โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะเป็นอย่างไร

โควิดลงปอดอาการ เป็นอย่างไร? โดยส่วนใหญ่แล้วมักไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก รวมถึงมีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส นอกจากนั้น ผู้ป่วยโควิดบางราย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง หรือสูบบุหรี่ มักเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น โรคปอดอักเสบ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] โควิดลงปอดคืออะไร เชื้อโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส (Coronavirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรง เมื่อเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะกับเซลล์ของเยื่อเมือกในจมูกหรือปาก แล้วเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ทั้งนี้ เชื้อโควิด-19 สามารถเข้าไปสร้างอันตรายให้ถุงลมได้ซึ่งถือเป็นอวัยวะส่วนที่ลึกที่สุดของระบบทางเดินหายใจ โดยถุงลมเป็นส่วนของปอดซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซน์กับหลอดเลือดฝอย เมื่อโควิดลงปอดจึงหมายถึงเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ถุงลมนั่นเอง อาการโควิดลงปอด เป็นอย่างไร อาการโควิดลงปอด มีลักษณะดังต่อไปนี้ ไอแห้ง เจ็บคอ หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก ระดับออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ หรือต่ำกว่า 97-100 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ง่วงซึม อ่อนเพลีย เพราะมีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ เชื้อโควิด-19 ยังอาจทำให้เป็นโรคปอดอักเสบ (Covid-19 Pneumonia) ได้ ซึ่งจัดเป็นภาวะแทรกซ้อนและอาการระดับรุนแรงของโรคโควิด-19 เมื่อเป็นโรคปอดอักเสบ […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

อาการปอดอักเสบ และการดูแลตัวเองเมื่อปอดอักเสบ

ปอดอักเสบหรือปอดบวม เป็นโรคจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัสที่ปอด ซึ่งกลุ่มเสี่ยงของโรค ได้แก่ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สำหรับ อาการปอดอักเสบ นั้น มักมีไข้ ไอ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก ไม่อยากอาหาร เป็นต้น [embed-health-tool-heart-rate] ปอดอักเสบคืออะไร ปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือบางครั้งเรียกว่าปอดบวม เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ที่ปอดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง ซึ่งส่งผลให้ปอดมีอาการอักเสบหรือบวม และมีของเหลวหรือหนองอยู่ข้างใน โดยทั่วไป หากป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มากกว่าเชื้อรา และโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ยังพบได้บ่อยกว่าโรคปอดอักเสบจากไวรัส และเมื่อเป็นแล้ว มักมีอาการป่วยที่รุนแรงกว่าด้วย นอกจากนี้ ปอดอักเสบอาจเป็นสาเหตุของอาการป่วยขั้นรุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยเป็นทารก เด็กเล็ก คนชรา หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ในปี พ.ศ. 2562 ปอดอักเสบคร่าชีวิตเด็กไป 740,180 ราย หรือคิดเป็น 14 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วยอะไร และเหมาะสำหรับใครบ้าง

ไข้หวัดใหญ่ คือ โรคติดเชื้อในทางเดินระบบหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ซึ่งมี 2 ชนิดที่พบได้บ่อย ได้แก่ ชนิด A และ B โดยสามารถได้รับเชื้อไวรัสนี้ได้จากการสูดดมละอองสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศและการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อโดยตรงตามวัตถุต่าง ๆ ยกตัวอย่าง กรประตู สวิตช์ไฟ ราวจับรถสาธารณะ โทรศัพท์ ช้อน ส้อม แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อป้องกันตัวเองและคนในครอบครัว ควรเข้ารับการ ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นประจำทุกปีและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการพักผ่อนให้มาก ๆ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำความรู้จักกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ วัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และช่วยบรรเทาอาการของไข้หวัดใหญ่ ไม่ให้มีอาการรุนแรงมากเกินไปและสามารถฟื้นตัวได้ไวมากขึ้น โดยแพทย์อาจฉีดบริเวณต้นแขนหรือต้นขาหรือพ่นจมูก วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย (Live Attenuated Influenza Vaccines : LAIV) เป็นวัคซีนที่ประเทศไทยนิยมใช้ ผลิตขึ้นจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้วโดยใช้เฉพาะโปรตีนบางส่วนที่มีลักษณะเป็นหนามมาผลิตขึ้นใหม่ วัคซีนไข้หวัดชนิดเชื้อตายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัคซีนที่มีส่วนประกอบของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ปอดติดเชื้อ เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไร

ปอดติดเชื้อ อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อราบริเวณปอดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปอดอักเสบและปอดบวม ที่ส่งผลให้มีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และเสี่ยงต่อภาวะปอดล้มเหลวที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิต ดังนั้น หากสังเกตว่ามีอาการดังกล่าวควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว ปอดติดเชื้อ เกิดจากอะไร ปอดติดเชื้อ มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโทคอกคัส (Streptococcus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ไวรัสโควิด-19 หรือเชื้อราต่าง ๆ ที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนผ่านการสูดลมหรือการสัมผัสกับวัตถุที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดหน้า ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและอาจส่งผลให้ปอดติดเชื้อได้ ใครบ้างที่เสี่ยงต่อปอดติดเชื้อ ผู้ที่แนวโน้มเสี่ยงต่อปอดติดเชื้อ อาจมีดังต่อไปนี้ ผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นอาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหอบหืด ผู้ที่อยู่ในช่วงพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดหรือปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่ทำเคมีบำบัดหรือฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคไตเรื้อรังระดับรุนแรง อาการของปอดติดเชื้อ อาการของปอดติดเชื้อ ที่ควรสังเกต มีดังนี้ มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส หนาวสั่น ปวดศีรษะและเจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน […]


โรคติดเชื้อ

การดูแลผู้สูงอายุ อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย

ผู้สูงอายุ (Olderly) เป็นวัยที่ติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงตามวัย โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคงูสวัด โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคปอดอักเสบติดเชื้อหรือโรคปอดบวม หากผู้สูงอายุเป็นโรคติดเชื้ออาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การดูแลผู้สูงอายุ อย่างเหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุได้ [embed-health-tool-bmi] โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อาจมีดังนี้ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่ (Flu หรือ Influenza) เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก หรือน้ำมูกไหล และอาจกระทบต่อสุขภาพผู้สูงอายุ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดบวม จนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และมีภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่ก่อนแล้ว การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรืออีโคไล (E.coli) ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะมีกลิ่นหรือมีสีขุ่น […]


โรคติดเชื้อ

ฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ ควรฉีดตัวไหนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อที่พบบ่อย

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะการ ฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันลดลงลงตามอายุที่มากขึ้น คนวัยสูงอายุมักมีโรคประจำตัวและป่วยได้ง่ายกว่าคนที่ยังอายุน้อย ทั้งยังอาจเสี่ยงติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ (โรคปอดบวม) โรคงูสวัด ได้ง่าย และอาการมักรุนแรงจนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ผู้สูงอายุและครอบครัวจึงควรให้ความสำคัญกับการไปฉีดวัคซีนวัคซีนผู้สูงอายุต่าง ๆ ตามกำหนดหรือตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ป่วยไข้ในวัยที่ต้องใส่ใจสุขภาพเป็นพิเศษ [embed-health-tool-bmi] ฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ ควรฉีดตัวไหนบ้าง วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือลดความรุนแรงของโรคหากติดเชื้อ อาจมีดังนี้ วัคซีนโควิด-19 (Coronavirus/COVID-19 vaccine) วัคซีนโควิด-19 สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการ ลดโอกาสในการต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตลอดจนช่วยลดอัตราการเสียชีวิตเมื่อเกิดการติดเชื้อได้ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ วัคซีนสารพันธุกรรมหรือเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA vaccine) ที่ทำให้ร่างกายสร้างโปรตีนเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) ที่ทำให้ไวรัสอ่อนฤทธิ์จนไม่อาจแบ่งตัวได้ วัคซีนจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ไข้หวัดใหญ่ กี่วันหาย และการดูแลตัวเอง

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาแต่รุนแรงกว่า หากถามว่า ไข้หวัดใหญ่ กี่วันหาย คำตอบคือประมาณ 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละคน ทั้งนี้ ระหว่างที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ควรดูแลตัวเองด้วยการดื่มน้ำและพักผ่อนมาก ๆ และรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการไข้ ไอ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย [embed-health-tool-heart-rate] ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัดใหญ่ (Influenza หรือ Flu) เป็นโรคทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งแพร่กระจายเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด และอาจติดอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ลูกบิดประตู ไข้หวัดใหญ่พบได้ทั่วไปในอัตรา 1,000-2,000 คน ต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้ ชนิดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบบ่อย คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ C โดย 2 ชนิดแรกเป็นเชื้อที่จะแพร่กระจายตามฤดูกาล โดยเฉพาะในฤดูหนาว ส่วนชนิดที่ 3 นั้นพบไม่บ่อยเท่า 2 ชนิดแรก และเมื่อติดเชื้อแล้วมักมีอาการป่วยที่รุนแรงน้อยกว่าทั้ง […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ คืออะไร ทำไมต้องฉีด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ เป็นวัคซีนที่ฉีดเพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดใหญ่จากไวรัสสายพันธุ์ A/H1N1, A/H3N2, ไวรัสสายพันธุ์ B ตระกูล Victoria และ ไวรัสสายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata ทั้งนี้ ไวรัสสายพันธุ์ A และ ไวรัสสายพันธุ์ B เป็นสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุด และมักเป็นสาเหตุของการป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ในฤดูหนาว [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์คืออะไร วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (Quadrivalent Influenza Vaccine) เป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบหนึ่ง ซึ่งเมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไข้หวัดใหญ่และลดความรุนแรงเมื่อเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ จากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่อไปนี้ สายพันธุ์ A/H1N1 สายพันธุ์ A/H3N2 สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata ทั้งนี้ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ […]


โรคติดเชื้อ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผลข้างเคียง ที่ควรรู้

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้มีอาการไอ เจ็บคอ ไข้สูง ปวดหัว และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ การฉีดวัคซีนจึงอาจมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตาม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก็อาจมี ผลข้างเคียง ต่อร่างกาย เช่น ปวด บวม แดง คลื่นไส้ มีไข้ จึงควรศึกษาแนวทางการดูแลตัวเองเพื่อลดผลข้างเคียง และป้องกันอาการแพ้อื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีน [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีประโยชน์อย่างไร วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza Vaccine) มีประโยชน์ในการช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ทำให้มีอาการไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว และอ่อนเพลียมาก หรืออาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และหลังจากการรักษายังอาจมีอาการอ่อนเพลียที่คงอยู่เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ได้อีกด้วย ดังนั้น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงอาจมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำมาจากเชื้อที่ตายแล้ว มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากไม่สามารถแพร่เชื้อเพื่อก่อให้เกิดโรคได้อีก จึงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ โดยผู้ที่งควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีดังนี้ เด็กที่อายุ 6 […]


โรคติดเชื้อ

ภูมิคุ้มกัน ทำงานอย่างไร ความผิดปกติที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง

ภูมิคุ้มกัน เป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมากในการช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือโรคต่าง ๆ ซึ่งการดูแลตัวเองอยู่เสมออาจช่วยส่งเสริมความแข็งแรงและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นปกติ รวมทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของภูมิคุ้มตั้งแต่กำเนิด ดังนั้น การเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องจึงอาจช่วยป้องกันการกำเริบของโรค และส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ภูมิคุ้มกัน คือ ระบบที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และปรสิตจากภายนอก โดยมีส่วนประกอบของระบบอวัยวะ เซลล์เม็ดเลือดขาว โปรตีนแอนติบอดี และสารเคมีในร่างกายที่ทำงานร่วมกันเป็นระบบภูมิคุ้มกันขนาดใหญ่ ซึงอาจช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อที่นำไปสู่ความเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ ภูมิคุ้มกัน ทำงานอย่างไร ภูมิคุ้มกันมีหน้าที่ปกป้องร่างกายจากการเชื้อโรคภายนอก ด้วยการทำลายหรือกำจัดความเป็นอันตรายของเชื้อโรคแต่ละชนิดหากภูมิคุ้มกันทำงานอย่างถูกต้อง ซึ่งภูมิคุ้มกันจะสามารถแยกแยะได้ว่าเซลล์ใดผิดปกติ เป็นอันตรายควรทำลาย และเซลล์ใดเป็นเซลล์ร่างกายตามปกติไม่ควรทำลาย โดยระบบภูมิคุ้มกันจะเรียนรู้เชื้อโรคใหม่ที่เข้าสู่ร่างกายอยู่เสมอ และจะสร้างแอนติบอดีชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อต้านเชื้อโรคแต่ละชนิด หากในอนาคตร่างกายได้รับเชื้อโรคชนิดเดิมอีกระบบภูมิคุ้มกันก็จะปล่อยแอนติบอดีที่เคยจดจำไว้ออกมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคชนิดนั้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากภูมิคุ้มกันทำงานไม่ถูกต้องก็จะไม่สามารถต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้และนำไปสู่การติดเชื้อ หรือในบางกรณีภูมิคุ้มกันจะทำลายเซลล์ตามปกติในร่างกายเหมือนกันโจมตีเชื้อโรคที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น อาการแพ้ โรคภูมิแพ้ตัวเอง ประเภทของภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันอาจมี 3 ประเภท ดังนี้ ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate Immunity) ทุกคนเกิดมาพร้อมกับภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด เช่น ผิวหนังทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีตั้งแต่กำเนิดจะทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคที่อาจเป็นอันตราย ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่สามารถปรับตัวได้ตลอดชีวิต เมื่อร่างกายสัมผัสหรือได้รับเชื้อโรคใหม่ โดยร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันตัวใหม่ขึ้นมาเพื่อต้านเชื้อโรคนั้น ๆ ภูมิคุ้มกันแบบรับมา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน