ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

คอแห้งตลอดเวลา เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

อาการ คอแห้งตลอดเวลา เป็นอาการหนึ่งที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำให้ไตขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย จนอาจเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ ทำให้รู้สึกคอแห้งตลอดเวลา หรือกระหายน้ำอยู่เสมอ ดังนั้นหากผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ การประบพฤติกรรมสุขภาพ การฉีดอินซูลิน การรับประทานยาลดระดับน้ำตาล อาการคอแห้งตลอดเวลาก็จะบรรเทาลงและหายไปในที่สุด [embed-health-tool-bmi] ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึง คอแห้งตลอดเวลา ในสภาวะปกติ ไตจะกรองและดูดกลับน้ำตาลเก็บเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อเก็บไว้ใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้ไม่มีน้ำตาลหลุดหรือรั่วออกมาในปัสสาวะ  หากเป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เป็นการเสียน้ำออกจากร่างกายมากกว่าปกติ ร่างกายจึงกระตุ้นให้รู้สึกคอแห้ง กระหายน้ำ เพื่อให้ดื่มน้ำทดแทนให้เพียงพอกับที่เสียไป แต่หากดื่มน้ำทดแทนได้ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคอแห้งหรือปากแห้งตลอดเวลา อาการอื่น ๆ ของโรคเบาหวาน ที่อาจเกิดขึ้นได้พร้อมกับอาการคอแห้งตลอดเวลา ประกอบด้วย รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง ตา ปาก และผิวแห้ง ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน ปัสสาวะบ่อย ตอนกลางคืนต้องตื่นมาปัสสาวะหลังจากนอนหลับไปแล้ว รู้สึกชาที่มือหรือเท้า รู้สึกหิวบ่อย น้ำหนักลดลงแบบไม่ทราบสาเหตุ แผลหายช้า คอแห้งตลอดเวลา มีข้อเสียอย่างไรบ้าง เมื่อผู้ป่วยเบาหวานคอแห้งตลอดเวลา อาจบ่งบอกถึงร่างกายกำลังมีภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจทำให้ มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน ปวดหัว อ่อนเพลีย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ทำไม มือ บวม เมื่อเป็นเบาหวาน

เบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยอาจมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน ที่ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาใช้เป็นพลังงานได้เต็มที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมือและเท้าบวม และส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการรักษาและการป้องกันอาการมือบวมเนื่องจากโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] ทำไมมือ บวม เมื่อเป็นเบาหวาน สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการมือบวม เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ซึ่งอาจมาจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ใช้ยารักษาเบาหวานไม่ถูกต้อง ไม่ควบคุมอาหาร ไม่เข้ารับการรักษาเบาหวาน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป จนทำลายเส้นประสาทในบริเวณมือและแขน โดยอาจสังเกตได้จากอาการเหน็บชา มือบวม และปวดบริเวณมือและแขน นอกจากนี้ อาการมือบวมในผู้ป่วยเบาหวานอาจเกิดจากการที่เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงที่บริเวณมือไม่เพียงพอ จนส่งผลให้หลอดเลือดเสียหาย และมีอาการมือบวม มือชา หากมีแผลบริเวณแขนหรือมือ ก็อาจส่งผลให้แผลหายช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่อาจทำให้แผลเน่าและเนื้อเยื่อตายได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เท้าบวม การมองเห็นเปลี่ยนแปลง อัมพาตครึ่งซีก ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน จึงควรดูแลสุขภาพตนเองให้ดี เข้ารับการตรวจสุขภาพ ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ การรักษาอาการมือบวมจากเบาหวาน การรักษาอาการมือบวมจากเบาหวาน อาจทำได้ดังนี้ ยาแก้ปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือ พาราเซตามอล ที่รู้จักกันดี เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดจากมือบวม […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

GDM คือ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สาเหตุและแนวทางการรักษา

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือ GDM คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะหายหลังจากคลอดบุตร โดยเกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ การมีน้ำหนักเยอะหรือเป็นโรคอ้วน การมีญาติใกล้ชิดเป็นเบาหวาน อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นรักษาได้และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-due-date] GDM คือ อะไร Gestational diabetes หรือ GDM คือ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคที่พบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว แต่เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยลง จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดและใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่ออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้มีน้ำตาลปริมาณมากตกค้างและสะสมอยู่ในกระแสเลือด จนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และนำไปสู่โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ GDM มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ได้ 24-28 สัปดาห์ คุณแม่จึงต้องเข้ารับการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล หากพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และอาจต้องทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลแบบแบบ 3 ชั่วโมง (Oral glucose tolerance test หรือ OGTT) เพื่อยืนยันผลว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการน็อคเบาหวาน คืออะไร อันตรายหรือไม่

อาการน็อคเบาหวาน หรือ น้ำตาลต่ำ หมายถึง ภาะวะที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเกิดจากจากการใช้ยาฉีดอินซูลินเกินขนาด การรับประทานยาลดระดับน้ำตาลมากเกินไป การออกกำลังกายหักโหมมากกว่าปกติ หรือการรับประทานอาหารผิดเวลา หรือ งดอาหารบางมื้อ ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง เซลล์ต่างๆในร่างกายขาดน้ำตาล จึงอาจทำให้เกิดอาการ มือสั่น/ตัวสั่น ใจสั่น อ่อนเพลียไม่มีเเรง ปวดศีรษะ/เวียนศีรษะ ตัวเย็น เหงื่อเเตก บางครั้งอาจมีอาการรุนเเรงจนทำให้ ชัก หมดสติ เเละอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นเเละเสียชีวิตได้  ทั้งนี้ เมื่อเกิดอาการน้ำตาลต่ำ ควรรีบรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ลูกอม น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและหากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการซ้ำ ๆ ควรรีบไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] อาการน็อคเบาหวาน คืออะไร อาการน็อคเบาหวานเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของอาการช็อคน้ำตาล (Insulin Shock) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งมักเกิดจากการได้รับยาฉีดอินซูลินหรือยาลดระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป หรือเกิดจากการรับประทานอาหารผิดเวลา/งดอาหารบางมื้อ จึงทำให้ร่างกายขาดน้ำตาล ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ น๊อคเบาหวาน จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายดังนั้นจึงเฝ้าระวังเเละป้องกันมิให้เกิดอาการดังกล่าว เเละ หากมีอาการควรแจ้งคุณหมอให้ทราบ เพื่อให้คำเเนะนำรวมถึงปรับการรักษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาการน็อคเบาหวาน เป็นอย่างไร ผู้ที่มีอาการน๊อคเบาหวานหรือน้ำตาลต่ำ จะมีภาวะที่ร่างกายขาดน้ำตาล […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวาน ขึ้นตา อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวานหากระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง เบาหวาน ขึ้นตา อาการ ที่พบได้ประกอบด้วย ดวงตาพร่ามัว เห็นจุดดำ มองเห็นตอนกลางคืนไม่ชัด หรือหากปล่อยให้เบาหวานขึ้นตาไปนาน ๆ โดยไม่เข้ารับการรักษาอาจถึงขั้นตาบอดได้ โรคเบาหวานและอาการเบาหวานขึ้นตา เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป มักเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้การจัดการกับน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่อง จนน้ำตาลค้างอยู่ในกระแสเลือดและระดับน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น ในทางการแพทย์ ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน วิธีรักษาและดูแลดูตัวเองเบื้องต้นนั้น คุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อย่างอาการเบาหวานขึ้นตา เบาหวาน ขึ้นตา เกิดจากอะไร ผู้ป่วยเบาหวาน หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานาน หรือระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะ ๆ บ่อยครั้งจะทำให้หลอดเลือดของจอตาถูกทำลายและส่งผลเสียหายต่อดวงตาจนมองเห็นไม่ชัดเจน โดยภาวะนี้เรียกว่าเบาหวานขึ้นตา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ดังต่อไปนี้ เบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรก (Nonproliferative Diabetic Retinopathy หรือ NPDR) ในระยะนี้ ผนังหลอดเลือดของจอตามักอ่อนแอและเสียหาย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้หลอดเลือดรั่วหรืออุดตันได้ เมื่องเลือดรั่วเข้าสู่ดวงตา สามารถทำให้จุดภาพชัด (Macular) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดวงตา […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Hyperglycemia หรือน้ำตาลในเลือดสูง อาการและการรักษา

Hyperglycemia หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยมีการสะสมของน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาทิ การบาดเจ็บของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะ โรคเส้นเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคไต และเบาหวานขึ้นตา เบาหวานขึ้นตา ทั้งนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง รักษาได้ด้วยการฉีดอินซูลิน รับประทานยาปฏิชีวนะ ควบคู่กับการดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ ให้พลังงานสูง และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ Hyperglycemia คืออะไร Hyperglycemia หมายถึง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวาน เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด ได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ผู้ที่มีสุขภาพปกติ จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวาน จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาการ อาการของHyperglycemia หากผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้มีอาการผิดปกติต่าง ๆ อันประกอบด้วย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก อ่อนเพลีย ปากแห้ง ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

DKA (ภาวะเลือดเป็นกรด) อาการ ความเสี่ยง การรักษา

DKA (Diabetic Ketoacidosis) หรือ ภาวะเลือดเป็นกรด เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวาน เกิดขึ้นจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ อาจเกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ทำให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดมากเกินไปเป็นเวลานาน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันเวลาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  ทั้งนี้ DKA มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าชนิดที่ 2 และสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพและรักษาระดับน้ำตาลในเลือด [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ DKA คืออะไร DKA คือ ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากร่างกายผู้ป่วยผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ โดยอินซูลินมีหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ร่างกาย เมื่ออินซูลินผลิตได้น้อย พลังงานจากน้ำตาลที่ได้จึงลดลงตามไปด้วย ร่างกายผู้ป่วยจะสร้างพลังงานทดแทนด้วยการย่อยสลายไขมัน ซึ่งทำให้เกิดสารที่เรียกว่า คีโตน (Ketone) ในเลือด หากมีคีโตนสะสมอยู่ในเลือดมากจะส่งผลให้เลือดเป็นกรด อาการ อาการของ DKA หากผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะ DKA มักแสดงอาการภายใน 24 ชั่วโมง ดังนี้ ปวดศีรษะ กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย หายใจติดขัด ลมหายใจเปรี้ยว ผิวแห้ง ปากแห้ง ระดับคีโตนในเลือดสูง ภาวะแทรกซ้อนของ DKA ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาภาวะ DKA ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Hypoglycemia คืออะไร อาการและความเสี่ยง

Hypoglycemia คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน มีสาเหตุจากการรักษาด้วยยาชนิดรับประทานหรือยาฉีดเบาหวาน อาการของ Hypoglycemia ที่อาจพบได้คือ ใจเต้นเร็ว เวียนหัว ตาพร่ามัว หิวบ่อย และในกรณีของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา อาจชัก หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ Hypoglycemia คืออะไร Hypoglycemia หมายถึง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการฉีดอินซูลิน ทั้งนี้ อาจเกิดกับผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน แต่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคไต ผู้ป่วยน้ำตาลในเลือดต่ำ จะมีระดับน้ำตาลที่ 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือต่ำกว่า โดยอ้างอิงจาก แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 ส่วนในคนปกติ เมื่อตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว 8 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจหมายความว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือกำลังเป็นโรคเบาหวานอยู่ อาการ อาการของ Hypoglycemia ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักมีอาการดังต่อไปนี้ ตัวสั่น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

หนังหุ้มปลายอักเสบจากเบาหวาน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

หนังหุ้มปลายอักเสบ (Balanitis) เกิดจากการติดเชื้อหรือการอักเสบบริเวณส่วนปลายของอวัยวะเพศชาย ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่เคยขลิบอวัยวะเพศ หรือมีสุขอนามัยที่ไม่ดี จนเกิดการหมักหมมของเชื้อโรคจนอักเสบ นอกจากนี้ เบาหวาน ก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของภาวะหนังหุ้มปลายอักเสบได้เช่นกัน ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรระมัดระวังและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเพื่อป้องกันเสี่ยงการเกิดหนังหุ้มปลายอักเสบ [embed-health-tool-bmr] หนังหุ้มปลายอักเสบในผู้ป่วยเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลที่แฝงอยู่ในปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้นด้วย เมื่อปัสสาวะที่เต็มไปด้วยน้ำตาลไหลผ่านไปยังอวัยวะเพศและใต้หุ้มหนังปลายอวัยวะเพศ ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ที่ส่งผลให้หนังหุ้มปลายอักเสบ และอาจทำให้เนื้อบริเวณหนังหุ้มปลายเน่าตาย  นอกจากนี้ เบาหวานยังอาจส่งผลให้ระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การทำงานผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เข้าไปต่อสู้กับเชื้อโรค การไหลเวียนของเลือดบกพร่อง จนนำไปสู่การสะสมของแบคทีเรียในปัสสาวะ ทำให้อาจมีหนองปนในปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ และอาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด หากปล่อยไว้นาน หรือมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี อาจทำให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ยากขึ้น ประเภทของหนังหุ้มปลายอักเสบ หนังหุ้มปลายอักเสบอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ เซอร์ซิเนส บาลานิติส (Circinate Balanitis) อาจเกิดขึ้นกับผู้ชายที่เป็นโรคข้ออักเสบรีแอคทีฟ (Reactive Arthritis) ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ ส่งผลให้หัวองคชาตเกิดแผล อักเสบ บวม และมีรอยแดง ซูโดแอปพิเลียลิโอเมทัส เคราโทติก (Pseudoepitheliomatous Keratotic) และเมเคทรัส บาลานิติส ( Micaceous Balanitis) อาจทำให้บริเวณหัวองคชาตเกิดหูดที่เป็นสะเก็ด ภาวะหนังหุ้มปลายอักเสบประเภทนี้พบได้ยาก มักส่งผลกระทบต่อผู้ชายที่มีอายุ 60 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

มือชา จากโรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน

มือชา เป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากโรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง จนส่งผลให้เส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทเสียหาย เส้นประสาทจึงไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 โดยทั่วไปอาจส่งผลต่อเส้นประสาทที่มือและเท้า ทำให้มือชา เท้าชา ปวดมือ ปวดเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการเบื้องต้น แต่หากเป็นโรคเส้นประสาทจากเบาหวานเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด และไม่รู้ตัวหากเป็นแผล จึงอาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลเรื้อรัง และติดเชื้อได้ง่าย แม้โรคเส้นประสาทจะเป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษา แต่หากผู้ป่วยเบาหวานตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็อาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ กลุ่มอาการของโรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน มักไม่ทราบว่าเส้นประสาทเสียหายจนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ทั้งยังขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ โดยอาการและประเภทของโรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน อาจแบ่งได้ดังนี้ โรคเส้นประสาทจากเบาหวานเฉพาะที่เสียหาย (Diabetic Mononeuropathy) โรคเส้นประสาทชนิดนี้อาจมีผลต่อเส้นประสาทเส้นเดียว หรือหลายเส้นพร้อม ๆ กันก็ได้ โดยจะเกิดอาการในส่วนที่ได้รับผลกระทบ เช่น อาจส่งผลต่อเส้นประสาทบริเวณหน้าอก ทำให้เกิดอาการชาและเจ็บที่ผนังหน้าอก อาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ เจ็บหน้าอก ท้อง หรือสีข้าง ปวดที่ต้นขา ปวดหลังส่วนล่างหรือกระดูกเชิงกรานอย่างรุนแรง มีปัญหาการได้ยิน อัมพาตที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า ดวงตาโฟกัสภาพให้ชัดเจนไม่ได้ ปวดกระบอกตา มองเห็นภาพซ้อน โรคเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม