ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย เป็นอย่างไร

อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย หรือภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้เป็นเวลานานหลายปี ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อรักษาให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายและป้องกันอันจะป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ [embed-health-tool-bmi] อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้ว อาการโรคเบาหวานระยะสุดท้าย มักหมายถึงอาการที่เป็นผลมาจากภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้อย่างเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นเวลานานตั้งแต่ 5 -20 ปีขึ้นไป จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเส้นเลือดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเสียหายหรือเสื่อมสภาพลง ซึ่งกลายเป็นภาวะสุขภาพระยะยาวที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการโรคเบาหวานระยะสุดท้าย หรือภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวานที่อาจพบได้ มีดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular problems) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง มักมีภาวะสุขภาพร่วมอื่น ๆด้วย เช่น ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ซึ่งล้วนส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพ เนื่องจากเกิดการสะสมของไขมันทีผนังหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดหัวใจจึงหนาตัว ส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ นอกจากหลอดเลือดหัวใจเเล้วยังสามารถเกิดความเสื่อมกับหลอดเลือดสมอง เเละ หลอดเลือดส่วนปลายได้เช่นเดียวกัน ปัญหาเกี่ยวกับไต (Kidney problems) หรือโรคไต (Nephropathy) เมื่อไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นระยะเวลานาน ทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเเละความดันโลหิตสูง(ที่มักพบร่วมกัน) จะส่งผลให้หลอดเลือดฝอยในไตเสื่อมสภาพลง หรือที่มักเรียกว่า ภาวะเบาหวานลงไต เมื่อไตจะเสื่อมสภาพ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน เป็นอย่างไร

ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวานที่ควบคุมไม่ดี อาจมีสีขุ่น ไม่ใส รวมถึงมีกลิ่นคล้ายผลไม้หมัก เนื่องจากมีน้ำตาลกลูโคส หรือ มีสารอื่นๆ เจือปนอยู่ ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ไตทำงานได้ไม่ดี หรือ เบาหวานลงไต ทำให้มีโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) รั่วในฉี่ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร เบาหวาน หมายถึง การที่ร่างกายภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างเรื้อรัง หรือสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เมื่อทำการตรวจเลือดเเบบอดอาหาร ทั้งนี้ เบาหวานจัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย รวมทั้งเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่องระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งฮอร์โมนอินูลินนี้ เป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด กล่าวคือ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นในเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย นำน้ำตาลไปเผาเผลาญใช้เป็นเป็นพลังงานในกระบวนการต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน ดังนั้นหากอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเซลล์ไม่สามารถตอบสนองต่ออิซูลินได้ตามปกติ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เเละ นำไปสู่โรคเบาหวานตามมา  ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน โดยทั่วไปเเล้ว ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี จะมีลักษณะสีเหลืองใส เเละมีกลิ่นเหมือนฉี่ตามปกติทั่วไป เเต่หากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Hypoglycemia คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ Hypoglycemia ในผู้ที่เป็นเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจพบได้ผู้เบาหวานที่ฉีดอินซูลินหรือใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) อาการนำ้ตาลต่ำอาจสังเกตได้จาก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อ่อนเพลีย ตัวสั่น เหงื่อออกมาก หิวบ่อย หงุดหงิดง่าย เป็นต้น หากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงจนถึงขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรรับประทานยาตามปริมาณและตามเวลาที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด ดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม และหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของตัวเองอยู่เสมอ [embed-health-tool-due-date] ภาวะ Hypoglycemia คือ อะไร ภาวะ Hypoglycemia ในผู้ที่เป็นเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ที่ใช้ยารักษาเบาหวานหรือฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น รับประทานยา/อาหารไม่ตรงเวลา อดอาหารบางมื้อ ออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติ ทำให้ยาที่ใช้อยู่เดิมออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดมากจนเกินไป ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน แต่มีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคไต โรคตับ เจ็บป่วยไม่สบายรุนแรง ก็สามารถเกิดภาวะ Hypoglycemia ได้เช่นกัน สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

น้ำตาลต่ำ คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

น้ำตาลต่ำ ในผู้ที่เป็นเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเกิดเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาลดระดับน้ำตาลมากเกินไป การออกกำลังกายหักโหมมากกว่าปกติ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือ งดอาหารบางมื้อ ทั้งนี้ เมื่อมีเมื่อมีภาวะน้ำตาลต่ำอาจทำให้เกิดอาการ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ตัวเย็น เหงื่อออกมาก เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการรับประทานของหวานหรือผลไม้ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลให้สูงขึ้นสู่ระดับที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลต่ำ คืออะไร น้ำตาลต่ำหรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Low Blood Sugar หรือ Hypoglycemia) สำหรับในผู้ที่เป็นเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เเต่หากในผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานจะหมายถึง ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ภาวะน้ำตาลต่ำ มีอาการอย่างไร อาการที่เป็นสัญญาณของน้ำตาลต่ำ ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หมดแรง อ่อนเพลีย ง่วงซึม ตาพร่ามัว ตัวสั่น มือสั่น ผิวซีด ตัวเย็น หัวใจเต้นเร็ว/เต้นผิดจังหวะ เหงื่อออกมาก ตื่นตระหนก วิตกกังวล ตกใจง่าย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน มีสาเหตุมาจากอะไร

ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน เป็นอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานบางราย เกิดจากความอ่อนล้าของร่างกายที่อาจมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด การติดเชื้อแทรกซ้อน รวมไปถึงความเครียด โรคนอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้า ที่อาจพบร่วมด้วยได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ภาวะสุขภาพเหล่านี้สามารถส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกอ่อนเพลีย และง่วงนอนผิดปกติได้  [embed-health-tool-heart-rate] ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน เกิดจากอะไร ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจมีอาการเซื่องซึม เหนื่อยล้า รู้สึกอ่อนล้า และอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ รวมไปถึงอาจรู้สึกง่วงนอน ไม่สดชื่น เกือบตลอดทั้งวัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานหนัก ทั้งยังอาจเกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งอาจมาจากระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุลกับการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ดังนั้น หากสังเกตว่าตนเองเหนื่อยล้าระหว่างวันหรือง่วงนอนตลอดเวลา แม้ว่าจะนอนหลับอย่างเพียงพอตลอด สิ่งนี้อาจเป็นอาการของระดับน้ำตาลที่สูงหรือต่ำไปเกินไปได้  นอกจากนี้ อาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น หรือง่วงนอน ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและต่ำ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อ ปัญหาสภาพจิตใจและอารมณ์ เช่น โรคเครียด ภาวะซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ ที่อาจพบร่วมด้วยได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรืออาจเกิดจากผู้ป่วยมีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติไป ทำให้หลับไม่สนิท จนรู้สึกอ่อนล้า  ปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วน อาจทำให้เกิดโรคนอนกรนและเกิดปัญหาการนอนหลับตามมา รวมทั้งผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนยังอาจรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียได้ง่ายในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

รักษา แผล เบาหวาน ทำได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดแผล

หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควบคุมให้ดี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ระบบประสาทผิดปกติ และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้บาดแผลหายช้าลงและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การ รักษา แผล เบาหวาน อย่างถูกวิธีจึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการป้องกันไม่ให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานลุกลาม [embed-health-tool-heart-rate] โรคเบาหวานส่งผลต่อแผลอย่างไร หากควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้แผลหายช้าลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อแผลได้ง่ายขึ้น เช่น แผลเรื้อรังที่เท้า การถูกตัดเท้าและขา โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ดังนี้ การไหลเวียนเลือดไม่ดี เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไหลเวียนตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายเสื่อมลง เสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดีตามไปด้วย เมื่อเกิดบาดแผล เลือดจะไม่สามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณแผลได้อย่างเพียงพอ จึงส่งผลให้แผลหายช้าลง และหากหลอดเลือดส่วนนั้น ๆ อุดตัน ก็ยังเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเนื้อตายที่อาจรุนแรงจนถึงขึ้นต้องตัดเนื้อเยื่อหรืออวัยวะส่วนดังกล่าวทิ้งอีกด้วย  โรคระบบประสาทจากเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมได้ไม่ดี อาจมีภาวะแทรกซ้อนของเส้นประสาทได้ โดยมักทำให้เกิดอาการชา สูญเสียการรับความรู้สึก และมักเกิดกับอวัยวะส่วนปลายก่อน เช่น ชาปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดบาดแผลได้ง่ายโดยไม่ทันรู้ตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้แผลติดเชื้อและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อติดเชื้อแล้วยังทำให้อาการรุนแรงได้มากกว่าผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีหรือไม่เป็นโรคเบาหวานด้วย รักษา แผล เบาหวาน หากสังเกตพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีแผลรุนแรงขึ้น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน เกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน อาจแบ่งออกเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำมากจนเกินไป เป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างเร่งด่วน และภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นจากอวัยวะและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไป เนื่องจากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะเท้าเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานรวมทั้งคนในครอบครัว ควรช่วยกันดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นเบาหวานให้ดี ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หลัก ๆ อาจแบ่งออกเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานชนิดเฉียบพลัน เป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้แม้จะเพิ่งเป็นเบาหวานมาไม่นาน หรือบางครั้งก็เป็นอาการแรกที่ทำให้ผู้ป่วยตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวาน  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเกิดจากการรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินที่ไม่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากจนเกินไป จนเกิดอาการสับสน มึนงง รู้สึกเพลีย ไม่มีแรง เหงื่อออกมากผิดปกติ ตัวเย็น บางครั้งอาจทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด วิตกกังวล ใจสั่น หน้าซีด หัวใจเต้นเร็ว มองเห็นภาพซ้อน รู้สึกหิวมาก ปวดหัว หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้ซึม หมดสติ ชัก และหัวใจหยุดเต้นได้  ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมล่าร์ (Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS) เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก (สูงตั้งแต่ 600 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

หน่วยไตของผู้ที่มีโรคเบาหวาน มีความผิดปกติอย่างไร

หน่วยไต คือ ส่วนประกอบย่อยของไตที่ทำหน้าที่สำคัญในการกรองและขจัดของเสียรวมถึงของเหลวส่วนเกินในกระแสเลือดออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ การได้ทราบข้อมูลว่า หน่วยไตของผู้ที่มีโรคเบาหวาน มีความผิดปกติอย่างไร อาจช่วยให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของโรคเบาหวาน สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดี และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคไต โดยทั่วไปแล้ว หน่วยไตของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้จะสามารถทำงานได้อย่างปกติดังเช่นในคนทั่วไป แต่หากควรคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยเฉพาะหากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร นาน 10-15 ปีขึ้นไป จะส่งผลให้ไตและหน่วยไตเสื่อมสภาพ เป็นที่มาของ ภาวะเบาหวานลงไต ภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เช่น ปรับอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ เลิกสูบบุหรี่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตจากการเป็นโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] หน่วยไต คืออะไร ไตเป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่ว มี 2 ข้าง อยู่ภายในช่องท้องด้านหลังระดับบั้นเอว แบ่งได้เป็นเนื้อเยื่อไตชั้นนอก (Cortex) และเนื้อเยื่อไตชั้นใน (Kidney Medulla) ภายในประกอบด้วย หน่วยไต หรือเนฟรอน (Nephron) ประมาณ 1 ล้านหน่วย ที่คอยทำหน้าที่กรองของเสียภายในร่างกายจากกระแสเลือด และขับออกทางปัสสาวะ ทั้งยังมีระบบสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นบางส่วนกลับคืนสู่กระแสเลือด ไม่ว่าจะเป็นโซเดียม แคลเซียม […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีลดน้ำตาลในคนท้อง เพื่อลดความเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อสมดุลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกาย กล่าวคือ ร่างกายมีฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านกับอินซูลินมากขึ้น จึงทำให้คุณแม่บางรายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และนำไปสู่ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ วิธีการดูแลตัวเอง และ วิธีลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง อาจทำได้หลายวิธี เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายเบา ๆ ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ [embed-health-tool-due-date] ค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร ไม่ควรเกิน 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร วิธีลดน้ำตาลในคนท้อง ทำได้อย่างไรบ้าง การดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนท้อง อาจทำได้ดังนี้ รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม คุณแม่ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตขัดสีแต่น้อย เลี่ยงอาหารจำพวกข้าวขาว ขนมปังขาว ขนมหวาน น้ำหวานและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และอาหารแปรรูป เลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน และควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักและผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวกล้อง พืชตระกูลถั่ว เพราะสามารถช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ยารักษา ปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน มีอะไรบ้าง

ปลายประสาทอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจทำให้มีอาการอ่อนแรง และการรับความรู้สึกผิดเพี้ยน โดยทั่วไป คุณหมออาจใช้ ยารักษาปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน ได้แก่ ยากันชักบางชนิดและยาต้านเศร้าบางกลุ่มให้เพื่อบรรเทาอาเจ็บปวดจากเส้นประสาท ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาล เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายประสาทอักเสบมากกว่าเดิม [embed-health-tool-bmi] ปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) หรือบางครั้งเรียกว่าปลายประสาทเสื่อม เกิดจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ส่งข้อมูลระหว่างสมองและส่วนนั้น ๆ เกิดความเสียหาย โดยทั่วไป เมื่อเป็นปลายประสาทอักเสบ มักมีอาการดังนี้ รู้สึกชาตามมือหรือเท้า หรือไม่รับรู้ถึงอุณหภูมิร้อนหรือเย็น รู้สึกเจ็บ เสียว หรือแสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น รู้สึกเจ็บปวดเมื่อร่างกายสัมผัสผ้าปูที่นอนเบา ๆ มีแผลติดเชื้อที่เท้า เนื่องจากไม่รู้สึกเจ็บเวลาเริ่มเป็นแผลจึงไม่ทันได้สังเกต จึงปล่อยไว้ไม่ได้รักษาให้ดี ทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นหนองได้ในที่สุด ปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลตนเองให้ดีตามคำแนะนำของคุณหมอ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเรื้อรัง จนส่งผลให้หลอดเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทของอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่อาการปลายประสาทอักเสบได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานในการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ป่วย ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดของโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน