backup og meta

เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร ความดันถึงจะกลับมาปกติ

เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร ความดันถึงจะกลับมาปกติ

ภาวะความดันโลหิตต่ำ แม้ว่าจะอาจจะดูไม่รุนแรงเท่ากับโรคความดันโลหิตสูง แต่ภาวะความดันต่ำนี้ก็อาจสร้างความทรมานให้กับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอาการปวดหัวทุกครั้ง เวลาจะลุกนั่ง หรือตื่นนอน วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำว่า เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร และควรเลี่ยงอาหารอะไร มาดูกันเถอะค่ะว่าเราควรกินอะไรกันดี

[embed-health-tool-bmi]

เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร

ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ สามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ การเปลี่ยนมานั่งไขว้ขา หรือการรับประทานอาหารบางอย่าง ก็สามารถช่วยเพิ่มระดับของความดันโลหิต ให้กลับมาเป็นปกติได้เช่นกัน อาหารเหล่านี้ได้แก่

ดื่มน้ำ

การดื่มน้ำเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยเพิ่มระดับของความดันโลหิตได้ เพราะเมื่อร่างกายของเราขาดน้ำ จะทำให้ปริมาณของเลือดในร่างกายลดลง ทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง จนอาจส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน ปวดศีรษะ ดังนั้น หากคุณเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า อาจลองใช้วิธีการดื่มน้ำสักแก้ว เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น และช่วยให้ระดับความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย

อาหารที่มีรสเค็ม

เป็นที่รู้กันดีว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หรือใส่เกลือมาก เพราะเกลือสามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ แต่กับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ อาหารเค็ม ๆ นั้นเป็นทางเลือกในการเพิ่มความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว และหาได้ง่ายที่สุด ลองเปิดซองมันฝรั่งทอด หรืออาหารกระป๋องมากินดูสิ แต่พยายามอย่ากินเยอะ เพราะอาจจะกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพแทน

อาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง

เราสามารถมีภาวะความดันโลหิตต่ำได้ หากร่างกายได้รับวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ เพราะภาวะขาดวิตามินบี 12 อาจนำไปสู่การเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 ที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า และความดันต่ำได้ วิตามินบี 12 นั้น สามารถพบได้จากอาหารประเภทไข่ เนื้อสัตว์ และซีเรียลเสริมวิตามินต่าง ๆ

ดื่มกาแฟ

สารคาเฟอีนที่สามารถพบได้ในกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ เช่น น้ำชา น้ำอัดลม นั้นมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท และสามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น สูบฉีดเลือดได้มากขึ้น และทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นับเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาความดันต่ำง่าย ๆ อีกวิธีหนึ่ง

อาหารที่ผู้มีความดันโลหิตต่ำควรระวัง

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงได้ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำอยู่แล้ว จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แต่อย่างไรก็ตาม การดื่มเบียร์ หรือดื่มไวน์ในปริมาณเล็กน้อย หรือแค่ประมาณ 1 แก้ว สามารถช่วยเพิ่มระดับของความดันโลหิต และช่วยลดอาการปวดหัวจากภาวะความดันต่ำได้ โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น หากคุณมีภาวะความดันโลหิตต่ำและต้องการดื่มแอลกอฮอล์ อาจเลือกเป็นจิบเบียร์หรือไวน์เบา ๆ ไม่เกิน 1 แก้วก็ได้เช่นกัน

กล้วย

กล้วยนั้นเป็นอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง และมีประโยชน์มากสำหรับการลดระดับความดันโลหิต แต่กับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ อาจจะต้องระมัดระวังการรับประทานกล้วย อย่ารับประทานมากจนเกินไป เพราะอาจยิ่งทำให้อาการความดันต่ำนั้นรุนแรงขึ้นได้

ผักใบเขียว

ผักใบเขียวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปวยเล้ง ผักร็อคเก็ต ผักกาดหอม หรือเคล มักจะมีโพแทสเซียมสูง ที่สามารถลดระดับของความดันโลหิตลงมาได้ หากคุณมีภาวะความดันโลหิตต่ำ ควรระมัดระวัง และไม่รับประทานผักเหล่านี้มากเกินไป เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า อาหารบางอย่าง แม้จะดูเหมือนว่าอันตราย แต่ก็อาจจะมีประโยชน์ได้ หากคุณเลือกรับประทานได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาวะร่างกายของคุณ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะหาทางเลือกในการรักษาสภาวะเหล่านี้ด้วยตัวเอง เพราะคุณอาจทำอย่างไม่ถูกต้อง และส่งผลร้ายต่อตัวคุณได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Low Blood Pressure. https://www.narayanahealth.org/low-blood-pressure/. Accessed September 03, 2020

Nine ways to raise blood pressure. https://www.medicalnewstoday.com/articles/319506. Accessed September 03, 2020

Coffee and your blood pressure. (2019). health.harvard.edu/newsletter_article/Coffee_and_your_blood_pressure. Accessed June 29, 2021

Eating can cause low blood pressure, from the Harvard Heart Letter. (2020). health.harvard.edu/press_releases/eating-can-cause-low-blood-pressure. Accessed June 29, 2021

Hypotension. (n.d.). nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/hyp/treatment. Accessed June 29, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/01/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารเสี่ยงความดันสูง แบบไหนบ้างที่ควรเลี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 17/01/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา