โรคเด็กและอาการทั่วไป

วัยเด็กเป็นวัยที่เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดถึงสามปี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังไม่แข็งแรงดีนัก และนี่คือ โรคเด็กและอาการทั่วไป ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ จะได้รับมือได้อย่างถูกต้อง

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเด็กและอาการทั่วไป

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

สำรวจ โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคตาในเด็ก ปัญหาสุขภาพดวงตาของเด็ก ๆ ที่พ่อแม่ควรระวัง

เด็ก ๆ มักจะพบกับปัญหาสุขภาพตาได้บ่อย ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ปัญหาสุขภาพตาของเด็กรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่รุนแรง โรคตาในเด็ก ที่พบได้บ่อย เช่น ภาวะตาขี้เกียจ ตาเหล่ ตากุ้งยิง ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลย เพื่อไม่ให้นำไปสู่ปัญหาสุขภาพตา หรือสุขภาพโดยรวมที่รุนแรงขึ้น โรคตาในเด็ก ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง ปัญหาเกี่ยวกับ สุขภาพดวงตา ที่สามารถพบได้บ่อย ๆ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนี้ ภาวะตาขี้เกียจ  ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นภาวะที่สายตามีระดับการมองเห็นที่ผิดปกติ โดยที่การมองเห็นของสายตาข้างใดข้างหนึ่งอาจเห็นได้ไม่ชัดเท่ากับสายตาอีกข้างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดภาวะตาเหล่ ภาวะหนังตาตก รวมถึงโรคต้อกระจกตามมา อย่างไรก็ตาม โรคตาขี้เกียจสามารถรักษาหายได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เด็ก ๆ อาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคตามัวชนิดถาวร ตาเขหรือตาเหล่ อาการตาเขหรือตาเหล่ในเด็ก เกิดจากการที่ตำแหน่งของดวงตาชี้ไปในทิศทางที่ต่างกัน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของเส้นประสาท หรือเป็นผลมาจากภาวะตาขี้เกียจ อย่างไรก็ตาม อาการตาเหล่ ตาเขในเด็ก สามารถที่จะรักษาได้ตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่ควรปล่อยเอาไว้จนโต เพราะอาจตาเหล่ถาวร ตากุ้งยิง ตากุ้งยิง (Chalazion) เป็นปัญหา สุขภาพดวงตา เกิดจากการอักเสบหรืออุดตันที่บริเวณต่อมไขมันของเปลือกตาบนหรือล่าง หรือเกิดการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุตา ทำให้เกิดอาการบวมแดงจนนูนเป็นตุ่ม ภาวะน้ำตาเอ่อ ภาวะน้ำตาเอ่อ (Epiphora) เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา ส่งผลให้มีอาการตาแฉะ และมีน้ำตาไหลออกมาอยู่บ่อย […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคในทารกแรกเกิด ที่พบได้บ่อย มีอะไรบ้าง

โรคในทารกแรกเกิด อาจเป็นอาการเจ็บป่วยเช่นเดียวกับเด็กในวัยอื่น ๆ  แต่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งกว่า เพราะร่างกายของทารกแรกเกิดนั้นยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง ดังนั้น จำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว ควรให้ความใส่ใจและสังเกตทารกแรกเกิดเพื่อจะได้ดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที โรคในทารกแรกเกิด ที่พบได้บ่อย ภาวะท้องอืด ภาวะท้องอืด เป็นโรคในทารกแรกเกิด ที่พบได้บ่อยมากเป็นอันดับต้น ๆ เด็กทารกมักมีอาการท้องอืด แน่นท้อง และท้องป่องเป็นประจำ โดยเฉพาะขณะกินนมแม่ และหลังกินนมเสร็จ เมื่อเกิดภาวะท้องอืด จะทำให้ทารกน้อยรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว หายใจลำบาก เป็นต้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเมื่อลูกท้องอืด ก็คือ หากเป็นอาการท้องอืดที่ไม่เป็นอันตราย ท้องมักนิ่ม หากทารกท้องแข็ง บวม แน่น รวมทั้งมีอาการอาเจียน หรือท้องเสียนานเกิน 2 วันร่วมด้วย ควรพาไปพบคุณหมอทันที เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เป็นเพราะมีแก๊สในกระเพาะอาหาร หรือท้องผูกตามปกติ แต่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ที่เป็นอันตรายได้ โรคดีซ่าน โรคดีซ่าน ทำให้ผิวหนัง ดวงตา และปากของทารกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื่องจากในร่างกายมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) สูงผิดปกติ โดยบิลิรูบินเป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเก่าและสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ของร่างกาย ปกติแล้ว ร่างกายของคนเราจะกำจัดบิลิรูบินออกทางตับ แต่ในช่วง 2-3 วันหลังลืมตาดูโลก ตับของทารกแรกเกิดจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายทารกแรกเกิดบางคนไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินออกได้ตามปกติ ในร่างกายเลยมีบิลิรูบินมากเกินไป ทำให้เกิดเป็นโรคดีซ่านหรือตัวเหลืองนั่นเอง แม้โรคดีซ่านจะเป็นโรคในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย แต่ในบางกรณี ระดับบิลิรูบินที่สูงเกินไปก็อาจทำให้สมองของทารกแรกเกิดบาดเจ็บได้ ฉะนั้น […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โคลิค กับวิธีรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

โคลิค (Colic) เป็นอาการร้องไห้ของเด็กทารกวัยแรกเกิดแบบต่อเนื่องและยาวนาน ที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ตกใจหรือไม่รู้ว่าจะรับมือได้อย่างไร แท้จริงแล้วโคลิกเป็นอาการที่เกิดขึ้นและหายไปได้ แต่อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับอาการนี้อย่างถูกต้อง โคลิค คืออะไร โคลิค คือ อาการที่มักเกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิดตั้งแต่ช่วงอายุ 2-6 สัปดาห์ โดยทารกอาจร้องไห้ออกมาอย่างหนัก และนานกว่าปกติ หรือในช่วงเวลาเดียวกันทุกวันบ่อยครั้ง ซึ่งอาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ระบบย่อยอาหารแปรปรวน จุกเสียด กรดไหลย้อน แพ้อาหารบางอย่าง คุณพ่อคุณแม่ให้อาหารลูกน้อยหรือมากเกินไป ภาวะคลอดก่อนกำหนด ระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ คุณแม่สูบบุหรี่ในช่วงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะโคลิคมักหายไปจากลูกได้เอง ตามระยะเวลาการเจริญเติบโต คือ ช่วงประมาณ 3-4 เดือน อาการเมื่อลูกเป็นโคลิค เด็กร้องไห้งอแงอาจเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ยากที่จะจำแนกได้ว่า ร้องไห้แบบไหน คือ ร้องไห้ธรรมดา หรือร้องไห้เพราะเป็นโคลิค โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้ อาการร้องไห้อย่างหนักรุนแรง ใบหน้าของลูกเปลี่ยนสีเป็นสีแดง ปากและผิวซีด ร้องไห้ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้กันทุกวัน มีท่าทางเกร็งในขณะร้องไห้ เช่น กำมือแน่น ขายกขึ้นเกร็ง หน้าท้องแข็ง ในบางกรณี โคลิคอาจทำให้ลูกเป็นลม หมดสติ เพราะร้องไห้หนักจนเกินไป ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด และรู้จักรับมืออย่างถูกวิธี หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องพาลูกพบคุณหมอทันที […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กปวดท้อง ควรทำอย่างไรเพื่อแก้อาการปวดท้อง

อาการ เด็กปวดท้อง อาจพบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัย 4-8 ปี ซึ่งอาการปวดท้องอาจมีสาเหตุมาจากอาหาร ความเครียด และความเจ็บปวด ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากการที่ลูกร้องไห้ไม่ยอมหยุด ขวดตัว หรือแสดงอาการเจ็บปวดออกมา ดังนั้น การศึกษาถึงวิธี แก้อาการปวดท้องของลูกน้อย อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่บรรเทาอาการปวดท้องเบื้อต้นให้ลูกได้ ก่อนที่จะพาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กปวดท้อง สังเกตได้อย่างไร เมื่อ เด็กปวดท้อง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ คือ ลูกอาจร้องไห้ไม่ยอมหยุด ขดตัว และแสดงอาการเจ็บปวดออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ อาจมีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจนว่ากำลังมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้น สำหรับเด็กวัยรุ่นอาจมีความลังเลที่จะบอกถึงความเจ็บปวด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนี้ ระยะเวลาของอาการปวด สาเหตุของอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นไม่นาน ส่วนใหญ่อาจเกิดจากการมีแก๊สในกระเพาะอาหาร เป็นไข้หวัด หรือมีอาการเกี่ยวกับลำไส้ แต่อาการปวดท้องอาจหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากมีอาการปวดท้องนานเกิดกว่า 24 ชั่วโมง ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและประเมินอาการ ตำแหน่งของอาการ เด็กปวดท้อง โดยปกติแล้ว อาการปวดท้องอาจเกิดขึ้นบริเวณกลางช่องท้อง ซึ่งลูกอาจแสดงอาการออกมาด้วยการถูรอบ ๆ ท้อง แต่หากเกิดอาการปวดบริเวณอื่น ๆ เช่น ปวดบริเวณที่ต่ำกว่ากลางช่องท้องและเยื้องลงมาทางด้านขวาอาจเป็นอาการปวดท้องในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคปากนกกระจอกในเด็ก สาเหตุ และอาการของโรค

โรคปากนกกระจอกในเด็ก หมายถึงอาการอักเสบบริเวณมุมปาก ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายขาดวิตามิน แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การเลียริมฝีปากบ่อย การติดเชื้อแบคทีเรีย อาการอักเสบจากโรคอื่น ๆ พ่อแม่ควรคอยสังเกตอาการ และพาลูกไปรับการรักษาให้เหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคปากนกกระจอกในเด็ก คืออะไร โรคปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) คือ อาการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณมุมปาก ส่งผลให้ริมฝีปากเกิดอาการบวมแดง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการ 2-3 วัน แต่บางรายอาจจะมีอาการนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยต่างๆ โรคปากนกกระจอก อาจมีอาการคล้ายกับโรคเริมที่ริมฝีปาก แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างกัน โรคเริมที่ริมฝีปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม ในขณะที่โรคปากนอกกระจอกอาจจะเกิดจากสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ เช่น การขาดสารอาหาร การติดเชื้แบคทีเรีย การเลียริมฝีปาก สาเหตุของโรคปากนกกระจอกในเด็ก สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคปากนกกระจอกในเด็ก มีดังต่อไปนี้ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เช่น ขาดวิตามินบี 9 ขาดวิตามินบี 6 ขาดวิตามินบี 2 ขาดวิตามินบี 3 ขาดสังกะสี เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด กลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s Syndrome) ภูมิคุ้มกันแบบเรื้อรังที่ทำลายต่อม ซึ่งมีทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นกับปากส่งผลให้ปากแห้ง เลียริมฝีปากบ่อย ผิวแพ้ง่าย บอบบาง มีอาการอักเสบอื่น ๆ เช่น […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ปวดหัวไมเกรนในเด็ก อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาที่เหมาะสม

อาการปวดหัวไมเกรน เป็นอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยจะมีอาการปวดตุบ ๆ ปกติแล้วอาการปวดหัวไมเกรนนั้นจะปวดศีรษะเพียงข้างเดียว แต่บางครั้งก็อาจจะเริ่มต้นจากอาการปวดเพียงข้างเดียวก่อน แล้วจึงปวดทั้งสองข้าง โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเจออาการปวดหัวไมเกรนในผู้ใหญ่ แต่จริงๆ แล้วอาการ ปวดหัวไมเกรนในเด็ก ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน อาการปวดหัวไมเกรนในเด็ก  อาการปวดหัวไมเกรน เป็นอาการของการปวดหัวที่จะมีอาการรุนแรงกว่าการปวดหัวแบบอื่นๆ อาการปวดหัวไมเกรนในเด็กอาจจะมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ เช่น อาการปวดหัวไมเกรนในเด็ก อาจจะมีระยะเวลาในการเกิดอาการน้อยกว่าอาการปวดหัวไมเกรนในผู้ใหญ่หรืออาจจะมีอาการดังนี้ มีอาการปวดศีรษะปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงทั้งสองข้างของศีรษะ ปวดหัวแบบตุบๆ มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน มีความไวต่อแสง หรือดวงตาแพ้แสง (photophobia) มีความไวต่อเสียง ไม่ชอบเสียงดังๆ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล มีความไวต่อกลิ่น (osmophobia) เป็นอาการของการกลัวกลิ่น กลิ่นบางกลิ่นอาจทำให้เกิดอาการกลัว วิตกกังวล และมีความเกี่ยวของกับอาการปวดหัวไมเกรน มีอาการปวดท้อง ซึ่งจริงๆ แล้วอาจเป็นอาการปวดท้องที่มีความเกี่ยวข้องกับไมเกรน บางครั้งก่อนที่จะมีอาการไมเกรน อาจมีปัญหาในการมองเห็น มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีปัญหาทางด้านการสื่อสาร สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกคุณอาจมีอาการ ปวดหัวไมเกรนในเด็ก มีอาการพูดช้า ไม่ชัด หรือสื่อสารไม่ได้ความ (Dysarthria) วิงเวียนศีรษะบ้านหมุน ได้ยินเสียงดังในหู เห็นภาพซ้อน (Diplopia) ซึ่งเป็นความผิดปกติของดวงตาที่จะเห็นวัตถุชิ้นเดียวเป็นสองชิ้น มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานงานกัน ทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว เดินเงอะงะ ขาดสมาธิ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกท้องเสีย เกิดจากอะไร ควรรับมือได้อย่างไรดี

ท้องเสีย อาจจะฟังดูเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่หากอาการรุนแรงก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะสำหรับทารก ซึ่งปัญหาเรื่อง ทารกท้องเสีย อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความวิตกกังวล ดังนั้น การทราบถึงทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ทารกท้องเสีย รวมถึงวิธีการดูแลลูกเมื่อท้องเสีย จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเอาไว้ เพื่อจะได้รับมือได้อย่างทันท่วงที ตรวจเช็กตารางการฉีดวัคซีนของลูกน้อย ที่นี่ ขับถ่ายธรรมดากับ ทารกท้องเสีย แตกต่างกันอย่างไร การจะแยกความแตกต่างระหว่างอุจจาระธรรมดาของทารก กับอาการทารกท้องเสีย อาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากอุจจาระของทารกมักจะมีลักษณะเหลว มีสีแตกต่างกัน รงมถึงทารกอาจถ่ายบ่อยเป็นปกติอยู่แล้ว แต่การสังเกตความแตกต่างของอุจจาระแต่ละประเภทอาจทำได้ ดังนี้ อุจจาระของทารกที่กินนมแม่ ลักษณะอุจจาระของทารกที่กินนมแม่ อาจจะมีลักษณะเป็นสีเหลือง นิ่ม เหลว และอาจจะมีก้อนเล็กๆ ปะปนอยู่บ้าง เนื่องจากสิ่งที่ทารกรับประทานเข้าไปมีเพียงนมแม่เท่านั้น อุจจาระประเภทนี้อาจจะแยกออกจากอาการท้องเสียได้ค่อนข้างยาก อุจจาระของทารกที่กินนมผง ทารกที่กินนมผงอาจมีอุจจาระเป็นสีเหลืองเข้ม หรือสีออกน้ำตาล และมักจะมีความข้นหนืดมากกว่าอุจจาระของทารกที่กินนมแม่ โดยปกติแล้ว อาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของทารกที่กินนมผงได้อย่างง่ายดาย รวมถึงอาจสังเกตเห็นอาการท้องเสียในทารกได้อย่างรวดเร็ว อุจจาระของทารกที่กินทั้งนมแม่และนมผง อุจจาระของทารกที่กินทั้งนมแม่และนมผงจะมีลักษณะต่าง ๆ มากมาย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตอาการท้องเสียได้ หากอุจจาระของทารกมีลักษณะที่แตกต่างไปจากปกติ เช่น อุจาระเหลวมากกว่าปกติ ถ่ายบ่อยมากกว่าปกติ อุจจาระของทารกท้องเสีย อาจมีลักษณะเป็นอุจจาระเหลว ไหลเป็นน้ำ อุจจาระมีสีเขียว หรือมีสีคล้ำกว่าปกติ มีกลิ่นเหม็นมาก และอาจมีมูกเลือดปน ทารกท้องเสีย เกิดจากอะไร สำหรับสาเหตุที่ทำให้ทารกท้องเสีย อาจมีดังนี้ การติดเชื้อไวรัส โรตาไวรัส (Rotavirus) […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก วิธีป้องกันและการดูแล

ลูกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก มักเกิดขึ้นในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนฤดูกาล ไข้หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสที่แตกต่างกันมากกว่า 200 ชนิด โดยเฉพาะไวรัสไรโน (Rhinovirus) ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดที่พบบ่อยที่สุด โดยเด็กมักจะเป็นหวัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่ บางครั้งเด็กอาจเป็นหวัดด้วยตัวเองหรือได้รับเชื้อมาจากผู้อื่นก็ได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคหวัด คืออะไร หวัด หรือ ไข้หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสที่แตกต่างกันมากกว่า 200 ชนิด โดยเฉพาะไวรัสไรโน (Rhinovirus) ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะเด็กที่มักจะเป็นหวัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่ บางครั้งเด็กอาจเป็นหวัดด้วยตัวเองหรือได้รับเชื้อมาจากผู้อื่น สำหรับการได้รับเชื้อหวัดในเด็ก โดยมากมักติดเชื้อหวัดมาจากเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน การได้รับเชื้อทางอากาศ การได้รับเชื้อเข้าทางปากจากการหยิบจับสิ่งของที่มีเชื้อโรค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนฤดู ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ร่างกายของเด็กอาจจะยังปรับตัวตามฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไม่ทัน จึงทำให้เป็นหวัดได้ง่าย อาการเมื่อ ลูกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก เมื่อลูกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก มักมีอาการโดยทั่วไปที่มักสังเกตเห็นได้ ดังนี้ มีอาการอ่อนเพลีย คัดจมูก เจ็บคอ มีน้ำมูกไหล มีอาการไอ สำหรับเด็ก ๆ ที่มีอาการหนัก อาจพบอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย มีน้ำที่ดวงตา หรือน้ำตาไหล จามบ่อยครั้ง หรือจามไม่หยุด รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีไข้สูงในบางครั้ง ทั้งนี้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กละเมอ เป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

การเดินละเมอเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบบ่อยในเด็ก ตามสถิติแล้วเด็ก 1 ใน 5 จะเดินละเมออย่างน้อย 1 ครั้ง นอกจากนี้อาการละเมอ สามารถเกิดขึ้นได้จนถึงตอนที่เป็นวัยรุ่น และบางครั้งอาจเกิดขึ้นจนถึงวัยที่เป็นผู้ใหญ่ เด็กละเมอ ถือเป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล การเดินละเมอ คืออะไร เดินละเมอ (Sleepwalking) เป็นอาการที่เด็กจะลุกขึ้นจากที่นอน และเดินไปขณะที่กำลังหลับอยู่ ซึ่งลักษณะแบบนี้ถือเป็นอาการเดินละเมอที่พบบ่อย นอกจากนี้ยังมีอาการเดินละเมออื่นๆ ได้แก่ ละเมอพูด ตื่นนอนยาก ดูงุนงง ไม่ตอบสนองเวลาพูดด้วย ลุกขึ้นมานั่ง เคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำๆ เช่น ขยี้ตา นอกจากนี้ เด็กที่เดินละเมอสามารถลืมตาได้ แต่จะมองไม่เห็นเหมือนตอนตื่น โดยลักษณะที่พบบ่อยคือเด็กจะคิดว่าพวกเขาอยู่ในห้องที่แตกต่างจากห้องที่บ้าน หรืออยู่ในสถานที่อื่น มากไปกว่านั้น เด็กๆ มีแนวโน้มที่จะมีอาการเดินละเมอภายใน 1-2 ชั่วโมงก่อนจะหลับ และอาจเดินไปที่ใดที่หนึ่งโดยใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาที ถึง 30 นาที และในขณะที่พวกเขากำลังละเมอ ก็ยากที่จะปลุกให้ตื่น แต่เมื่อตื่นแล้วเด็กอาจรู้สึกงัวเงียและสับสนเป็นเวลา 1-2 นาที ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าการเดินละเมอ แต่ก็อาจไม่ได้เป็นเพียงแค่การเดิน เนื่องจากการเดินละเมอสามารถหมายถึงอาการอื่นๆ ได้ และไม่ว่าเด็กๆ จะมีอาการละเมอในลักษณะใด พวกเขาก็มักจะจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตอนที่พวกเขาละเมอ ส่วนสาเหตุของการละเมอ มีดังนี้ สาเหตุของอาการเดินละเมอ การเดินละเมอนั้นพบได้ทั่วไปในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และถ้าพ่อแม่เคยมีอาการเดินละเมอตอนเด็ก ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเดินละเมอด้วย ซึ่งสาเหตุของอาการเดินละเมออาจเกิดจาก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออ่อนเพลีย นอนหลับไม่ตรงเวลา ป่วย หรือเป็นไข้ ยาบางชนิด ความเครียด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กเป็นหวัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่ เกิดจากสาเหตุใด

ไข้หวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดได้จากการหายใจ ส่งผลต่อคนทุกวัย แต่จากผลของค่าสถิตินั้น พบว่า เด็กมีโอกาสที่จะติดเชื้อหวัด ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตสัญญาณเตือนของโรคหวัดได้จากอาการ ปวดหัว ไข้สูง น้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม หากพ่อแม่พบว่า เด็กเป็นหวัดบ่อย ควรเรียนรู้วิธีการป้องกัน และวิธีการจัดการกับโรคได้ดังต่อไปนี้ สาเหตุที่ทำให้ เด็กเป็นหวัดบ่อย คืออะไร ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสหนึ่งชนิดหรือมากกว่า เชื้อไวรัสพวกนี้จะเข้าไปในจมูกและเพดานปากและมีอัตราการติดเชื้อสูงกว่าเชื้อโรคทุกประเภท เชื้อไวรัสเหล่านี้มักเข้าสู่ร่างกายทางปากหรือจมูกของทารกจากหลายแหล่ง ได้แก่ ทางอากาศ เมื่อมีคนไอ จาม หรือพูดคุย พวกเขาอาจจะแพร่เชื้อไวรัสสู่เด็กและทารกได้โดยตรง การสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่น การกอด การจูบ เชื้อไวรัสสามารถแพร่ได้เมื่อมีการสัมผัสทารก การจูบที่หน้าหรือมือของทารก จะทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อได้ เมื่อเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา จากวัตถุที่ปนเปื้อน เชื้อไวรัสบางชนิดสามารถติดอยู่ที่วัตถุได้ตั้งแต่สองถึงสี่ชั่วโมง เด็กจะติดเชื้อจากไวรัสโดยการสัมผัสวัตถุต่างๆ เช่น ของเล่น อาการของโรคหวัดในเด็ก คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล น้ำมูกข้นและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว มีไข้สูง (ประมาณ 37.80 องศาเซลเซียส) จาม ไอ เบื่ออาหาร ระคายเคืองและนอนไม่หลับ ระบบภูมิคุ้มกันของทารกต้องใช้เวลาในการต่อต้านโรคหวัด หากเด็กทารกติดหวัดโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน ควรได้รับการรักษาภายใน 7 ถึง 10 […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม