โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

หน้ากากอนามัย ใช้อย่างไร ป้องกันอะไรได้บ้าง

ในภาวะที่ในอากาศเต็มไปด้วยฝุ่น ควัน ละออง และเชื้อโรค เราจึงควรสวมใส่ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อโรค ฝุ่น ควันที่อาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ หรือโรคหวัดตามมาได้ แต่หากสงสัยว่า เรากำลังใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องกันอยู่หรือไม่ และหน้ากากนั้นสามารถป้องกันหวัดได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและวิธีการใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง เพื่อให้ป้องกันเชื้อโรคได้อย่างดี หน้ากากอนามัย คืออะไร หน้ากากอนามัยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุผ้าอย่าง โพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP) ซึ่งจะต้องมีชั้นกรองอากาศอย่างน้อย 2 – 3 ชั้นเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรค สารพิษ หรือมลพิษจากภายนอกซึ่งจะทำให้ผู้ที่สวมใส่มีความปลอดภัย โดยชั้นในสุดเป็น ไฮโดรฟิลลิก (Hydrophilic) ที่ช่วยดูดน้ำ หรือลดความชุ่มชื้นได้ ชั้นกลางเป็น ฟิลเตอร์ (filter) ที่ใช้กรอง ส่วนชั้นนอกสุดเป็น ไฮโดรโฟบิก (Hydrophobic) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันน้ำ หน้ากากอนามัยควรจะมีคุณสมบัติที่จะป้องกันแบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 80 ประเภทของ หน้ากากอนามัย หน้ากากใช้เพื่อป้องกันเชื้อโรค หรือฝุ่นควันจากอากาศ แต่คุณต้องรู้จักกับประเภทของหน้ากากก่อน เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า เราควรใช้หน้ากากแบบใด โดยปกติหน้ากากแบ่งออกเป็น 2 ประเภท หน้ากากอนามัยเป็นหน้ากากที่ใส่แบบหลวมๆ ใช้แล้วทิ้ง ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาว่าสามารถใช้สำหรับเป็นเครื่องมือการแพทย์ได้ แพทย์ พยาบาล […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

โรคทริคิโนซิส (Trichinosis)

โรคทริคิโนซิส เป็นภาวะติดเชื้อพยาธิประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากการรับประทานตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ในเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก คำจำกัดความ โรคทริคิโนซิสคืออะไร โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) หรือโรคบางครั้งเรียกว่าโรคทริคิเนลโลสิส (trichinellosis) เป็นภาวะติดเชื้อพยาธิตัวกลม (Roundworm) ประเภทหนึ่ง พยาธิตัวกลมใช้ร่างกายของผู้อาศัยในการอยู่อาศัยและขยายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะหมี สุนัขจิ้งจอก และวอลรัส ภาวะติดเชื้อเกิดจากการรับประทานตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ในเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก เมื่อมนุษย์รับประทานเนื้อสัตว์ปรุงไม่สุก ที่มีตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ตัวอ่อนจะใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าที่จะเติบโตเป็นพยาธิโตเต็มวัยในลำไส้ จากนั้น พยาธิที่โตเต็มวัยก็จะขยายพันธุ์ตัวอ่อน แพร่กระจายผ่านทางเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งกล้ามเนื้อ โรคทริคิโนซิสแพร่กระจายได้มากที่สุดในพื้นที่ชนบททั่วโลก โรคทริคิโนซิสสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ถึงแม้ว่าจะไม่จำเป็นเสมอไป การป้องกันสามารถทำได้ง่าย โรคทริคิโนซิสพบได้บ่อยเพียงใด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการโรคทริคิโนซิสมีอะไรบ้าง อาการของโรคทริคิโนซิสมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับระยะของการติดเชื้อ จำนวนตัวอ่อนพยาธิที่แพร่กระจาย เนื้อเยื่อที่เชื้อแพร่กระจายเข้าไป และภาวะทางกายภาพทั่วไปของผู้ป่วย ผู้ป่วยจำนวนมากมักไม่มีอาการ อาการของโรคทริคิโนซิสเกิดขึ้นเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1: การติดเชื้อในลำไส้ มีอาการใน 1 ถึง 2 วันหลังจากรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ มีอาการได้แก่ คลื่นไส้ ท้องเสีย มีตะคริวที่ช่องท้อง และมีไข้ต่ำ ระยะที่ 2: อาการจากการแพร่กระจายของตัวอ่อนพยาธิตัวกลมในกล้ามเนื้อ มักเริ่มต้นหลังจากประมาณ 7 ถึง 15 วัน อาการได้แก่ ปวดและกดเจ็บกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีไข้ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคลายม์ (Lyme Disease)

โรคลายม์ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากการถูกเห็บกัด อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 3-30 วันหลังจากถูกกัด และลักษณะอาการอาจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ คำจำกัดความ โรคลายม์คืออะไร โรคลายม์ (Lyme Disease) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า บอร์เรลเลีย เบิร์กดอร์เฟอไร (Borrelia burgdorferi) การติดเชื้อเกิดจากการถูกเห็บกัด อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 3-30 วันหลังจากถูกกัด และลักษณะอาการอาจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับระยะของการติดเชื้อ จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคติดต่อ สหรัฐฯ โอกาสในการติดเชื้อลายม์จากการถูกเห็บกัด ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเห็บประเภทใด คุณอยู่ที่ใดขณะถูกกัด และเห็บกัดคุณเป็นเวลานานแค่ไหน เห็บชนิด Black-legged จะต้องกัดคุณอยู่ถึง 24 ชั่วโมงในการแพร่เชื้อลายม์ โรคลายม์พบบ่อยแค่ไหน โรคลายม์เป็นโรคที่พบได้บ่อย จากข้อมูลของกรมควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐฯ จำนวนผู้ที่ติดเชื้อโรคลายม์ 30,000 คน ถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก และจากผลการประเมินล่าสุด กรมควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐอเมริการายงานว่า ชาวอเมริกันเป็นโรคลายม์สูงถึง 3 แสนคนต่อปี ควรปรึกษาเแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคลายม์ อาการของโรคลายม์ที่พบบ่อย มีดังนี้ หนาวสั่น เวียนศีรษะ เป็นไข้ ข้อต่อบวม กล้ามเนื้อใบหน้าขาดความกระชับ ต่อมน้ำเหลืองโต ปัญหาเกี่ยวกับความจำ ปวดกล้ามเนื้อ อาการชา ใจสั่น อาการปวดร้าว คอแข็ง อาการเสียวแปลบ บางคนอาจมีอาการหรือสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับโรคลายม์ ดังนี้ ผื่นแดง ปวดข้อต่อ ปวดศีรษะ อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด ผื่นแดงเป็นสัญญาณเตือนที่ดีเมื่อคุณถูกกัด และการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาจได้ผลในขั้นนี้ แต่หากเกิดอาการที่กล่าวไว้ข้างต้นควรรีบพบแพทย์ อาจมีอาการอื่นๆ ของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์ สาเหตุ สาเหตุของโรคลายม์ ในสหรัฐอเมริกา แบคทีเรียสองชนิดที่ทำให้เกิดโรคลายม์ ได้แก่ แบคทีเรียบอร์เรลีย […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้หรือไม่?

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) ไม่ได้นำมาแค่ความรู้สึกที่ไม่สบายตัว แต่ยังนำพาความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เป็นอันตรายมาอีกด้วย แล้วเราจะสามารถป้องกัน และรักษาการติดเชื้อนี้ได้อย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบค่ะ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คืออะไร โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) คือ การติดเชื้อภายในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งระบบนี้ประกอบไปด้วย ท่อปัสสาวะหนึ่งเส้น หนึ่งกระเพาะปัสสาวะ ท่อไตสองเส้น (ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างไต และกระเพาะปัสสาวะ) ไตสองข้าง การติดเชื้อนั้นสามารถเกิดได้ที่ท่อปัสสาวะ (ท่อปัสสาวะอักเสบ) ไต (กรวยไตอักเสบ) กระเพาะปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ) หรือเกิดอาการเหล่านี้ร่วมกัน โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด จากเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ เรียกว่า เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล หรือเชื้ออีโคไล (Escherichia coli; E.coli)  การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้ออีโคไล มักแพร่กระจายจากทวารหนักขึ้นมาสู่ท่อปัสสาวะ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต่อไปนี้ คือ กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าคนอื่น ดังนี้ ผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก เช่น โรคต่อมลูกหมากโต (Enlarged prostate gland) ซึ่งส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะว่างเปล่าเป็นบางส่วน ผู้หญิงโดยทั่วไป เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงมักจะยาวแค่ประมาณ 4 เซนติเมตร เชื้อแบคทีเรียสามารถเดินทางผ่านช่องทางที่สั้นนี้ จากภายนอกร่างกายเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ เด็ก โดยเฉพาะทารกและเด็กที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะโดยกำเนิด ผู้ที่ใช้สายสวนท่อปัสสาวะ (Urinary catheters) โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยหนักจนไม่สามารถปัสสาวะได้เอง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน สัญญาณและอาการของโรค อาการทั่วไปของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะมีดังนี้ เป็นไข้ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น […]


โรคเริม

เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore)

เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore) คือแผลพุพองเล็กๆ และเจ็บปวด ที่มักเกิดขึ้นบนริมฝีปาก หรือบริเวณโดยรอบ ผิวหนังในบริเวณของแผลพุพองมักจะเป็นสีแดง บวม และเป็นบาดแผล คำจำกัดความ เริมที่ริมฝีปากคืออะไร เริมที่ริมฝีปาก (Cold Sore) คือแผลพุพองเล็กๆ และเจ็บปวด ที่มักเกิดขึ้นบนริมฝีปาก หรือบริเวณโดยรอบ ผิวหนังในบริเวณของแผลพุพองมักจะเป็นสีแดง บวม และเป็นบาดแผล สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์-1 (herpes simplex virus-1) ในบางครั้งอาจจะเกิดที่บริเวณภายในปาก บนใบหน้า หรือแม้แต่ในจมูก โรคนี้มักจะเกิดที่บริเวณเหล่านี้ แต่แผลสามารถเกิดขึ้นบริเวณก็ได้บนร่างกาย รวมไปถึงบริเวณอวัยวะเพศ มักจะหายไปหลังจากผ่านไปหลายวันจึนถึง 2 สัปดาห์ เริมที่ริมฝีปาก พบได้บ่อยแค่ไหน เชื่อกันว่าผู้ใหญ่จำนวนเกือบ 90% เคยติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งหนึ่ง แม้ว่าคนเหล่านี้อาจจะไม่มีอาการในการติดเชื้อครั้งแรก หนึ่งในสามของผู้ที่ติดเชื้อจะเป็นโรคเริม ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อครั้งก่อน และไม่ได้แสดงถึงการติดเชื้อครั้งล่าสุด อาการ อาการของเริมที่ริมฝีปาก สำหรับในครั้งแรกที่เริ่มต้นการรักษา คุณจะรู้สึกซ่าหรือแสบร้อนที่ริมฝีปากและใบหน้า หลายวันก่อนที่จะเริ่มมีอาการของเริมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มมีแผลก่อตัวขึ้น คุณก็จะเห็นแผลพุพองสีแดงมีน้ำใสขึ้นมา ปกติแล้วมักจะปวดและกดแล้วเจ็บ และอาจจะมีแผลแบบนี้มากกว่าหนึ่งแห่ง โรคเริมนั้นจะอยู่นานถึงสองสัปดาห์ และจะติดต่อได้จนกว่าตุ่มหนองจะหายไป โรคเริมครั้งแรกของคุณอาจจะไม่ปรากฏขึ้น จนกว่าจะผ่านไปถึง 20 วัน หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ครั้งแรก หลังจากนั้นคุณอาจจะมีอาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่านั้น ในช่วงของการแพร่กระจาย เป็นไข้ เหงือกกร่อนอย่างเจ็บปวด เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบวม อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

แผลติดเชื้อ (wound infection)

แผลติดเชื้อ (wound infection) เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในรอยแผลที่ผิวหนัง อาจเกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น หรือส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปหรืออวัยวะที่อยู่ใกล้แผล คำจำกัดความ แผลติดเชื้อคืออะไร แผลติดเชื้อ (wound infection) เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในรอยแผลที่ผิวหนัง การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น หรือส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปหรืออวัยวะที่อยู่ใกล้แผล การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดบาดทะยัก (tetanus) อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อาการแทรกซ้อนของแผลติดเชื้อ มีความหลากหลายตั้งแต่การติดเชื้อเฉพาะที่ ไปจนถึงทั่วร่างกาย อาการแทรกซ้อนเฉพาะบริเวณของแผลติดเชื้อที่รุนแรงที่สุดก็คือแผลหายช้า ทำให้แผลไม่หายง่ายๆ มักทำให้เกิดอาการเจ็บปวด อาการไม่สบาย และอาการไม่สบายทางจิตใจเป็นอย่างมาก อาการแทรกซ้อนทั่วร่างกาย ได้แก่ เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (cellulitis) หรือการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังชั้นหนังแท้หรือใต้ผิวหนัง กระดูกอักเสบ (osteomyelitis) หรือการติดเชื้อแบคทีเรียของกระดูกและไขกระดูก หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (septicemia) หรือการมีแบคทีเรียในเลือดที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย พบได้บ่อยเพียงใด แผลติดเชื้อค่อนข้างพบได้ทั่วไป โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของแผลติดเชื้อ อาการทั่วไปของแผลติดเชื้อ ได้แก่ มีของเหลวสีเหลือง สีเหลืองปนเขียว หรือมีกลิ่นเหม็นออกจากแผล มีอาการปวด บวม หรือรอยแดงมากขึ้นในบริเวณหรือใกล้แผล มีการเปลี่ยนสีหรือขนาดของแผล มีรอยแดงที่ผิวหนังโดยรอบแผล มีไข้ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของแผลติดเชื้อ แผลติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย ซึ่งเกิดทั้งจากเชื้อที่อยู่ที่ผิวหนังตามปกติ หรือแบคทีเรียจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลติดเชื้อที่พบได้มากที่สุด คือ สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) […]


โรคเริม

โรคเริมที่ปาก เกิดจากอะไรและดูแลได้อย่างไรเมื่ออาการกำเริบ

เริม เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อ Herpes simplex virus ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 เริมมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ โรคเริมที่ปาก และเริมที่อวัยวะเพศ ซึ่งเริมเป็นอาการที่ไม่หายขาด เมื่อเป็นแล้วจะกลับมาเป็นได้อีก [embed-health-tool-bmr] โรคเริมที่ปาก คืออะไร โรคเริมที่ปาก เป็นอาการติดเชื้อบริเวณปากที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเริม (Herpes simplex virus) โรคเริมที่ปากเป็นอาการที่พบบ่อยและเป็นโรคติดต่อที่แพร่เชื้อได้ง่าย โดยข้อมูลจากสมาคม American Sexual Health Association ระบุว่า มากกว่าครึ่งของประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกามีเชื้อไวรัสเริม เริมมี 2 ชนิด คือ เริมที่ปาก (เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus ชนิด 1 หรือ HSV-1) และเริมที่อวัยวะเพศ (เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus ชนิด 2 หรือ HSV-2) โดยการติดเชื้อเริมที่ปากจะทำให้มีแผลในปาก ริมฝีปาก ลิ้น หรือเหงือก […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือ Respiratory tract infections หรือ uriคือ เป็นการติดเชื้อที่โพรงจมูก (sinus) คอ ทางเดินหายใจ หรือปอด มักเกิดจากไวรัส หรือแบคทีเรีย ทั้งนี้ โรคหวัดนับเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ที่มีการแพร่กระจายมากที่สุด [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน คืออะไร ติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือ uriคือ การติดเชื้ออะไรก็ตามที่โพรงจมูก (sinus) คอ ทางเดินหายใจ หรือปอด มักเกิดจากไวรัส แต่ก็อาจเกิดจากแบคทีเรียได้ โดยทั่วไปผู้ทำงานด้านสุขภาพมักโรคนี้ออกเป็นสองแบบคือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract infections) ที่มีผลต่อจมูก โพรงจมูก และคอ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower respiratory tract infections) ที่มีผลต่อทางเดินหายใจและปอด โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ โรคหวัดทั่วไป ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เป็นการติดเชื้อของต่อมทอนซิลและเนื้อเยื่อบริเวณด้านหลังคอ โพรงจมูกหรือไซนัสอักเสบ (Sinusitis) เป็นการติดเชื้อที่โพรงจมูก กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis) เป็นการติดเชื้อที่กล่องเสียง (larynx) ไข้หวัดใหญ่ (Flu) ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ป้องกันหวัด อย่างไร เมื่อคนใกล้ตัวเป็นหวัด

ไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสผ่านระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น มีไข้ มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาจรุนแรงถึงขั้นคุกคามชีวิตได้ ดังนั้น หากคนใกล้ตัวเป็นไข้หวัด การ ป้องกันหวัด อย่างถูกต้อง รวมถึงการดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยหลีกเลี่ยงการเป็นไข้หวัด หรือบรรเทาอาการไข้หวัดที่เกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ป้องกันหวัด ทำได้อย่างไรบ้าง วิธีการป้องกันหวัดอาจทำได้หลายวิธี ดังนี้ อยู่ให้ห่างจากผู้ที่เป็นหวัด เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดจะอาศัยอยู่ในสารคัดหลั่งบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งจะล่องลอยไปในอากาศได้ถ้ามีการไอหรือจาม โดยจะล่องลอยไปในอากาศได้ไกลถึง 3 ฟุตก่อนจะตกลงพื้น หากผู้ที่เป็นไข้หวัดไอหรือจาม ก็อาจทำให้อากาศที่อยู่รอบตัวมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดอย่างน้อย ๆ ประมาณ 3 ฟุต เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศบริเวณนั้นที่อาจมีเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดปนเปื้อนอยู่ หรือจากจำเป็นต้องเข้าใกล้ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อผ่านทางเดินหายใจ ไม่ควรนำมือไปสัมผัสกับใบหน้า มือเป็นอวัยวะที่ใช้หยิบจับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว จึงอาจเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคต่าง ๆ ดังนั้น จึงไม่ควรใช้มือสัมผัสใบหน้ารวมทั้งบริเวณปากและจมูกด้วย อย่างไรก็ตาม การสัมผัสสิ่งที่ปนเปื้อนอาจไม่ก่อให้เกิดอาการไข้หวัด เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้จะไม่ทำให้ผิวเกิดการติดเชื้อ แต่ถ้าเชื้อไข้หวัดเข้าไปอยู่ในเยื่อเมือกในบริเวณปากหรือจมูก ก็อาจทำให้เป็นหวัดได้  และถ้าเชื้อไวรัสขึ้นมาเกาะอยู่บนผิวหน้าก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นหวัดได้ด้วย ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ เชื้อไวรัสไข้หวัดสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวมันเองถึง 24 ชั่วโมง ดังนั้น ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านก็อาจมีเชื้อไวรัสไข้หวัดปนเปื้อนได้ หากอาศัยอยู่บ้านเดียวกันกับผู้ที่เป็นหวัด นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นหวัดประมาณร้อยละ 25 อาจไม่แสดงอาการ […]


โรคติดเชื้อ

ป้องกันโรคติดต่อหน้าฝน สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

สายฝนที่โปรยปรายเกือบตลอดวันในช่วงหน้าฝน นอกจากจะนำพาความชุ่มชื้นมาให้เราแล้ว ยังนำพาโรคติดต่อมาด้วย ฉะนั้น หากไม่อยากล้มป่วยในช่วงหน้าฝน คุณก็ควรดูแลและตัวเองให้ดี ด้วยวิธีการ ป้องกันโรคติดต่อหน้าฝน ที่เรานำมาฝากกัน เพื่อเตือนทุกท่านให้ระมัดระวังสุขภาพในฤดูกาลนี้ …ฝนตกบ่อยๆแบบนี้…อย่าลืม! รักษาสุขภาพกันนะจ๊ะ  โรคที่มากับหน้าฝน หน้าฝนมักจะมาพร้อมกับเชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย ที่อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้มากมาย ทั้งโรคที่มียุงเป็นพาหะ และโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร ไล่ตั้งแต่ไข้หวัด ไปจนถึงโรคที่รุนแรงขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไทฟอยด์ ไวรัสลงกระเพาะ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ ดีซ่าน ปอดบวม  รวมถึงการติดเชื้อทางผิวหนังหลายๆ ชนิด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ที่พัฒนาขึ้นในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง หรือ ละอองฝนที่สัมผัสโดนร่างกาย  หน้าฝน… ฤดูแห่งการเพาะเชื้อ(โรค) การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงหน้าฝน เกิดจากมีน้ำอยู่ในอากาศค่อนข้างสูง ทำให้อากาศชื้น ซึ่งเป็นภาวะที่เชื้อโรคต่างๆ เจริญเติบโตได้ดี ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวน เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวในหน้าฝน ก็ทำให้ยุง แมลงวัน และแมลงที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ที่ชอบวางไข่ในที่ๆ มีน้ำขัง มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าเดิมมากขึ้น นอกจากนี้การปนเปื้อนในน้ำและอาหาร ก็ยังทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะติดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย ดังนั้นหากคุณสัมผัสกับฝน เช่น โดนละอองฝน ตัวเปียกชื้น เมื่อกลับถึงบ้านควรล้างมือ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน