backup og meta

คอดำ เบาหวาน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

คอดำ เบาหวาน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

อาการคอดำ สามารถมีสาเหตุได้หลากหลาย แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะมีลักษณะเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งมีลักษณะผิวคล้ำ หนา นูน หยาบกร้าน หรือบางคนอาจมีติ่งเนื้อยื่นออกมา เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นและกระตุ้นการเจริญเติบโตของผิวหนังมากขึ้น มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีรูปร่างอ้วน ดังนั้น หากมีอาการคอดำเกิดขึ้นอย่างกะทันหันควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน

อาการคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน

อาการคอดำ เป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ได้แก่ ผิวคล้ำขึ้น ผิวหนา หยาบกร้าน บางคนอาจมีติ่งเนื้อยื่นออกมา และอาจมีอาการคันหรือมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาจพบตามบริเวณรอยพับของผิวหนัง เช่น รักแร้ ขาหนีบ คอ ทั้งนี้ควรเข้าพบคุณหมอหากมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน หรือมีอาการคัน เจ็บปวด มีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ

สาเหตุของคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน

คอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน มีสาเหตุจากระดับอินซูลินที่สูงขึ้นไปกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเจริญเติบโตมากกว่าปกติ ภาวะนี้ทางการแพทย์ เรียกว่า โรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) ส่วนใหญ่พบมากผู้ที่มีน้ำหนักเกินและมีรูปร่างอ้วน หรือในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีรูปร่างอ้วน

การรักษาคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอาการคอดำ อาจเป็นเพียงการรักษาในกรณีของผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนให้ลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ซึ่งอาจช่วยให้อาการคอดำจางลงได้ นอกจากนี้ อาจมีคำแนะนำอื่น ๆ ที่ช่วยรักษาอาการคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวานให้จางลงได้ ดังนี้

  • ใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียสูตรอ่อนโยน เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก หลีกเลี่ยงการขัดผิวรุนแรง เพราะอาจทำให้ผิวมีรอยแผลหรืออักเสบได้
  • ใช้โลชั่นหรือครีมตามใบสั่งคุณหมอ เช่น ครีมที่มีส่วนประกอบของเตรติโนอิน (Tretinoin) ที่ออกฤทธิ์ต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง ช่วยเร่งผลัดเซลล์ผิวที่คล้ำเสีย คือ กรดอนุพันธ์วิตามินเอ ยูเรีย (Urea) วิตามินดี กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) อาจช่วยให้อาการคอดำจางลงและช่วยให้ผิวนุ่มขึ้น
  • การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peels) เช่น การใช้กรดไตรคลอโรอะซิติก (Trichloroacetic Acid) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว ทำให้เกิดการทำลายของผิวหนังชั้นนอก และกระตุ้นการซ่อมแซมบาดแผล ทำให้เกิดการสร้างเยื่อบุผิวใหม่อีกครั้งพร้อมกับผิวที่เรียบเนียนขึ้น
  • ยาเรตินอยด์ชนิดรับประทาน (Retinoids) เช่น ไอโซเตรติโนอิน (Isotretinoin) อะซิเตรติน (Acitretin) มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของผิวและอาจช่วยให้อาการคอดำจางลง
  • อเล็กซานไดร์ท เลเซอร์ (Alexandrite Laser) เป็นเลเซอร์ที่มีจุดช่วงคลื่น 755 และ 810 นาโนเมตร อาจช่วยสลายเม็ดสีเมลานินที่ก่อตัวบนผิวหนังและลดความหมองคล้ำของผิวได้

การป้องกันคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน

การป้องกันอาการคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน อาจต้องจัดการกับโรคเบาหวานซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการ ดังนี้

  • การควบคุมน้ำหนัก ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและควบคุมอาหาร  โดยการรับประทานอาหารที่หลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและเกลือแร่ เช่น ข้าวกล้อง เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน พืชตระกูลถั่ว  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เช่น เค้ก คุกกี้ น้ำอัดลม น้ำผลไม้เติมน้ำตาล
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี นมไขมันต่ำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น อาหารแปรรูป ลูกอม ไส้กรอก น้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

รอยปื้นดำบริเวณคอ. https://www.si.mahidol.ac.th/sdc/webboard/ct_wbdetail.asp?wq_id=75. Accessed December 16, 2021

DIABETES: 12 WARNING SIGNS THAT APPEAR ON YOUR SKIN . https://www.aad.org/public/diseases/a-z/diabetes-warning-signs#:~:text=A%20dark%20patch%20(or%20band,skin%20condition%20is%20acanthosis%20nigricans. Accessed December 16, 2021

Acanthosis Nigricans. https://kidshealth.org/en/teens/acanthosis.html. Accessed December 16, 2021

Acanthosis nigricans. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acanthosis-nigricans/symptoms-causes/syc-20368983#:~:text=Most%20often%2C%20acanthosis%20nigricans%20affects,of%20developing%20type%202%20diabetes. Accessed December 16, 2021

Acanthosis nigricans-Diagnosis-treatment. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acanthosis-nigricans/diagnosis-treatment/drc-20368987. Accessed December 16, 2021

Skin and Acanthosis Nigricans. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acanthosis-nigricans-overview. Accessed December 16, 2021

Current treatment options for acanthosis nigricans. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6086114/. Accessed December 16, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/03/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

แผลเบาหวาน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

เบาหวานขึ้นตา อาการที่ควรสังเกต


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 22/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา