โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ที่คุณผู้ชายควรรู้

ต่อมลูกหมากถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย แต่ถ้าหากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรทำอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ว่าถ้าหากพบแล้วสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกคือ เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ผิดปกติ มีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวเซลล์ รวมถึงการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมากด้วย แต่เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายออกไปข้างนอกของต่อมลูกหมาก วิธีสังเกตตัวเองว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือไม่ การสังเกตตนเองบางครั้งอาจไม่มีทางรู้ได้ นอกจากการไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเช็คร่างกาย เนื่องจากผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกไม่มีอาการใด ๆ และไม่สามารถตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยตัวเอง หากคุณอายุมากกว่า 50 ปี หรือคนในครอบครัวมีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมาก แนะนำให้ไปตรวจเช็คเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง อาการ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก โดยทั่วไป อาการมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นไม่ค่อยแสดงให้เห็นในระยะเริ่มต้น แต่บางคนก็อาจจะมีอาการได้ ดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบาก และเจ็บขณะปัสสาวะ เวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไหลอ่อนลง เหมือนไม่มีแรง ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางดึก เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว รู้สึกเหมือนยังไม่เสร็จ อาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะ หรือน้ำอสุจิ และบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมถึงอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย หากใครมีความกังวล หรือคิดว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็น ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยและแพทย์อาจจะต้องพิจารณาข้อกำหนดในการรักษาหลาย ๆ ด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นอาจมีตัวเลือกในการรักษา 2-3 ทาง ได้แก่ การเฝ้าติดตามอาการ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นจะโตช้า […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด

ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด 7 เรื่องนี้ อันไหนจริง อันไหนหลอก มาดูกัน

โรคมะเร็งปอด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้บ่อย และเราได้ยินชื่อกันมานาน แต่เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็ยังคงเข้าใจโรคนี้ผิดอยู่ในหลายเรื่อง วันนี้ Hello คุณหมอ มี 7 ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด พร้อมข้อเท็จจริงมาฝาก คุณจะได้เข้าใจโรคมะเร็งปอดกระจ่างขึ้น 7 ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด ที่ควรรู้ให้กระจ่าง ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 1 สูบบุหรี่มาตั้งหลายปี เลิกตอนนี้ก็คงไม่ทันแล้ว ข้อเท็จจริง ไม่ว่าคุณจะสูบบุหรี่มานานแค่ไหน แต่เมื่อคุณเลิกบุหรี่ ร่างกายของคุณก็จะได้รับผลดีจากการเลิกบุหรี่แทบจะทันที เมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่ เลือดจะไหลเวียนได้ดีขึ้น ปอดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดของคุณก็จะค่อย ๆ ลดลงด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากคุณเลิกบุหรี่ติดต่อกันได้เกิน 10 ปี ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดจะลดลงไปถึง 50% เมื่อเทียบกับคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 2 เป็นมะเร็งปอดแล้ว เลิกบุหรี่ไปก็ไร้ประโยชน์ ข้อเท็จจริง อย่างที่เราบอกไปแล้วว่า ถ้าคุณเลิกบุหรี่ได้ คุณก็จะได้รับผลดีของการเลิกบุหรี่แทบจะทันที และถึงแม้คุณจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดแล้ว การเลิกบุหรี่ก็ยังคงส่งผลดีต่อร่างกายของคุณเช่นกัน เพราะการเลิกบุหรี่ นอกจากจะดีต่อระบบการไหลเวียนเลือดและการทำงานของปอดแล้ว ยังอาจช่วยให้การรักษามะเร็งปอดของคุณได้ผลดีขึ้น และช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย และหากจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ร่างกายของคนที่เลิกบุหรี่แล้วก็ยังฟื้นตัวได้ดีกว่าคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ อีกทั้งคนที่เลิกบุหรี่แล้วยังเกิดปัญหาเสียงแหบหลังรักษามะเร็งกล่องเสียงด้วยการฉายรังสีน้อยกว่า นอกจากนี้ การเลิกบุหรี่ยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดซ้ำได้ด้วย ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 3 สาเหตุของโรคมะเร็งปอดมีแค่การสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว ข้อเท็จจริง จริงอยู่ที่การสูบบุหรี่ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคมะเร็งปอด แต่โรคนี้ก็ไม่ได้เกิดเพราะสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น […]


มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer)

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) มักไม่ค่อยตรวจพบในระยะเริ่มแรก เนื่องจากโรคดังกล่าวไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการในร่างกายจนกว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ สำหรับตัวเลือกในการรักษามะเร็งตับอ่อนนั้น จะเลือกตามขอบเขตของมะเร็ง ซึ่งอาจรวมถึงการผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายรังสี หรืออาจจะใช้วิธีที่ทั้งหมดที่กล่าวมารักษาร่วมกัน ซึ่งทาง Hello คุณหมอมีเรื่องนี้มาฝากกัน   คำจำกัดความ มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) คืออะไร มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) เริ่มที่เนื้อเยื่อของตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะในช่องท้องที่อยู่ด้านหลังช่วงล่างของกระเพาะอาหาร ตับอ่อนของคุณจะปล่อยเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหารและสร้างฮอร์โมนที่ช่วยจัดการน้ำตาลในเลือดของคุณ การเจริญเติบโตหลายประเภทสามารถเกิดขึ้นได้ในตับอ่อน รวมถึงเนื้องอกที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็ง มะเร็งชนิดที่พบบ่อยที่สุดที่ก่อตัวในตับอ่อน เริ่มต้นในเซลล์ที่เป็นแนวท่อที่นำเอนไซม์ย่อยอาหารออกจากตับอ่อน (มะเร็งท่อน้ำดีในตับอ่อน) มะเร็งตับอ่อนมักไม่ค่อยตรวจพบในระยะเริ่มแรก เนื่องจาก มันไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการในร่างกายจนกว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ สำหรับตัวเลือกในการรักษามะเร็งตับอ่อนนั้น จะเลือกตามขอบเขตของมะเร็ง ซึ่งอาจรวมถึงการผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายรังสี หรืออาจจะใช้วิธีที่ทั้งหมดที่กล่าวมารักษาร่วมกัน มะเร็งตับอ่อน พบบ่อยเพียงใด อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า มะเร็งตับอ่อนนั้นมักจะตรวจไม่พบจนกว่าอาการจะลุกลามและรักษาได้ยาก ในกรณีส่วนใหญ่ อาการจะเกิดขึ้นหลังจากมะเร็งตับอ่อนเติบโตและเริ่มแพร่กระจายแล้วเท่านั้น โดยมะเร็งตับอ่อนมากกว่า 95% เป็นชนิดของต่อมมีท่อ (Exocrine Type) อาการอาการของ มะเร็งตับอ่อน สัญญาณและอาการของมะเร็งตับอ่อนมักไม่เกิดขึ้นจนกว่าโรคจะลุกลาม ซึ่งอาจรวมถึงอาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาการปวดท้องที่แพร่กระจายไปที่หลังของคุณ เบื่ออาหารหรือน้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ ผิวเหลืองและตาเหลือง ซึ่งเป็นอาการของโรคดีซ่าน อุจจาระสีอ่อน ปัสสาวะสีเข้ม คันผิวหนัง มีการวินิจฉัยโรคเบาหวานแบบใหม่หรือโรคเบาหวานที่มีอยู่ ซึ่งควบคุมได้ยากขึ้น เลือดอุดตัน ความเหนื่อยล้า ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) มะเร็งชนิดหายาก

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) เป็นมะเร็งชนิดหายากซึ่งก่อตัวในเนื้อเยื่ออ่อน โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อลาย และยังสามารถพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก แขนและขา บริเวณศีรษะและคอ คำจำกัดความมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) คืออะไร มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) เป็นมะเร็งชนิดหายากซึ่งก่อตัวในเนื้อเยื่ออ่อน โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อลาย และยังสามารถพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก แขนและขา บริเวณศีรษะและคอ อย่างไรก็ตามมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ตาบวม มีเลือดออกในจมูกและหู รวมไปถึงแขนและขาบวม พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมาสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยและทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี อาการอาการของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา สัญญาณและอาการของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง โดยมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ บริเวณศีรษะและลำคอ ปวดศีรษะ ตาโปนหรือบวม เลือดออกในจมูกและหู ระบบทางเดินปัสสาวะหรือระบบสืบพันธุ์ ปัสสาวะลำบาก มีเลือดปนในปัสสาวะ มีเลือดออกทางช่องคลอด แขนและขา มีอาการบวม ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม สามารถปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา โดยมีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของดีเอ็นเอ เซลล์ที่ผิดปกติสามารถแตกออกและแพร่กายจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เกิดเป็นก้อนเนื้อไปทับเนื้อเยื่อของร่างกาย (เนื้องอกกดทับอวัยวะร่างกาย) ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา สมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว กลุ่มอาการทางพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง […]


มะเร็งศีรษะและคอ

มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma)

มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตาเรตินา (Retina) ซึ่งเป็นเยื่อบุบาง ๆ ที่อยู่ด้านในดวงตา มีลักษณะเป็นจุดสีขาว ๆ ที่กลางตาดำ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการตาแดง ตาบวม ปวดตา บางรายอาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นลุกลามออกมานอกลูกตา หรือสูญเสียการมองเห็น คำจำกัดความมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma) คืออะไร มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตาเรตินา (Retina)  ซึ่งเป็นเยื่อบุบาง ๆ ที่อยู่ด้านในดวงตา มีลักษณะเป็นจุดสีขาว ๆ ที่กลางตาดำ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการตาแดง ตาบวม ปวดตา บางรายอาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นลุกลามออกมานอกลูกตา หรือสูญเสียการมองเห็น พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งจอประสาทตาในเด็กพบได้บ่อยในวัยเด็ก อาจเกิดขึ้นในตาข้างเดียวหรือตาทั้งสองข้าง อาการอาการของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก เนื่องจากโรคมะเร็งจอประสาทตาในเด็กส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อทารกและเด็กเล็ก จึงพบผู้ที่เป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาในเด็กได้น้อย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังต่อไปนี้ มีลักษณะจุดสีขาวกลางดวงตาดำ (รูม่านตา) ตาแดง ตาบวม ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการกลายพันธุ์ที่นำไปสู่มะเร็งจอประสาทตา แต่มีข้อสันนิษฐาน ว่าสาเหตุของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก เกิดจากความผิดปกติทางจอประสาทตา เนื่องจากจอประสาทตาเกิดการกลายพันธ์ุและเพิ่มจำนวนเซลล์ที่สะสมอยู่ในตาก่อตัวเป็นเนื้องอก มะเร็งจอประสาทตาในเด็กยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรวมถึงสมองและกระดูกสันหลัง  นอกจากนี้สาเหตุของโรคมะเร็งจอประสาทตาอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก ถ่ายทอดทางพันธุกรรม  จากพ่อแม่ที่มียีนของโรคมะเร็งจอประสาทตา การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและดูอาการของผู้ป่วย หากพบเนื้องอกในตา แพทย์จะตรวจจอประสาทด้วยเครื่องส่องดูตา […]


มะเร็งผิวหนัง

สัญญาณเตือนของผิวหนัง ที่กำลังบอกว่าคุณอาจเป็นมะเร็งผิวหนัง

เรื่องของมะเร็งผิวหนัง เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันผิวของเรานั้นจำเป็นต้องโดนกับแสงแดดที่แสนจะร้อนจนแสบผิวและการที่ผิวต้องถูกรังสีจากแสงแดดทำลายเป็นประจำอาจนำไปสู่ โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer) ได้ แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวม สัญญาณเตือนของผิวหนัง สามารถบอกได้ว่าคุณอาจจะเป็นมะเร็งผิวหนัง มาให้คุณได้สำรวจตนเองกัน สัญญาณเตือนของผิวหนัง ที่เกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังมีอะไรบ้าง สิ่งสำคัญที่สุดในการสังเกต สัญญาณเตือนของผิวหนัง คือคุณจำเป็นจะต้องทำความรู้จักกับผิวของคุณให้มาก และพยายามสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผิวของคุณ คุณควรสร้างนิสัยในการตรวจสอบผิวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาจุด กระ หรือไฝ ที่อาจจะมีเพิ่มขึ้นมา โดยปกติแล้วมะเร็งผิวหนังนั้นมักไม่ค่อยมีอาการเจ็บแสดงออกมาให้ได้รู้สึก บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเมื่อผิวมีการเปลี่ยนไป มันคือสัญญาณเตือนของผิวหนัง ดังนั้น ลองมาดูกันดีกว่าว่า สัญญาณเตือนของผิวหนัง ที่เกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังนั้นมีอะไรบ้าง สัญญาณเตือนมะเร็งผิวหนัง ชนิดเบซาลเซลล์ (Basal Cell Carcinoma หรือ BCC) มะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (Basal cell Carcinoma หรือ BCC) มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้รับแสงแดดเป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้า ศีรษะ และลำคอ ผิวของบางคนอาจจะดูเหมือนผิวปกติทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่อาจจะเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ จะมีลักษณะที่โดดเด่นกว่า โดยทางสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

การหลั่งอสุจิบ่อยมีผลอย่างไร ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากจริงหรือ

การหลั่งอสุจิบ่อยมีผลอย่างไร มีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง แม้ว่าปัจจุบันนี้มีแนวคิดและข้อสรุปจากงานวิจัยโน้มเอียงไปทางที่ว่า การหลั่งอสุจิบ่อย อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็ตาม แต่ควรศึกษาหาข้อมูลถึงปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ให้แน่ชัดเสียก่อน [embed-health-tool-bmr] การหลั่งอสุจิบ่อย ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้จริงเหรอ ความเห็นจากฝั่งที่สนับสนุน ผู้ชายที่มีการหลั่งอย่างน้อย 21 ครั้งต่อเดือน จะมีโอกาสเสี่ยงน้อยต่อการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในการตรวจร่างกายประจำปี เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ชายที่หลั่ง 4-7 ครั้งต่อเดือน แม้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ทำไมการหลั่งอสุจิบ่อยจึงมีโอกาสช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่ก็มีทฤษฏีว่า อาจเป็นเพราะว่าการหลั่งน้ำอสุจินั้น จะช่วยกำจัดเซลล์ที่ให้เกิดมะเร็ง การติดเชื้อ และสสารที่อาจส่งผลให้เกิดการอักเสบ ที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ในที่สุด ผู้ชายที่ถึงจุดสุดยอด และหลั่งเป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก น้อยกว่าผู้ที่ไม่ค่อยได้หลั่งน้ำอสุจิ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ว่าจะเป็น การช่วยตัวเอง ความถี่ในการหลั่ง และอายุด้วย ความเห็นจากฝั่งที่คัดค้าน แม้จะมีแนวคิดที่ได้รับการยอมรับว่า การหลั่งอสุจิบ่อยมีโอกาสที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่ก็มีข้อโต้แย้งจำนวนไม่น้อยต่อแนวคิดดังกล่าว โดยเหตุผลคือ ผู้ชายที่ทำกิจกรรมทางเพศเป็นประจำ เช่น การมีเซ็กส์ หรือการช่วยตัวเอง ในช่วงอายุ 20-40 ปี อาจมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ยังไม่มีงานวิจัยหรือหลักฐานที่แน่ชัดว่า การช่วยตัวเองนั้นจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ข้อสรุปเกี่ยวกับการหลั่งอสุจิบ่อย แม้ว่าแนวคิดเรื่องการหลั่งอสุจิบ่อยอาจช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากได้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แต่ก็ยังขาดความน่าเชื่อถือ ในเรื่องของหลักฐานในการช่วยสนับสนุนและยืนยันแนวคิดดังกล่าว  ที่สำคัญ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก  เช่น กรรมพันธุ์ การใช้ชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย อายุ […]


มะเร็งศีรษะและคอ

มะเร็งลิ้น (Tongue cancer)

หากคุณลองสังเกตตนเองว่า เริ่มรู้สึกมีอาการเจ็บคอ เจ็บลิ้น พร้อมมีเลือดออกบนลิ้นร่วมที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ โปรดสำรวจอาการตนเองเบื้องต้น และรีบเร่งทำการรักษา หรืออาจเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอโดยด่วน เพราะคุณอาจกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค มะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) ได้ คำจำกัดความมะเร็งลิ้น (Tongue cancer) คืออะไร โรคมะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) สามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า “มะเร็งลิ้นในช่องปาก” ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดจากเซลล์ Squamous Cell Carcinoma (SCC) ที่มักปรากฏอยู่มากบนบริเวณลิ้น ที่สำคัญเซลล์มะเร็งชนิดนี้ยังอาจลุกลาม แพร่กระจายตัวก่อให้เกิดแผล หรือก้อนเนื้อเพิ่มเติมได้ทั่วทั้งศีรษะ ลำคอ ต่อมไทรอยด์ ระบบทางเดินหายใจ ลงไปยังสู่ปอดของคุณได้อีกด้วย ทางการแพทย์ได้ทำการแบ่งประเภทของมะเร็งออกเป็น 3 แบบ เพื่อเป็นการวัดระยะในการประเมินการรักษาได้อย่างสะดวก ดังนี้ ประเภท T เป็นประเภทที่บ่งบอกถึงขนาดของเนื้องอกซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับ ด้วยกัน เช่น T1 คือ เนื้องอกขนาดเล็ก T4 คือ ขนาดของเนื้องอกที่ใหญ่ที่สุด ประเภท N เป็นประเภทที่บ่งบอกถึงการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือที่คอ โดยมีทั้งหมด 3 ระดับ เช่น N0 […]


มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการ สาเหตุ และการรักษา

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการ โดยเบื้องต้น ต่อมน้ำเหลืองในลำคอ รักแร้ หรือขาหนีบมักบวม แต่ไม่รู้สึกเจ็บปวดใด ๆ ทั้งนี้ ต่อมน้ำเหลืองจัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน หากเป็นโรคนี้ ย่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจึงควรเฝ้าระวัง และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่มีจุดกำเนิดที่เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ซึ่งผลิตจากไขกระดูก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์นี้พบได้ในหลายส่วนของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ต่อมไทมัส (ต่อมไร้ท่อ) ไขกระดูก โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจดูคล้ายคลึงกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ความแตกต่างก็คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมีจุดกำเนิดที่เซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ส่วนมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีจุดกำเนิดที่เซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบได้บ่อยแค่ไหน โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จัดเป็นโรคมะเร็งระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่น คนหนุ่มสาว และผู้สูงอายุ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองในลำคอ รักแร้ […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma)

มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma)  เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ยาก จัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งของหลอดเลือด ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน เฮอร์ปีส์ชนิดที่ 8  (Human Herpesvirus 8 หรือ HHV-8) มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ  นอกจากนี้ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าสู่ระยะของโรคเอดส์แล้ว คำจำกัดความมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) คืออะไร มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ยาก จัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งของหลอดเลือด ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน เฮอร์ปีส์ชนิดที่ 8  (Human Herpesvirus 8 หรือ HHV-8) มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ  นอกจากนี้ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าสู่ระยะของโรคเอดส์แล้ว อย่างไรก็ตามหากคุณป่วยเป็น โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา นั้นไม่ได้แสดงว่าคุณเป็นโรคเอดส์ เพราะโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีสุขภาพดีเช่นกัน โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ที่ป่วยเป็น โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา พบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ อาการ อาการ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ผู้ป่วย โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ไม่ได้มีอาการแสดงปรากฏออกมาให้เห็นทุกคน โดยอาการเบื้องต้นส่วนใหญ่ผิวหนังของผู้ป่วยจะมีรอยแดง […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมกับการออกกำลังกาย คุณผู้หญิงทั้งหลายควรเตรียมตัวอย่างไร

การออกกำลังกาย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ สุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่สำหรับคุณผู้หญิงบางคนที่เป็น โรคมะเร็งเต้านม หรือเข้ารับการรักษา และต้องการที่จะกลับมาออกกำลังกาย แต่รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ยาก บางครั้งอาจจะมีความอายเกิดขึ้น ควรจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร ถึงจะดี ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่อง มะเร็งเต้านมกับการออกกำลังกาย สิ่งที่คุณผู้หญิงทั้งหลายควรเตรียมตัว มาฝากกันค่ะ มะเร็งเต้านมกับการออกกำลังกาย สำหรับคุณผู้หญิงที่ผ่านการรักษา โรคมะเร็งเต้านม มา แพทย์มักจะแนะนำให้ออกกำลังกาย ซึ่งวิธีออกกำลังกายก็มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เดิน โยคะ การเต้นรำ หรือไทเก็ก เป็นต้น แต่ก่อนจะเริ่มออกกำลังกาย คุณผู้หญิงควรเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ดังนี้ พยายามคิดว่าออกกำลังกายเพื่ออะไร ก่อนอื่นต้องพยายามคิดก่อนว่า คุณออกกำลังกายไปเพื่ออะไร เพื่อที่จะได้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแต่ละคนมีความต้องการในการออกกำลังกายที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากบางคนอาจจะมีข้อจำกัดด้านเวลา พลังงาน รวมถึงสภาวะร่างกายต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน การทำความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของตัวเองก่อนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยก็ถือเป็นการออกกำลังกาย แม้คุณจะไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่ เหมือนคนที่ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง แต่การยกขาขึ้นลง หรือยกมือขึ้นลงช้า ๆ ก็สามารถทำได้ ทั้งมันยังช่วยเรื่องทางจิตใจของคุณได้อีกด้วย นอกจากนั้นถ้าคุณนอนไม่หลับ การเคลื่อนไหวเบา ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนก็สามารถช่วยคุณได้ แม้บางคนอาจจะมีผลข้างเคียงจากโรค เช่น โรคระบบประสาท ความเจ็บปวด หรืออาการชาต่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน