โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

วัคซีน Moderna เหมาะกับใคร เกิดผลข้างเคียงหรือไม่

Moderna (โมเดอร์นา) เป็นวัคซีนทางเลือกประเภท mRNA ที่ผลิตโดยบริษัทโมเดอร์นาทีเอ็กซ์ (ModernaTX, Inc.) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทย ได้มีการอนุมัติการใช้วัคซีนชนิดนี้เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 วัคซีนโมเดอร์นามีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 (COVID-19) เพื่อให้วัคซีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรได้รับวัคซีนจำนวน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน หากพบอาการผิดปกติหลังฉีดวัคซีน เช่น หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อความปลอดภัย วัคซีน Moderna คืออะไร Moderna (โมเดอร์นา) คือ วัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 เพื่อช่วยกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านเชื้อไวรัส เมื่อฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อแขน วัคซีนจะช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันผลิตแอนติบอดีที่ช่วยจัดการเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 (COVID-19) จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อได้ ผู้ที่รับวัคซีน Moderna อาจจำเป็นต้องรับวัคซีน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน […]


ไวรัสโคโรนา

covid vaccine ความแตกต่างของวัคซีนแต่ละประเภท

โควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้ ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะโรค วัคซีน (covid vaccine) จึงอาจเป็นวิธีป้องกันโควิด 19 ที่เหมาะสมที่สุด ณ ขณะนี้ วัคซีนจะช่วยพัฒนาภูมิคุ้มกันโดยเลียนแบบการติดเชื้อ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สร้างแอนติบอดีในการต่อต้านเชื้อโรค แต่ปัจจุบันมีวัคซีนหลายประเภททั้ง ไฟเซอร์ (Pfizer) โมเดอร์นา (Moderna) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ซิโนแวค SinoVac) และ ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ที่มีกระบวนการผลิต ผลข้างเคียง และความเหมาะสมในการใช้ที่แตกต่างกัน จึงควรทำความเข้าใจวัคซีนแต่ละประเภท เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจก่อนเข้ารับการฉีด ประเภทของ covid vaccine covid vaccine แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ mRNA Vaccine ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด 19 ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) ของเชื้อไวรัส เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเข้ามาในร่างกายโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัส ได้แก่ Pfizer และ Moderna วัคซีนไวรัสเวคเตอร์ (Viral […]


ไวรัสโคโรนา

โควิด 19 อาการ สาเหตุ และการรักษา

โควิด 19 (COVID-19) เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) เป็นโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง คือ ลำคอ จมูก ปอด และหลอดลม อาจทำให้มีอาการไข้ ไอแห้ง เหนื่อยล้า ไม่รู้รสหรือไม่ได้กลิ่น การติดเชื้ออาจมีตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึงเสียชีวิต และการรักษาในปัจจุบันอาจเป็นเพียงการประคับประคอง หรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งในขณะนี้โควิด 19 ระบาดใหญ่ไปทั่วโลก การป้องกันตัวเองและผู้อื่นจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดการแพร่กระจายโรคได้ คำจำกัดความโควิด 19 คืออะไร โควิด 19 เป็นโรคที่เกิดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เรียกว่า SARS-CoV-2 สามารถกระตุ้นการติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่งผลต่อทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง คือ จมูก ลำคอ หลอดลม และปอด ระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนเมื่อเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2019 และแพร่กระจายเข้าสู่คนทำให้เกิดโรคระบาดใหญ่ไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน เชื้อไวรัสโคโรนาได้กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ อัลฟา (Alpha) เบต้า (Beta) เดลต้า (Delta) แกมม่า (Gamma) มิว (Mu) และ R.1 อาการอาการโควิด 19 อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคโควิด […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ตั้งแต่สภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น รวมถึงปัญหาสุขภาพ เช่น ไข้หวัด ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ การติดเชื้อ ที่อาจทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายหดตัวและคลายอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น อาการครั่นเนื้อครั่นตัวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย  [embed-health-tool-bmi] ครั่นเนื้อครั่นตัว คืออะไร  ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเจอสภาพอากาศที่หนาวเย็น หรือเป็นอาการหนึ่งของปัญหาของสุขภาพ เช่น หวัด นิ่วในไต ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ การติดเชื้อ เมื่อร่างกายเกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัว กล้ามเนื้อในร่างกายจะบีบตัวและคลายตัวออกเพื่อพยายามทำให้ร่างกายอบอุ่น บางครั้งอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อหรือความเจ็บป่วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เพราะหากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคอื่น ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว  สาเหตุของอาการ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ  อาการครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ อาจขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ ดังนี้  สภาพอากาศหนาว เมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่าระดับที่ร่างกายรู้สึกกำลังดี อาจทำให้ตัวสั่นได้  ไข้หวัดใหญ่ อาการครั่นเนื้อครั่นตัวอาจจะเกิดขึ้น เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายพยายามต่อสู้กับเชื้อโรค อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ คัดจมูก คลื่นไส้ ปวดศีรษะ โดยส่วนใหญ่ไข้หวัดใหญ่จะหายภายใน 2 […]


โรคติดเชื้อ

ไข้สมองอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ไข้สมองอักเสบ เป็นโรคที่เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อโพรงสมอง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และอาจเกิดจากการอักเสบที่ไม่ติดเชื้อ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือรุนแรงจนอาจมีอาการชักและหมดสติ ควรได้รับการวินิจฉัยและการรักษาโดยด่วน เพราะอาการอักเสบอาจทำให้สมองเสียหายและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ คำจำกัดความไข้สมองอักเสบ คืออะไร ไข้สมองอักเสบ คือการอักเสบในเนื้อเยื่อโพรงสมอง ซึ่งอาจทำให้มีอาการรุนแรงที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดอาการชัก ขึ้นอยู่กับส่วนของสมองที่ติดเชื้อและอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถฟื้นตัวเป็นปกติได้หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ โอกาสการฟื้นตัวเป็นปกติของผู้ป่วยอาจขึ้นอยู่กับเชื้อไวรัสและความรุนแรงของอาการอักเสบด้วย ไข้สมองอักเสบ พบบ่อยแค่ไหน ไข้สมองอักเสบ เป็นโรคที่พบได้น้อย ประมาณ 1 ใน 200,000 คน/ปี เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องมักมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคไข้สมองอักเสบ อาการอาการไข้สมองอักเสบ อาการของโรคไข้สมองอักเสบมักคล้ายคลึงกับอาการของไข้หวัดใหญ่ ดังนี้ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ อ่อนเพลียและร่างกายอ่อนแรง สับสน มึนงง หรือวิตกกังวล เห็นภาพหลอน ความจำเสื่อม หรือบกพร่องทางสติปัญญา พฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป อาจมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาการชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง การพูดหรือการได้ยินมีปัญหา อัมพาตบนใบหน้าตามร่างกายบางส่วน หมดสติ และมีอาการโคม่า ในทารกและเด็กเล็กอาจมีอาการ ดังนี้ คลื่นไส้และอาเจียน ไม่รับประทานอาหาร หรือนอนนานขึ้น กะโหลกศีรษะของทารกบวมและนูน ร่างกายแข็ง ร้องไห้ งอแง และหงุดหงิดง่าย การติดเชื้อบางชนิด อาจทำให้มีอาการดังต่อไปนี้ ไข้สมองอักเสบจากไวรัสเริมในระยะแรก อาจทำให้เกิดอาการความรู้สึกเหมือนเดจาวู เป็นอาการหวนคิดถึงเรื่องราวในอดีต โรคไข้สมองอักเสบจากภูมิต้านทานผิดปกติ อาจทำให้เกิดอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติบกพร่อง การรับรู้ลดลง ใบหน้าและปากขยับผิดปกติ สมองอักเสบจากแอนติบอดีต่อตัวรับ NMDA […]


เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นอาการอักเสบหรือบวมของเยื่อที่หุ้มสมองและไขสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิต มักทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คอแข็ง และมีไข้ จึงควรได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม คำจำกัดความเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คืออะไร เยื่อหุ้มสมองอักเสบ คือ การอักเสบหรือบวมของเยื่อที่หุ้มสมอง ของเหลวรอบสมอง และไขสันหลัง อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต และเชื้อรา ซึ่งการติดเชื้อแบคทีเรียอาจรุนแรงถึงชีวิต จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บ โรคมะเร็ง ยาบางชนิด และการติดเชื้อประเภทอื่น ๆ ก็อาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน สิ่งสำคัญคือควรทราบสาเหตุเฉพาะของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื่องจากการรักษาอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุ อาการอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีดังนี้ อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น มือและเท้าเย็น ปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน สับสน มึงงง อ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อยและตื่นยากขึ้น หายใจเร็ว อาการชัก ปวดกล้ามเนื้อและข้อ แพ้แสงจ้า ผิวซีด มีรอยด่าง หรือเป็นผื่นที่ผิวหนัง คอแข็ง อาการที่อาจเกิดขึ้นในทารก มีดังนี้ ไม่ยอมกินอาหาร มีไข้สูง งอแง ร้องไห้ไม่หยุด และหงุดหงิดง่าย ง่วงนอนง่ายและตื่นยาก ร่างกายและลำคอแข็ง มีจุดนูนโปนบนศีรษะ สาเหตุสาเหตุเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบอาจเกิดดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือการติดเชื้อไวรัส รองลงมาคือการติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา และการติดเชื้อปรสิต ดังนี้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียอันตรายรุนแรงกว่าการติดเชื้อชนิดอื่น ๆ โดยติดต่อผ่านทางกระแสเลือดไปยังสมองและไขสันหลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลันได้ หรืออาจเกิดจากแบคทีเรียเข้าทางเยื่อหุ้มสมองโดยตรง ซึ่งอาจมีแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรค ดังนี้ Streptococcus pneumoniae พบบ่อยในเด็ก ก่อให้เกิดโรคปอดบวมหรือหูหรือไซนัสอักเสบ Neisseria meningitidis […]


ไวรัสโคโรนา

อาการโควิด-19 มีอะไรบ้าง เราติดแล้วหรือยัง

โคโรนาไวรัส คือกลุ่มไวรัสที่ส่งผลให้ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจรุนแรงนำไปสู่โรคโควิด-19 ที่เริ่มแพร่ระบาดทั่วโลกในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นโรคในปัจจุบันที่ควรระวังโดยการสังเกต อาการโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อาการในระดับเบา จนถึงอาการระดับรุนแรง อาการโควิด-19  ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจไม่เผยอาการใด ๆ แต่สำหรับบางคนหลังจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เชื้อนี้จะเข้าสู่ระยะการฝักตัวประมาณ 5-6 วัน ก่อนเผยอาการเจ็บป่วยที่สังเกตได้ชัดภายใน 2-14 วัน โดยอาการโควิด-19 ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจถี่ อาการไอแห้ง  เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย สูญเสียการรับรู้รสชาติ และกลิ่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย รู้สึกเหนื่อยง่าย  อาการโควิด-19 ในเด็ก สังเกตได้จาก สัญญาณเตือนดังนี้ มีไข้  หายใจถี่  คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอต่อเนื่อง และไอมากกว่า 1 ชั่วโมง หรือไอมากกว่า 3 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง  อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สูญเสียการรับรู้รสชาติ และกลิ่น  อาการโควิด-19 ในระดับรุนแรงที่ควรเข้าพบคุณหมอ หากสังเกตว่าตนเอง และบุตรหลานมีอาการโควิด-19 ในระดับรุนแรง ดังต่อไปนี้ ควรแจ้งคุณหมอทราบทันที เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง หายใจลำบากเป็นเวลานานประมาณ 1 สัปดาห์ เจ็บหน้าอก ใบหน้าและริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีฟ้าซีด  ความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการโควิด-19 รุนแรง ความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการโควิด-19 มีความรุนแรง อาจมาจากช่วงอายุที่มากขึ้น และปัญหาสุขภาพจากภาวะต่าง ๆ […]


ไวรัสโคโรนา

กักตัว 14 วัน เช็กอาการโควิด-19 และการดูแลตัวเอง

โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่แพร่ระบาดอย่างหนักในปัจจุบัน หากมีอาการผิดปกติคล้ายไข้หวัดควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อในทันทีและ กักตัว 14 วัน ในแหล่งที่อยู่อาศัย สถานที่หน่วยงานที่รัฐจัด โรงพยาบาล และเว้นระยะห่างจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อมาก่อน ทำไมต้องกักตัว 14 วัน  การกักตัว 14 วันเพื่อเฝ้าดูอาการโควิด-19 เป็นข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เพราะในระยะ 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์ เป็นช่วงระยะการฟักตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเป็นช่วงเวลาที่อาจสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ก่อนที่ผู้รับเชื้อจะรู้ตัว อีกทั้งหากระหว่างกักตัวเริ่มมีอาการเจ็บป่วย รู้สึกไม่สบาย ควรเพิ่มเวลากักตัวอีก 10 วัน  สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ทำการรักษาในโรงพยาบาลหายแล้ว กรมควบคุมโรคแนะนำว่า ควรกลับมากักตัวที่บ้านต่ออีก 14 วัน และควรปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด หรือได้รับเชื้ออีกครั้งด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ เว้นระยะห่างทางสังคม  เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส หากรู้ตนเองว่าไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรกักตัวเพื่อคอยสังเกตอาการ หรืออาจแจ้งให้คุณหมอ และหน่วยงานได้รับทราบ เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างละเอียด  อาการที่ควรสังเกตช่วง กักตัว 14 วัน ระหว่างกักตัวในช่วงเวลา 14 วันควร สังเกตอาการโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ มีไข้สูงกว่า […]


ไวรัสโคโรนา

โควิดสายพันธุ์มิว ไวรัสกลายพันธุ์ เสี่ยงดื้อวัคซีน หลบภูมิคุ้มกัน

องค์การอนามัยโลก (WHO) พบเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์มิว (Mu) หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า B.1.621 โดยถูกพบครั้งแรกในประเทศโคลอมเบีย ทวีปอเมริกาใต้ เมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2564  โควิดสายพันธุ์มิว เกิดจากการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง B.1 (ตำแหน่งการกลายพันธุ์ R346K, E484K, N501Y, D614G และ P681H) โดยเกิดจากตำแหน่ง E484K และ N501Y ที่เป็นตำแหน่งกลายพันธุ์ในระดับพันธุกรรม ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าโควิดสายพันธุ์มิวอาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่อาจส่งผลให้ภูมิต้านทานที่ได้จากการฉีดวัคซีนลดลง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังคงต้องทำการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม เพื่อยืนยันถึงความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสดังกล่าวนี้ นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดในประเทศโคลอมเบีย โควิดสายพันธุ์มิวก็ระบาดไปหลายประเทศทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยในปัจจุบันโควิดสายพันธุ์มิวได้แพร่ระบาดแล้วใน 39 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา โดยในทวีปอเมริกา พบในประเทศโคลอมเบีย ประเทศเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่ในทวีปยุโรปพบในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศเยอรมนี และล่าสุดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พบผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา เมืองซาเวนเทม ใกล้กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เสียชีวิตจากโควิดสายพันธุ์มิวจำนวน 7 คน ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว แต่ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีอายุระหว่าง 80-90 ปี และสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง  สำหรับทวีปเอเชีย […]


ไวรัสโคโรนา

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร

โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ทั่วไป และล่าสุดพบว่ามีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่กระจายไปแล้วกว่า 95 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ประชากรได้รับวัคซีนน้อย แม้จะมีการล็อคดาวน์ หรือมีมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อชะลอการแพร่เชื้อ ก็อาจเสี่ยงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์นี้ได้มากที่สุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส จากการรายงานองค์การอนามัยโลกได้ เผยว่า โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่กระจายแล้วกว่า 95 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่อาจมีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรต่ำ ถึงแม้จะเพิ่มความเข้มงวดในการลดการแพร่เชื้อด้วยการล็อคดาวน์ หรือมีมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากทุกคนไม่มีการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอ รวมถึงเพิกเฉยต่อการป้องกันตนเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่างทางสังคม การระบาดโควิด-19สายพันธุ์เดลต้าพลัส และสายพันธุ์อื่น ๆ ก็คงยังระบาดต่อไปได้  โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร ข้อแตกต่างอย่างเดียวของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์เดลต้าพลัส คือ การกลายพันธุ์ของโปรตีนหนาม K417N ทำให้ไวรัสโคโรนา 2019 เกาะตัวกับเนื้อเยื่อบนปอดได้แน่นขึ้น ทั้งยังเพิ่มอัตราการแพร่กระจายได้รวดเร็ว และสามารถหลบเลี่ยงปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี ทำให้คนส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าเข้าสู่ร่างกายแล้ว เพราะมักไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมา จนกว่าเชื้อไวรัสจะเริ่มลงปอด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน