backup og meta

เลือดจางกินอะไร เพื่อช่วยป้องกันและดูแลสุขภาพ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี · โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 01/10/2022

    เลือดจางกินอะไร เพื่อช่วยป้องกันและดูแลสุขภาพ

    เลือดจางกินอะไร จึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพและสามารถช่วยป้องกันโรคเลือดจางได้ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก การกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเล ถั่วและเมล็ดพืช อาจช่วยบำรุงเซลล์เม็ดเลือดให้แข็งแรง และยังช่วยป้องกันภาวะเลือดจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กได้อีกด้วย

    เลือดจางกินอะไร

    ผู้ที่มีภาวะเลือดจางควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงเลือด โดยอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก อาจมีดังนี้

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อแกะ
  • เครื่องใน เช่น หัวใจ ไต ลิ้นวัว ตับ
  • อาหารทะเลสดและอาหารทะเลกระป๋อง เช่น หอยนางรม หอยเชลล์ หอยแครง ปู กุ้ง ปลาทูน่า ปลาทู แซลมอน ปลาซาร์ดีน
  • ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง พริกหวาน ใบแมงลัก ใบกะเพรา ผักปวยเล้ง อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโฟเลต อย่างไรก็ตาม ธาตุเหล็กในผักใบเขียวดูดซึมได้ไม่ค่อยดีนัก
  • ถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน ถั่วพิสตาชิโอ อัลมอนด์ ถั่วชิกพี ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อย่างไรก็ตาม ธาตุเหล็กในถั่วและเมล็ดพืชดูดซึมได้ไม่ค่อยดีนัก
  • อาหารที่ผู้ที่มีภาวะเลือดจางควรหลีกเลี่ยง

    สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดจางควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารต่อไปนี้ เนื่องจากอาจรวบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กและธาตุอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น

  • ชา กาแฟ นมและผลิตภัณฑ์จากนมบางชนิด
  • อาหารที่มีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) เช่น ถั่วลิสง ผักชีฝรั่ง ช็อกโกแลต
  • อาหารที่มีแทนนิน (Tannins) เช่น องุ่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
  • อาหารที่มีไฟเตต (Phytates) หรือกรดไฟติก (Phytic Acid) เช่น ข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี
  • เคล็ดลับการเพิ่มธาตุเหล็กในอาหาร

    สำหรับผู้ที่ไม่สามารถกินอาหารที่มีธาตุเหล็กได้อย่างเพียงพอ อาจเลือกกินอาหารเสริมที่ช่วยเสริมธาตุเหล็กให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ การกินอาหารเสริมธาตุเหล็กให้ได้ประโยชน์สูงสุดอาจทำได้ ดังนี้

  • กินอาหารเสริมธาตุเหล็กในขณะท้องว่าง เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างเต็มที่ แต่สำหรับบางคน การกินอาหารเสริมธาตุเหล็กในขณะท้องว่างอาจทำให้ปวดท้อง จึงควรกินพร้อมกับอาหารเพื่อป้องกันอาการปวดท้อง
  • กินอาหารเสริมธาตุเหล็กพร้อมกับวิตามินซี เนื่องจากวิตามินซีมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น โดยควรกินอาหารเสริมธาตุเหล็กคู่กับอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น น้ำส้มคั้น น้ำมะนาวคั้น
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารเสริมธาตุเหล็กคู่กับยาลดกรด ยาลดกรดที่ช่วยบรรเทาอาการเสียดท้องอาจรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กได้ ดังนั้น ควรกินอาหารเสริมธาตุเหล็กหลังจากกินยาลดกรดประมาณ 2-4 ชั่วโมง
  • สำหรับผลข้างเคียงของอาหารเสริมธาตุเหล็ก คือ อาจทำให้อุจจาระเป็นสีดำหรืออาจทำให้บางคนมีอาการท้องผูก ก่อนการรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็กควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

    โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 01/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา