ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

diabetic ketoacidosis คือ ภาวะคีโตอะซิโดซิส อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

diabetic ketoacidosis คือ ภาวะคีโตอะซิโดซิส เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตกรดในเลือดที่เรียกว่าคีโตนในปริมาณที่สูงเกินไป ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ส่งผลค่อนข้างร้ายแรง เกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2 เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ยากแต่ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงเกิดได้ จึงจำเป็นต้องสังเกตตนเองสม่ำเสมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันอันตรายร้ายแรงที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะคีโตอะซิโดซิส คืออะไร ภาวะคีโตอะซิโดซิส (Diabetic ketoacidosis : DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ไม่สามารถลำเลียงน้ำตาลไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ร่างกายจึงเริ่มเปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน กระบวนดังกล่าวทำให้เกิดกรดสะสมในเลือดเรียกว่า คีโตน เรียกว่าภาวะคีโตอะซิโดซิส หรือเลือดเป็นกรด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สุดท้ายอาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายผู้ป่วยเบาหวานถึงขั้นเสียชีวิตได้ สัญญาณเตือนของภาวะคีโตอะซิโดซิส อาการของภาวะคีโตอะซิโดซิส สามารถสังเกตได้ เพราะร่างกายจะมีความผิดปกติ ในขณะเดียวกันมักเป็นสัญญาณเตือนแรกเริ่มที่บ่งบอกถึงอาการของ โรคเบาหวานได้ด้วย รู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมาก ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนัง และริมฝีปากแห้ง รู้สึกร่างกายอ่อนแรง เหนื่อยล้าง่าย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจถี่ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง นอกจากอาการข้างต้นแล้ว ยังอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงบางอย่างเกิดขึ้นด้วย ซึ่งแตกต่างจากอาการเบาหวานทั่วไป เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

หากสังเกตตนเองแล้วพบว่าอวัยวะบางส่วน เช่น เท้า มือ มีอาการบวมขึ้น พร้อมทั้งมีความดันโลหิตสูงมากขึ้นกว่าปกติ เเนะนำให้รีบไปพบคุณหมอ เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัยเพิ่มเติมโดยเร็ว เพราะอาการดังกล่าวนี้ เป็นสัญญาณของ ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) ได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ เบาหวานลงไต คืออะไร โรคเบาหวานลงไต หรือ ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ทั้งในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 (Type 1 diabetes) และ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยไตจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลงเรื่อย โดยที่ไตเป็นอวัยวะหลักที่ทำหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้น เมื่อไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ของเสียในร่างกายคั่งเเละเกิดอาการ รวมถึงควาผิดปกติของระบบอื่น ๆ ตามมา หรืออาจกล่าวง่ายๆ ว่าอาการนี้ก็คือ โรคไตจากเบาหวาน นั่นเอง เบาหวานลงไต พบบ่อยเพียงใด ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Kidney Disease) พบได้ประมาณมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน สาเหตุ วิธีป้องกัน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อกลไกการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาหรือควบคุมอาการให้ดี หรือหากมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ก็จะยิ่งทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดมีปัญหา จนนำไปสู่ ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ยิ่งเป็นเบาหวานเป็นเวลานาน ความสามารถในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของร่างกายก็จะยิ่งลดลง และความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น และหากปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานก็จะรุนแรงขึ้น จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ภาวะคีโตซิส ภาวะคีโตซิส (Diabetic Ketoacidosis : DKA) คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งบางครั้งแค่การกินยาหรือฉีดยาอินซูลิน (Insulin) ก็ไม่สามารถช่วยให้หายเป็นปกติได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และหากเป็นภาวะฉุกเฉิน อาจต้องเข้ารักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก หรือไอซียู เพื่อให้น้ำเกลือและอินซูลินอย่างระมัดระวัง อย่างน้อย 12-24 ชั่วโมง  และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งจะซ้ำเติมให้อาการแย่ลงได้ ภาวะเลือดมีความเข้มข้นสูงจากภาวะน้ำตาลในเลือดเกิน ภาวะเลือดมีความเข้มข้นสูงจากภาวะน้ำตาลในเลือดเกิน (Hyperosmolar Hyperglycaemic State : HHS) พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ ภาวะขาดน้ำ หรือหากหยุดยาเบาหวานก็สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนนี้จะมีอาการปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ ผิวแห้ง สับสนงุนงง เป็นต้น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองอย่างไร

โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์แทบทุกคน และอาจเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ แต่โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคเบาหวาน สามารถรักษาตามคำแนะนำและวิธีการของคุณหมอเพื่อให้ตนเองและลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพดีได้ [embed-health-tool-due-date] โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร โดยทั่วไปคุณแม่ตั้งครรภ์ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มากกว่าผู้หญิงปกติที่ไม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อเริ่มมีการตั้งครรภ์ ร่างกายของเพศหญิงจะมีความสามารถในการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง เพื่อให้ร่างกายมีน้ำตาลเพียงพอที่จะให้พลังงานในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษากับคุณหมอที่รับฝากครรภ์ หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพตามใบนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังและคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อายุ หากมีอายุ 35 ปีขึ้นไป อาจจะมีความเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ น้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกิน หรือมีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) มากกว่า 35 ขึ้นไป ก่อนตั้งครรภ์ ชาติพันธุ์ หากมีเชื้อสายแอฟริกา เชื้อสายเอเชีย เชื้อสายสเปน หรือเชื้อสายชนพื้นเมืองอเมริกัน กรรมพันธุ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีกรรมพันธ์ุ ประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน ย่อมมีความเสี่ยงโรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ มีภาวะก่อนเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงก่อนตั้งครรภ์ เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยผ่านการเป็นเบาหวานมาก่อนในการตั้งครรภ์ครั้งแรก ย่อมมีความเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการคันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน กับวิธีดูแลผิวให้ชุ่มชื้นและปลอดภัย

อาการคันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นอาการที่ยากจะหลีกเลี่ยง เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มักจะมีสภาพผิวหนังที่ค่อนข้างแห้ง เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำให้การหมุนเวียนของเลือดทำงานได้ไม่ดีนัก ส่งผลต่อสภาพผิวหนัง รวมทั้งอาจทำให้ติดเชื้อง่าย และหายจากแผลยาก ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจหาวิธีบรรเทาอาการในเบื้องต้นรวมทั้งเคล็ดลับดูแลผิวให้ชุ่มชื้นขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงอาการแทรกซ้อนจากโรคผิวหนัง [embed-health-tool-bmi] อาการคันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น กระจกตา ไต  ปลายประสาท ผิวหนัง 1 ใน 3 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักมีอาการทางผิวหนัง เช่น คัน แห้ง แต่อาการที่ร้ายแรงที่สุด ได้แก่ แผลเรื้อรังที่หายยาก เนื่องจากเป็นผลมาจากกระบวนการสมานแผลของร่างกายที่ไม่มีประสิทธิภาพ แผลเหล่านี้มักทำให้เกิดการติดเชื้อและอาจถึงขั้นต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งเพื่อไม่ให้อาการติดเชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย วิธีป้องกันอาการคัน วิธีป้องกันอาการคัน และรักษาความชุ่มชื้น ไม่ให้ผิวแห้งกร้านมากนัก อาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ 1. ควบคุมภาวะโรคเบาหวาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย  และการใช้ยา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม เพราะหากระดับน้ำตาลอยู่ในภาวะปกติ อาการคันหรือปัญหาผิวหนังอาจลดลงหรืออย่างน้อยไม่รุนแรงมากขึ้น 2. ทำความสะอาดผิวอย่างระมัดระวัง เริ่มต้นจากการอาบน้ำอุ่นและใช้สบู่ รวมทั้งยาสระผมซึ่งมีส่วนผสมของสารให้ความชุ่มชื้น และอ่อนโยนต่อสภาพผิวหนังและสภาพเส้นผม เพราะผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม จะยิ่งทำให้ผิวแห้งขึ้น และไม่ลืมที่จะล้างทำความสะอาดบริเวณซอกมุมต่าง ๆ เช่น ข้อพับที่แขน นิ้วเท้า ใต้ราวนม รักแร้ ให้สะอาด และซับให้แห้ง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน อาการขาและเท้าบวม

หนึ่งใน ภาวะ แทรกซ้อนของโรค เบาหวาน ที่พบได้บ่อยคือ อาการขาและเท้าบวม ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้ ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้อย่างไม่เป็นปกติ เลือดจึงไหลเวียนได้ไม่สะดวก เกิดการคั่งของของเหลวในเนื้อเยื่อที่ขาเเละเท้า หรือที่รู้จักกันว่า อาการบวมน้ำ ตามมา ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงเกิดอาการขาบวม เเละ ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมกันได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของ อาการขาและเท้าบวมจากโรคเบาหวาน อาการขาและเท้าบวมเกิดจากการสะสมของเหลวในเนื้อเยื่อ ที่เรียกว่า อาการบวมน้ำ (Edema) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มในปริมาณมาก ๆ  หรือการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ผู้ป่วยเบาหวาน อาจพบภาวะขาและเท้าบวมได้ เนื่องจากมีการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี มีภาวะหลอดเลือดดำบกพร่อง ปัญหาสุขภาพหัวใจ ปัญหาตับ ผลข้างเคียงจากยาบางกลุ่ม หรือในผู้ที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลินในขนาดสูง ๆ วิธีลด ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน อย่างอาการขาและเท้าบวม วิธีง่าย ๆ ในการรับมือกับ อาการบวมที่ขาและเท้าจากโรคเบาหวาน มีดังนี้ 1. ใช้ถุงเท้าสำหรับรัดกล้ามเนื้อขา (Graduated compression socks) การสวมใส่ถุงเท้าสำหรับรัดกล้ามเนื้อขาโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มความดันที่ขาและเท้าให้เหมาะสมขึ้น จึงช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนได้ดีขึ้น ไม่คั่งค้าง จนทำให้ก็เกิดอาการขาเเละเท้าบวมตามมา อย่างไรก็ตาม ถุงเท้าชนิดนี้ เป็นถุงเท้าทางการเเพทย์ที่ออกกเเบบสำหรับช่วยเพิ่มความดันโดยเฉพาะ จึงอาจต้องจัดหาจากโรงพยาบาล […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานกับการนอนหลับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคเบาหวานกับการนอนหลับ อาจมีความเกี่ยวของกัน เนื่องจาก โรคเบาหวานอาจส่งผลกระทบต่อการนอน ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคเบาหวานมีปัญหานอนไม่หลับ นอนไม่เพียงพอ หรือนอนหลับมากเกินไป รวมทั้งยังอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนอนหลับผิดปกติชนิดต่าง ๆ ได้อีกด้วย โรคเบาหวานกับการนอนหลับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร หากระดับน้ำตาลกูลโคสมากขึ้น อาจรู้สึกกระหายน้ำและต้องตื่นมาดื่มน้ำกลางดึก นอกจานี้ก เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจส่งผลให้ไตทำงานหนักจนทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นในตอนกลางคืน ซึ่งการไปเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ อาจทำให้นอนหลับไม่สนิท ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย ในทางตรงกันข้าม การไม่รับประทานอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือการใช้ยารักษาโรคเบาหวานที่ผิดวิธี อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืน ซึ่งอาจทำให้ฝันร้าย เหงื่อออก รู้สึกหงุดหงิดหรือสับสนเมื่อตื่นนอน จากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Sleep Research พ.ศ. 2564 ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการรบกวนการนอนหลับกับโรคเบาหวาน เพื่อตรวจสอบว่าเบาหวานสามารถการรบกวนการนอนหลับ ทำให้นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไปได้หรือไม่ พบว่า โรคเบาหวานกับการนอนหลับนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน และการนอนหลับไม่เพียงพออาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และอาจเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ ภาวะนอนหลับผิดปกติกับโรคเบาหวาน ภาวะนอนหลับผิดปกติเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนปกติ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นหนึ่งในอาการนอนหลับผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะหยุดหายใจและเริ่มหายใจใหม่ซ้ำ ๆ ตลอดคืน ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับพบมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะมักมีน้ำหนักเกิน จึงส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ หากพบว่าตัวเองรู้สึกเหนื่อยล้าระหว่างวัน และนอนกรนตอนกลางคืน อาจเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้นจึงควรรักษาสุขภาพ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต ความสัมพันธ์ระหว่างไตและโรคเบาหวานที่ควรรู้

เบาหวานลงไต หมายถึง ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตรวจพบโรคไต ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรระมัดระวังตัวเองในการรับประทานอาหาร ทั้งรสหวาน รสเค็ม เพื่อป้องกันการเกิดโรคไต ปัจจุบันจากการศึกษาพบว่า โรคไตอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างโรคไตและโรคเบาหวาน จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานอย่างโรคเบาหวานลงไตได้ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน ส่งผลต่อโรคไตอย่างไร โรคเบาหวานสามารถเป็นสาเหตุของโรคไต โดยวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานประมาณ 1 ใน 4 คน เป็นโรคไตด้วย นอกจากนี้ทความเสียหายของไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน ปกติจะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นเวลาหลายปี ซึ่งทำให้อาจมีเวลาพอที่จะป้องกันความเสียหายของไตได้ การเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน มักเพิ่มโอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อไต ดังนั้น ถ้าเป็นโรคเบาหวาน อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคไตได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ความดันโลหิตสูงเกินไป โรคเบาหวาน อาจทำลายหน่วยกรองเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เนฟรอน (Nephron) ได้ ซึ่งทำให้เกิดโรคไตจากเบาหวาน (Diabetic kidney disease) โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะเป็นโรคไตจากเบาหวานด้วย และระหว่างร้อยละ 10-20 เสียชีวิตจากภาวะไตวาย นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เกิดความเสียหายที่เส้นประสาทและดวงตา […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เสื่อมสมรรถภาพ ปัญหาทางเพศที่ผู้ป่วย เบาหวาน ต้องเจอ

เสื่อมสมรรถภาพ คือภาวะปัญหาทางเพศซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการเป็นโรคเบาหวาน อวัยวะเพศอาจมีอาการเหน็บ ชา อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือแม้กระทั่งเน้ำอสุจิไหลย้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงอาการไร้ความรู้สึกทางเพศของฝ่ายหญิง ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคู่รักหรือปัญหาชีวิตครอบครัวได้ ปัญหาสุขภาพทางเพศในผู้ป่วยเบาหวาน   ผู้ป่วยเบาหวานไม่ว่าจะชายหรือหญิง อาจต้องประสบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพ โดยเฉพาะปัญหาความต้องการทางเพศที่ลดต่ำลง รวมทั้งปัญหาในการถึงจุดสุดยอดช้าลง หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ ซึ่งเป็นผลมาจากโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำได้ไม่ดีพอ  นอกจากนั้นแล้ว ยังมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในผู้ป่วยชายและหญิงที่พบแตกต่างกัน ดังนี้ ปัญหาสุขภาพทางเพศในผู้ป่วยเบาหวานชาย   เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หนึ่งในปัญหาที่ผู้ชายเจอก็คือ การที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ค่าเฉลี่ยของอาการนี้ในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานอยู่ที่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 75 แต่อาการอวัยวะเพศไม่แข็งตัวในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคถึง 2-3 เท่า หลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานอาจประสบปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง ซึ่งได้แก่การที่ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของน้ำอสุจิ ไหลย้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แทนที่จะไหลออกทางอวัยวะเพศ ปัญหาการหลั่งอสุจิย้อนทางเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดภายใน ที่เรียกว่า sphincter ทำงานไม่ปกติ การเกิดปัญหาการหลั่งอสุจิย้อนทาง น้ำอสุจิจะไหลเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และถูกปล่อยออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่ไม่ส่งผลเสียต่อกระเพาะปัสสาวะแต่อย่างใด โรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ (Peyronie’s disease) ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ (Peyronie’s disease) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดพังผืดในองคชาติ จนทำให้องคชาติโค้งงอขณะแข็งตัว และเกิดความเจ็บปวด องคชาติมีรูปทรงที่แตกต่างกัน และการโค้งงอเพียงเล็กน้อยไม่เป็นปัญหา แต่การเป็นโรคที่ทำให้องคชาติโค้งงอเช่นนี้ จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการแข็งตัว […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตรวจเบาหวานคนท้อง เพื่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในท้อง

ตรวจเบาหวานคนท้อง เป็นการตรวจระดับน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากการตั้งท้องอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งท้อง ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจเบาหวาน รวมถึงอาการและการรักษาจึงจำเป็นอย่างยิ่ง [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ตรวจเบาหวานคนท้อง มีประโยชน์อย่างไร ตรวจเบาหวานคนท้องอาจช่วยให้ผู้หญิงที่ต้องการตั้งท้องและผู้หญิงที่ท้องแล้วทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานขณะตั้งท้อง เพื่อจะได้รักษาได้อย่างเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในท้อง โดยควรเข้ารับการตรวจสุขภาพขณะท้องตามที่คุณหมอนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ หลังจากคลอดแล้ว ควรไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่าเบาหวานขณะตั้งท้องหายขาดแล้วหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอดหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เบาหวานขณะตั้งท้องอาจยากที่จะป้องกันได้ในบางกรณี โดยเฉพาะหากภาวะเบาหวานขณะตั้งท้องอยู่ในระดับที่รุนแรง ดังนั้น ผู้หญิงตั้งท้องจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองเป็นพิเศษ และควรตรวจหาความเสี่ยงสุขภาพตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง หรือตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก เพื่อจะได้รับมือและป้องกันเบาหวานรวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ขณะตั้งท้องได้อย่างทันท่วงที เบาหวานขณะท้อง ส่งผลกระทบต่อทารกในท้องอย่างไร เมื่อ ตรวจเบาหวานคนท้อง แล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นขณะตั้งท้อง หมายความว่า น้ำตาลส่วนเกินนั้นสะสมอยู่ในร่างกายของทารก ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่ทารกจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ  ดังนี้ ทารกมีบาดแผลในระหว่างคลอด อันเป็นผลจากขนาดตัวที่ใหญ่ ทารกที่เกิดมาอาจมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าปกติ ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และระดับแร่ธาตุต่ำเมื่อคลอดออกมา ทารกตัวเหลือง ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจในระยะสั้น นอกจากนี้ หากตรวจเบาหวานคนท้องแล้วพบว่าเป็นเบาหวานขณะท้อง มีแนวโน้มว่าเมื่อทารกโตขึ้นอาจมีโอกาสจะเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน  ดังนั้น จำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำรวมถึงการปฏิบัติตัวของคุณแม่ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าวได้ ผลกระทบจากการเป็นเบาหวานขณะตั้งท้อง คุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งท้อง อาจมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ รวมถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม