป็นอาการแพ้ที่พบได้น้อย แต่ก็ไม่ควรมองข้าม ผู้ที่มีอาการแพ้ข้าวโพดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีข้าวโพดเป็นส่วนผสม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแพ้กำเริบ
  • ข้าวโพดเป็นพืชที่มีแป้งต่ำ นั่นหมายความว่า จะมีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตมาก จึงอาจมีความเสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานข้าวโพดได้เป็นปกติ สิ่งสำคัญคือควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อย่าให้มากจนเกินไป
  • ข้าวโพดมีสารพิษ จำพวกสารพิษจากเชื้อรา และสารต้านโภชนาการ (Anti-Nutrients) หากรับประทานเข้าไปมาก ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง เกิดปัญหาเกี่ยวกับตับ ปอด และระบบภูมิคุ้มกันด้วย จึงควรรับประทานข้าวโพดที่ปรุงสุก มีการล้างและทำความสะอาดก่อนนำมาปรุงอาหาร

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Corn. https://www.webmd.com/food-recipes/corn-health-benefits#3-7. Accessed July 25, 2023.

Corn phytochemicals and their health benefits. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2213453018301009?via%3Dihub. Accessed July 25, 2023.

Corn. https://acaai.org/allergies/allergic-conditions/food/corn/. Accessed July 25, 2023.

Age-related macular degeneration. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12425683/. Accessed July 25, 2023.

Clinical practice. Diverticulitis. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18003962/. Accessed July 25, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สูตรข้าวโพดอบเนย

แป้งข้าวโพด ประโยชน์หรือโทษต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/11/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา